xs
xsm
sm
md
lg

ความหวังใหม่ของจำเลยในคดีความมั่นคง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ทนายอนุกูล อาแวปูเตะ
ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมประจำจังหวัดปัตตานี

พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 เป็นกฎหมายที่บัญญัติภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ซึ่งวางหลักการให้บุคคลที่เป็นผู้เสียหายหรือจำเลยในคดีอาญาได้รับการคุ้มครอง โดยมีเจตนารมณ์ที่จะชดเชยหรือเยียวยาความเสียหายให้แก่ประชาชนที่เป็นเหยื่อหรือได้รับความเสียหายอันเกิดจากการกระทำความผิดอาญาโดยที่ตนเองไม่ได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด และความเสียหายของผู้ที่ถูกคุมขังและดำเนินคดีระหว่างพิจารณา เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้นั้นไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด ซึ่งกฎหมายดังกล่าวใช้บังคับมาแล้วเป็นเวลาเกือบสิบปีสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 มีเหตุการณ์ที่ทำให้ประชาชนได้รับความเสียหายต่อชีวิตและร่างกาย รวมทั้งทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก

จากข้อมูลสถิติของศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 (หลังเหตุการณ์ปล้นปืน) ถึงวันที่ 22 สิงหาคม 2554 มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นทั้งสิ้น 12,167 เหตุการณ์ โดยมีเหตุการณ์ความรุนแรงมากที่สุดในปี พ.ศ. 2550 มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 4,771 ราย แบ่งเป็นตำรวจ 274 นาย ทหาร 331 นาย ประชาชน 4,166 ราย บาดเจ็บรวม 8,512 ราย บุคคลเหล่านั้น ถือว่าเป็นผู้เสียหายอันเกิดจากการกระทำความผิดอาญา ที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

สำหรับผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรือแม้แต่ทรัพย์สิน หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว รัฐจะจัดสรรงบประมาณในการให้ความช่วยเหลือเยียวยา หากปรากฏว่าผู้นั้นได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐทั้งสามฝ่าย คือ ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง ได้ให้ความเห็นว่า เหตุดังกล่าวเนื่องจากการก่อความไม่สงบ บุคคลเหล่านั้นก็จะได้รับเงินเยียวยาจากรัฐ ซึ่งนอกเหนือค่าตอบแทนความเสียหายตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544

ด้วยเหตุที่ว่า หน้าที่ในการที่จะต้องให้การปกป้องและคุ้มครองชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน ก็คือรัฐ เพราะการที่คนอยู่รวมกันเป็นสังคม จะต้องมอบอำนาจให้ผู้ปกครองในการที่ทำหน้าที่ในการปกป้อง คุ้มครอง ให้ได้รับความปลอดภัย และเกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม แต่จากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในสามจังหวัด จะเห็นได้ว่านอกจากเจ้าหน้าที่ไม่สามารถที่จะปกป้องและคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้แล้ว แม้แต่เจ้าหน้าที่เองยังต้องระมัดระวังกับการลอบทำร้าย เพื่อปกป้องชีวิตของตนเอง การที่รัฐจัดสรรเงินเยียวยาให้แก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ความไม่สงบ จึงเป็นการแสดงความรับผิดชอบอย่างหนึ่งที่มีต่อประชาชน

แต่อย่างไรก็ตาม นอกจากหน้าที่ของรัฐในการปกป้องคุ้มครองประชาชนแล้ว รัฐไม่ควรละเลยหน้าที่ในการอำนวยความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม เมื่อผู้เสียหายจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐจัดสรรงบประมาณและเยียวยาให้ในลักษณะพิเศษ ผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมและได้รับผลกระทบจากการดำเนินคดีโดยตนเองไม่ได้กระทำความผิดก็เช่นเดียวกัน บุคคลเหล่าก็คือผู้เสียหายในเหรียญอีกด้านหนึ่ง ที่สมควรได้รับการเยียวยาหรือช่วยเหลือด้วยเช่นกัน เว้นแต่ว่ารัฐจะมองว่าบุคคลเหล่านี้คือศัตรู

จากข้อมูลของศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2554 มีคดีความมั่นคงที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดี 1,338 คดี เป็นคดีที่ได้มีคำพิพากษาแล้ว 262 คดี จำนวนของจำเลยที่ถูกดำเนินคดี 484 คน ศาลมีคำพิพากษาลงโทษ 143 คดี จำนวนจำเลยที่ถูกลงโทษ 243 คน และศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง (ปล่อยจำเลย) 119 คดี จำนวนจำเลยที่ศาลพิพากษายกฟ้อง 241 คน ข้อมูลเหล่านี้นับว่าเป็นข้อมูลที่น่าสนใจ นอกจากข้อมูลของความเสียหายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรายวัน

จะเห็นได้ว่าบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง หรือที่อยู่ระหว่างการพิจารณา หากต้องถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดี บุคคลเหล่านี้ก็คือผู้เสียหาย และได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบเช่นเดียวกัน มีจำเลยในคดีความมั่นคงหลายคดีที่ต้องถูกคุมขังเป็นเวลาหลายปีระหว่างการพิจารณา สุดท้ายศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด ทำให้เกิดผลกระทบทั้งต่อตนเองและครอบครัวอย่างมหาศาล ความรับผิดชอบของรัฐต่อบุคคลเหล่านี้ไม่ต่างอะไรกับผู้เสียหายที่ได้รับเงินเยียวยาจากรัฐในเหตุการณ์ความไม่สงบ ถ้ามองจากหลักการดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

ภายหลังที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว จำเลยหลายรายได้มาร้องเรียนมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม เพื่อร้องขอเงินค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายในระหว่างที่ถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดี เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายหรือผลกระทบที่ได้รับกับตัวเองหรือครอบครัวในระหว่างที่ต้องถูกคุมขังในเรือนจำ ทางมูลนิธิก็ได้ให้ความช่วยเหลือในการดำเนินการเรื่องเอกสาร และประสานงานไปยังสำนักงานยุติธรรมจังหวัดที่เป็นหน่วยงานต้นเรื่องเพื่อส่งต่อให้คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา เพื่อช่วยเหลือบุคคลเหล่านั้น

แต่เมื่อยื่นเรื่องเสนอไปยังคณะกรรมการแล้ว ปรากฏว่าคณะกรรมการจะพิจารณาในทำนองว่า ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทน เนื่องจากเหตุผลแห่งคำพิพากษาของศาลที่ยกฟ้อง เพราะศาลมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 วรรคสอง จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ในการได้รับเงินค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายตามพระราชบัญญัติดังกล่าว อย่างไรก็ตามผู้ร้องก็สามารถอุทธรณ์คำวินิจฉัย แม้มติคณะกรรมการดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยของฝ่ายบริหาร แต่อย่างน้อยก็ส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจในการใช้ชีวิตใหม่ สำหรับจำเลยในคดีความมั่นคงที่เพิ่งก้าวเท้าออกมาจากเรือนจำ ภายหลังที่ถูกขังเป็นแรมปี

เมื่อเร็วๆ นี้ นับว่าเป็นข่าวดีที่คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาได้พิจารณาจ่ายเงินทดแทนให้แก่จำเลยในคดีความมั่นคง 2 ราย โดยพิจารณาตามความเสียหายที่ได้รับ คำวินิจฉัยดังกล่าวนับว่าเป็นมิติใหม่ของกระทรวงยุติธรรม ในบทบาทด้านการอำนวยความเป็นธรรมให้กับประชาชน และเป็นการจุดประกายความหวังของจำเลยที่ได้รับผลกระทบจากการถูกดำเนินคดี โดยเฉพาะคดีความมั่นคงที่มองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ และอาจกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ของสังคมปลายด้ามขวาน ที่เป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบอย่างหนึ่งของรัฐที่มีต่อประชาชน

พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 เป็นกฎหมายที่บัญญัติภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2544 ซึ่งวางหลักการให้บุคคลที่เป็นผู้เสียหายหรือจำเลยในคดีอาญาได้รับการคุ้มครอง โดยมีเจตนารมณ์ที่จะชดเชยหรือเยียวยาความเสียหายให้แก่ประชาชนที่เป็นเหยื่อหรือได้รับความเสียหายอันเกิดจากการกระทำความผิดอาญาโดยที่ตนเองไม่ได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด และความเสียหายของผู้ที่ถูกคุมขังและดำเนินคดีระหว่างพิจารณา เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้นั้นไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด ซึ่งกฎหมายดังกล่าวใช้บังคับมาแล้วเป็นเวลาเกือบ 10 ปี

สถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 มีเหตุการณ์ที่ทำให้ประชาชนได้รับความเสียหายต่อชีวิตและร่างกาย รวมทั้งทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก จากข้อมูลสถิติของศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 (หลังเหตุการณ์ปล้นปืน) ถึงวันที่ 22 สิงหาคม 2554 มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นทั้งสิ้น 12,167 เหตุการณ์ โดยมีเหตุการณ์ความรุนแรงมากที่สุดในปี พ.ศ. 2550 มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 4,771 ราย แบ่งเป็นตำรวจ 274 นาย ทหาร 331 นาย ประชาชน 4,166 ราย บาดเจ็บรวม 8,512 ราย บุคคลเหล่านั้น ถือว่าเป็นผู้เสียหายอันเกิดจากการกระทำความผิดอาญา ที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

สำหรับผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรือแม้แต่ทรัพย์สิน หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว รัฐจะจัดสรรงบประมาณในการให้ความช่วยเหลือเยียวยา หากปรากฏว่าผู้นั้นได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐทั้ง 3 ฝ่าย คือ ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง ได้ให้ความเห็นว่า เหตุดังกล่าวเนื่องจากการก่อความไม่สงบ บุคคลเหล่านั้นก็จะได้รับเงินเยียวยาจากรัฐ ซึ่งนอกเหนือค่าตอบแทนความเสียหายตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544

ด้วยเหตุที่ว่า หน้าที่ในการที่จะต้องให้การปกป้องและคุ้มครองชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน ก็คือรัฐ เพราะการที่คนอยู่รวมกันเป็นสังคม จะต้องมอบอำนาจให้ผู้ปกครองในการที่ทำหน้าที่ในการปกป้อง คุ้มครอง ให้ได้รับความปลอดภัย และเกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม แต่จากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในสามจังหวัด จะเห็นได้ว่านอกจากเจ้าหน้าที่ไม่สามารถที่จะปกป้องและคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้แล้ว แม้แต่เจ้าหน้าที่เองยังต้องระมัดระวังกับการลอบทำร้าย เพื่อปกป้องชีวิตของตนเอง การที่รัฐจัดสรรเงินเยียวยาให้แก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ความไม่สงบ จึงเป็นการแสดงความรับผิดชอบอย่างหนึ่งที่มีต่อประชาชน

แต่อย่างไรก็ตาม นอกจากหน้าที่ของรัฐในการปกป้องคุ้มครองประชาชนแล้ว รัฐไม่ควรละเลยหน้าที่ในการอำนวยความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม เมื่อผู้เสียหายจากเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐจัดสรรงบประมาณและเยียวยาให้ในลักษณะพิเศษ ผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมและได้รับผลกระทบจากการดำเนินคดีโดยตนเองไม่ได้กระทำความผิดก็เช่นเดียวกัน บุคคลเหล่าก็คือผู้เสียหายในเหรียญอีกด้านหนึ่ง ที่สมควรได้รับการเยียวยาหรือช่วยเหลือด้วยเช่นกัน เว้นแต่ว่ารัฐจะมองว่าบุคคลเหล่านี้คือศัตรู

นอกจากความเสียหายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรายวันจะเห็นได้ว่าบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง หรือที่อยู่ระหว่างการพิจารณา หากต้องถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดี บุคคลเหล่านี้ก็คือผู้เสียหาย และได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบเช่นเดียวกัน มีจำเลยในคดีความมั่นคงหลายคดีที่ต้องถูกคุมขังเป็นเวลาหลายปีระหว่างการพิจารณา สุดท้ายศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด ทำให้เกิดผลกระทบทั้งต่อตนเองและครอบครัวอย่างมหาศาล ความรับผิดชอบของรัฐต่อบุคคลเหล่านี้ไม่ต่างอะไรกับผู้เสียหายที่ได้รับเงินเยียวยาจากรัฐในเหตุการณ์ความไม่สงบ ถ้ามองจากหลักการดังที่ได้กล่าวมาแล้วภายหลังที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว จำเลยหลายรายได้มาร้องเรียนมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม เพื่อร้องขอเงินค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายในระหว่างที่ถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดี เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายหรือผลกระทบที่ได้รับกับตัวเองหรือครอบครัวในระหว่างที่ต้องถูกคุมขังในเรือนจำ

ทางมูลนิธิจึงได้ให้ความช่วยเหลือในการดำเนินการเรื่องเอกสาร และประสานงานไปยังสำนักงานยุติธรรมจังหวัด ที่เป็นหน่วยงานต้นเรื่องเพื่อส่งต่อให้คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา เพื่อช่วยเหลือบุคคลเหล่านั้น แต่เมื่อยื่นเรื่องเสนอไปยังคณะกรรมการแล้ว ปรากฏว่าคณะกรรมการจะพิจารณาในทำนองว่า ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทน เนื่องจากเหตุผลแห่งคำพิพากษาของศาลที่ยกฟ้อง เพราะศาลมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 วรรคสอง จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ในการได้รับเงินค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ผู้ร้องก็สามารถอุทธรณ์คำวินิจฉัย แม้มติคณะกรรมการดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยของฝ่ายบริหาร แต่อย่างน้อยก็ส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจในการใช้ชีวิตใหม่ สำหรับจำเลยในคดีความมั่นคงที่เพิ่งก้าวเท้าออกมาจากเรือนจำ ภายหลังที่ถูกขังเป็นแรมปี เมื่อเร็ว ๆ นี้ นับว่าเป็นข่าวดีที่คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาได้พิจารณาจ่ายเงินทดแทนให้แก่จำเลยในคดีความมั่นคง 2 ราย โดยพิจารณาตามความเสียหายที่ได้รับ

คำวินิจฉัยดังกล่าวนับว่าเป็นมิติใหม่ของกระทรวงยุติธรรม ในบทบาทด้านการอำนวยความเป็นธรรมให้กับประชาชน และเป็นการจุดประกายความหวังของจำเลยที่ได้รับผลกระทบจากการถูกดำเนินคดี โดยเฉพาะคดีความมั่นคงที่มองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ และอาจกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ของสังคมปลายด้ามขวานที่เป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบอย่างหนึ่งของรัฐที่มีต่อประชาชน
กำลังโหลดความคิดเห็น