ศูนย์ข่าวภูมิภาค-"สมเด็จพระเทพฯ"เสด็จเยี่ยมน้ำท่วมอยุธยา ทรงมอบถุงยังชีพ-ตั้งโรงครัวประกอบอาหาร-หน่วยแพทย์ น้ำท่วมในกรุงเก่ายังวิกฤตหนัก ส่วน"นครสวรรค์"สถานการณ์ยังเลวร้าย หยุดซ่อมพนังแล้ว คาดจมบาดาลอีกราว 10 วัน ระทึกน้ำใน“เขื่อนใหญ่”โคราชเกินความจุหมดแล้ว
บ่ายวันนี้ (11 ต.ค.) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา พระราชทานถุงยังชีพ พร้อมทั้งทรงเยี่ยมหน่วยแพทย์พระราชทาน ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้คณะแพทย์จากโรงพยาบาลรามาธิบดี ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เพื่อให้บริการช่วยเหลือราษฎรที่เจ็บป่วย บรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น ณ โรงสีข้าวมูลนิธิชัยพัฒนา ศูนย์สาธิตและพัฒนาพลังงานทดแทนแบบครบวงจร อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา โอกาสนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กราบบังคมทูลบรรยายสรุปความเสียหายจากน้ำท่วม ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และนายอำเภอลาดบัวหลวง กราบบังคมทูลบรรยายสรุปความเสียหายจากน้ำท่วมในเขต อ.ลาดบัวหลวง
จากนั้นเสด็จฯไปมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งศูนย์ช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมของมูลนิธิชัยพัฒนา การนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้มูลนิธิชัยพัฒนา จัดตั้งศูนย์ดังกล่าวขึ้น เพื่อเป็นสถานที่รองรับผู้ประสบภัยที่อพยพออกจากบ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วมเสียหาย และเป็นสถานที่รับบริจาคของใช้ที่จำเป็นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย
โอกาสนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดสร้างโรงครัวประกอบอาหาร สำหรับแจกจ่ายแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยทั้งสองแห่ง และให้คณะแพทย์และพยาบาล จากโรงพยาบาลรามาธิบดีออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการแก่ประชาชน
นอกจากนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมให้มูลนิธิชัยพัฒนาประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งในเบื้องต้นได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน เช่น กองทัพบก สภากาชาดไทย โรงเรียนจิตรลดา บริษัทไทยเบฟเวอรเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัทไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)ในการจัดหาสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่อไป
ผู้ที่ประสงค์จะช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนาติดต่อได้ที่ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา อาคาร 608 พระราชวังดุสิต แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ โทร 02-282-4425
ส่วนผู้ที่มีความประสงค์จะร่วมบริจาคเงินโดยเสด็จพระราชกุศล เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในครั้งนี้สามารถโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสวนจิตรลดา ชื่อบัญชี “ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม” เลขที่บัญชี 067-213125-3 เพื่อจะได้นำไปจัดซื้อจัดหาสิ่งของที่จำเป็น ในการบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบอุทกภัยต่อไป
วันเดียวกันนี้ เมื่อเวลา 10.30 น.พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จเยี่ยมครัวพระราชทานที่ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และประทานน้ำมันเรือยนต์กับโครงการเติมน้ำใจให้น้ำมัน 2,000 ถัง ประกอบด้วยน้ำมันดีเซล 15,000 ลิตรและน้ำมันเบนซิน 91 จำนวน 15,000 ลิตร ที่หน้าศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สำหรับครัวพระราชทานแห่งนี้ เริ่มดำเนินการครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย.ที่ผ่านมา เพื่อเลี้ยงผู้อพยพจากภัยน้ำท่วมที่ศูนย์อพยพ และนำไปส่งตามบ้านเรือนราษฎรวันละ 2 มื้อ โอกาสนี้ ทรงเยี่ยมหน่วยงานราชการที่มาช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมเยี่ยมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ที่มาตรวจรักษาผู้ประสบภัยที่มีอาการเจ็บป่วยโดยมีเจ้าหน้าที่ประจำ 24 ชั่วโมงด้วย
**"เมืองกรุงเก่า" ยังวิปโยคหนัก
ด้านสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยาวานนี้ (11 ต.ค.)ยังอยู่ในขั้นวิกฤตหนัก ชาวบ้านในชุมชนโรงเหล้าเก่า หมู่ 8 ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ยังคงเร่งขนย้ายข้าวของหนีน้ำกันอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านที่ติดอยู่ในบ้านซึ่งไม่ยอมออกไปไหน เนื่องจากห่วงข้าวของตัวเอง ขณะที่เสบียงอาหารที่เก็บไว้ก็ร่อยหลอลง ถุงยังชีพที่คนนำมาบริจาคก็เข้ามาไม่ถึง
ผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่เดินลุยน้ำทั้งวันเริ่มป่วยเป็นโรคน้ำกัดเท้า แล้สำหรับคนที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านต่างตกงานกันจำนวนมาก และยังไม่รู้ชะตากรรมว่าโรงงานจะจ่ายค่าชดเชยให้หรือไม่ เพราะเจ้าของโรงงานก็ถูกน้ำท่วมขาดทุนเหมือนกัน
**ผู้ว่าฯประสานตร.ดูแลทรัพย์สินปชช.
ทางด้าน พล.ท.อุดมเดช สีตบุตร แม่ทัพภาคที่ 1 พร้อมด้วยนายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ร่วมประชุมหารือสรุปปัญหาน้ำท่วม รวมถึงมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
นายวิทยา กล่าวว่า สิ่งที่ทางจังหวัดต้องเร่งดำเนินการ คือ ค้นหาผู้ที่ยังติดค้างในพื้นที่น้ำท่วม โดยเฉพาะเกาะเมือง และตั้งศูนย์ประสานงานรับบริจาคและประกอบอาหาร 6 จุด และยังได้เร่งประสานตำรวจภูธรภาค 1 จัดกำลังดูแลทรัพย์สินประชาชน โดยได้รับแจ้งว่าบ้านเรือนประชาชนถูกงัด รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ถูกขโมยนับสิบคัน
**เร่งสำรวจคนติด"เกาะเมืองกรุงเก่า"
ขณะที่ นายอารี ไกรนรา เลขานุการ รมว.มหาดไทย และนายณรงค์ อ่อนสะอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ประชุมหารือเพื่อมอบหมายงานให้เจ้าหน้าที่ทหารบก ทหารเรือ กรมประมง สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในการเร่งสำรวจผู้ที่ยังติดอยู่ในพื้นที่ต่างๆ เพื่อเข้าไปให้การช่วยเหลือทั้งอาหารและเครื่องดื่ม
นายณรงค์ กล่าวว่า ภารกิจในวันนี้ทหารเรือจะไปทำสะพานที่อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อใช้เป็นทางเดิน ส่วนที่วัดพุทไธศวรรย์ยังคงรักษาวัดได้ จึงประสานขอน้ำมันเพื่อใช้ในการสูบน้ำออกจากแนวคันกั้นน้ำ อย่างไรก็ตามชาวบ้านในเกาะเมือง อาทิ ต.คลองสระบัว ต.สวนพริก ต.ลุมพลี ร้องเรียนความช่วยเหลือเข้าไม่ถึง จึงอยากให้หน่วยงานราชการช่วยดูแลบ้าง
**นครสวรรค์ยังวิกฤต
ทางด้านสถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.นครสวรรค์ จนถึงขณะนี้ยังไม่คลี่คลาย เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถทำการซ่อมแซมจุดที่แตกบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาได้ ทำให้น้ำเจ้าพระยาไหลทะลักเพิ่มมากขึ้น และไหลเข้าถึงถนนสวรรค์วิถี บริเวณสี่แยกสะพานเดชาติวงศ์ และน้ำยังได้ไหลเข้าไปยังอุทยานสวรรค์ ซึ่งเป็นสถานที่ออกกำลังกาย โดยน้ำได้ท่วมเต็มพื้นที่อุทยานฯ และได้ไหลขึ้นไปยังถนนสายนครสวรรค์-พิษณุโลก จนเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องปิดการจราจรขาล่อง พิษณุโลก-นครสวรรค์ 1 เลน เพื่อทำการเทหินคลุกเพื่อป้องกันน้ำไหลข้ามถนนพหลโยธิน และจะข้ามไปยังศูนย์ราชการจังหวัดนครสวรรค์
ส่วนการช่วยเหลือผู้ป่วยที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง แต่ประสบปัญหาเนื่องจากน้ำบริเวณริมตลาดมีระดับสูงเกือบ 2 เมตร
*น้ำเพิ่มอีก70ซม.-หยุดซ่อมพนัง
นายบัณฑิต สงวนพวก นายอำเภอเมืองนครสวรรค์ เปิดเผยว่า วันนี้ (11) ระดับน้ำได้เพิ่มขึ้นจากวันที่ 10 ต.ค.ที่ผ่านมาและขยายวงกว้างออกไปอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่ ต.หนองสมบูรณ์ น้ำท่วมเต็มพื้นที่แล้ว ขณะเดียวกันน้ำยังไหลบ่ามุ่งหน้าไปยังริมถนนสายเอเชีย บริเวณสี่แยกเดชาติวงศ์ ขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้หยุดซ่อมแซมพนังกั้นน้ำบริเวณที่พังเสียหายแล้วเนื่องจากระดับน้ำเพิ่มสูงและไหลเชี่ยว
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมระดับน้ำท่วมขังในตัวเมืองย่านเศรษฐกิจคงสูงเพิ่มขึ้นอีกเฉลี่ย 70 ซม.และท่วมขังในร้านระดับ 40 ซม.แต่บางพื้นที่ซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำใกล้กับอุทยานสวรรค์น้ำท่วมระดับสูง 1.75 เมตร
**"ประชา"รับนครสวรรค์ถึงจุดเลวร้าย
ด้าน พล.ท.วรรณทิพย์ ว่องไว แม่ทัพภาค 3 กล่าวว่า จากที่ได้บินดูสภาพน้ำ พบว่าน้ำรอบ ๆ เมืองนครสวรรค์ ยังมีระดับสูง และคาดว่า จ.นครสวรรค์จะจมอีกสักประมาณ 10 วันถ้าฝนไม่ตก นอกจาก จ.นครสวรรค์ แล้วสถานการณ์น้ำที่ จ.อุทัยธานี ก็ยังหนักอยู่
พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ประธาน ศปภ.เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.นครสวรรค์ โดยยอมรับว่า สถานการณ์น้ำท่วม จ.นครสวรรค์ขณะนี้ถึงจุดเลวร้ายที่สุดแล้ว และคาดว่ามวลน้ำก้อนใหญ่จากภาคเหนือจะเดินทางมาถึง จ.พระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 14-15 ต.ค.นี้
** หนุ่มอ่างทองหนีน้ำโดนงูกัด
ที่ จ.อ่างทอง เกิดเหตุสลดขึ้น เมื่อร.ต.อ.อาทิตย์ สอทา ร้อยเวร สภ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ได้รับแจ้งพบศพผู้เสียชีวิตภายในบ้านเลขที่ 39/1หมู่ที่ 4 ต.สายทอง อ.ป่าโมก ที่เกิดเหตุถูกน้ำท่วมสูงกว่า 2 เมตรและบ้านที่เกิดเหตุอยู่ห่างจากถนนกว่า 2 กม.จึงให้เจ้าหน้าที่กู้ภัยนำเรือเข้าไปทำการนำศพออกมาทราบชื่อนายวิศิษฎ์ ทิพย์สุข อายุ 38 ปี เสียชีวิตในสภาพลอยอืดคว่ำหน้าสวมเสื้อแขนยาวสีดำ กางเกงขายาวสีดำ อยู่ข้างบ้าน
สอบสวนนางศรีวรรณ ขำนวลทอง อายุ 53 ปี แม่ของนายนายวิศิษฎ์ ให้การว่า ตนอยู่กับลูกชายเพียง 2 คน และบ้านตนถูกกระแสน้ำที่มาจาก อ.บางประหันทะลักเข้าท่วมอย่างรวดเร็วเมื่อวันที่ 5 ต.ค.ที่ผ่านมาทำให้ที่บ้านถูกน้ำท่วมกว่า 2 เมตร จนเกือบมิดหลังคา ตนจึงออกมาอาศัยอยู่บนถนนส่วนนายวิศิษฎ์ ไม่ยอมออกมาจากบ้านบอกจะเฝ้าบ้านจึงได้ขึ้นไปนอนบนหลังคาบ้านทุกคืน และวันที่ 6 ต.ค.ตนเข้าไปหาลูกก็พบว่าลูกยังอยู่บนหลังคาแต่ก็พบว่าบนหลังคามีงูขึ้นมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากตนบอกให้ลูกออกไปแต่ลูกก็ไม่ยอม จนวันที่ 7 ต.ค.ตนนำอาหารมาให้แต่ก็พบเพียงวิทยุเครื่องเดียวพร้อมงูเห่า อยู่กับวิทยุแต่นายวิศิษฎ์ ลูกชายหายไปจึงมาวันนี้ตนก็เข้าไปตามหาลูกอีกไม่พบจึงจะไปแจ้งความว่าลูกหาย แต่เพื่อนบ้านก็พายเรือมาบอกว่าเจอศพลูกตนลอยอยู่ข้างบ้านตนคาดว่าสาเหตุที่ลูกเสียชีวิตน่าจะมาจากระหว่างที่นอนอยู่บนหลังคาได้ถูกงูกัดจนตกน้ำเสียชีวิต
**เขื่อนสิริกิติ์ปรับลดการปล่อยน้ำ
นายธนรัชต์ ภุมมะกสิกร ผู้อำนวยการเขื่อนสิริกิติ์ เปิดเผยว่า ทางเขื่อนสิริกิติ์จะลดการปล่อยน้ำจากเขื่อนเพื่อลงแม่น้ำน่านเพียง 20 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบความเสียหายของประชาชนจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ทั้งนี้ เขื่อนสิริกิติ์ปรับลดการปล่อยน้ำท้ายเขื่อน เป็นครั้งที่ 3 หลังจากมีน้ำไหลเข้าอ่างน้อยลง
ปัจจุบันมีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ลดลงเหลือเพียง 35 ล้านลูกบาศก์เมตร และทางเขื่อนปล่อยน้ำจากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเฉลี่ย 60 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ดังนั้น เพื่อลดผลกระทบจากอุทกภัยทางภาคกลาง และทางบริเวณ จ.พิษณุโลก และพิจิตร ทางเขื่อนได้ประสานกับทางกรมชลประทานเพื่อขอปรับลดการปล่อยน้ำลงท้ายเขื่อนเหลือเพียงวันละ 20 ล้านลูกบาศก์เมตร จากการที่เคยปล่อยวันละกว่า 65 ล้านลูกบาศก์เมตร และปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำอยู่ที่ร้อยละ 98 หรือ 9,365 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังรับน้ำได้อีก 144 ล้านลูกบาศก์เมตร ตั้งแต่วันที่ 11 ต.ค.เป็นต้นไปทางเขื่อนสิริกิติ์จะลดการปล่อยน้ำลงเหลือ 20 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งจะลดปัญหาของอุทกภัยดังกล่าวได้มาก"
**น้ำเขื่อนใหญ่โคราชเกินความจุแล้ว
ด้านโครงการชลประทานนครราชสีมา รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 โครงการและอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 18 แห่งว่า ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ หรือเขื่อนอนขนาดใหญ่ 4 โครงการของ จ.นครราชสีมาได้เกินความจุทั้งหมดแล้วโดยมีปริมาณน้ำรวม 1,011.11 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.)คิดเป็น 101.53% ของขนาดความจุที่ระดับเก็บกักรวม 995.92 ล้าน ลบ.ม.
โดยเฉพาะเขื่อนลำตะคอง ต.คลองไผ่ อ.สีคิ้ว ที่ไหลผ่านพื้นที่เศรษฐกิจย่านชุมชนหลายอำเภอ รวมทั้งตัวเมืองโคราชนั้นมีปริมาณน้ำ 324.97 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็น 103.33% ของความจุที่ระดับเก็บกัก 314.49 ล้าน ลบ.ม.
ขณะที่เขื่อนลำพระเพลิง ต.ตะขบ อ.ปักธงชัย ที่ไหลผ่าน อ.ปักธงชัย-อ.โชคชัย ก่อนลงแม่น้ำมูล เป็นสาเหตุเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ปีที่ผ่านมามีปริมาณน้ำ 111.46 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็น 101.67% ของความจุที่ระดับเก็บกัก 109.63 ล้าน ลบ.ม.
ส่วนเขื่อนลำมูลบน ต.จระเข้หิน อ.ครบุรี ต้นแม่น้ำมูลมีปริมาณน้ำ 153.56 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็น 108.91% ของความจุที่ระดับเก็บกัก 141 ล้าน ลบ.ม.และเขื่อนลำแชะ ต.โคกกระชาย อ.ครบุรี ที่ไหลลงสมทบแม่น้ำมูลมีปริมาณน้ำ 278.16 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็น 101.15% ของความจุที่ระดับเก็บกัก 275 ล้าน ลบ.ม.
สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 18 แห่งมีปริมาณน้ำรวม 158.66 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็น 93.92% ของขนาดความจุรวม 168.94 ล้าน ลบ.ม.ซึ่งในจำนวนอ่างเก็บน้ำขนาดกลางทั้ง 18 แห่งนี้มีปริมาณน้ำเกินความจุไปแล้วกว่า 10 แห่ง
ทางด้านศูนย์เตือนภัยจังหวัดนครราชสีมาได้แจ้งเตือนให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มลำน้ำและบริเวณท้ายเขื่อน ให้เฝ้าระวังน้ำท่วมพร้อมเก็บทรัพย์สินสิ่งของมีค่าไว้บนที่สูง ประกอบด้วย พื้นที่ริมลำเชียงไกร อ.ด่านขุนทด อ.โนนไทย เตือนระดับ 2 ให้เฝ้าระวังน้ำท่วม,พื้นที่ริมลำมูล อ.โนนสูง อ.เฉลิมพระเกียรติ เตือนระดับ 2 ให้เฝ้าระวัง และบริเวณสองฝั่งตลิ่งริมมูลทั้งหมด ตั้งแต่ อ.โชคชัย อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.พิมาย อ.ชุมพวง จนถึง อ.เมืองยาง เตือนระดับ 3 ให้เฝ้าระวังเป็นพิเศษ
**หลายจังหวัดเหนือ-กลางยังอ่วม
รายงานข่าวแจ้งว่า ยังมีอีกหลายจังหวัดที่กำลังถูกน้ำท่วมอย่างหนักเช่นกัน เช่น จ.ลำปาง ยังมีน้ำท่วมขังอยู่อีก 9 อำเภอ จ.สุโขทัย มีน้ำล้นอ่างเก็บน้ำแม่มอก,อ่างฯห้วยท่าแพ,อ่างฯแม่กองค่าย,อ่างฯ ห้วยแม่สูง,อ่างฯห้วยทรวง ทุ่งทะเลหลวง(แก้มลิง) จ.ตาก ยังมีน้ำล้นตลิ่งจากแม่น้ำวังเข้าท่วมในพื้นที่อยู่อีก 4 อำเภอ
จ.พิษณุโลก ยังคงมีพื้นที่น้ำท่วมขัง 6 อำเภอ จ.พิจิตร ยังมีน้ำท่วมที่ลุ่ม 12 อำเภอ 83 ตำบล จ.เพชรบูรณ์ ยังมีน้ำท่วมจากแม่น้ำป่าสักล้นตลิ่งอีก 5 อำเภอ จ.ชัยนาท มีพื้นที่น้ำท่วมขังในพื้นที่ลุมจากปริมาณน้ำฝนสะสม 8 อำเภอ จ.สิงห์บุรี พื้นที่น้ำขังจากน้ำล้นตลิ่งจากคลองชัยนาท-ป่าสัก(ทุ่งเชียงราก)อยู่อีก 6 อำเภอ จ.สุพรรณบุรี เกิดน้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ จ.ลพบุรี ยังมีพื้นที่ประสบภัยถึง 11 อำเภอ ฯลฯ
บ่ายวันนี้ (11 ต.ค.) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา พระราชทานถุงยังชีพ พร้อมทั้งทรงเยี่ยมหน่วยแพทย์พระราชทาน ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้คณะแพทย์จากโรงพยาบาลรามาธิบดี ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เพื่อให้บริการช่วยเหลือราษฎรที่เจ็บป่วย บรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น ณ โรงสีข้าวมูลนิธิชัยพัฒนา ศูนย์สาธิตและพัฒนาพลังงานทดแทนแบบครบวงจร อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา โอกาสนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กราบบังคมทูลบรรยายสรุปความเสียหายจากน้ำท่วม ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และนายอำเภอลาดบัวหลวง กราบบังคมทูลบรรยายสรุปความเสียหายจากน้ำท่วมในเขต อ.ลาดบัวหลวง
จากนั้นเสด็จฯไปมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งศูนย์ช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมของมูลนิธิชัยพัฒนา การนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้มูลนิธิชัยพัฒนา จัดตั้งศูนย์ดังกล่าวขึ้น เพื่อเป็นสถานที่รองรับผู้ประสบภัยที่อพยพออกจากบ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วมเสียหาย และเป็นสถานที่รับบริจาคของใช้ที่จำเป็นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย
โอกาสนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดสร้างโรงครัวประกอบอาหาร สำหรับแจกจ่ายแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยทั้งสองแห่ง และให้คณะแพทย์และพยาบาล จากโรงพยาบาลรามาธิบดีออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการแก่ประชาชน
นอกจากนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมให้มูลนิธิชัยพัฒนาประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งในเบื้องต้นได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน เช่น กองทัพบก สภากาชาดไทย โรงเรียนจิตรลดา บริษัทไทยเบฟเวอรเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัทไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)ในการจัดหาสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่อไป
ผู้ที่ประสงค์จะช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนาติดต่อได้ที่ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา อาคาร 608 พระราชวังดุสิต แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ โทร 02-282-4425
ส่วนผู้ที่มีความประสงค์จะร่วมบริจาคเงินโดยเสด็จพระราชกุศล เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในครั้งนี้สามารถโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสวนจิตรลดา ชื่อบัญชี “ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม” เลขที่บัญชี 067-213125-3 เพื่อจะได้นำไปจัดซื้อจัดหาสิ่งของที่จำเป็น ในการบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบอุทกภัยต่อไป
วันเดียวกันนี้ เมื่อเวลา 10.30 น.พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จเยี่ยมครัวพระราชทานที่ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และประทานน้ำมันเรือยนต์กับโครงการเติมน้ำใจให้น้ำมัน 2,000 ถัง ประกอบด้วยน้ำมันดีเซล 15,000 ลิตรและน้ำมันเบนซิน 91 จำนวน 15,000 ลิตร ที่หน้าศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สำหรับครัวพระราชทานแห่งนี้ เริ่มดำเนินการครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย.ที่ผ่านมา เพื่อเลี้ยงผู้อพยพจากภัยน้ำท่วมที่ศูนย์อพยพ และนำไปส่งตามบ้านเรือนราษฎรวันละ 2 มื้อ โอกาสนี้ ทรงเยี่ยมหน่วยงานราชการที่มาช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมเยี่ยมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ที่มาตรวจรักษาผู้ประสบภัยที่มีอาการเจ็บป่วยโดยมีเจ้าหน้าที่ประจำ 24 ชั่วโมงด้วย
**"เมืองกรุงเก่า" ยังวิปโยคหนัก
ด้านสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยาวานนี้ (11 ต.ค.)ยังอยู่ในขั้นวิกฤตหนัก ชาวบ้านในชุมชนโรงเหล้าเก่า หมู่ 8 ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ยังคงเร่งขนย้ายข้าวของหนีน้ำกันอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านที่ติดอยู่ในบ้านซึ่งไม่ยอมออกไปไหน เนื่องจากห่วงข้าวของตัวเอง ขณะที่เสบียงอาหารที่เก็บไว้ก็ร่อยหลอลง ถุงยังชีพที่คนนำมาบริจาคก็เข้ามาไม่ถึง
ผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่เดินลุยน้ำทั้งวันเริ่มป่วยเป็นโรคน้ำกัดเท้า แล้สำหรับคนที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านต่างตกงานกันจำนวนมาก และยังไม่รู้ชะตากรรมว่าโรงงานจะจ่ายค่าชดเชยให้หรือไม่ เพราะเจ้าของโรงงานก็ถูกน้ำท่วมขาดทุนเหมือนกัน
**ผู้ว่าฯประสานตร.ดูแลทรัพย์สินปชช.
ทางด้าน พล.ท.อุดมเดช สีตบุตร แม่ทัพภาคที่ 1 พร้อมด้วยนายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ร่วมประชุมหารือสรุปปัญหาน้ำท่วม รวมถึงมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
นายวิทยา กล่าวว่า สิ่งที่ทางจังหวัดต้องเร่งดำเนินการ คือ ค้นหาผู้ที่ยังติดค้างในพื้นที่น้ำท่วม โดยเฉพาะเกาะเมือง และตั้งศูนย์ประสานงานรับบริจาคและประกอบอาหาร 6 จุด และยังได้เร่งประสานตำรวจภูธรภาค 1 จัดกำลังดูแลทรัพย์สินประชาชน โดยได้รับแจ้งว่าบ้านเรือนประชาชนถูกงัด รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ถูกขโมยนับสิบคัน
**เร่งสำรวจคนติด"เกาะเมืองกรุงเก่า"
ขณะที่ นายอารี ไกรนรา เลขานุการ รมว.มหาดไทย และนายณรงค์ อ่อนสะอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ประชุมหารือเพื่อมอบหมายงานให้เจ้าหน้าที่ทหารบก ทหารเรือ กรมประมง สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในการเร่งสำรวจผู้ที่ยังติดอยู่ในพื้นที่ต่างๆ เพื่อเข้าไปให้การช่วยเหลือทั้งอาหารและเครื่องดื่ม
นายณรงค์ กล่าวว่า ภารกิจในวันนี้ทหารเรือจะไปทำสะพานที่อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อใช้เป็นทางเดิน ส่วนที่วัดพุทไธศวรรย์ยังคงรักษาวัดได้ จึงประสานขอน้ำมันเพื่อใช้ในการสูบน้ำออกจากแนวคันกั้นน้ำ อย่างไรก็ตามชาวบ้านในเกาะเมือง อาทิ ต.คลองสระบัว ต.สวนพริก ต.ลุมพลี ร้องเรียนความช่วยเหลือเข้าไม่ถึง จึงอยากให้หน่วยงานราชการช่วยดูแลบ้าง
**นครสวรรค์ยังวิกฤต
ทางด้านสถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.นครสวรรค์ จนถึงขณะนี้ยังไม่คลี่คลาย เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถทำการซ่อมแซมจุดที่แตกบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาได้ ทำให้น้ำเจ้าพระยาไหลทะลักเพิ่มมากขึ้น และไหลเข้าถึงถนนสวรรค์วิถี บริเวณสี่แยกสะพานเดชาติวงศ์ และน้ำยังได้ไหลเข้าไปยังอุทยานสวรรค์ ซึ่งเป็นสถานที่ออกกำลังกาย โดยน้ำได้ท่วมเต็มพื้นที่อุทยานฯ และได้ไหลขึ้นไปยังถนนสายนครสวรรค์-พิษณุโลก จนเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องปิดการจราจรขาล่อง พิษณุโลก-นครสวรรค์ 1 เลน เพื่อทำการเทหินคลุกเพื่อป้องกันน้ำไหลข้ามถนนพหลโยธิน และจะข้ามไปยังศูนย์ราชการจังหวัดนครสวรรค์
ส่วนการช่วยเหลือผู้ป่วยที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง แต่ประสบปัญหาเนื่องจากน้ำบริเวณริมตลาดมีระดับสูงเกือบ 2 เมตร
*น้ำเพิ่มอีก70ซม.-หยุดซ่อมพนัง
นายบัณฑิต สงวนพวก นายอำเภอเมืองนครสวรรค์ เปิดเผยว่า วันนี้ (11) ระดับน้ำได้เพิ่มขึ้นจากวันที่ 10 ต.ค.ที่ผ่านมาและขยายวงกว้างออกไปอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่ ต.หนองสมบูรณ์ น้ำท่วมเต็มพื้นที่แล้ว ขณะเดียวกันน้ำยังไหลบ่ามุ่งหน้าไปยังริมถนนสายเอเชีย บริเวณสี่แยกเดชาติวงศ์ ขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้หยุดซ่อมแซมพนังกั้นน้ำบริเวณที่พังเสียหายแล้วเนื่องจากระดับน้ำเพิ่มสูงและไหลเชี่ยว
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมระดับน้ำท่วมขังในตัวเมืองย่านเศรษฐกิจคงสูงเพิ่มขึ้นอีกเฉลี่ย 70 ซม.และท่วมขังในร้านระดับ 40 ซม.แต่บางพื้นที่ซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำใกล้กับอุทยานสวรรค์น้ำท่วมระดับสูง 1.75 เมตร
**"ประชา"รับนครสวรรค์ถึงจุดเลวร้าย
ด้าน พล.ท.วรรณทิพย์ ว่องไว แม่ทัพภาค 3 กล่าวว่า จากที่ได้บินดูสภาพน้ำ พบว่าน้ำรอบ ๆ เมืองนครสวรรค์ ยังมีระดับสูง และคาดว่า จ.นครสวรรค์จะจมอีกสักประมาณ 10 วันถ้าฝนไม่ตก นอกจาก จ.นครสวรรค์ แล้วสถานการณ์น้ำที่ จ.อุทัยธานี ก็ยังหนักอยู่
พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ประธาน ศปภ.เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.นครสวรรค์ โดยยอมรับว่า สถานการณ์น้ำท่วม จ.นครสวรรค์ขณะนี้ถึงจุดเลวร้ายที่สุดแล้ว และคาดว่ามวลน้ำก้อนใหญ่จากภาคเหนือจะเดินทางมาถึง จ.พระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 14-15 ต.ค.นี้
** หนุ่มอ่างทองหนีน้ำโดนงูกัด
ที่ จ.อ่างทอง เกิดเหตุสลดขึ้น เมื่อร.ต.อ.อาทิตย์ สอทา ร้อยเวร สภ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ได้รับแจ้งพบศพผู้เสียชีวิตภายในบ้านเลขที่ 39/1หมู่ที่ 4 ต.สายทอง อ.ป่าโมก ที่เกิดเหตุถูกน้ำท่วมสูงกว่า 2 เมตรและบ้านที่เกิดเหตุอยู่ห่างจากถนนกว่า 2 กม.จึงให้เจ้าหน้าที่กู้ภัยนำเรือเข้าไปทำการนำศพออกมาทราบชื่อนายวิศิษฎ์ ทิพย์สุข อายุ 38 ปี เสียชีวิตในสภาพลอยอืดคว่ำหน้าสวมเสื้อแขนยาวสีดำ กางเกงขายาวสีดำ อยู่ข้างบ้าน
สอบสวนนางศรีวรรณ ขำนวลทอง อายุ 53 ปี แม่ของนายนายวิศิษฎ์ ให้การว่า ตนอยู่กับลูกชายเพียง 2 คน และบ้านตนถูกกระแสน้ำที่มาจาก อ.บางประหันทะลักเข้าท่วมอย่างรวดเร็วเมื่อวันที่ 5 ต.ค.ที่ผ่านมาทำให้ที่บ้านถูกน้ำท่วมกว่า 2 เมตร จนเกือบมิดหลังคา ตนจึงออกมาอาศัยอยู่บนถนนส่วนนายวิศิษฎ์ ไม่ยอมออกมาจากบ้านบอกจะเฝ้าบ้านจึงได้ขึ้นไปนอนบนหลังคาบ้านทุกคืน และวันที่ 6 ต.ค.ตนเข้าไปหาลูกก็พบว่าลูกยังอยู่บนหลังคาแต่ก็พบว่าบนหลังคามีงูขึ้นมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากตนบอกให้ลูกออกไปแต่ลูกก็ไม่ยอม จนวันที่ 7 ต.ค.ตนนำอาหารมาให้แต่ก็พบเพียงวิทยุเครื่องเดียวพร้อมงูเห่า อยู่กับวิทยุแต่นายวิศิษฎ์ ลูกชายหายไปจึงมาวันนี้ตนก็เข้าไปตามหาลูกอีกไม่พบจึงจะไปแจ้งความว่าลูกหาย แต่เพื่อนบ้านก็พายเรือมาบอกว่าเจอศพลูกตนลอยอยู่ข้างบ้านตนคาดว่าสาเหตุที่ลูกเสียชีวิตน่าจะมาจากระหว่างที่นอนอยู่บนหลังคาได้ถูกงูกัดจนตกน้ำเสียชีวิต
**เขื่อนสิริกิติ์ปรับลดการปล่อยน้ำ
นายธนรัชต์ ภุมมะกสิกร ผู้อำนวยการเขื่อนสิริกิติ์ เปิดเผยว่า ทางเขื่อนสิริกิติ์จะลดการปล่อยน้ำจากเขื่อนเพื่อลงแม่น้ำน่านเพียง 20 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบความเสียหายของประชาชนจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ทั้งนี้ เขื่อนสิริกิติ์ปรับลดการปล่อยน้ำท้ายเขื่อน เป็นครั้งที่ 3 หลังจากมีน้ำไหลเข้าอ่างน้อยลง
ปัจจุบันมีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ลดลงเหลือเพียง 35 ล้านลูกบาศก์เมตร และทางเขื่อนปล่อยน้ำจากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเฉลี่ย 60 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ดังนั้น เพื่อลดผลกระทบจากอุทกภัยทางภาคกลาง และทางบริเวณ จ.พิษณุโลก และพิจิตร ทางเขื่อนได้ประสานกับทางกรมชลประทานเพื่อขอปรับลดการปล่อยน้ำลงท้ายเขื่อนเหลือเพียงวันละ 20 ล้านลูกบาศก์เมตร จากการที่เคยปล่อยวันละกว่า 65 ล้านลูกบาศก์เมตร และปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำอยู่ที่ร้อยละ 98 หรือ 9,365 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังรับน้ำได้อีก 144 ล้านลูกบาศก์เมตร ตั้งแต่วันที่ 11 ต.ค.เป็นต้นไปทางเขื่อนสิริกิติ์จะลดการปล่อยน้ำลงเหลือ 20 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งจะลดปัญหาของอุทกภัยดังกล่าวได้มาก"
**น้ำเขื่อนใหญ่โคราชเกินความจุแล้ว
ด้านโครงการชลประทานนครราชสีมา รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 โครงการและอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 18 แห่งว่า ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ หรือเขื่อนอนขนาดใหญ่ 4 โครงการของ จ.นครราชสีมาได้เกินความจุทั้งหมดแล้วโดยมีปริมาณน้ำรวม 1,011.11 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.)คิดเป็น 101.53% ของขนาดความจุที่ระดับเก็บกักรวม 995.92 ล้าน ลบ.ม.
โดยเฉพาะเขื่อนลำตะคอง ต.คลองไผ่ อ.สีคิ้ว ที่ไหลผ่านพื้นที่เศรษฐกิจย่านชุมชนหลายอำเภอ รวมทั้งตัวเมืองโคราชนั้นมีปริมาณน้ำ 324.97 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็น 103.33% ของความจุที่ระดับเก็บกัก 314.49 ล้าน ลบ.ม.
ขณะที่เขื่อนลำพระเพลิง ต.ตะขบ อ.ปักธงชัย ที่ไหลผ่าน อ.ปักธงชัย-อ.โชคชัย ก่อนลงแม่น้ำมูล เป็นสาเหตุเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ปีที่ผ่านมามีปริมาณน้ำ 111.46 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็น 101.67% ของความจุที่ระดับเก็บกัก 109.63 ล้าน ลบ.ม.
ส่วนเขื่อนลำมูลบน ต.จระเข้หิน อ.ครบุรี ต้นแม่น้ำมูลมีปริมาณน้ำ 153.56 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็น 108.91% ของความจุที่ระดับเก็บกัก 141 ล้าน ลบ.ม.และเขื่อนลำแชะ ต.โคกกระชาย อ.ครบุรี ที่ไหลลงสมทบแม่น้ำมูลมีปริมาณน้ำ 278.16 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็น 101.15% ของความจุที่ระดับเก็บกัก 275 ล้าน ลบ.ม.
สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 18 แห่งมีปริมาณน้ำรวม 158.66 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็น 93.92% ของขนาดความจุรวม 168.94 ล้าน ลบ.ม.ซึ่งในจำนวนอ่างเก็บน้ำขนาดกลางทั้ง 18 แห่งนี้มีปริมาณน้ำเกินความจุไปแล้วกว่า 10 แห่ง
ทางด้านศูนย์เตือนภัยจังหวัดนครราชสีมาได้แจ้งเตือนให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มลำน้ำและบริเวณท้ายเขื่อน ให้เฝ้าระวังน้ำท่วมพร้อมเก็บทรัพย์สินสิ่งของมีค่าไว้บนที่สูง ประกอบด้วย พื้นที่ริมลำเชียงไกร อ.ด่านขุนทด อ.โนนไทย เตือนระดับ 2 ให้เฝ้าระวังน้ำท่วม,พื้นที่ริมลำมูล อ.โนนสูง อ.เฉลิมพระเกียรติ เตือนระดับ 2 ให้เฝ้าระวัง และบริเวณสองฝั่งตลิ่งริมมูลทั้งหมด ตั้งแต่ อ.โชคชัย อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.พิมาย อ.ชุมพวง จนถึง อ.เมืองยาง เตือนระดับ 3 ให้เฝ้าระวังเป็นพิเศษ
**หลายจังหวัดเหนือ-กลางยังอ่วม
รายงานข่าวแจ้งว่า ยังมีอีกหลายจังหวัดที่กำลังถูกน้ำท่วมอย่างหนักเช่นกัน เช่น จ.ลำปาง ยังมีน้ำท่วมขังอยู่อีก 9 อำเภอ จ.สุโขทัย มีน้ำล้นอ่างเก็บน้ำแม่มอก,อ่างฯห้วยท่าแพ,อ่างฯแม่กองค่าย,อ่างฯ ห้วยแม่สูง,อ่างฯห้วยทรวง ทุ่งทะเลหลวง(แก้มลิง) จ.ตาก ยังมีน้ำล้นตลิ่งจากแม่น้ำวังเข้าท่วมในพื้นที่อยู่อีก 4 อำเภอ
จ.พิษณุโลก ยังคงมีพื้นที่น้ำท่วมขัง 6 อำเภอ จ.พิจิตร ยังมีน้ำท่วมที่ลุ่ม 12 อำเภอ 83 ตำบล จ.เพชรบูรณ์ ยังมีน้ำท่วมจากแม่น้ำป่าสักล้นตลิ่งอีก 5 อำเภอ จ.ชัยนาท มีพื้นที่น้ำท่วมขังในพื้นที่ลุมจากปริมาณน้ำฝนสะสม 8 อำเภอ จ.สิงห์บุรี พื้นที่น้ำขังจากน้ำล้นตลิ่งจากคลองชัยนาท-ป่าสัก(ทุ่งเชียงราก)อยู่อีก 6 อำเภอ จ.สุพรรณบุรี เกิดน้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ จ.ลพบุรี ยังมีพื้นที่ประสบภัยถึง 11 อำเภอ ฯลฯ