สัปดาห์ที่สองของการเข้าบริหารประเทศ คณะรัฐมนตรีภายใต้การกำกับ และบงการโดยนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร ก็ได้มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้ง ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน เป็นประธานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ เพื่อมาทำงานโดยต้องการให้การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐเป็นไปตามหลักนิติธรรมอย่างแท้จริง เหตุผลประกอบมติ ครม.ดังกล่าวว่าเพื่อมุ่งหมายให้เกิดความเป็นธรรม ความชอบธรรม และความเสมอภาคของบุคคลในสังคม เพื่อให้บุคคลมีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ตลอดจนได้รับความยุติธรรมจากระบบกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติที่เกิดจากอคติต่างๆ ของผู้มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
การที่ ครม.มีมติดังกล่าวก็มิใช่เรื่องน่าแปลกประหลาดใจแต่อย่างใด สำหรับผู้ที่ติดตามบทบาทของ ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน หรือการแสดงความคิดเห็นในทางกฎหมายต่างกรรมต่างวาระของท่านผู้นี้ ที่มีจุดยืนในทางที่เอื้อประโยชน์ และช่วยเหลือนักโทษชายทักษิณมาโดยตลอด นับแต่เกิดเหตุรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา ทั้งหัวหน้าสำนักงานกฎหมายของ ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน และทีมทนายความหลายคน ก็รับว่าความให้กับทักษิณหลายคดี โดยเฉพาะคดียึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้าน อันเป็นคดีประวัติศาสตร์ครั้งแรกของประเทศไทย ที่สามารถลงโทษ และยึดทรัพย์ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้
การตั้ง ศ.ดร.อุกฤษให้มาทำงานนี้ จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจอะไรสำหรับผู้เขียน แต่ที่น่าประหลาดใจและน่าสะพรึงกลัวในแนวคิดของ ครม.ชุดนี้ ก็คือ เนื้อหาสาระในคำสั่งแต่งตั้งตามมติ ครม.อันถือเป็นคำสั่งของฝ่ายบริหาร ไฉนจึงบังอาจแต่งตั้งบุคคลภายนอกซึ่งไม่มีสถานะทางกฎหมาย และโดยอาศัยมติ ครม.ให้ไปควบคุม ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ฝ่ายตุลาการ (ศาล) รวมทั้งองค์กรอิสระต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ ทั้งๆ ที่องค์กรต่างๆ เหล่านั้น ต่างเป็นอำนาจอธิปไตยที่แยกจากอำนาจฝ่ายบริหาร โดยมีองค์กรสูงสุดของอำนาจแต่ละฝ่ายคอยควบคุมตรวจสอบ ถ่วงดุลซึ่งกันและกันอยู่แล้ว มติ ครม.ไม่สามารถที่จะสั่งหรือแต่งตั้งบุคคลใดให้ไปควบคุมกำกับ ตรวจสอบองค์กรที่อยู่นอกเหนืออำนาจของตนได้
และองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยทั้งหลาย ต่างถูกควบคุมตรวจสอบ และยึดโยงกับประชาชนโดยเป็นไปตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุผลอันใดที่จะมีคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยมติ ครม.เข้าไปมีอำนาจกระทำการใดเหนืออำนาจขององค์กรต่างๆ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญได้ ดังที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 3 “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม”
มาตรา 4 “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง” มาตรา 5 “ประชาชนชาวไทย ไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน” ซึ่งเมื่อพิจารณากฎหมายรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้เพียงดังกล่าวนี้ ก็ย่อมทำให้เกิดข้อสงสัยว่า คณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) รัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่งตั้งขึ้นมาทำไม เพื่อทำภารกิจอะไร และคณะกรรมการนี้ยังมีความซ้ำซ้อนกับคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ. 2553 อีกด้วย จึงหาเหตุผล และคำอธิบายไม่ได้
ความสงสัยของผู้คนดังกล่าวต่อมติของ ครม.ในเรื่องนี้ คงเริ่มเห็นภาพชัดเจน และเข้าใจเจตนาที่ซ่อนเร้นของรัฐบาลนี้ได้ไม่ยาก เมื่อนำภาพความเคลื่อนไหวของ นักกฎหมายจำนวน 7 คนชื่อว่า “คณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร” ซึ่งประกอบด้วย นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์, จันทจิรา เอี่ยมมยุรา, ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล, ธีระ สุธีวรางกูร, สาวิตรี สุขศรี, ปิยบุตร แสงกนกกุล, ปูนเทพ ศิรินุพงศ์ กลุ่มดังกล่าวได้ออกแถลงการณ์เพื่อเสนอต่อรัฐบาลให้กระทำการ
(1) ลบล้างผลพวงของรัฐประหาร วันที่ 19 กันยายน 2549 โดยประกาศให้การกระทำทั้งหมดของคณะรัฐประหาร เสียเปล่าและถือว่าไม่เคยเกิดขึ้น ไม่เคยมีผลทางกฎหมาย ไม่เคยมีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่สืบเนื่องกับรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 ไม่มีผลในทางกฎหมาย การตรวจสอบของ คตส.เป็นอันยุติลง
(2) เสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 อันเป็นบทบัญญัติที่คุ้มครอง ป้องกันการกระทำความผิดอันเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ กลุ่มคนพวกนี้ก็เสนอให้แก้ไข หาว่ามีปัญหาในการบังคับใช้ ไม่เป็นไปตามหลักกฎหมายบ้างล่ะ บทกำหนดโทษหนักเกินสมควรแก่เหตุ ทั้งที่สวนทางต่อความรู้สึกของประชาชนไทยทั้งประเทศ และเป็นการจงใจที่จะทำลายความน่าเคารพ เทิดทูนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
(3) กลุ่มเหล่านี้ยังเสนอให้เยียวยาผู้ได้รับความเสียหาย ภายหลังรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยละเลยที่จะพูดถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของรัฐบาลทักษิณ และการก่อเหตุจลาจลเผาบ้านเผาเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดง ภายใต้การบงการชักใยของทักษิณที่ได้ก่อให้เกิดรอยแผล และความเสียหายต่อประเทศชาติและสังคม โดยมิอาจประมาณค่าได้
(4) สุดท้ายกลุ่มนักกฎหมาย หยิบมือเดียวกลุ่มนี้ ยังบังอาจเสนอให้ล้มล้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ทั้งฉบับอีกด้วย
ทั้งหมดย่อมส่อเจตนาให้เห็นว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์โดยการชักใย บงการ ของนักโทษชายทักษิณ ต้องการรื้อระบบ โครงสร้างทางอำนาจ และกระบวนการทางกฎหมายหลักยุติธรรมของประเทศ เพื่อเข้าแทรกแซงครอบงำรัฐสภา ศาล และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ โดยเอื้อประโยชน์ให้กับตนเอง ลบล้างความผิดทั้งหลายของตนที่ได้กระทำไว้กับประเทศชาติ ทำลายหลักนิติธรรม ทำให้คำพิพากษาของศาลสิ้นผลบังคับกับตนเอง และสร้างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ด้วยน้ำมือของตนเอง โดยมีนักกฎหมายที่ทรยศต่ออุดมการณ์ และจุดยืนของหลักนิติศาสตร์มาเป็นสมุนรับใช้ เมื่อดูพฤติกรรมของคณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) และรัฐบาลที่ขานรับแถลงการณ์ของนักกฎหมายกลุ่มนี้
จึงสรุปได้ว่า การกระทำของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ กำลังเป็นผู้ทำลายหลักนิติธรรมของบ้านเมืองเสียเอง และบรรดานักนิติศาสตร์ที่รับใช้รัฐบาลนี้ โดยแอบอ้างสร้างวาทกรรมสวยหรูว่า เป็นนิติศาสตร์เพื่อราษฎร แท้จริงแล้ว พวกเขาเป็นเพียงนักนิติศาสตร์เพื่อทรราช และรับใช้อาชญากร....เท่านั้นเอง
การที่ ครม.มีมติดังกล่าวก็มิใช่เรื่องน่าแปลกประหลาดใจแต่อย่างใด สำหรับผู้ที่ติดตามบทบาทของ ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน หรือการแสดงความคิดเห็นในทางกฎหมายต่างกรรมต่างวาระของท่านผู้นี้ ที่มีจุดยืนในทางที่เอื้อประโยชน์ และช่วยเหลือนักโทษชายทักษิณมาโดยตลอด นับแต่เกิดเหตุรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา ทั้งหัวหน้าสำนักงานกฎหมายของ ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน และทีมทนายความหลายคน ก็รับว่าความให้กับทักษิณหลายคดี โดยเฉพาะคดียึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้าน อันเป็นคดีประวัติศาสตร์ครั้งแรกของประเทศไทย ที่สามารถลงโทษ และยึดทรัพย์ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้
การตั้ง ศ.ดร.อุกฤษให้มาทำงานนี้ จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจอะไรสำหรับผู้เขียน แต่ที่น่าประหลาดใจและน่าสะพรึงกลัวในแนวคิดของ ครม.ชุดนี้ ก็คือ เนื้อหาสาระในคำสั่งแต่งตั้งตามมติ ครม.อันถือเป็นคำสั่งของฝ่ายบริหาร ไฉนจึงบังอาจแต่งตั้งบุคคลภายนอกซึ่งไม่มีสถานะทางกฎหมาย และโดยอาศัยมติ ครม.ให้ไปควบคุม ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ฝ่ายตุลาการ (ศาล) รวมทั้งองค์กรอิสระต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ ทั้งๆ ที่องค์กรต่างๆ เหล่านั้น ต่างเป็นอำนาจอธิปไตยที่แยกจากอำนาจฝ่ายบริหาร โดยมีองค์กรสูงสุดของอำนาจแต่ละฝ่ายคอยควบคุมตรวจสอบ ถ่วงดุลซึ่งกันและกันอยู่แล้ว มติ ครม.ไม่สามารถที่จะสั่งหรือแต่งตั้งบุคคลใดให้ไปควบคุมกำกับ ตรวจสอบองค์กรที่อยู่นอกเหนืออำนาจของตนได้
และองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยทั้งหลาย ต่างถูกควบคุมตรวจสอบ และยึดโยงกับประชาชนโดยเป็นไปตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุผลอันใดที่จะมีคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยมติ ครม.เข้าไปมีอำนาจกระทำการใดเหนืออำนาจขององค์กรต่างๆ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญได้ ดังที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 3 “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม”
มาตรา 4 “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง” มาตรา 5 “ประชาชนชาวไทย ไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน” ซึ่งเมื่อพิจารณากฎหมายรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้เพียงดังกล่าวนี้ ก็ย่อมทำให้เกิดข้อสงสัยว่า คณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) รัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่งตั้งขึ้นมาทำไม เพื่อทำภารกิจอะไร และคณะกรรมการนี้ยังมีความซ้ำซ้อนกับคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ. 2553 อีกด้วย จึงหาเหตุผล และคำอธิบายไม่ได้
ความสงสัยของผู้คนดังกล่าวต่อมติของ ครม.ในเรื่องนี้ คงเริ่มเห็นภาพชัดเจน และเข้าใจเจตนาที่ซ่อนเร้นของรัฐบาลนี้ได้ไม่ยาก เมื่อนำภาพความเคลื่อนไหวของ นักกฎหมายจำนวน 7 คนชื่อว่า “คณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร” ซึ่งประกอบด้วย นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์, จันทจิรา เอี่ยมมยุรา, ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล, ธีระ สุธีวรางกูร, สาวิตรี สุขศรี, ปิยบุตร แสงกนกกุล, ปูนเทพ ศิรินุพงศ์ กลุ่มดังกล่าวได้ออกแถลงการณ์เพื่อเสนอต่อรัฐบาลให้กระทำการ
(1) ลบล้างผลพวงของรัฐประหาร วันที่ 19 กันยายน 2549 โดยประกาศให้การกระทำทั้งหมดของคณะรัฐประหาร เสียเปล่าและถือว่าไม่เคยเกิดขึ้น ไม่เคยมีผลทางกฎหมาย ไม่เคยมีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่สืบเนื่องกับรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 ไม่มีผลในทางกฎหมาย การตรวจสอบของ คตส.เป็นอันยุติลง
(2) เสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 อันเป็นบทบัญญัติที่คุ้มครอง ป้องกันการกระทำความผิดอันเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ กลุ่มคนพวกนี้ก็เสนอให้แก้ไข หาว่ามีปัญหาในการบังคับใช้ ไม่เป็นไปตามหลักกฎหมายบ้างล่ะ บทกำหนดโทษหนักเกินสมควรแก่เหตุ ทั้งที่สวนทางต่อความรู้สึกของประชาชนไทยทั้งประเทศ และเป็นการจงใจที่จะทำลายความน่าเคารพ เทิดทูนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
(3) กลุ่มเหล่านี้ยังเสนอให้เยียวยาผู้ได้รับความเสียหาย ภายหลังรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยละเลยที่จะพูดถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของรัฐบาลทักษิณ และการก่อเหตุจลาจลเผาบ้านเผาเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดง ภายใต้การบงการชักใยของทักษิณที่ได้ก่อให้เกิดรอยแผล และความเสียหายต่อประเทศชาติและสังคม โดยมิอาจประมาณค่าได้
(4) สุดท้ายกลุ่มนักกฎหมาย หยิบมือเดียวกลุ่มนี้ ยังบังอาจเสนอให้ล้มล้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ทั้งฉบับอีกด้วย
ทั้งหมดย่อมส่อเจตนาให้เห็นว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์โดยการชักใย บงการ ของนักโทษชายทักษิณ ต้องการรื้อระบบ โครงสร้างทางอำนาจ และกระบวนการทางกฎหมายหลักยุติธรรมของประเทศ เพื่อเข้าแทรกแซงครอบงำรัฐสภา ศาล และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ โดยเอื้อประโยชน์ให้กับตนเอง ลบล้างความผิดทั้งหลายของตนที่ได้กระทำไว้กับประเทศชาติ ทำลายหลักนิติธรรม ทำให้คำพิพากษาของศาลสิ้นผลบังคับกับตนเอง และสร้างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ด้วยน้ำมือของตนเอง โดยมีนักกฎหมายที่ทรยศต่ออุดมการณ์ และจุดยืนของหลักนิติศาสตร์มาเป็นสมุนรับใช้ เมื่อดูพฤติกรรมของคณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) และรัฐบาลที่ขานรับแถลงการณ์ของนักกฎหมายกลุ่มนี้
จึงสรุปได้ว่า การกระทำของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ กำลังเป็นผู้ทำลายหลักนิติธรรมของบ้านเมืองเสียเอง และบรรดานักนิติศาสตร์ที่รับใช้รัฐบาลนี้ โดยแอบอ้างสร้างวาทกรรมสวยหรูว่า เป็นนิติศาสตร์เพื่อราษฎร แท้จริงแล้ว พวกเขาเป็นเพียงนักนิติศาสตร์เพื่อทรราช และรับใช้อาชญากร....เท่านั้นเอง