โดย...ชวินทร์ ลีนะบรรจง
จงอย่าเชื่อเพราะ คนบอก ตำราสอน หรือใครๆ ก็ทำกัน
แต่เชื่อเพราะมีเหตุผลพิสูจน์ได้
ประเด็นเรื่องการตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ หรือ Sovereign Wealth Fund โดยอาศัยเงินจากทุนสำรองระหว่างประเทศของนายธีระชัยได้ก่อให้เกิดประเด็นวิพากษ์โต้แย้ง แม้พยายามจะ “เบา” เรื่องนี้โดยถือเป็นเรื่องที่รอได้ แต่สาธารณชนควรทำความเข้าใจว่าประเด็นที่ควรจะสนใจคืออะไรกันแน่
1. เงินส่วนนี้มาจากไหน?
เงินส่วนนี้ ในปัจจุบันส่วนใหญ่มาจากการค้าขายระหว่างประเทศ เมื่อใดก็ตามที่ประเทศไทยส่งสินค้าไปขายได้มากกว่าซื้อเข้ามา เงินส่วนที่เกินที่เกิดจะถูกบันทึกไว้ในบัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ
เงินส่วนนี้ ส่วนน้อยถูกนำไปใช้เพื่อเป็นทุนสำรองไว้เพื่อการออกบัตรธนาคารหรือ Bank Note หรือธนบัตรเงินบาทที่ใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจในทุกวันนี้
เงินทั้งสองส่วนนี้ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นผู้กำกับดูแลและส่วนใหญ่เป็นของภาคเอกชนหรือประชาชน มิใช่ของภาครัฐแต่อย่างใด
2. เงินส่วนนี้มีไว้ทำไม?
วัตถุประสงค์หลักก็เพื่อเป็น “กันชน” เนื่องจากการค้าขายระหว่างประเทศต้องทำโดยเงินระหว่างประเทศที่คู่ค้ายอมรับซึ่งในปัจจุบันใช้เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นหลัก มิใช่เงินบาท การส่งออกในบางเวลาอาจทำได้น้อยกว่าการนำเข้า ดังนั้นเพื่อมิให้การ “บริโภค” ภายในประเทศสะดุดขาดตอนเพราะขาดเงินต่างประเทศไปชำระค่าสินค้าจึงจำเป็นต้องมีเก็บสำรองเอาไว้ไว้เพื่อเป็น “กันชน”
วัตถุประสงค์อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือเพื่อเป็น “กรมธรรม์” ประกันความปลอดภัยในเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจที่จะไม่ต้องมาสะดุดเมื่อมีเหตุต้องการใช้เงินจำนวนนี้แต่ประเทศไม่มีให้ดังจะได้กล่าวต่อไป
3. ปัจจุบันมีเงินจำนวนนี้มากเกิน “ความจำเป็น” หรือไม่?
แม้ว่าในปัจจุบันจะมีจำนวนเงินทุนสำรองระหว่างประเทศนี้สูงเกือบสองแสนล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่การจะบอกว่าเกินความจำเป็นหรือไม่อย่างไรเป็นเรื่องที่บอกได้ยาก
นายธีระชัย หรือตัวเก็งรัฐมนตรีคลังตลอดกาล นาย “โกร่ง” อาจมองว่ามีเกินความจำเป็น ให้ ธปท.ดูแลก็เสี่ยง สู้นำบางส่วนเอาไปใช้ เพื่อการ “ลงทุน” จะเป็นการดีกว่า
เงินจำนวนนี้ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของเงินระหว่างประเทศ เช่น พันธบัตรรัฐบาลต่างชาติ หรือเงินฝากกับองค์กรระหว่างประเทศที่กฎหมายอนุญาต ซึ่งก็เป็นการลงทุนอยู่แล้วหากแต่มุ่งเน้นความปลอดภัย (ไม่เสี่ยง) และสภาพคล่อง (liquidity) นั่นคือสามารถไถ่ถอนกลับมาเป็น “เงิน” ได้โดยเสียค่าใช้ต่ำ หากจะแบ่งบางส่วนไปลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทนสูงก็ต้องแลกกับสภาพคล่องที่จะมีต่ำลงและความเสี่ยงที่จะเพิ่มขึ้น ประเด็นก็คือสามารถแบ่งออกไปโดยไม่เสียซึ่งวัตถุประสงค์หลักและประเทศไม่เสียหายได้หรือไม่
นายธีระชัยคงจะรู้จักนายเคนส์ (J.M. Keynes) แม้จะไม่เป็นการส่วนตัวเพราะเป็นคนละยุคสมัย แต่แนวคิดในการ “ถือเงิน” ของนายเคนส์ที่นายธีระชัยเคยเรียนมาก็คือขึ้นอยู่กับ “แรงจูงใจ” หรือ motives ทั้ง 3 ประการ คือถือ เพื่อใช้จ่าย เผื่อเหตุฉุกเฉิน และเพื่อการเก็งกำไร แต่ไม่มีใครแยกเงินในกระเป๋าตนเองเป็น 3 ส่วนตาม “แรงจูงใจ” ได้ว่าส่วนนี้จะนำไปลงทุนและส่วนนี้จะสำรองไว้ใช้ฉุกเฉิน
หากเป็นประเทศสามารถแยกส่วนได้หรือคำตอบง่ายๆ ก็คือ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือประเทศ แรงจูงใจในการถือเงินเป็นเพราะ “บริการ” ของเงินที่มีอยู่ของมัน มิได้หมายความว่าต้องมีการใช้ออกไปจริงๆ เวลาผู้อ่านไปในที่ที่ไม่เคยไป เช่น ต่างประเทศ ก็อาจจะต้องนำเงินติดตัวไปมากกว่าที่เคยมีติดตัวเอาไว้เป็นประจำเพราะมีแรงจูงใจในการถือเงินมากขึ้นเพื่อรองรับกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น แต่ถามว่าจำเป็นต้องใช้หรือไม่ คำตอบคือไม่จำเป็น ความต้องการในเงิน ก็คือ อุปสงค์การถือเงิน มิใช่ความต้องการใช้เงิน (The demand for money is a demand to hold money not a demand to spend money) ซึ่งต่างจากอุปสงค์ในสินค้าอื่นๆ ที่มีอุปสงค์เพราะต้องการใช้สินค้านั้น
การถือเงินแม้ต้องเปรียบเทียบกับต้นทุนของการถือเงิน เพราะเงินเป็นทรัพย์สินที่ไม่ได้ระบุผลตอบแทนเอาไว้เหมือนการฝากเงินหรือลงทุนในพันธบัตร ดังนั้นยิ่งถือเงินเอาไว้มากเท่าใด ต้นทุนค่าเสียโอกาสในการถือเงินก็ย่อมมากขึ้นติดตามไปเท่านั้น แต่ต้นทุนของการถือเงินในบางครั้งมีน้อยกว่าความเสียหายจากการถือเงินไว้ไม่เพียงพออย่างมหาศาล
ประเทศไทยเคยมีประสบการณ์ของการถือเงินไว้ไม่พอเพียงกับความต้องการใช้เมื่อคราวเกิดวิกฤตเมื่อปี พ.ศ. 2540 เมื่อทุนสำรองระหว่างประเทศเหลือน้อยลงหรืออีกนัยหนึ่งก็คืออุปสงค์การถือเงินต่างประเทศมีมากกว่าเงินต่างประเทศที่มีอยู่ ตลาดการเงินก็เริ่มสงสัยในความสามารถในการชำระหนี้ทันทีแม้จะยังไม่ถึงกำหนดชำระก็ตาม หนี้จึงถูกเรียกให้ชำระก่อนกำหนดหรือเจ้าหนี้อาจนำเอาตราสารหนี้ที่ลูกหนี้ไทยเป็นผู้ออกไปขายในราคาขาดทุนเพื่อลดภาระความเสี่ยงหากลูกหนี้ไทยผิดนัดชำระหนี้ ไทยจึงประสบวิกฤตก่อนที่เงินสำรองนี้จะหมดเสียอีก และก่อให้เกิดผลข้างเคียงหรือ contagion ลุกลามไปสู่ประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกอย่างรุนแรงเพราะเจ้าหนี้ต่างชาติไม่มีการแยกแยะ
หากย้อนเวลากลับไปได้หลายคนคงจะบอกว่า ต้นทุนของการถือเงิน (ต่างประเทศ) มีน้อยกว่าความเสียหายที่คิดรวมแล้วมากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP การถือไว้ซึ่งเงินทุนสำรองจึงเป็นเสมือนการซื้อกรมธรรม์ประกันความเสี่ยงให้กับตนเอง ยิ่งผลของความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นยิ่งมีมากเท่าใด ก็ยิ่งต้องซื้อกรมธรรม์ให้คุ้มครองมากขึ้นเท่านั้น อย่าลืมว่าเงินต่างประเทศหากถึงเวลาต้องการก็ไม่อาจหาซื้อ(ยืม)ในจำนวนมากได้ ไม่ว่าจะไปหา IMF หรือธนาคารใดก็ตาม ไม่มีจริงๆ
ดังนั้นการจะบอกว่ามีเกินความจำเป็นนั้นบอกยากมากกว่าจำเป็นหรือไม่ที่ต้องมี
4. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนกับทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ
นายธีระชัยอาจมองเหมือนกับใครอีกหลายๆ คนมองว่าเงินจำนวนนี้มีมากเกินไป เพราะประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ดังนั้นความจำเป็นในการใช้เงินจำนวนนี้เพื่อการรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนดังเช่นระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่จึงไม่มี
ข้อเท็จจริงดูจะขัดแย้งกับระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ประกาศ ประเด็นก็คือ การกลัวการลอยตัว หรือ fear float หลังวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี พ.ศ. 2540 ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงจาก 25 มาเป็น 45 ในช่วงแรกๆ และแข็งค่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตามการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและเศรษฐกิจของประเทศจนในปัจจุบันมาอยู่ที่ 29-30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หากไม่มีการแทรกแซงและปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดเงินบาทก็ควรจะแข็งค่ามากกว่านี้
ดังนั้นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่ว่ามีมากส่วนหนึ่งมาจากความต้องการมีไว้เพื่อเป็น “กระสุน” เพื่อใช้ในการเข้าแทรกแซงมิให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่เชื่อลองบวกลบดูก็ได้ว่าหากให้ปี 2540 มีทุนสำรองเท่ากับศูนย์ แล้วรวมจำนวนการเกิน/ขาดดุลแต่ละปีจะทำให้มีเงินสำรองจำนวนเท่าปัจจุบันหรือไม่ หากน้อยกว่าที่มีอยู่ก็แสดงว่ามีการสต๊อกลมในทุนสำรองระหว่างประเทศอันเนื่องมาจากการเข้าแทรกแซงค่าบาท
การรักษาค่าเงินบาทให้แข็งค่าจึงมักเป็นประเด็นให้นักการเมืองนำไปใช้อย่างผิดๆ อยู่เสมอแม้แต่ในปัจจุบัน หากเมื่อปี พ.ศ. 2540 นักการเมืองยอมให้บาทอ่อน ประเทศคงไม่เดือดร้อน
5. บาท ดอลลาร์ ทองคำ และการขาดทุนทางบัญชี
การแทรกแซงมิให้บาทแข็งค่าหรือผันผวนต้องใช้ “กระสุน” ดอลลาร์ การเพิ่มเงินบาทในระบบเศรษฐกิจก็ต้องใช้ทรัพย์สิน เช่น ดอลลาร์ ทองคำ หรือ พันธบัตรรัฐบาลไทยหนุนหลัง(เป็นสำรอง)เพื่อทำให้คนเชื่อว่าเงินที่ออกมาหมุนเวียนนั้นมีค่า ทั้งๆ ที่ในทางกลับกันไม่สามารถเอาเงินบาทไปแลกทรัพย์สินที่หนุนหลังคืนกลับมาได้ ค่าเงิน(บาท)จะมีค่าเท่าใดจึงขึ้นอยู่กับ “ความเชื่อมั่น” ของผู้ถือเงินที่มีต่อเศรษฐกิจไทยมากกว่าสิ่งอื่นใด ดูตัวอย่างดอลลาร์สหรัฐก็ได้
ความเชื่อมโยงระหว่างบาท ดอลลาร์ และทองคำ จึงยึดโยงผ่านมาตรฐานทางบัญชีที่ส่วนใหญ่กำหนดให้ต้องมีประเมินมูลค่าทรัพย์สิน/หนี้สินตามราคาตลาด หรือ mark to the market price ดังนั้นมูลค่าเงินสำรองที่อยู่ในรูปของดอลลาร์จะผันผวนไปตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ส่วนหนึ่งไทยเป็นผู้กำหนด ขณะที่ทองคำก็จะผันผวนไปตามราคาทองคำในตลาดโลก เมื่อนำมาลงบัญชีเพื่อแสดงฐานะจึงอาจมีทั้งกำไร/ขาดทุนเกิดขึ้นได้ และทาง ธปท.ก็เปิดเผยข้อมูลนี้เป็นประจำ
ประเด็นก็คือการขาดทุน/กำไรทางบัญชีเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ก็ต้องบอกว่าจริง มิใช่เป็นเพียงตัวเลข หากธนาคารพาณิชย์ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นจำนวนมากเหมือนเช่นที่ประสบในปี พ.ศ. 2540 จนส่วนของทุนติดลบหรือน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดทางการจะสั่งให้เพิ่มทุนหรือไม่ แล้วเงินเพิ่มทุนเป็นของจริงหรือหลอก แต่ที่น่าจะเป็นประเด็นก็คือที่มาของกำไรขาดทุนนี้เกิดจากอะไรต่างหาก
ธปท.เป็นธนาคารกลาง ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีเงินทุนหรือส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นบวกเหมือนดังเช่นธนาคารพาณิชย์ทั่วไปเพราะดำเนินกิจกรรมคนละอย่างกัน นายธีระชัย หรือนาย “โกร่ง” น่าจะเข้าใจดี ดังนั้นการเข้าแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนแล้วเกิดการขาดทุนจึงเป็นคนละประเด็นกับการขาดทุนเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือราคาทองคำที่เปลี่ยนแปลงไป ณ วันที่ทำการบันทึกบัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ
6. การรวมบัญชี
กฎหมายตั้งแต่ดั้งเดิมระบุไว้ให้แยกบัญชีของ 2 ฝ่ายออกจากกันเพื่อความปลอดภัยคือฝ่ายออกบัตรและฝ่ายการธนาคารเพราะดำเนินกิจกรรมคนละอย่างกัน
แต่การลดค่าเงินบาทเมื่อปี พ.ศ. 2540 ได้ก่อให้เกิดการบันทึกกำไรขาดทุนของทั้ง 2 ฝ่ายแตกต่างกัน ฝ่ายออกบัตรมีกำไรเพราะใช้เงินดอลลาร์น้อยลงในการออกเงินบาท ในขณะที่ฝ่ายการธนาคารที่ดำเนินนโยบายการเงินเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทขาดทุน ทั้ง 2 ฝ่ายต่างเป็นหน่วยงานภายใน ธปท.
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องประหลาดมหัศจรรย์ที่ไม่สามารถหักกลบลบหนี้ภายในกิจการเดียวกันได้ทั้งๆ ที่ไม่มีอะไรหายไปจากบัญชี ปล่อยให้การขาดทุนเป็นภาระของคนทั้งประเทศที่ต้องเอาเงินภาษีปีละกว่า 6 หมื่นล้านบาทมาจ่ายเป็นค่าดอกเบี้ย ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งที่มีกำไรก็ไม่สามารถนำเอากำไรแบบส้มหล่นนี้มาช่วยเหลือการขาดทุนของ ธปท.ได้ การชำระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ จึงต้องตกอยู่กับกระทรวงการคลังมากกว่า 10 ปีเพราะเมื่อมีการขาดทุนเกิดขึ้น ธปท.จะไม่สามารถจ่ายเงินออกมาเป็นค่าดอกเบี้ยหรือชำระเงินต้นได้เพราะถูกกฎหมายห้ามเอาไว้
หากธีระชัยอยากหากำไรโดยไม่เสี่ยงก็รวมบัญชีแล้วจะได้กำไรทันทีปีละ 6-7 หมื่นล้านบาท ทุกอย่างอยู่ครบไม่มีอะไรหายไปจากบัญชี ไม่ว่าบัญชีใดก็ตาม ข้อสำคัญกล้าทำเพื่อบ้านเมืองหรือไม่?
******************
*1 The Japan Foundation Fellow บทความนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน Japan Foundation ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องแต่อย่างใด
จงอย่าเชื่อเพราะ คนบอก ตำราสอน หรือใครๆ ก็ทำกัน
แต่เชื่อเพราะมีเหตุผลพิสูจน์ได้
ประเด็นเรื่องการตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ หรือ Sovereign Wealth Fund โดยอาศัยเงินจากทุนสำรองระหว่างประเทศของนายธีระชัยได้ก่อให้เกิดประเด็นวิพากษ์โต้แย้ง แม้พยายามจะ “เบา” เรื่องนี้โดยถือเป็นเรื่องที่รอได้ แต่สาธารณชนควรทำความเข้าใจว่าประเด็นที่ควรจะสนใจคืออะไรกันแน่
1. เงินส่วนนี้มาจากไหน?
เงินส่วนนี้ ในปัจจุบันส่วนใหญ่มาจากการค้าขายระหว่างประเทศ เมื่อใดก็ตามที่ประเทศไทยส่งสินค้าไปขายได้มากกว่าซื้อเข้ามา เงินส่วนที่เกินที่เกิดจะถูกบันทึกไว้ในบัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ
เงินส่วนนี้ ส่วนน้อยถูกนำไปใช้เพื่อเป็นทุนสำรองไว้เพื่อการออกบัตรธนาคารหรือ Bank Note หรือธนบัตรเงินบาทที่ใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจในทุกวันนี้
เงินทั้งสองส่วนนี้ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นผู้กำกับดูแลและส่วนใหญ่เป็นของภาคเอกชนหรือประชาชน มิใช่ของภาครัฐแต่อย่างใด
2. เงินส่วนนี้มีไว้ทำไม?
วัตถุประสงค์หลักก็เพื่อเป็น “กันชน” เนื่องจากการค้าขายระหว่างประเทศต้องทำโดยเงินระหว่างประเทศที่คู่ค้ายอมรับซึ่งในปัจจุบันใช้เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นหลัก มิใช่เงินบาท การส่งออกในบางเวลาอาจทำได้น้อยกว่าการนำเข้า ดังนั้นเพื่อมิให้การ “บริโภค” ภายในประเทศสะดุดขาดตอนเพราะขาดเงินต่างประเทศไปชำระค่าสินค้าจึงจำเป็นต้องมีเก็บสำรองเอาไว้ไว้เพื่อเป็น “กันชน”
วัตถุประสงค์อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือเพื่อเป็น “กรมธรรม์” ประกันความปลอดภัยในเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจที่จะไม่ต้องมาสะดุดเมื่อมีเหตุต้องการใช้เงินจำนวนนี้แต่ประเทศไม่มีให้ดังจะได้กล่าวต่อไป
3. ปัจจุบันมีเงินจำนวนนี้มากเกิน “ความจำเป็น” หรือไม่?
แม้ว่าในปัจจุบันจะมีจำนวนเงินทุนสำรองระหว่างประเทศนี้สูงเกือบสองแสนล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่การจะบอกว่าเกินความจำเป็นหรือไม่อย่างไรเป็นเรื่องที่บอกได้ยาก
นายธีระชัย หรือตัวเก็งรัฐมนตรีคลังตลอดกาล นาย “โกร่ง” อาจมองว่ามีเกินความจำเป็น ให้ ธปท.ดูแลก็เสี่ยง สู้นำบางส่วนเอาไปใช้ เพื่อการ “ลงทุน” จะเป็นการดีกว่า
เงินจำนวนนี้ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของเงินระหว่างประเทศ เช่น พันธบัตรรัฐบาลต่างชาติ หรือเงินฝากกับองค์กรระหว่างประเทศที่กฎหมายอนุญาต ซึ่งก็เป็นการลงทุนอยู่แล้วหากแต่มุ่งเน้นความปลอดภัย (ไม่เสี่ยง) และสภาพคล่อง (liquidity) นั่นคือสามารถไถ่ถอนกลับมาเป็น “เงิน” ได้โดยเสียค่าใช้ต่ำ หากจะแบ่งบางส่วนไปลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทนสูงก็ต้องแลกกับสภาพคล่องที่จะมีต่ำลงและความเสี่ยงที่จะเพิ่มขึ้น ประเด็นก็คือสามารถแบ่งออกไปโดยไม่เสียซึ่งวัตถุประสงค์หลักและประเทศไม่เสียหายได้หรือไม่
นายธีระชัยคงจะรู้จักนายเคนส์ (J.M. Keynes) แม้จะไม่เป็นการส่วนตัวเพราะเป็นคนละยุคสมัย แต่แนวคิดในการ “ถือเงิน” ของนายเคนส์ที่นายธีระชัยเคยเรียนมาก็คือขึ้นอยู่กับ “แรงจูงใจ” หรือ motives ทั้ง 3 ประการ คือถือ เพื่อใช้จ่าย เผื่อเหตุฉุกเฉิน และเพื่อการเก็งกำไร แต่ไม่มีใครแยกเงินในกระเป๋าตนเองเป็น 3 ส่วนตาม “แรงจูงใจ” ได้ว่าส่วนนี้จะนำไปลงทุนและส่วนนี้จะสำรองไว้ใช้ฉุกเฉิน
หากเป็นประเทศสามารถแยกส่วนได้หรือคำตอบง่ายๆ ก็คือ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือประเทศ แรงจูงใจในการถือเงินเป็นเพราะ “บริการ” ของเงินที่มีอยู่ของมัน มิได้หมายความว่าต้องมีการใช้ออกไปจริงๆ เวลาผู้อ่านไปในที่ที่ไม่เคยไป เช่น ต่างประเทศ ก็อาจจะต้องนำเงินติดตัวไปมากกว่าที่เคยมีติดตัวเอาไว้เป็นประจำเพราะมีแรงจูงใจในการถือเงินมากขึ้นเพื่อรองรับกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น แต่ถามว่าจำเป็นต้องใช้หรือไม่ คำตอบคือไม่จำเป็น ความต้องการในเงิน ก็คือ อุปสงค์การถือเงิน มิใช่ความต้องการใช้เงิน (The demand for money is a demand to hold money not a demand to spend money) ซึ่งต่างจากอุปสงค์ในสินค้าอื่นๆ ที่มีอุปสงค์เพราะต้องการใช้สินค้านั้น
การถือเงินแม้ต้องเปรียบเทียบกับต้นทุนของการถือเงิน เพราะเงินเป็นทรัพย์สินที่ไม่ได้ระบุผลตอบแทนเอาไว้เหมือนการฝากเงินหรือลงทุนในพันธบัตร ดังนั้นยิ่งถือเงินเอาไว้มากเท่าใด ต้นทุนค่าเสียโอกาสในการถือเงินก็ย่อมมากขึ้นติดตามไปเท่านั้น แต่ต้นทุนของการถือเงินในบางครั้งมีน้อยกว่าความเสียหายจากการถือเงินไว้ไม่เพียงพออย่างมหาศาล
ประเทศไทยเคยมีประสบการณ์ของการถือเงินไว้ไม่พอเพียงกับความต้องการใช้เมื่อคราวเกิดวิกฤตเมื่อปี พ.ศ. 2540 เมื่อทุนสำรองระหว่างประเทศเหลือน้อยลงหรืออีกนัยหนึ่งก็คืออุปสงค์การถือเงินต่างประเทศมีมากกว่าเงินต่างประเทศที่มีอยู่ ตลาดการเงินก็เริ่มสงสัยในความสามารถในการชำระหนี้ทันทีแม้จะยังไม่ถึงกำหนดชำระก็ตาม หนี้จึงถูกเรียกให้ชำระก่อนกำหนดหรือเจ้าหนี้อาจนำเอาตราสารหนี้ที่ลูกหนี้ไทยเป็นผู้ออกไปขายในราคาขาดทุนเพื่อลดภาระความเสี่ยงหากลูกหนี้ไทยผิดนัดชำระหนี้ ไทยจึงประสบวิกฤตก่อนที่เงินสำรองนี้จะหมดเสียอีก และก่อให้เกิดผลข้างเคียงหรือ contagion ลุกลามไปสู่ประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกอย่างรุนแรงเพราะเจ้าหนี้ต่างชาติไม่มีการแยกแยะ
หากย้อนเวลากลับไปได้หลายคนคงจะบอกว่า ต้นทุนของการถือเงิน (ต่างประเทศ) มีน้อยกว่าความเสียหายที่คิดรวมแล้วมากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP การถือไว้ซึ่งเงินทุนสำรองจึงเป็นเสมือนการซื้อกรมธรรม์ประกันความเสี่ยงให้กับตนเอง ยิ่งผลของความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นยิ่งมีมากเท่าใด ก็ยิ่งต้องซื้อกรมธรรม์ให้คุ้มครองมากขึ้นเท่านั้น อย่าลืมว่าเงินต่างประเทศหากถึงเวลาต้องการก็ไม่อาจหาซื้อ(ยืม)ในจำนวนมากได้ ไม่ว่าจะไปหา IMF หรือธนาคารใดก็ตาม ไม่มีจริงๆ
ดังนั้นการจะบอกว่ามีเกินความจำเป็นนั้นบอกยากมากกว่าจำเป็นหรือไม่ที่ต้องมี
4. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนกับทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ
นายธีระชัยอาจมองเหมือนกับใครอีกหลายๆ คนมองว่าเงินจำนวนนี้มีมากเกินไป เพราะประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ดังนั้นความจำเป็นในการใช้เงินจำนวนนี้เพื่อการรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนดังเช่นระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่จึงไม่มี
ข้อเท็จจริงดูจะขัดแย้งกับระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ประกาศ ประเด็นก็คือ การกลัวการลอยตัว หรือ fear float หลังวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี พ.ศ. 2540 ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงจาก 25 มาเป็น 45 ในช่วงแรกๆ และแข็งค่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตามการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและเศรษฐกิจของประเทศจนในปัจจุบันมาอยู่ที่ 29-30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หากไม่มีการแทรกแซงและปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดเงินบาทก็ควรจะแข็งค่ามากกว่านี้
ดังนั้นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่ว่ามีมากส่วนหนึ่งมาจากความต้องการมีไว้เพื่อเป็น “กระสุน” เพื่อใช้ในการเข้าแทรกแซงมิให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่เชื่อลองบวกลบดูก็ได้ว่าหากให้ปี 2540 มีทุนสำรองเท่ากับศูนย์ แล้วรวมจำนวนการเกิน/ขาดดุลแต่ละปีจะทำให้มีเงินสำรองจำนวนเท่าปัจจุบันหรือไม่ หากน้อยกว่าที่มีอยู่ก็แสดงว่ามีการสต๊อกลมในทุนสำรองระหว่างประเทศอันเนื่องมาจากการเข้าแทรกแซงค่าบาท
การรักษาค่าเงินบาทให้แข็งค่าจึงมักเป็นประเด็นให้นักการเมืองนำไปใช้อย่างผิดๆ อยู่เสมอแม้แต่ในปัจจุบัน หากเมื่อปี พ.ศ. 2540 นักการเมืองยอมให้บาทอ่อน ประเทศคงไม่เดือดร้อน
5. บาท ดอลลาร์ ทองคำ และการขาดทุนทางบัญชี
การแทรกแซงมิให้บาทแข็งค่าหรือผันผวนต้องใช้ “กระสุน” ดอลลาร์ การเพิ่มเงินบาทในระบบเศรษฐกิจก็ต้องใช้ทรัพย์สิน เช่น ดอลลาร์ ทองคำ หรือ พันธบัตรรัฐบาลไทยหนุนหลัง(เป็นสำรอง)เพื่อทำให้คนเชื่อว่าเงินที่ออกมาหมุนเวียนนั้นมีค่า ทั้งๆ ที่ในทางกลับกันไม่สามารถเอาเงินบาทไปแลกทรัพย์สินที่หนุนหลังคืนกลับมาได้ ค่าเงิน(บาท)จะมีค่าเท่าใดจึงขึ้นอยู่กับ “ความเชื่อมั่น” ของผู้ถือเงินที่มีต่อเศรษฐกิจไทยมากกว่าสิ่งอื่นใด ดูตัวอย่างดอลลาร์สหรัฐก็ได้
ความเชื่อมโยงระหว่างบาท ดอลลาร์ และทองคำ จึงยึดโยงผ่านมาตรฐานทางบัญชีที่ส่วนใหญ่กำหนดให้ต้องมีประเมินมูลค่าทรัพย์สิน/หนี้สินตามราคาตลาด หรือ mark to the market price ดังนั้นมูลค่าเงินสำรองที่อยู่ในรูปของดอลลาร์จะผันผวนไปตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ส่วนหนึ่งไทยเป็นผู้กำหนด ขณะที่ทองคำก็จะผันผวนไปตามราคาทองคำในตลาดโลก เมื่อนำมาลงบัญชีเพื่อแสดงฐานะจึงอาจมีทั้งกำไร/ขาดทุนเกิดขึ้นได้ และทาง ธปท.ก็เปิดเผยข้อมูลนี้เป็นประจำ
ประเด็นก็คือการขาดทุน/กำไรทางบัญชีเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ก็ต้องบอกว่าจริง มิใช่เป็นเพียงตัวเลข หากธนาคารพาณิชย์ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นจำนวนมากเหมือนเช่นที่ประสบในปี พ.ศ. 2540 จนส่วนของทุนติดลบหรือน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดทางการจะสั่งให้เพิ่มทุนหรือไม่ แล้วเงินเพิ่มทุนเป็นของจริงหรือหลอก แต่ที่น่าจะเป็นประเด็นก็คือที่มาของกำไรขาดทุนนี้เกิดจากอะไรต่างหาก
ธปท.เป็นธนาคารกลาง ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีเงินทุนหรือส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นบวกเหมือนดังเช่นธนาคารพาณิชย์ทั่วไปเพราะดำเนินกิจกรรมคนละอย่างกัน นายธีระชัย หรือนาย “โกร่ง” น่าจะเข้าใจดี ดังนั้นการเข้าแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนแล้วเกิดการขาดทุนจึงเป็นคนละประเด็นกับการขาดทุนเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือราคาทองคำที่เปลี่ยนแปลงไป ณ วันที่ทำการบันทึกบัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ
6. การรวมบัญชี
กฎหมายตั้งแต่ดั้งเดิมระบุไว้ให้แยกบัญชีของ 2 ฝ่ายออกจากกันเพื่อความปลอดภัยคือฝ่ายออกบัตรและฝ่ายการธนาคารเพราะดำเนินกิจกรรมคนละอย่างกัน
แต่การลดค่าเงินบาทเมื่อปี พ.ศ. 2540 ได้ก่อให้เกิดการบันทึกกำไรขาดทุนของทั้ง 2 ฝ่ายแตกต่างกัน ฝ่ายออกบัตรมีกำไรเพราะใช้เงินดอลลาร์น้อยลงในการออกเงินบาท ในขณะที่ฝ่ายการธนาคารที่ดำเนินนโยบายการเงินเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทขาดทุน ทั้ง 2 ฝ่ายต่างเป็นหน่วยงานภายใน ธปท.
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องประหลาดมหัศจรรย์ที่ไม่สามารถหักกลบลบหนี้ภายในกิจการเดียวกันได้ทั้งๆ ที่ไม่มีอะไรหายไปจากบัญชี ปล่อยให้การขาดทุนเป็นภาระของคนทั้งประเทศที่ต้องเอาเงินภาษีปีละกว่า 6 หมื่นล้านบาทมาจ่ายเป็นค่าดอกเบี้ย ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งที่มีกำไรก็ไม่สามารถนำเอากำไรแบบส้มหล่นนี้มาช่วยเหลือการขาดทุนของ ธปท.ได้ การชำระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ จึงต้องตกอยู่กับกระทรวงการคลังมากกว่า 10 ปีเพราะเมื่อมีการขาดทุนเกิดขึ้น ธปท.จะไม่สามารถจ่ายเงินออกมาเป็นค่าดอกเบี้ยหรือชำระเงินต้นได้เพราะถูกกฎหมายห้ามเอาไว้
หากธีระชัยอยากหากำไรโดยไม่เสี่ยงก็รวมบัญชีแล้วจะได้กำไรทันทีปีละ 6-7 หมื่นล้านบาท ทุกอย่างอยู่ครบไม่มีอะไรหายไปจากบัญชี ไม่ว่าบัญชีใดก็ตาม ข้อสำคัญกล้าทำเพื่อบ้านเมืองหรือไม่?
******************
*1 The Japan Foundation Fellow บทความนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน Japan Foundation ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องแต่อย่างใด