xs
xsm
sm
md
lg

กองทุนมั่งคั่ง อันตรายจากระดับสูงกระทรวงการคลัง

เผยแพร่:   โดย: สุทธิพงษ์ ปรัชญพฤทธิ์

ปี 2518 เปิดตลาดหุ้น อีก 3-6 ปีต่อมา ตลาดหุ้นตก 62 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ต้อง “ลดค่าเงินบาท” หลายครั้ง เกิดโครงการ 4 เมษายน 2527 ทางการเข้าควบกิจการ 25 ไฟแนนซ์และเครดิตฟองซิเอร์ เปิดกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ทุนสำรองเสียหาย ต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินครั้งแรกจาก IMF

ปี 2536 เดือนตุลาคม นำระบบ Maintenance margin & force sell มาใช้ในตลาดหุ้นขึ้นไปที่ 1,750 และพังทลายลง 88 เปอร์เซ็นต์ เป็นผลถึงต้อง “ลอยค่าเงินบาท” เกิดโครงการ 14 สิงหาคม 2541 ปิดกิจการ 56 สถาบันการเงิน ทุนสำรองลดลงรุนแรง ต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF ครั้งที่ 2 http://yfrog.com/klr9z5j

กองทุนเพื่อการฟื้นฟู (FIDF) มีหนี้ที่เกิดจากการปิด 56 สถาบันการเงิน 1.4 ล้านล้านบาท ช่วง 12 ปีของการบริหารจัดการกองทุน (2541-2553) ได้ชำระคืนหนี้ 249,898 ล้านบาท หรือเฉลี่ยชำระหนี้ปีละ 20,825 ล้านบาท ชำระดอกเบี้ย 604,473 ล้านบาท หรือเฉลี่ยชำระดอกเบี้ยปีละ 50,373 ล้านบาท เงินที่ใช้ในการชำระดอกเบี้ยเป็นภาษีของประชาชน

ยังคงมีหนี้คงเหลือ 1.14 ล้านล้านบาท หักกับสินทรัพย์ที่มีอยู่ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูประมาณ 2 แสนล้านบาท จะต้องใช้เวลาประมาณ 45 ปี จึงจะใช้หนี้นี้ได้หมด ทางการจะยุติบทบาทของกองทุนฟื้นฟูในปี 2556 ถามว่าหนี้ที่เหลือประมาณ 1 ล้านล้านบาทของกองทุนฟื้นฟูจะเอาไปไว้ที่ไหน

ปี 2551 ทางการตั้ง “สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (PDA)” ซึ่งมีวิสัยทัศน์ใกล้เคียงกับของกองทุนฟื้นฟู แต่ลดบทบาทลงมาก คือไม่ได้ช่วยเหลือสถาบันการเงินทางด้านสภาพคล่อง และไม่คุ้มครองเงินฝากทั้งจำนวน แต่จะคุ้มครองเงินฝากประชาชนไม่เกินบัญชีละ 1 ล้านบาท เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุคล้ายกองทุนเพื่อการฟื้นฟู ประวัติศาสตร์บอกว่าวิสัยทัศน์กองทุนเพื่อการฟื้นฟูล้มเหลวและก่อหนี้ก้อนโตให้ระบบ “สถาบันคุ้มครองเงินฝาก” ก็มีโอกาสจะล้มเหลวและเกิดหนี้ก้อนโตให้ระบบเช่นเดียวกัน

นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ ในการจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ พบว่าประเทศต่างๆ ที่ตั้งกองทุนมั่งคั่ง เพราะมีรายได้เหลือล้น ไม่มีหนี้ เช่น ประเทศที่มีบ่อน้ำมันในตะวันออกกลาง เป็นต้น แต่ประเทศไทยมีหนี้สาธารณะสูงถึง 4.5 ล้านล้านบาท ที่ทางการคิดตั้งกองทุนมั่งคั่ง เนื่องจากพบว่ามีทุนสำรองมาก ประมาณ 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ http://yfrog.com/klr9z5j หรือประมาณ 6 ล้านล้านบาท แต่ทุนสำรองไม่ใช่รายได้ของประเทศ รายได้ประเทศต้องดูที่เงินคงคลัง ทุนสำรองเคยลดลงรุนแรง จนทำให้ต้องเข้าไอเอ็มเอฟมาแล้วถึง 2 ครั้ง กระทรวงการคลังต้องไปดูว่าทำไมบางช่วงทุนสำรองจึงลดลงอย่างผิดปกติ และช่วงนี้ทำไมจึงเพิ่มสูงผิดปกติ

วิสัยทัศน์ระดับสูงของกระทรวงการคลัง “น่ากลัว” ประเทศไทยทุกวันนี้ไม่ได้ยืนอยู่บนขา(ทุน)ของตัวเอง แต่ยืนอยู่บนขา(ทุน)ของต่างชาติ http://yfrog.com/h4nb83j ทุกวันนี้ไม่เหลือธนาคารเอกชนใดเป็นของคนไทยแล้ว

กระทรวงการคลัง “มักชง” เรื่องที่เป็นอันตรายแก่ประเทศชาติเป็นประจำ ช่วงรัฐบาลทักษิณ ก็ชงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ทำให้สินทรัพย์ของประเทศตกไปเป็นของต่างชาติมากขึ้น

ใครจะช่วยประเทศได้บ้าง ตัวเลขหนี้สาธารณะก็สูง ทำไมไม่ชงเรื่องการลดหนี้สาธารณะบ้าง
กำลังโหลดความคิดเห็น