นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดง ในการถวายฎีกา เพื่อขออภัยโทษให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่า อันนี้จริงๆ แล้วเราไม่ได้ไปอยู่ในลักษณะของการเร่งกระบวนการ ทุกอย่างเป็นไปตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะทำเรื่องต่างๆ ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเรื่องที่ตกค้าง เป็นการนำมาพิจารณาตามขั้นตอน ไม่มีการเร่งรัดเป็นกรณีพิเศษ
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการมองว่า การที่มีการเร่งเรื่องของการขออภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ จะทำให้รัฐบาลไปเร็วขึ้น นายกฯ กล่าวปฏิเสธว่า ยังไม่ได้ดูเลย ทุกอย่างอยู่ในรายกระทรวงที่จะเป็นเรื่องของหน่วยงานนั้นพิจารณา เมื่อถามอีกว่า แต่การที่จะถวายฎีกาได้ ผู้ต้องหาต้องกลับมาติดคุกก่อนหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เอาไว้หน่วยงานเขาศึกษาเรื่องก่อนดีไหมคะ แล้วค่อยพิจารณา
** "มาร์ค"ยันฎีกาไม่เข้าหลักเกณฑ์
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงความพยายามของกลุ่มคนเสิ้อแดง ที่นำประเด็นเรื่องถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มารื้อฟื้นใหม่ ว่า ในสมัยที่ตนเป็นรัฐบาล เรื่องนี้อยู่ในสถานะที่ต้องตรวจสอบว่า คนที่จะเข้าชื่อถวายฎีกา เข้าข่ายหลักเกณฑ์ปกติหรือไม่ หมายความว่า มีความเกี่ยวข้อง เกี่ยวพันเป็นญาติหรือไม่ โดยอดีตรมว.ยุติธรรมได้รายงานว่า มีการตรวจสอบแล้ว พบว่ามีผู้ที่มีความเกี่ยวข้อง 3 ราย และมีการประสานงานยืนยันเจตนาในเรื่องของการที่จะถวายฎีกา หากยืนยันแล้วทางหน่วยงานจะทำตามกระบวนการ เหมือนกรณีอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม อยากจะชี้ว่าในสมัยพรรคพลังประชาชน รัฐบาลได้เคยกำหนดหลักเกณฑ์การยื่นฎีกาว่า หากมีการหลบหนีคดี ก็ไม่ควรได้รับการอภัยโทษ ดังนั้นหากรัฐบาลพรรคเพื่อไทย เป็นผู้ดำเนินการ ก็น่าจะใช้มาตรฐานเดียวกันด้วย เพราะสำหรับพรรคการเมืองที่ชอบพูดเรื่อง 2 มาตรฐาน ก็ควรจะมีมาตรฐานเดียวกันสำหรับคนไทยทั้งหมด ไม่ใช่มีมาตรฐานเฉพาะพวกพ้องตน
ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต้องใช้อำนาจอย่างตรงไปตรงมา มีหลักเกณฑ์ ไม่ใช่ทำเพราะเป็นพี่น้องกับใคร
**ไม่มีผู้ต้องหาหนีคดีได้รับอภัยโทษ
รายงานข่าวจากกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า การตรวจสอบรายละเอียด กรณีกลุ่มคนเสื้อแดง เข้าชื่อถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งได้ดำเนินการต่อเนื่องนานกว่า 2 ปี โดยนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค อดีต รมว.กระทรวงยุติธรรม มอบหมายกรมราชทัณฑ์ ทำหน้าที่ตรวจสอบรายชื่อประชาชน กว่า 3 ล้านรายชื่อ รวมถึงข้อกฏหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการยื่นขอพระราชทานอภัยโทษ
สาระสำคัญคือ ตามกม.สามารถยื่นขอพระราชทานอภัยโทษหรือไม่ และจากการตรวจสอบรายชื่อพบว่า ผู้เข้าชื่อจำนวนหนึ่งใช้นามสกุลชินวัตร ซึ่งพบว่าเป็นญาติใกล้ชิดกับพ.ต.ท.ทักษิณ แต่ไม่ใช่ลูกเมีย
นอกจากนี้ กรมราชทัณฑ์ ได้เข้าไปตรวจสอบข้อกม. และฏีกาต่างๆ ที่ญาติผู้ต้องขังรายอื่นๆ เคยใช้ยื่นประกอบการถวายฏีกาขอพระราชทานอภัยโทษ รวบรวมทำความเห็นต่อรมว.ยุติธรรม แต่ไม่พบว่ามีการอภัยโทษให้กับผู้ต้องโทษที่หลบหนี หรือไม่เคยรับโทษจำคุกตามคำพิพากษา ส่วนใหญ่ผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ได้รับอภัยโทษต้องรับโทษคุมขังมาแล้วระยะหนึ่ง อย่างไรก็ตาม กม.ให้อำนาจรัฐมนตรียุติธรรมเป็นคนทำความเห็นประกอบฏีกา เพื่อเสนอไปยังสำนักพระราชวังว่า สมควรอภัยโทษหรือไม่ แต่ทั้งนี้การอภัยโทษถือเป็นพระราชอำนาจ
สำหรับขั้นตอนการขอพระราชทานอภัยโทษเป็นรายบุคคลนั้น ผู้ต้องโทษหรือผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง จะใช้สิทธิยื่นเรื่องราวทูลเกล้าถวายฏีกา ขอพระราชทานอภัยโทษ ผ่านเรือนจำ หรือส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องก็ได้ เช่น สำนักราชเลขาธิการ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงการต่างประเทศ กรมราชทัณฑ์ และ เมื่อเรือนจำได้รับเรื่องทูลเกล้าฯ ของนักโทษเด็ดขาด หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง เกี่ยวกับนักโทษ ฏีกาคำพิพากษา หมายจำคุกหรือเอกสารประกอบเรื่องราว ว่าถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ ในกรณีที่มีปัญหาจะต้องขอทราบข้อเท็จจริง เช่น ประวัติการทำผิดและรายละเอียดบางประการเกี่ยวกับนักโทษ ต้องประสานไปยังเรือนจำ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
จากนั้นกรมราชทัณฑ์ มีหน้าที่สรุปยอดฏีกาทูลเกล้าฯ และคำพิพากษาในคดีของนักโทษเด็ดขาดรายนั้นๆ ประมวลเรื่องราวพร้อมเหตุผลเสนอต่อ รมว.ยุติธรรม พิจารณาให้ความเห็น แล้วเสนอเรื่องเพื่อรัฐมนตรี นำความขึ้นกราบบังคมทูล ต่อไป
**ลั่นรัฐบาลเดินหน้าแก้รธน.แน่
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงถึงกรณีถึงความคืบหน้าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ว่า เรายืนยันว่า ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่มีปัญหาแน่นอน เพราะบางมาตราขัดต่อระบอบประชาธิปไตย ทำให้พรรคการเมือง นักการเมือง ประชาชน อ่อนแอ สุดท้ายประชาธิปไตยอ่อนแอด้วย อำนาจนอกระบบแทรกแซงได้ง่าย แต่จะเริ่มแก้ไขในปี 2555 ไม่ใช่ปีนี้ เพราะต้องแก้ปัญหาปากท้องของประชาชนก่อน
ส่วนรูปแบบการแก้ไขโดยการตั้งคณะกรรมการขึ้นมายกร่างแก้ไขมาตรา 291 เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งส.ส.ร.นั้น พรรคต้องมาคุยกันว่า ถึงแนวทางแก้ไขก่อนเสนอให้รัฐบาล ส่วนการแก้ไขอย่างไร อยู่ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญยกร่างรัฐธรรมนูญ หากรัฐบาลหรือ ส.ส.เสนอแก้ไขเอง จะดูเหมือนว่าทำเพื่อพวกพ้อง แก้ไข เพื่อพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการมองว่า การที่มีการเร่งเรื่องของการขออภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ จะทำให้รัฐบาลไปเร็วขึ้น นายกฯ กล่าวปฏิเสธว่า ยังไม่ได้ดูเลย ทุกอย่างอยู่ในรายกระทรวงที่จะเป็นเรื่องของหน่วยงานนั้นพิจารณา เมื่อถามอีกว่า แต่การที่จะถวายฎีกาได้ ผู้ต้องหาต้องกลับมาติดคุกก่อนหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เอาไว้หน่วยงานเขาศึกษาเรื่องก่อนดีไหมคะ แล้วค่อยพิจารณา
** "มาร์ค"ยันฎีกาไม่เข้าหลักเกณฑ์
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงความพยายามของกลุ่มคนเสิ้อแดง ที่นำประเด็นเรื่องถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มารื้อฟื้นใหม่ ว่า ในสมัยที่ตนเป็นรัฐบาล เรื่องนี้อยู่ในสถานะที่ต้องตรวจสอบว่า คนที่จะเข้าชื่อถวายฎีกา เข้าข่ายหลักเกณฑ์ปกติหรือไม่ หมายความว่า มีความเกี่ยวข้อง เกี่ยวพันเป็นญาติหรือไม่ โดยอดีตรมว.ยุติธรรมได้รายงานว่า มีการตรวจสอบแล้ว พบว่ามีผู้ที่มีความเกี่ยวข้อง 3 ราย และมีการประสานงานยืนยันเจตนาในเรื่องของการที่จะถวายฎีกา หากยืนยันแล้วทางหน่วยงานจะทำตามกระบวนการ เหมือนกรณีอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม อยากจะชี้ว่าในสมัยพรรคพลังประชาชน รัฐบาลได้เคยกำหนดหลักเกณฑ์การยื่นฎีกาว่า หากมีการหลบหนีคดี ก็ไม่ควรได้รับการอภัยโทษ ดังนั้นหากรัฐบาลพรรคเพื่อไทย เป็นผู้ดำเนินการ ก็น่าจะใช้มาตรฐานเดียวกันด้วย เพราะสำหรับพรรคการเมืองที่ชอบพูดเรื่อง 2 มาตรฐาน ก็ควรจะมีมาตรฐานเดียวกันสำหรับคนไทยทั้งหมด ไม่ใช่มีมาตรฐานเฉพาะพวกพ้องตน
ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต้องใช้อำนาจอย่างตรงไปตรงมา มีหลักเกณฑ์ ไม่ใช่ทำเพราะเป็นพี่น้องกับใคร
**ไม่มีผู้ต้องหาหนีคดีได้รับอภัยโทษ
รายงานข่าวจากกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า การตรวจสอบรายละเอียด กรณีกลุ่มคนเสื้อแดง เข้าชื่อถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งได้ดำเนินการต่อเนื่องนานกว่า 2 ปี โดยนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค อดีต รมว.กระทรวงยุติธรรม มอบหมายกรมราชทัณฑ์ ทำหน้าที่ตรวจสอบรายชื่อประชาชน กว่า 3 ล้านรายชื่อ รวมถึงข้อกฏหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการยื่นขอพระราชทานอภัยโทษ
สาระสำคัญคือ ตามกม.สามารถยื่นขอพระราชทานอภัยโทษหรือไม่ และจากการตรวจสอบรายชื่อพบว่า ผู้เข้าชื่อจำนวนหนึ่งใช้นามสกุลชินวัตร ซึ่งพบว่าเป็นญาติใกล้ชิดกับพ.ต.ท.ทักษิณ แต่ไม่ใช่ลูกเมีย
นอกจากนี้ กรมราชทัณฑ์ ได้เข้าไปตรวจสอบข้อกม. และฏีกาต่างๆ ที่ญาติผู้ต้องขังรายอื่นๆ เคยใช้ยื่นประกอบการถวายฏีกาขอพระราชทานอภัยโทษ รวบรวมทำความเห็นต่อรมว.ยุติธรรม แต่ไม่พบว่ามีการอภัยโทษให้กับผู้ต้องโทษที่หลบหนี หรือไม่เคยรับโทษจำคุกตามคำพิพากษา ส่วนใหญ่ผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ได้รับอภัยโทษต้องรับโทษคุมขังมาแล้วระยะหนึ่ง อย่างไรก็ตาม กม.ให้อำนาจรัฐมนตรียุติธรรมเป็นคนทำความเห็นประกอบฏีกา เพื่อเสนอไปยังสำนักพระราชวังว่า สมควรอภัยโทษหรือไม่ แต่ทั้งนี้การอภัยโทษถือเป็นพระราชอำนาจ
สำหรับขั้นตอนการขอพระราชทานอภัยโทษเป็นรายบุคคลนั้น ผู้ต้องโทษหรือผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง จะใช้สิทธิยื่นเรื่องราวทูลเกล้าถวายฏีกา ขอพระราชทานอภัยโทษ ผ่านเรือนจำ หรือส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องก็ได้ เช่น สำนักราชเลขาธิการ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงการต่างประเทศ กรมราชทัณฑ์ และ เมื่อเรือนจำได้รับเรื่องทูลเกล้าฯ ของนักโทษเด็ดขาด หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง เกี่ยวกับนักโทษ ฏีกาคำพิพากษา หมายจำคุกหรือเอกสารประกอบเรื่องราว ว่าถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ ในกรณีที่มีปัญหาจะต้องขอทราบข้อเท็จจริง เช่น ประวัติการทำผิดและรายละเอียดบางประการเกี่ยวกับนักโทษ ต้องประสานไปยังเรือนจำ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
จากนั้นกรมราชทัณฑ์ มีหน้าที่สรุปยอดฏีกาทูลเกล้าฯ และคำพิพากษาในคดีของนักโทษเด็ดขาดรายนั้นๆ ประมวลเรื่องราวพร้อมเหตุผลเสนอต่อ รมว.ยุติธรรม พิจารณาให้ความเห็น แล้วเสนอเรื่องเพื่อรัฐมนตรี นำความขึ้นกราบบังคมทูล ต่อไป
**ลั่นรัฐบาลเดินหน้าแก้รธน.แน่
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงถึงกรณีถึงความคืบหน้าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ว่า เรายืนยันว่า ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่มีปัญหาแน่นอน เพราะบางมาตราขัดต่อระบอบประชาธิปไตย ทำให้พรรคการเมือง นักการเมือง ประชาชน อ่อนแอ สุดท้ายประชาธิปไตยอ่อนแอด้วย อำนาจนอกระบบแทรกแซงได้ง่าย แต่จะเริ่มแก้ไขในปี 2555 ไม่ใช่ปีนี้ เพราะต้องแก้ปัญหาปากท้องของประชาชนก่อน
ส่วนรูปแบบการแก้ไขโดยการตั้งคณะกรรมการขึ้นมายกร่างแก้ไขมาตรา 291 เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งส.ส.ร.นั้น พรรคต้องมาคุยกันว่า ถึงแนวทางแก้ไขก่อนเสนอให้รัฐบาล ส่วนการแก้ไขอย่างไร อยู่ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญยกร่างรัฐธรรมนูญ หากรัฐบาลหรือ ส.ส.เสนอแก้ไขเอง จะดูเหมือนว่าทำเพื่อพวกพ้อง แก้ไข เพื่อพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร