xs
xsm
sm
md
lg

“ส.ส.จตุพร”ฝันร้าย! ปูดมีล้มรัฐธ.ค. -"กกต."เกี่ยงสอย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

วานนี้ (31 ส.ค) นายจตุพร พรหมพันธุ์ สส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ขณะนี้เริ่มมีขบวนการที่จ้องจะล้มรัฐบาลพรรคเพื่อไทยแล้ว โดยมีการปรามาสจากคนบางกลุ่มว่าภายในเดือนธ.ค.นี้จะเริ่มขยับ เพราะฉะนั้น การได้เข้ามาดำรงตำแหน่งในบทบาทของข้าราชการการเมืองก็จะมีโอกาสที่จะช่วยเป็นตัวจักรในการเชื่อมประสานระหว่างปชช.กับรมต.และรักษาเสถียรภาพของรัฐบาลให้อยู่ได้ต่อไป
นายจตุพรกล่าวกรณีที่นายชัย ชิดชอบ ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อพรรคภูมิใจไทย ออกมาเสนอแนะให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีกลับประเทศเพื่อรับโทษ โดยให้คนเสื้อแดงขอพระราชทานอภัยโทษให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณว่า ขณะนี้กระบวนการทุกอย่างยังไม่เสมอภาคพอที่จะเดินหน้าต่อ สังเกตได้จากคดีของประชาชนที่ถูกปราบปราม ดีเอสไอ ทำคดีแล้วเสร็จเพียง 13 คดี จาก 91 คดี และยังคงอยู่ในขั้นตอนของสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ ยังไม่ได้ส่งต่อไปยังศาลอาญา ตรงกันข้ามคดีของกลุ่มแกนนำ ที่ขณะนี้มีการพิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งทำให้พวกตนถูกดำเนินคดีกันหมดแล้ว ทำให้เห็นว่า พื้นฐานของสังคมไทยยังไม่เท่าเทียมกันพอ
“นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี เสนอให้มีการพิจารณาลงโทษ พ.ต.ท.ทักษิณ และกลุ่มคนเสื้อแดงตามข้อเท็จจริง แต่ขณะนี้ฝ่ายปราบปรามประชาชน ยังคงไม่ได้รับชะตากรรมเท่ากับฝ่ายที่ถูกปราบปราม ฉะนั้นอารมณ์และความรู้สึกที่จะปรองดองก็จะเกิดขึ้นยาก หากจะปรองดองกันจริง ทุกฝ่ายต้องมีอารมณ์ร่วมกัน ผู้ฆ่า และผู้ถูกฆ่าต้องถูกดำเนินคดีภายใต้พื้นฐานเดียวกันเสียก่อน” นายจตุพร กล่าว

**กกต. มึน สอย “จตุพร” เกี่ยงขั้นตอน
อีกด้านที่ประชุมกกต. ได้มีการเลื่อนวาระการพิจารณากรณี คุณสมบัติของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่ถูกคุมขังโดยหมายของศาลทำให้เป็นบุคคลต้องห้ามไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ในวันเลือกตั้งที่ 3 ก.ค. ทำให้ขาดจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยตาม พ.ร.ป. พรรคการเมือง 2550 หรือไม่มาพิจารณา จากเดิมที่กำหนดจะมีการพิจารณาในวันที่ 1 ก.ย. แต่กกต.ติดภาระกิจต่างจังหวัดจึงงดประชุม ประกอบกับเรื่องดังกล่าวครบระยะเวลาการสอบสวน
ทั้งนี้มีรายงานว่า ที่ประชุมกกต.ได้มีการถกเถียงในเรื่องนี้อย่างกว้างขวางทั้งประเด็นที่ว่า หลักฐานที่คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามระเบียบกกต.ว่าด้วยการจัดทำและบริหารระบบฐานข้อมูลสมาชิกพรรคการเมือง 2552 ข้อ 9(3) นำมาใช้อ้างอิงและมีความเห็นเสนอต่อกกต.ว่านายจตุพรขาดจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย แล้วตั้งแต่วันที่ 3 ก.ค. นั้น ยังไม่ได้มีการเปิดโอกาสให้พรรคมีการโต้แย้ง ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนสำคัญควรที่คณะกรรมการฯ ดังกล่าวไปดำเนินการในประเด็นนี้ให้เรียบร้อยเสียก่อน และนำเสนอโดยเร็ว
นอกจากนี้ยังมีการถกเถียงในประเด็นที่ว่า ระเบียบที่ตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวอาศัยอำนาจตามมาตรา 19 ของ พ.ร.ป. พรรคการเมือง ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการฯ มีความเห็นว่า นายจตุพรขาดจากความเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยแล้ว ทางสำนักงานกกต.จะต้องเป็นผู้ลบชื่อ นายจตุพรออกจากระบบฐานข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรคในระบบอิเล็กทรอนิกส์เสียก่อนใช่หรือไม่ เพราะ มาตรา 19 วรรคท้ายได้กำหนดให้สำนักงานฯ เป็นผู้ที่จัดให้มีทะเบียนสมาชิกพรรคการเมืองของทุกพรรคการเมืองในระบบอิเล็กทรอนิกส์ และให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าทะเบียนดังกล่าวเป็นทะเบียนที่ถูกต้องตามกฎหมายเว้นแต่จะพิสูจน์ได้เป็นอย่างอื่น ซึ่งเมื่อสำนักงานฯทำการลบชื่อนายจตุพรออกจากระบบฐานข้อมูลฯ แล้วจึงค่อนเสนอนายทะเบียนพรรคการเมืองให้มีความเห็นแล้วจึงมาเสนอให้ที่ประชุมกกต.พิจารณาว่า นายจตุพรขาดจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย ทำให้มีปัญหาเรื่องคุณสมบัติการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เห็นควรที่กกต.จะเสนอให้เรื่องไปประธานสภาฯตามรัฐธรรมนูญมาตรา 91 เพื่อส่งต่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยใช่หรือไม่
“ ในที่ประชุมก็มีการถกเถียงในประเด็นนี้ว่า คณะกรรมการสอบฯ ไม่ใช่องค์คณะที่มีอำนาจวินิจฉัยเป็นที่สุด ที่ผ่านมาการลบชื่อบุคคลออกจากการเป็นสมาชิกพรรคก็จะลบเมื่อศาลมีคำพิพากษา เช่น ศาลสั่งให้เพิกถอนสิทธิ ทางสำนักงานจึงจะนำคำพิพากษาของศาลนำเข้ามาพิจารณาในคณะกรรมการแล้วจึงค่อยลบชื่อ อีกทั้งในการที่ทางสำนักฯจะไปลบชื่อก่อนก็อาจถูกทางพรรคเพื่อไทยฟ้องร้องได้ ”แหล่งข่าวกล่าว
รวมทั้งประเด็นว่า ทำไมกรณีนี้จึงนำเข้าให้ที่ประชุมกกต.พิจารณา เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนายทะเบียนพรรคการเมือง นายทะเบียนฯต้องพิจารณาก่อนว่า นายจตุพรพ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคแล้วหรือยัง ถ้าพ้นแล้วถึงค่อนเสนอมาให้กกต.พิจารณาว่าเห็นควรส่งไปที่ประธานสภาฯ เพื่อยื่นศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่ถ้านายทะเบียนฯ เห็นว่ายังไม่พ้นก็ไม่ต้องเสนอเรื่องมาที่กกต. แต่ทั้งนี้ก็มีกกต.บางคนเห็นว่า การตรวจสอบของ คณะกรรมการฯชุดดังกล่าวทำตามที่ ที่ประชุมกกต.มีมติให้ดำเนินการ เมื่อครั้งที่กกต.ประกาศรับรองผลนายจตุพร ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการฯดำเนินการเสร็จแล้วก็ต้องเสนอที่ประชุมกกต.พิจารณาไม่ใช่นายทะเบียนฯ
“ตรงนี้จึงทำให้ทางคณะกรรมการฯ ต้องมาพิจารณาว่าการที่จะให้พรรคได้มีการโต้แย้งเกี่ยวกับการเป็นสมาชิกพรรคของนายจตุพร ตกลงแล้วใครจะเป็นผู้ดำเนินการออกหนังสือ ระหว่างนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกกต.ในฐานะนายทะเบียนฯ หรือ นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการกกต.ในฐานะหัวหน้าสำนักงาน หรือคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
กำลังโหลดความคิดเห็น