โดย...โยธิน กลางยุทธ์
เมื่อวันที่ 18 กันยายน ที่ผ่านมา มีงานรำลึกการทำรัฐประหารครั้งล่าสุด ครบรอบ 5 ปี โดยมีวัตถุประสงค์ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ อาจารย์สอนวิชากฎหมาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ส่วนหนึ่งตั้งกลุ่มชื่อนิติราษฎร์ ออกแถลงการณ์เสนอลบล้างผลพวงจากการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นประเด็นให้วิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ขณะนี้
คณะนิติราษฎร์ ประกอบด้วยคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วย นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ นางจันทจิรา เอี่ยมมยุรา นายฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล นายธีระ สุธีวรางกูร นางสาวสาวิตรี สุขศรี นายปิยบุตร แสงกนกกุล และนายปูนเทพ ศิรินุพงศ์ ออกแถลงการณ์ “5 ปีรัฐประหาร 1 ปีนิติราษฎร์” เสนอ 4 ประเด็นต่อสังคมประเทศไทยคือ
1. ให้มีการล้างผลพวงของรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยประกาศให้รัฐประหาร และการกระทำใดๆ ที่มุ่งต่อผลในทางกฎหมายของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มาตรา 36 และมาตรา 37 ถือว่าไม่เคยเกิดขึ้น และไม่มีผลทางกฎหมาย
รวมทั้งประกาศให้คำวินิจฉัยของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่อาศัยอำนาจตามประกาศ คปค.และที่เป็นผลต่อเนื่องจากรัฐประหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาคำวินิจฉัยและคำพิพากษาที่เกิดจากคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดย คปค.ถือว่าไม่เคยเกิดขึ้น และไม่มีผลในทางกฎหมาย
การประกาศความเสียเปล่าของบรรดาคำวินิจฉัยและคำวินิจฉัยนั้น ไม่ใช่เป็นการนิรโทษกรรม การอภัยโทษ หรือการล้างมลทินแก่บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด และไม่ใช่การลบล้างการกระทำทั้งหลายทั้งปวงของผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ดังนั้นหากจะเริ่มดำเนินคดีกับบุคคลดังกล่าวใหม่ก็สามารถกระทำไปตามกระบวนการกฎหมายปกติได้
2. การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยคณะนิติราษฎร์เสนอให้คณะกรรมการปฏิรูปฯ กฎหมายจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน เพื่อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
3. เรื่องกระบวนการยุติธรรมกับผู้ต้องหาหรือจำเลย และการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายภายหลังรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 ที่จะอำนวยความยุติธรรมแก่ทุกฝ่ายคณะนิติราษฎร์ไม่เห็นด้วยกับการออกกฎหมายนิรโทษกรรมที่มีเป้าหมายแอบแฝงเพื่อยุติกระบวนการพิสูจน์ความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้น ขณะที่สิทธิการประกันตัวของผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดโดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองต้องได้รับการประกันตามกระบวนการที่ถูกต้องและเป็นธรรม ส่วนการเยียวยาเสนอให้พิจารณาออกมติ ครม.เพื่อให้ความช่วยเหลือ หรือจ่ายค่าทดแทนแก่ผู้เสียหายอย่างไม่เลือกปฏิบัติ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมารับผิดชอบโดยเฉพาะ
4. การยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 และการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ ครม.เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม “หมวด 16 การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่” เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ และหลังจากสภาร่างรัฐธรรมนูญแล้วให้นำร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวไปออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบ
มีเสียงตอบรับแถลงการณ์ของคณะนิติราษฎร์ก็แต่ในกลุ่มของรัฐบาลที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำเท่านั้นเอง เพราะข้อเรียกร้องดังกล่าวนี้สอดคล้องกับข้อเรียกร้องของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แทบจะเรียกว่าเป็นเนื้อเดียวกันเลย นั่นก็คือ กลับไปสู่เหตุการณ์ก่อนวันที่ 19 กันยายน 2549 ซึ่งก็คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เตรียมการเลือกตั้งหลังจากที่การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ถ้าหากล้มล้างผลพวงของการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 ตามที่คณะนิติราษฎร์เรียกร้องถือว่าไม่เคยเกิดขึ้น ไม่มีผลทางกฎหมาย คำสั่งประกาศของ คปค.ใช้ไม่ได้ กกต.ชุดนี้ก็จัดการเลือกตั้งไม่ได้ รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช รัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ต้องล้มเลิกไป
รวมทั้งรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นี้ด้วย เพราะมาจากการจัดการเลือกตั้งของ กกต.ที่ คปค.เป็นผู้แต่งตั้ง
หรือจะเอาไว้เฉพาะ กกต.ที่จัดการเลือกตั้งแล้วได้พรรคพลังประชาชนชนะเลือกตั้ง ทำให้สมัคร สุนทรเวช ม้าใช้ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เป็นนายกรัฐมนตรี และพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง ทำให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โคลนนิ่งของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ส่วน คตส.ไม่เอาเพราะ คปค.ตั้งขึ้นมาแล้วไปตรวจสอบเจอการทุจริต การประพฤติมิชอบของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ระหว่างที่เป็นนายกรัฐมนตรี
หรือคณะนิติราษฎร์จะเลือกเอาอะไร ไหนๆ ก็ช่างคิด ช่างฝัน ช่างจินตนาการ ก็น่าจะคิดฝันให้ทะลุตลอดว่าจะจัดการบ้านเมืองอย่างไรตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 จนถึงวันนี้ 19-20 กันยายน 2554 ไม่มี คปค.ไม่มีรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ไม่มีรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ไม่มีรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ไม่มีรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และไม่มีรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เอารัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับมาอย่างนั้นหรือ?
คณะนิติราษฎร์โดยนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ออกแถลงการณ์เสียสวยหรูเพื่อจะซ่อนปมรับใช้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่า การประกาศความเสียเปล่าของบรรดาคำวินิจฉัยและคำพิพากษานั้น มิใช่การนิรโทษกรรม หรือการล้างมลทินแก่บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด และไม่ใช่เป็นการลบล้างการกระทำทั้งหลายทั้งปวงของผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ดังนั้นหากจะเริ่มคดีใหม่ก็สามารถกระทำไปตามกระบวนการกฎหมายปกติได้
ท่านผู้เป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายที่รวมตัวกันเป็นคณะนิติราษฎร์ ไม่เคยรู้มาก่อนเลยหรือว่า ไม่มีประเทศไหนในโลกนี้ออกกฎหมายมาลบล้างคำพิพากษาของศาล
การรัฐประหารมันได้เกิดขึ้นแล้วจริงๆ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 จะลบมันออกจากประวัติศาสตร์ประเทศไทยไปได้อย่างไร เช่นเดียวกับการเป็นนายกรัฐมนตรีของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในขณะนี้แม้ว่าหลายต่อหลายคนจะไม่อยากยอมรับความจริงนี้ก็ตาม
ใช่ คปค.แต่งตั้ง คตส.ขึ้นมาตรวจสอบพฤติกรรมของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีจริงๆ พบการกระทำผิดจริงๆ ในคดีที่ดินรัชดาฯ เอาใครมาตรวจสอบก็จะได้ความจริงเหมือนกันหมดว่าที่ดินตรงนั้นเดิมราคา 2,000 กว่าล้านบาท คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยานายกรัฐมนตรีประมูลซื้อได้มาในราคาเกือบ 800 ล้านบาท พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ให้บัตรประจำตัวนายกรัฐมนตรีแก่ภริยามาทำธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายนี้ ทักษิณเกรงว่าการโอนที่จะไม่ทันสิ้นปีนั้น (2546) วิตกว่าคุณหญิงพจมานผู้เป็นภริยาจะต้องจ่ายค่าโอนแพง จึงประกาศให้วันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันทำงาน ทั้งที่แต่ไหนแต่ไรวันที่ 31 ธันวาคม วันสิ้นศักราช ราชการประกาศให้เป็นวันหยุด ก่อนการซื้อขายที่ดินตรงนั้นห้ามสร้างตึกสูง แต่พอคุณหญิงพจมานซื้อแล้ว ก็มีประกาศยกเลิก
ทั้งหลายทั้งปวงนี้ถ้าหากนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ เป็นคนตรวจสอบก็จะได้ความเหมือนกัน หรือมิใช่
พูดกันประสาชาวบ้านก็คือ ให้หมาที่ไหนมาตรวจสอบก็จะได้ความจริงเหมือนกันยกเว้นขี้ข้าม้าใช้ของพ.ต.ท.ทักษิณ มันอาจจะพูดไปเป็นอย่างอื่น
คตส.ตรวจสอบแล้วก็ส่งให้สำนักงานอัยการ อัยการเห็นสมควรฟ้อง และศาลที่พิจารณาคดีนี้ คือ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง องค์คณะผู้พิพากษามาจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ท่านเหล่านี้ก็คงจะพอรู้ตัวบทกฎหมายไม่แพ้ท่านอาจารย์คณะนิติราษฎร์นี้กระมัง และที่สำคัญศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้นมาจากรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2540
และก็มีหลายคดีที่ คตส.ตรวจสอบแล้วอัยการสั่งไม่ฟ้อง ฟ้องแล้วศาลพิจารณายกฟ้อง มีที่ลงโทษก็พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถูกจำคุก 2 ปี และคดียึดทรัพย์ศาลสั่งให้ยึดได้เพียง 4.6 หมื่นล้านบาทจาก 7.3 หมื่นล้านบาท
เกลียดการรัฐประหาร หรือเกลียดที่ทำกับทักษิณ?
ถ้าหากเกลียดการปฏิวัติรัฐประหารจริงๆ จังๆ ทำไมไม่เรียกร้องยกเลิกประกาศต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2475 เรื่อยมาจนกระทั่งถึงการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพลถนอม กิตติขจร พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ พล.อ.สุจินดา คราประยูร
ทำไมมาเกลียดการรัฐประหารจริงๆ จังๆ เอาตอนที่เขาทำกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
เราจะต้องถนอมรักรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เอาไว้อย่าให้ใครมาล้ม อย่าให้ใครมาคว่ำ ไม่ว่าจะโกหกตอแหลอย่างไรก็ต้องอด ต้องทน ก้มหน้ารับ ไม่เช่นนั้นวงจรอุบาทว์จะกลับมา
ซึ่งแท้จริงแล้วไม่รู้ว่าใครอุบาทว์มากกว่ากัน
หรือแท้จริงก็รู้ว่าออกแถลงการณ์มาก็ไม่มีผลอันใด ถ้าหากนักกฎหมาย 9 คน 10 คนรวมกันออกแถลงการณ์แล้วสามารถล้มล้างการรัฐประหารที่แล้วมาได้ บุคคลคณะนี้ก็ย่อมมีอำนาจเหนือคณะรัฐประหารเสียอีก แต่แถลงการณ์นี้ไม่น่าจะถึงกับสูญเปล่า บางทีอาจจะเข้าตาพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้าตาดร.อุกฤษ มงคลนาวิน เข้าตานางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร บ้างก็ได้ใครจะไปรู้ ว่าไหม?
เมื่อวันที่ 18 กันยายน ที่ผ่านมา มีงานรำลึกการทำรัฐประหารครั้งล่าสุด ครบรอบ 5 ปี โดยมีวัตถุประสงค์ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ อาจารย์สอนวิชากฎหมาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ส่วนหนึ่งตั้งกลุ่มชื่อนิติราษฎร์ ออกแถลงการณ์เสนอลบล้างผลพวงจากการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นประเด็นให้วิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ขณะนี้
คณะนิติราษฎร์ ประกอบด้วยคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วย นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ นางจันทจิรา เอี่ยมมยุรา นายฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล นายธีระ สุธีวรางกูร นางสาวสาวิตรี สุขศรี นายปิยบุตร แสงกนกกุล และนายปูนเทพ ศิรินุพงศ์ ออกแถลงการณ์ “5 ปีรัฐประหาร 1 ปีนิติราษฎร์” เสนอ 4 ประเด็นต่อสังคมประเทศไทยคือ
1. ให้มีการล้างผลพวงของรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยประกาศให้รัฐประหาร และการกระทำใดๆ ที่มุ่งต่อผลในทางกฎหมายของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มาตรา 36 และมาตรา 37 ถือว่าไม่เคยเกิดขึ้น และไม่มีผลทางกฎหมาย
รวมทั้งประกาศให้คำวินิจฉัยของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่อาศัยอำนาจตามประกาศ คปค.และที่เป็นผลต่อเนื่องจากรัฐประหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาคำวินิจฉัยและคำพิพากษาที่เกิดจากคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดย คปค.ถือว่าไม่เคยเกิดขึ้น และไม่มีผลในทางกฎหมาย
การประกาศความเสียเปล่าของบรรดาคำวินิจฉัยและคำวินิจฉัยนั้น ไม่ใช่เป็นการนิรโทษกรรม การอภัยโทษ หรือการล้างมลทินแก่บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด และไม่ใช่การลบล้างการกระทำทั้งหลายทั้งปวงของผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ดังนั้นหากจะเริ่มดำเนินคดีกับบุคคลดังกล่าวใหม่ก็สามารถกระทำไปตามกระบวนการกฎหมายปกติได้
2. การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยคณะนิติราษฎร์เสนอให้คณะกรรมการปฏิรูปฯ กฎหมายจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน เพื่อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
3. เรื่องกระบวนการยุติธรรมกับผู้ต้องหาหรือจำเลย และการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายภายหลังรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 ที่จะอำนวยความยุติธรรมแก่ทุกฝ่ายคณะนิติราษฎร์ไม่เห็นด้วยกับการออกกฎหมายนิรโทษกรรมที่มีเป้าหมายแอบแฝงเพื่อยุติกระบวนการพิสูจน์ความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้น ขณะที่สิทธิการประกันตัวของผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดโดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองต้องได้รับการประกันตามกระบวนการที่ถูกต้องและเป็นธรรม ส่วนการเยียวยาเสนอให้พิจารณาออกมติ ครม.เพื่อให้ความช่วยเหลือ หรือจ่ายค่าทดแทนแก่ผู้เสียหายอย่างไม่เลือกปฏิบัติ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมารับผิดชอบโดยเฉพาะ
4. การยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 และการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ ครม.เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม “หมวด 16 การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่” เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ และหลังจากสภาร่างรัฐธรรมนูญแล้วให้นำร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวไปออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบ
มีเสียงตอบรับแถลงการณ์ของคณะนิติราษฎร์ก็แต่ในกลุ่มของรัฐบาลที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำเท่านั้นเอง เพราะข้อเรียกร้องดังกล่าวนี้สอดคล้องกับข้อเรียกร้องของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แทบจะเรียกว่าเป็นเนื้อเดียวกันเลย นั่นก็คือ กลับไปสู่เหตุการณ์ก่อนวันที่ 19 กันยายน 2549 ซึ่งก็คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เตรียมการเลือกตั้งหลังจากที่การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ถ้าหากล้มล้างผลพวงของการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 ตามที่คณะนิติราษฎร์เรียกร้องถือว่าไม่เคยเกิดขึ้น ไม่มีผลทางกฎหมาย คำสั่งประกาศของ คปค.ใช้ไม่ได้ กกต.ชุดนี้ก็จัดการเลือกตั้งไม่ได้ รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช รัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ต้องล้มเลิกไป
รวมทั้งรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นี้ด้วย เพราะมาจากการจัดการเลือกตั้งของ กกต.ที่ คปค.เป็นผู้แต่งตั้ง
หรือจะเอาไว้เฉพาะ กกต.ที่จัดการเลือกตั้งแล้วได้พรรคพลังประชาชนชนะเลือกตั้ง ทำให้สมัคร สุนทรเวช ม้าใช้ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เป็นนายกรัฐมนตรี และพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง ทำให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โคลนนิ่งของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ส่วน คตส.ไม่เอาเพราะ คปค.ตั้งขึ้นมาแล้วไปตรวจสอบเจอการทุจริต การประพฤติมิชอบของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ระหว่างที่เป็นนายกรัฐมนตรี
หรือคณะนิติราษฎร์จะเลือกเอาอะไร ไหนๆ ก็ช่างคิด ช่างฝัน ช่างจินตนาการ ก็น่าจะคิดฝันให้ทะลุตลอดว่าจะจัดการบ้านเมืองอย่างไรตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 จนถึงวันนี้ 19-20 กันยายน 2554 ไม่มี คปค.ไม่มีรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ไม่มีรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ไม่มีรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ไม่มีรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และไม่มีรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เอารัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับมาอย่างนั้นหรือ?
คณะนิติราษฎร์โดยนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ออกแถลงการณ์เสียสวยหรูเพื่อจะซ่อนปมรับใช้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่า การประกาศความเสียเปล่าของบรรดาคำวินิจฉัยและคำพิพากษานั้น มิใช่การนิรโทษกรรม หรือการล้างมลทินแก่บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด และไม่ใช่เป็นการลบล้างการกระทำทั้งหลายทั้งปวงของผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ดังนั้นหากจะเริ่มคดีใหม่ก็สามารถกระทำไปตามกระบวนการกฎหมายปกติได้
ท่านผู้เป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายที่รวมตัวกันเป็นคณะนิติราษฎร์ ไม่เคยรู้มาก่อนเลยหรือว่า ไม่มีประเทศไหนในโลกนี้ออกกฎหมายมาลบล้างคำพิพากษาของศาล
การรัฐประหารมันได้เกิดขึ้นแล้วจริงๆ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 จะลบมันออกจากประวัติศาสตร์ประเทศไทยไปได้อย่างไร เช่นเดียวกับการเป็นนายกรัฐมนตรีของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในขณะนี้แม้ว่าหลายต่อหลายคนจะไม่อยากยอมรับความจริงนี้ก็ตาม
ใช่ คปค.แต่งตั้ง คตส.ขึ้นมาตรวจสอบพฤติกรรมของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีจริงๆ พบการกระทำผิดจริงๆ ในคดีที่ดินรัชดาฯ เอาใครมาตรวจสอบก็จะได้ความจริงเหมือนกันหมดว่าที่ดินตรงนั้นเดิมราคา 2,000 กว่าล้านบาท คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยานายกรัฐมนตรีประมูลซื้อได้มาในราคาเกือบ 800 ล้านบาท พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ให้บัตรประจำตัวนายกรัฐมนตรีแก่ภริยามาทำธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายนี้ ทักษิณเกรงว่าการโอนที่จะไม่ทันสิ้นปีนั้น (2546) วิตกว่าคุณหญิงพจมานผู้เป็นภริยาจะต้องจ่ายค่าโอนแพง จึงประกาศให้วันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันทำงาน ทั้งที่แต่ไหนแต่ไรวันที่ 31 ธันวาคม วันสิ้นศักราช ราชการประกาศให้เป็นวันหยุด ก่อนการซื้อขายที่ดินตรงนั้นห้ามสร้างตึกสูง แต่พอคุณหญิงพจมานซื้อแล้ว ก็มีประกาศยกเลิก
ทั้งหลายทั้งปวงนี้ถ้าหากนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ เป็นคนตรวจสอบก็จะได้ความเหมือนกัน หรือมิใช่
พูดกันประสาชาวบ้านก็คือ ให้หมาที่ไหนมาตรวจสอบก็จะได้ความจริงเหมือนกันยกเว้นขี้ข้าม้าใช้ของพ.ต.ท.ทักษิณ มันอาจจะพูดไปเป็นอย่างอื่น
คตส.ตรวจสอบแล้วก็ส่งให้สำนักงานอัยการ อัยการเห็นสมควรฟ้อง และศาลที่พิจารณาคดีนี้ คือ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง องค์คณะผู้พิพากษามาจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ท่านเหล่านี้ก็คงจะพอรู้ตัวบทกฎหมายไม่แพ้ท่านอาจารย์คณะนิติราษฎร์นี้กระมัง และที่สำคัญศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้นมาจากรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2540
และก็มีหลายคดีที่ คตส.ตรวจสอบแล้วอัยการสั่งไม่ฟ้อง ฟ้องแล้วศาลพิจารณายกฟ้อง มีที่ลงโทษก็พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถูกจำคุก 2 ปี และคดียึดทรัพย์ศาลสั่งให้ยึดได้เพียง 4.6 หมื่นล้านบาทจาก 7.3 หมื่นล้านบาท
เกลียดการรัฐประหาร หรือเกลียดที่ทำกับทักษิณ?
ถ้าหากเกลียดการปฏิวัติรัฐประหารจริงๆ จังๆ ทำไมไม่เรียกร้องยกเลิกประกาศต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2475 เรื่อยมาจนกระทั่งถึงการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพลถนอม กิตติขจร พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ พล.อ.สุจินดา คราประยูร
ทำไมมาเกลียดการรัฐประหารจริงๆ จังๆ เอาตอนที่เขาทำกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
เราจะต้องถนอมรักรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เอาไว้อย่าให้ใครมาล้ม อย่าให้ใครมาคว่ำ ไม่ว่าจะโกหกตอแหลอย่างไรก็ต้องอด ต้องทน ก้มหน้ารับ ไม่เช่นนั้นวงจรอุบาทว์จะกลับมา
ซึ่งแท้จริงแล้วไม่รู้ว่าใครอุบาทว์มากกว่ากัน
หรือแท้จริงก็รู้ว่าออกแถลงการณ์มาก็ไม่มีผลอันใด ถ้าหากนักกฎหมาย 9 คน 10 คนรวมกันออกแถลงการณ์แล้วสามารถล้มล้างการรัฐประหารที่แล้วมาได้ บุคคลคณะนี้ก็ย่อมมีอำนาจเหนือคณะรัฐประหารเสียอีก แต่แถลงการณ์นี้ไม่น่าจะถึงกับสูญเปล่า บางทีอาจจะเข้าตาพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้าตาดร.อุกฤษ มงคลนาวิน เข้าตานางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร บ้างก็ได้ใครจะไปรู้ ว่าไหม?