"ส.ว.คำนูณ" ติงรัฐตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ ต้องชัดเจนในรูปแบบ หากจะทำจริงต้องรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย แนะตั้งกรรมการอิสระช่วยแนะนำด้านนโยบายศึกษาฯ เจอถล่มแท็บเลต ทำเด็กติดเกมไม่พัฒนา ทักษะการเขียน การอ่าน "ชวน"แฉ"แม้ว"สารภาพสื่อสิงคโปร์ ใช้กำปั้นเหล็กกับคนไทยมุสลิม 3 จ.ภาคใต้หนักไป
การประชุมรัฐสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเป็นวันที่สอง ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่เวลา 8.00 น. วานนี้ (24 ส.ค.) โดย สมาชิกรัฐสภาทั้งส.ส.และส.ว. ส่วนใหญ่ยังคงให้ความสำคัญในการสอบถามถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินนโยบายแต่ละด้าน
** ส.ว.ค้านนโยบายเลิกกองทุนน้ำมัน
น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. อภิปรายในส่วนนโยบายด้านพลังงาน ว่าไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลจะยกเลิกกองทุนน้ำมัน แต่ควรจะเอาปตท. กลับมาเป็นของคนไทย 100 เปอร์เซนต์ ถึงจะมีความเป็นธรรม และปัจจุบันประชาชนไม่สามารถรู้ว่า มีใครมีสัดส่วนถือหุ้นอยู่ในปตท.บ้าง ดังนั้นควรจะมีการเปิดต่อสาธารณชน ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนธรรมาภิบาลอย่างแท้จริง
ส่วนนโยบายกองทุนมั่งคั่งนั้น ไม่ควรทำ เพราะแต่ละประเทศจะอาศัยจากรายได้น้ำมัน แต่ประเทศไทยจะดึงเงินสำรองระหว่างประเทศมาทำเป็นการไม่สำควร มีเพียงประเทศเดียวในโลกคือ ประเทศจีน แต่เขามีรายได้สำรองประเทศจำนวนมากถึง 3.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ แต่ไทยมี 1.8 แสนล้านบาท เท่านั้น ซึ่งอาจจะสร้างภาระให้กับประเทศได้
น.ส.รสนา กล่าวว่า เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า กัมพูชา มาเลเซีย รัฐบาลได้ส่วนแบ่งจากรายได้ด้านพลังงาน สูงถึงร้อยละ 60-85 แต่ของไทยกลับได้เพียงร้อยละ 12 สิ่งที่รัฐบาลควรทำคือ เพิ่มสัมปทานด้านพลังงานที่รัฐควรได้ให้มากขึ้น ซึ่งรัฐบาลได้มีการประมาณการจากรายรับภาคหลวง ด้านพลังงานในปี 54 จำนวน 3.7 หมื่นล้านบาท จากส่วนแบ่งที่ได้ ร้อยละ12 หากรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 จะมีเงินถึง1.4 แสนล้านบาท และสามารถนำเงินนี้มาทำกองทุนสำรองน้ำมันได้ หรือกองทุนมั่งคั่ง จะดีกว่าเอาเงินกองทุนสำรองของประเทศมาใช้ และขอให้รัฐบาลบริหารแผ่นดินด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และตรวจสอบได้
** "คำนูณ"ห่วงรัฐตั้งกองทุนความมั่งคั่ง
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้อภิปรายนโยบายรัฐบาลโดยตั้งข้อสังเกต 3 ประการ หรือ “ 3 ห่วง” ในนโยบายรัฐบาล คือ
ห่วงที่ 1. กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ ห่วงที่ 2. การเร่งนำทรัพยากรพลังงานในเขตพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทยขึ้นมาใช้ ห่วงที่ 3. การไม่มีนโยบายปฏิรูปประเทศ มีแต่นโยบายร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แต่เวลามีจำกัด จึงขอพูดถึงเฉพาะ 2 ห่วงแรก ซึ่งเป็นประเด็นอันตรายจากกรอบความคิดใหม่ๆ แม้ว่าเรื่องกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ หรือ Sovereign Wealth Fund จะไปบรรจุอยู่ในนโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงเวลา 4 ปีของวาระรัฐบาล
แต่หากพิจารณาเปรียบเทียบกับนโยบายเร่งด่วนที่เป็นการเพิ่มการใช้จ่ายเงิน คำถามคือ รัฐบาลจะหาเงินมาจากไหน เพราะกู้ได้อีกไม่มาก และไม่มีแหล่งเงินที่ไหนจะมีมากและเร็วเท่ากับดึง “สมบัติเก่า” มาทำมาหากินให้เกิดดอกออกผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย
นายคำนูณ กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าทุนสำรองเงินตราที่มีอยู่ 3 บัญชี คือ บัญชีทุนสำรองเงินตรา, บัญชีผลประโยชน์ประจำปี และบัญชีสำรองพิเศษ ที่อยู่ในความดูแลของฝ่ายออกบัตร ธปท. ก็คือ “เงินคลังหลวง” ในความหมายที่หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนท่านกล่าวไว้หลายครั้ง
กรอบแนวคิดของกองทุนมั่งคั่งแห่งชาตินี้ โดยหลักคือนำสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตราส่วนที่มี “มากเกินความจำเป็น” มาลงทุนให้ได้ผลตอบแทนคุ้มค่ากว่าที่เคยเป็นมาในอดีต ทุนสำรองเงินตรานี้ตาม พ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ. 2501 มีข้อจำกัดอยู่ว่า จะลงทุนได้แค่จากดอกผลที่ฝากไว้กับธนาคาร หรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศ และลงทุนในหลักทรัพย์ที่ค้ำประกันโดยรัฐบาลต่างประเทศ หรือสถาบันการเงินที่ไทยเป็นสมาชิก และมีความน่าเชื่อถือสูง ซึ่งเป็นไปเพื่อเป็นหลักประกันว่า ทุนสำรองเงินตราจะไม่มีความเสี่ยง แม้จะได้ผลตอบแทนน้อยกว่าการไปลงทุนในนวัตกรรมทางการเงิน และทางด้านอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ในภาคเอกชน
"หลวงตาท่านต้องการปกป้องเงินใน “คลังหลวง” ทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะในส่วนที่ท่านรณรงค์ให้ประชาชนบริจาคตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เป็นต้นมา ซึ่งอยู่ในบัญชีสำรองพิเศษเท่านั้น ท่านต้องการให้บริหารเงินใน “คลังหลวง” ตามหลักพอเพียง ไม่เสี่ยง ไม่ใช่บริหารเพื่อ “ผลตอบแทนสูงสุด” สถานเดียว หลวงตาท่านต้องการให้บริหารเงินใน “คลังหลวง” อย่างคำนึงถึงลักษณะพิเศษของประเทศไทย ไม่ใช่เอาอย่างตามเยี่ยงประเทศอื่น ๆ แล้วก็อ้าง “โลกาภิวัตน์” ว่าเราต้องเปลี่ยนแปลงให้ทันโลก ทันประเทศอื่น สินทรัพย์ใน “คลังหลวง” นั้นสมควรเข้าใจว่า เป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่บรรพ บุรุษ บุรพกษัตริย์ของสยามประเทศทรงมีพระมหากรุณาธิคุณจะมอบไว้ให้ชั่วลูกชั่วหลาน" นายคำนูณ ระบุ
โดยเมื่อปี 2452 สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานเงินจากท้องพระคลัง 12 ล้านบาท ให้มาตั้งเป็นทุนสำรองสำหรับรักษาอัตราแลกเปลี่ยนระหว่าง “เงินตราสยาม” กับ “เงินตราต่างประเทศ” ให้มั่นคง ไม่ให้ปะปนกับเงินในท้องพระคลัง เนื่องจากให้เป็นหลักประกันในการหนุนค่าเงินบาท และค้ำประกันชาติไทย จึงไม่เคยมีการนำออกมาทำธุรกรรมอื่นใดทั้งสิ้น สินทรัพย์ในคลังหลวงจึงเพิ่มพูนขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นการแตะเงินในคลังหลวง จึงต้องรอบคอบอย่างถึงที่สุด อีกทั้งต้องให้สภารับรู้ ต้องให้สาธารณชนรับรู้และร่วมแสดงความคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลต้องชี้แจงให้ชัดเจน และถ้ารัฐบาลพิจารณาเห็นว่ามีประโยชน์มากกว่า และจะต้องเดินหน้าจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ โดยแก้ไข พ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ. 2501 ก็ขอให้เดินตามช่อง พ.ร.บ.ที่ต้องผ่าน 2 สภา อย่าได้เลือกทางพ.ร.ก.ที่เป็นอำนาจของรัฐบาลทำไปก่อนแล้วมาขออนุมัติ 2 สภาภายหลัง ตนอยากฝากท่านนายกฯว่าให้สัญญาต่อสภาได้ไหมว่าจะไม่ทำในรูป พ.ร.ก.
ส่วนในห่วงที่ 2 นั้น นายคำนูณ ระบุว่า การหาเงินได้มากๆ ภายในเวลารวดเร็วอีกวิธีหนึ่ง คือ การเร่งขุดทรัพยากรพลังงานธรรมชาติในอ่าวไทย ในเขตพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชาขึ้นมาใช้ แม้เรื่องนี้จะไม่ปรากฏชัดเจนในนโยบายรัฐบาล แต่พิจารณาจากนโยบายเร่งด่วนด้านต่างประเทศ ประกอบกับคำให้สัมภาษณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานแล้วก็ชัดเจนว่า การเร่งขุดทรัพยากรในอ่าวไทย จะโยงไปถึงความสัมพันธ์กับกัมพูชา ในประเด็นข้อขัดแย้งเขตแดนทางบก ซึ่งจริง ๆ ถ้าเราไม่เร่งขุด แต่รู้อยู่ว่ากัมพูชาเร่งขุด เราก็จะมีข้อต่อรองที่ดีกว่าในกรณีที่ทั้งเรา ทั้งกัมพูชา ต่างเร่งทั้งคู่ ในกรณีหลังนี้มีอัตราเสี่ยงสูงมากต่อการไปเข้ากับหลักขัดกันแห่งประโยชน์ระหว่างผลประโยชน์ของชาติ กับผลประ โยชน์ของนักการเมือง และกลุ่มทุน และมีอัตราเสี่ยงสูงมากต่อการสูญเสียอธิปไตยทั้งทางบกและทางทะเลในทางปฏิบัติในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ถ้าทุกอย่างมีธรรมาภิบาล ทุกบาททุกสตางค์ที่มาจากทรัพยากรของส่วนรวมตกถึงมือประชาชน จะเดินไปข้างหน้าก็ยังพอพูดกันได้ แต่นี่ก็มีข้อกังวลข้อสงสัยว่าประชาชนอาจจะได้เพิ่มเพียงเพื่อให้เกิดมายาภาพลวงตาสะกดจิตตัวเองว่าได้เพิ่ม แต่กลุ่มทุนที่ลงทุนทางการเมืองนั้นได้มากกว่ามหาศาล
ทั้งนี้ กล่าวสรุปโดยหลักการเป็นเรื่องที่ดี ไม่มีใครขัด แต่จะต้องทำไปภายใต้เงื่อนไข 3 ประการ คือ ไม่กระทบอธิปไตยของชาติ สองต้องไม่เกิดการขัดกันซึ่งผลประโยชน์ระหว่างผลประโยชน์ของชาติ กับผลประโยชน์ของพรรคการเมืองและกลุ่มทุน และสาม ต้องอยู่บนพื้นฐานของธรรมาภิบาลในกระบวนการกำหนดนโยบายพลังงานของชาติ ดังที่ส.ว.รสนา โตสิตระกูลอภิปรายไว้ ทั้งนี้ ประเด็นพลังงานในอ่าวไทยนี้ รวมไปถึงความขัดแย้งไทย-กัมพูชาทั้งระบบ รัฐบาลเปิดรัฐสภารับฟังความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญมาตรา 179 และถ้าจะให้ดีกว่านั้น ตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อระดมพลังทางปัญญาจากภาคประ ชาชนภาควิชาการด้วย ก็จะเป็นหลักประกันสร้างความมั่นใจประชาชน
"กรอบความคิดใหม่ในการหาเงินทั้งจากกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ และขุมพลังงานในอ่าวไทยในเขตพื้นที่ทับซ้อน เป็น 2 ประเด็นใหญ่ที่น่าอภิปรายถกกัน แต่จะต้องมีความชัดเจนกว่านี้ เพราะกรอบความคิดใหม่อาจเป็นเพียงการเอาสมบัติเก่าที่ปู่ย่าตาทวดบรรพชนในอดีตสะสมไว้ออกมาหาผลประโยชน์ให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด บวกกับการเร่งขุดมรดกที่จะตกทอดไปสู่ลูกหลานในอนาคตออกมาใช้โดยเร็ว ซึ่งทำได้ครับ แต่ต้องด้วยความระมัดระวังสูงสุด มิเช่นนั้นจะเป็นการทำลายสิ่งที่ท่านนายกฯกล่าวไว้ในอารัมภบทที่เขียนได้หมดจดงดงามว่า “ต้นทุนทางสังคมและวัฒนาธรรมที่เราได้สะสมมาตั้งแต่ในอดีต” เสียหมดสิ้น " นายคำนูณ กล่าวทิ้งท้าย
**ปชป.ถล่มนโยบายศึกษาฯ
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ อดีตรมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า เป็นห่วงนโยบายปรับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็นกองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ว่า จะไปเอาเงินตรงไหนมาใช้ในการกองทุน และที่บอกว่าคนรวยก็กู้ยืมเงินเรียนได้ จริงหรือไม่ แล้วรัฐบาลได้มีการเตรียมการอย่างไรในเรื่องนี้
ส่วนนโยบายแจกแท็บเล็ตให้เด็ก ป. 1 นั่น หัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา คือเราต้องสร้างคือบัณฑิตยุคใหม่ หัวใจก็คือครู รัฐบาลที่ผ่านมาจึงได้อนุมัติเห็นชอบให้ขึ้นเงินเดือนครู 13 % และมีการพัฒนาครูเป็นสายวิชาชีพเชียวชาญ แต่รัฐบาลนี้จะยกเลิกครูพันธุ์ใหม่ อยากให้ตอบให้ได้ว่า แล้วเราจะพัฒนาครูอย่างไร
นายประกอบ รัตนพันธ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายนโยบายด้านการศึกษาโดยได้ตำหนิ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล รมว.ศึกษาธิการ ว่า ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ปรากฏว่ามีการสั่งให้เปลี่ยนสีพรมทางเข้าห้องทำงาน จากสีชมพูเป็นสีแดง โดยใช้เงินประมาณ 2-3 ล้านบาท แทนที่จะเอาเงินจำนวนนี้ไปสร้างโรงเรียนได้ถึง 1 แห่ง หรือ เอาไปเป็นทุนอาหารกลางวันเด็ก และนมโรงเรียนจะดีกว่า
"ที่น่ากลัวที่สุดคือ การให้สัมภาษณ์ของ รมว.ศึกษาฯ ว่า จะยกเลิกระบบวิทยฐานะให้กับครู ซึ่งจากเดิมที่ประเมินโดยฝ่ายวิชาการของภาคราชการ แต่จะเปลี่ยนเป็นให้ผู้ปกครองประเมินแทน แนวคิดนี้จะส่งผลเสียอย่างรุนแรง จะทำให้ครูวิ่งเข้าหาผู้ปกครองมากกว่าจะผลิตผลงานทางวิชาการออกมาเพื่อพัฒนาระบบการศึกษา จึงอยากขอความชัดเจนจากรัฐบาล เพราะจะกระทบต่อกำลังใจของครูทั่วประเทศ" นายประกอบ กล่าว
**แทปเล็ต ทำเด็กติดเกม
นายกนก วงษ์ตระหง่าน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า นโยบายจัดหาแทบเล็ตพีซี ให้นักเรียนในชั้นประถมปีที่ 1 เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะยังเป็นระดับชั้นที่ต้องการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน การให้แทบเล็ตที่ใช้มือสัมผัสในการอ่านการเขียนจึงไม่ช่วยพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน เด็กในชั้นนี้ต้องการครูมากกว่าต้องการแทบเล็ต ผลเสียที่ตามมาคือผลกระทบกับพัฒนาการทางสายตา และการมองเห็น ปัญหาสิ่งยั่วยวนทางอินเทอร์เน็ตที่จะมีต่อเด็กอายุ 6 ปี ที่ยังไม่มีความสามารถในการกลั่นกรองสิ่งที่พบในโลกอินเทอร์เน็ต ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลกระทบกับโรงเรียนและสังคมไทยในที่สุด
"อนาคตเด็กนอกจากจะติดเกมแล้วยังจะติดแทบเล็ตเพราะมีโอกาสใช้เล่นเกมได้ตลอดเวลา หากจำเป็นต้องแจกแทบเล็ตตามที่หาเสียงควรแจกกับเด็กชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความพร้อมจะเหมาะสมกว่า ประเด็นสำคัญเนื้อหาที่จะใช้ในแทบเล็ตยังไม่มีใครทำ การปฏิบัตินโยบายโดยการอบรมครูเพื่อการสอนโดยใช้แทบเล็ตจะทำอย่างไร ถ้าครูไม่พร้อมจะทำอย่างไร และความไม่พร้อมของโรงเรียนในชนบทเรื่องอินเทอร์เน็ตไร้สายจะทำอย่างไร หากทำต่อไปเกรงว่าจะเกิดปัญหาสองมาตรฐานเกิดขึ้นกับเด็กในชนบทได้"
**วาทกรรมไพร่ อำมาตย์หลอกเสื้อแดง
ในช่วงการอภิปรายนโยบายด้านความมั่นคง บรรยากาศค่อนข้างคึกคัก และมีการประทะคารมกันระหว่างส.ส.ฝ่ายค้าน กับส.ส.จากพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นแกนนำกลุ่ม นปช. โดยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า ปฏิเสธไม่ได้ว่า ชัยชนะการเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทย เป็นไปอย่างเด็ดขาดได้รับการสนับสนุนจากคนรากหญ้า ผ่านกลุ่มพลังมวลชน หลายครั้งมีมวลชนคนเสื้อแดง ในหลายปีที่ผ่านมามีการสร้างประเด็นอำมาตย์ ไพร่ หลายครั้งการเคลื่อนไหวของแกนนำเสื้อแดง ความคิดถูกเชื่อมโยงกับพรรคเพื่อไทย มีการสร้างวาทะกรรมสำคัญว่า อำมาตย์ไม่อยากเห็นคนหายจน จะต้องพึ่งพาอำมาตย์ตลอดชีวิต คำถามก็คือ นโยบายที่รัฐบาลชุดนี้แถลงต่อรัฐสภา มีความแตกต่างจากนโยบายอำมาตย์ตรงไหน ตนดูนโยบายทั้งหมดแล้วรู้สึกผิดหวัง เพราะไม่มีการแก้ปัญหาคนยากจนที่เป็นคนสนับสนุนพรรคเพื่อไทยเลย ทั้งเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เงินเดือนปริญญาตรี 1.5หมื่นบาท เป็นแค่เทคนิคทางการเมือง จะจับตาดูว่า จะเป็นเพียงการสร้างวาทกรรม หลอกลวงเรื่องไพร่ อำมาตย์ เอามวลชนมาเป็นฐานให้ตัวเองขึ้นมามีอำนาจ แล้วทิ้งคนจนหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้น ถือว่า หลอกลวงคนจน บาปที่สุด
ด้านนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นประท้วงทันทีว่า ตนมีสองสถานะ ทั้งคนเสื้อแดง และสมาชิกพรรคเพื่อไทย สิ่งที่พรรคเพื่อไทยประกาศไว้ ต้องรอให้ผ่านวันนี้ไปก่อนถึงจะเริ่มต้นได้ ตนไม่เคยเห็นปรากฏการณ์ที่รัฐบาลยังไม่เริ่มต้นทำงาน ก็ถูกสร้างเรื่องราวขึ้นมาใส่ร้ายมากมาย ขณะนี้ยังไม่ได้เริ่มต้นอะไร แล้วจะมาหาว่าหลอกลวงได้อย่างไร ส่วนคำว่า ไพร่ อำมาตย์ เป็นเพียงการอธิบายว่า ความเหลื่อมล้ำจากปฏิบัติหน้าที่รัฐบาลชุดที่แล้ว
ทำให้นายเจ๊ะอาหมิง โต๊ะตาหยง ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ ลุกขึ้นประท้วงระบุว่า การทักท้วงของนายจตุพร ต้องบอกว่าผิดข้อบังคับใด ไม่ใช่ขึ้นมาอภิปราย ซึ่งนายจตุพร ได้สวนกลับทันทีด้วยหน้าตาขึงขังว่า การอภิปรายกับการทักท้วงเป็นคนละเรื่อง เป็นผู้แทนมานาน ทำไมยังฟังภาษาคนไม่รู้เรื่อง นายเจ๊ะอาหมิง จึงขอให้นายจตุพร ถอนคำพูด เพราะตนฟังภาษาคนรู้เรื่อง ไม่ใช่ลิงอุรังอุตัง ในที่สุดนายจตุพร ยอมถอนคำพูดว่า นายเจ๊อาหมิง ไม่ใช่ลิงอุรังอุตัง
**แฉ"แม้ว"สารภาพใช้"กำปั้นเหล็ก"3 จว.ใต้
ต่อมา นายชวน หลีกภัย ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายถึงนโยบาย 3 จ.ชายแดนภาคใต้ ในเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น และช่วงหนึ่งได้ระบุถึงการสั่งฆ่าประชาชนชาวมุสลิมใน 3 จ.ภาคใต้ของรัฐบาลยุค ทักษิณ และได้อ้างถึงคำสารภาพของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ให้สัมภาษณ์ไว้ในสื่อสิงคโปร์ ที่ว่าตนเป็นตำรวจ ถูกสอนให้ใช้การแก้ปัญหาด้วยกำปั้นเหล็ก และถุงมือกำมะหยี่ แต่เหตุการณ์กับพี่น้องชาวไทยมุสลิมที่ 3 จ.ภาคใต้ ตนใช้กำปั้นเหล็กมากเกินไป จนนึกเสียใจมาถึงทุกวันนี้
นายชวน กล่าวว่า การที่รองนายกรัฐมนตรี จะบอกว่าอะไรที่แล้วๆไป ให้ลืมนั้นมันไม่ได้ อะไรดีให้จำไว้เพื่อทำต่อไป แต่อะไรที่ไม่ดีต้องมีการตรวจสอบ เหตุการณ์ภาคใต้ที่สงบลงได้ระยะหนึ่ง ต้องยอมรับเรื่องความต่อเนื่อง ในหลวงเสด็จช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ทุกปี จนเหตุการณ์สงบลงตามละดับ แต่การประเมินผิดว่าเป็นเรื่องโจรกระจอก กลายเป็นปัญหาบานปลาย เมื่อมีการยกเลิกหน่วยงานที่เป็นประโยชน์ เช่น ศอ.บต ก็ขาดกำลังเจ้าหน้าที่ไป วันนี้เราสูญเสียคนไป 4,700 คน ไม่รู้ว่าพรุ่งนี้จะสูญเสียอะไรอีก
การประชุมรัฐสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเป็นวันที่สอง ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่เวลา 8.00 น. วานนี้ (24 ส.ค.) โดย สมาชิกรัฐสภาทั้งส.ส.และส.ว. ส่วนใหญ่ยังคงให้ความสำคัญในการสอบถามถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินนโยบายแต่ละด้าน
** ส.ว.ค้านนโยบายเลิกกองทุนน้ำมัน
น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. อภิปรายในส่วนนโยบายด้านพลังงาน ว่าไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลจะยกเลิกกองทุนน้ำมัน แต่ควรจะเอาปตท. กลับมาเป็นของคนไทย 100 เปอร์เซนต์ ถึงจะมีความเป็นธรรม และปัจจุบันประชาชนไม่สามารถรู้ว่า มีใครมีสัดส่วนถือหุ้นอยู่ในปตท.บ้าง ดังนั้นควรจะมีการเปิดต่อสาธารณชน ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนธรรมาภิบาลอย่างแท้จริง
ส่วนนโยบายกองทุนมั่งคั่งนั้น ไม่ควรทำ เพราะแต่ละประเทศจะอาศัยจากรายได้น้ำมัน แต่ประเทศไทยจะดึงเงินสำรองระหว่างประเทศมาทำเป็นการไม่สำควร มีเพียงประเทศเดียวในโลกคือ ประเทศจีน แต่เขามีรายได้สำรองประเทศจำนวนมากถึง 3.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ แต่ไทยมี 1.8 แสนล้านบาท เท่านั้น ซึ่งอาจจะสร้างภาระให้กับประเทศได้
น.ส.รสนา กล่าวว่า เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า กัมพูชา มาเลเซีย รัฐบาลได้ส่วนแบ่งจากรายได้ด้านพลังงาน สูงถึงร้อยละ 60-85 แต่ของไทยกลับได้เพียงร้อยละ 12 สิ่งที่รัฐบาลควรทำคือ เพิ่มสัมปทานด้านพลังงานที่รัฐควรได้ให้มากขึ้น ซึ่งรัฐบาลได้มีการประมาณการจากรายรับภาคหลวง ด้านพลังงานในปี 54 จำนวน 3.7 หมื่นล้านบาท จากส่วนแบ่งที่ได้ ร้อยละ12 หากรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 จะมีเงินถึง1.4 แสนล้านบาท และสามารถนำเงินนี้มาทำกองทุนสำรองน้ำมันได้ หรือกองทุนมั่งคั่ง จะดีกว่าเอาเงินกองทุนสำรองของประเทศมาใช้ และขอให้รัฐบาลบริหารแผ่นดินด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และตรวจสอบได้
** "คำนูณ"ห่วงรัฐตั้งกองทุนความมั่งคั่ง
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้อภิปรายนโยบายรัฐบาลโดยตั้งข้อสังเกต 3 ประการ หรือ “ 3 ห่วง” ในนโยบายรัฐบาล คือ
ห่วงที่ 1. กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ ห่วงที่ 2. การเร่งนำทรัพยากรพลังงานในเขตพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทยขึ้นมาใช้ ห่วงที่ 3. การไม่มีนโยบายปฏิรูปประเทศ มีแต่นโยบายร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แต่เวลามีจำกัด จึงขอพูดถึงเฉพาะ 2 ห่วงแรก ซึ่งเป็นประเด็นอันตรายจากกรอบความคิดใหม่ๆ แม้ว่าเรื่องกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ หรือ Sovereign Wealth Fund จะไปบรรจุอยู่ในนโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงเวลา 4 ปีของวาระรัฐบาล
แต่หากพิจารณาเปรียบเทียบกับนโยบายเร่งด่วนที่เป็นการเพิ่มการใช้จ่ายเงิน คำถามคือ รัฐบาลจะหาเงินมาจากไหน เพราะกู้ได้อีกไม่มาก และไม่มีแหล่งเงินที่ไหนจะมีมากและเร็วเท่ากับดึง “สมบัติเก่า” มาทำมาหากินให้เกิดดอกออกผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย
นายคำนูณ กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าทุนสำรองเงินตราที่มีอยู่ 3 บัญชี คือ บัญชีทุนสำรองเงินตรา, บัญชีผลประโยชน์ประจำปี และบัญชีสำรองพิเศษ ที่อยู่ในความดูแลของฝ่ายออกบัตร ธปท. ก็คือ “เงินคลังหลวง” ในความหมายที่หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนท่านกล่าวไว้หลายครั้ง
กรอบแนวคิดของกองทุนมั่งคั่งแห่งชาตินี้ โดยหลักคือนำสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตราส่วนที่มี “มากเกินความจำเป็น” มาลงทุนให้ได้ผลตอบแทนคุ้มค่ากว่าที่เคยเป็นมาในอดีต ทุนสำรองเงินตรานี้ตาม พ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ. 2501 มีข้อจำกัดอยู่ว่า จะลงทุนได้แค่จากดอกผลที่ฝากไว้กับธนาคาร หรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศ และลงทุนในหลักทรัพย์ที่ค้ำประกันโดยรัฐบาลต่างประเทศ หรือสถาบันการเงินที่ไทยเป็นสมาชิก และมีความน่าเชื่อถือสูง ซึ่งเป็นไปเพื่อเป็นหลักประกันว่า ทุนสำรองเงินตราจะไม่มีความเสี่ยง แม้จะได้ผลตอบแทนน้อยกว่าการไปลงทุนในนวัตกรรมทางการเงิน และทางด้านอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ในภาคเอกชน
"หลวงตาท่านต้องการปกป้องเงินใน “คลังหลวง” ทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะในส่วนที่ท่านรณรงค์ให้ประชาชนบริจาคตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เป็นต้นมา ซึ่งอยู่ในบัญชีสำรองพิเศษเท่านั้น ท่านต้องการให้บริหารเงินใน “คลังหลวง” ตามหลักพอเพียง ไม่เสี่ยง ไม่ใช่บริหารเพื่อ “ผลตอบแทนสูงสุด” สถานเดียว หลวงตาท่านต้องการให้บริหารเงินใน “คลังหลวง” อย่างคำนึงถึงลักษณะพิเศษของประเทศไทย ไม่ใช่เอาอย่างตามเยี่ยงประเทศอื่น ๆ แล้วก็อ้าง “โลกาภิวัตน์” ว่าเราต้องเปลี่ยนแปลงให้ทันโลก ทันประเทศอื่น สินทรัพย์ใน “คลังหลวง” นั้นสมควรเข้าใจว่า เป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่บรรพ บุรุษ บุรพกษัตริย์ของสยามประเทศทรงมีพระมหากรุณาธิคุณจะมอบไว้ให้ชั่วลูกชั่วหลาน" นายคำนูณ ระบุ
โดยเมื่อปี 2452 สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานเงินจากท้องพระคลัง 12 ล้านบาท ให้มาตั้งเป็นทุนสำรองสำหรับรักษาอัตราแลกเปลี่ยนระหว่าง “เงินตราสยาม” กับ “เงินตราต่างประเทศ” ให้มั่นคง ไม่ให้ปะปนกับเงินในท้องพระคลัง เนื่องจากให้เป็นหลักประกันในการหนุนค่าเงินบาท และค้ำประกันชาติไทย จึงไม่เคยมีการนำออกมาทำธุรกรรมอื่นใดทั้งสิ้น สินทรัพย์ในคลังหลวงจึงเพิ่มพูนขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นการแตะเงินในคลังหลวง จึงต้องรอบคอบอย่างถึงที่สุด อีกทั้งต้องให้สภารับรู้ ต้องให้สาธารณชนรับรู้และร่วมแสดงความคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลต้องชี้แจงให้ชัดเจน และถ้ารัฐบาลพิจารณาเห็นว่ามีประโยชน์มากกว่า และจะต้องเดินหน้าจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ โดยแก้ไข พ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ. 2501 ก็ขอให้เดินตามช่อง พ.ร.บ.ที่ต้องผ่าน 2 สภา อย่าได้เลือกทางพ.ร.ก.ที่เป็นอำนาจของรัฐบาลทำไปก่อนแล้วมาขออนุมัติ 2 สภาภายหลัง ตนอยากฝากท่านนายกฯว่าให้สัญญาต่อสภาได้ไหมว่าจะไม่ทำในรูป พ.ร.ก.
ส่วนในห่วงที่ 2 นั้น นายคำนูณ ระบุว่า การหาเงินได้มากๆ ภายในเวลารวดเร็วอีกวิธีหนึ่ง คือ การเร่งขุดทรัพยากรพลังงานธรรมชาติในอ่าวไทย ในเขตพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชาขึ้นมาใช้ แม้เรื่องนี้จะไม่ปรากฏชัดเจนในนโยบายรัฐบาล แต่พิจารณาจากนโยบายเร่งด่วนด้านต่างประเทศ ประกอบกับคำให้สัมภาษณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานแล้วก็ชัดเจนว่า การเร่งขุดทรัพยากรในอ่าวไทย จะโยงไปถึงความสัมพันธ์กับกัมพูชา ในประเด็นข้อขัดแย้งเขตแดนทางบก ซึ่งจริง ๆ ถ้าเราไม่เร่งขุด แต่รู้อยู่ว่ากัมพูชาเร่งขุด เราก็จะมีข้อต่อรองที่ดีกว่าในกรณีที่ทั้งเรา ทั้งกัมพูชา ต่างเร่งทั้งคู่ ในกรณีหลังนี้มีอัตราเสี่ยงสูงมากต่อการไปเข้ากับหลักขัดกันแห่งประโยชน์ระหว่างผลประโยชน์ของชาติ กับผลประ โยชน์ของนักการเมือง และกลุ่มทุน และมีอัตราเสี่ยงสูงมากต่อการสูญเสียอธิปไตยทั้งทางบกและทางทะเลในทางปฏิบัติในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ถ้าทุกอย่างมีธรรมาภิบาล ทุกบาททุกสตางค์ที่มาจากทรัพยากรของส่วนรวมตกถึงมือประชาชน จะเดินไปข้างหน้าก็ยังพอพูดกันได้ แต่นี่ก็มีข้อกังวลข้อสงสัยว่าประชาชนอาจจะได้เพิ่มเพียงเพื่อให้เกิดมายาภาพลวงตาสะกดจิตตัวเองว่าได้เพิ่ม แต่กลุ่มทุนที่ลงทุนทางการเมืองนั้นได้มากกว่ามหาศาล
ทั้งนี้ กล่าวสรุปโดยหลักการเป็นเรื่องที่ดี ไม่มีใครขัด แต่จะต้องทำไปภายใต้เงื่อนไข 3 ประการ คือ ไม่กระทบอธิปไตยของชาติ สองต้องไม่เกิดการขัดกันซึ่งผลประโยชน์ระหว่างผลประโยชน์ของชาติ กับผลประโยชน์ของพรรคการเมืองและกลุ่มทุน และสาม ต้องอยู่บนพื้นฐานของธรรมาภิบาลในกระบวนการกำหนดนโยบายพลังงานของชาติ ดังที่ส.ว.รสนา โตสิตระกูลอภิปรายไว้ ทั้งนี้ ประเด็นพลังงานในอ่าวไทยนี้ รวมไปถึงความขัดแย้งไทย-กัมพูชาทั้งระบบ รัฐบาลเปิดรัฐสภารับฟังความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญมาตรา 179 และถ้าจะให้ดีกว่านั้น ตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อระดมพลังทางปัญญาจากภาคประ ชาชนภาควิชาการด้วย ก็จะเป็นหลักประกันสร้างความมั่นใจประชาชน
"กรอบความคิดใหม่ในการหาเงินทั้งจากกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ และขุมพลังงานในอ่าวไทยในเขตพื้นที่ทับซ้อน เป็น 2 ประเด็นใหญ่ที่น่าอภิปรายถกกัน แต่จะต้องมีความชัดเจนกว่านี้ เพราะกรอบความคิดใหม่อาจเป็นเพียงการเอาสมบัติเก่าที่ปู่ย่าตาทวดบรรพชนในอดีตสะสมไว้ออกมาหาผลประโยชน์ให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด บวกกับการเร่งขุดมรดกที่จะตกทอดไปสู่ลูกหลานในอนาคตออกมาใช้โดยเร็ว ซึ่งทำได้ครับ แต่ต้องด้วยความระมัดระวังสูงสุด มิเช่นนั้นจะเป็นการทำลายสิ่งที่ท่านนายกฯกล่าวไว้ในอารัมภบทที่เขียนได้หมดจดงดงามว่า “ต้นทุนทางสังคมและวัฒนาธรรมที่เราได้สะสมมาตั้งแต่ในอดีต” เสียหมดสิ้น " นายคำนูณ กล่าวทิ้งท้าย
**ปชป.ถล่มนโยบายศึกษาฯ
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ อดีตรมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า เป็นห่วงนโยบายปรับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็นกองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ว่า จะไปเอาเงินตรงไหนมาใช้ในการกองทุน และที่บอกว่าคนรวยก็กู้ยืมเงินเรียนได้ จริงหรือไม่ แล้วรัฐบาลได้มีการเตรียมการอย่างไรในเรื่องนี้
ส่วนนโยบายแจกแท็บเล็ตให้เด็ก ป. 1 นั่น หัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา คือเราต้องสร้างคือบัณฑิตยุคใหม่ หัวใจก็คือครู รัฐบาลที่ผ่านมาจึงได้อนุมัติเห็นชอบให้ขึ้นเงินเดือนครู 13 % และมีการพัฒนาครูเป็นสายวิชาชีพเชียวชาญ แต่รัฐบาลนี้จะยกเลิกครูพันธุ์ใหม่ อยากให้ตอบให้ได้ว่า แล้วเราจะพัฒนาครูอย่างไร
นายประกอบ รัตนพันธ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายนโยบายด้านการศึกษาโดยได้ตำหนิ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล รมว.ศึกษาธิการ ว่า ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ปรากฏว่ามีการสั่งให้เปลี่ยนสีพรมทางเข้าห้องทำงาน จากสีชมพูเป็นสีแดง โดยใช้เงินประมาณ 2-3 ล้านบาท แทนที่จะเอาเงินจำนวนนี้ไปสร้างโรงเรียนได้ถึง 1 แห่ง หรือ เอาไปเป็นทุนอาหารกลางวันเด็ก และนมโรงเรียนจะดีกว่า
"ที่น่ากลัวที่สุดคือ การให้สัมภาษณ์ของ รมว.ศึกษาฯ ว่า จะยกเลิกระบบวิทยฐานะให้กับครู ซึ่งจากเดิมที่ประเมินโดยฝ่ายวิชาการของภาคราชการ แต่จะเปลี่ยนเป็นให้ผู้ปกครองประเมินแทน แนวคิดนี้จะส่งผลเสียอย่างรุนแรง จะทำให้ครูวิ่งเข้าหาผู้ปกครองมากกว่าจะผลิตผลงานทางวิชาการออกมาเพื่อพัฒนาระบบการศึกษา จึงอยากขอความชัดเจนจากรัฐบาล เพราะจะกระทบต่อกำลังใจของครูทั่วประเทศ" นายประกอบ กล่าว
**แทปเล็ต ทำเด็กติดเกม
นายกนก วงษ์ตระหง่าน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า นโยบายจัดหาแทบเล็ตพีซี ให้นักเรียนในชั้นประถมปีที่ 1 เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะยังเป็นระดับชั้นที่ต้องการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน การให้แทบเล็ตที่ใช้มือสัมผัสในการอ่านการเขียนจึงไม่ช่วยพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน เด็กในชั้นนี้ต้องการครูมากกว่าต้องการแทบเล็ต ผลเสียที่ตามมาคือผลกระทบกับพัฒนาการทางสายตา และการมองเห็น ปัญหาสิ่งยั่วยวนทางอินเทอร์เน็ตที่จะมีต่อเด็กอายุ 6 ปี ที่ยังไม่มีความสามารถในการกลั่นกรองสิ่งที่พบในโลกอินเทอร์เน็ต ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลกระทบกับโรงเรียนและสังคมไทยในที่สุด
"อนาคตเด็กนอกจากจะติดเกมแล้วยังจะติดแทบเล็ตเพราะมีโอกาสใช้เล่นเกมได้ตลอดเวลา หากจำเป็นต้องแจกแทบเล็ตตามที่หาเสียงควรแจกกับเด็กชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความพร้อมจะเหมาะสมกว่า ประเด็นสำคัญเนื้อหาที่จะใช้ในแทบเล็ตยังไม่มีใครทำ การปฏิบัตินโยบายโดยการอบรมครูเพื่อการสอนโดยใช้แทบเล็ตจะทำอย่างไร ถ้าครูไม่พร้อมจะทำอย่างไร และความไม่พร้อมของโรงเรียนในชนบทเรื่องอินเทอร์เน็ตไร้สายจะทำอย่างไร หากทำต่อไปเกรงว่าจะเกิดปัญหาสองมาตรฐานเกิดขึ้นกับเด็กในชนบทได้"
**วาทกรรมไพร่ อำมาตย์หลอกเสื้อแดง
ในช่วงการอภิปรายนโยบายด้านความมั่นคง บรรยากาศค่อนข้างคึกคัก และมีการประทะคารมกันระหว่างส.ส.ฝ่ายค้าน กับส.ส.จากพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นแกนนำกลุ่ม นปช. โดยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า ปฏิเสธไม่ได้ว่า ชัยชนะการเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทย เป็นไปอย่างเด็ดขาดได้รับการสนับสนุนจากคนรากหญ้า ผ่านกลุ่มพลังมวลชน หลายครั้งมีมวลชนคนเสื้อแดง ในหลายปีที่ผ่านมามีการสร้างประเด็นอำมาตย์ ไพร่ หลายครั้งการเคลื่อนไหวของแกนนำเสื้อแดง ความคิดถูกเชื่อมโยงกับพรรคเพื่อไทย มีการสร้างวาทะกรรมสำคัญว่า อำมาตย์ไม่อยากเห็นคนหายจน จะต้องพึ่งพาอำมาตย์ตลอดชีวิต คำถามก็คือ นโยบายที่รัฐบาลชุดนี้แถลงต่อรัฐสภา มีความแตกต่างจากนโยบายอำมาตย์ตรงไหน ตนดูนโยบายทั้งหมดแล้วรู้สึกผิดหวัง เพราะไม่มีการแก้ปัญหาคนยากจนที่เป็นคนสนับสนุนพรรคเพื่อไทยเลย ทั้งเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เงินเดือนปริญญาตรี 1.5หมื่นบาท เป็นแค่เทคนิคทางการเมือง จะจับตาดูว่า จะเป็นเพียงการสร้างวาทกรรม หลอกลวงเรื่องไพร่ อำมาตย์ เอามวลชนมาเป็นฐานให้ตัวเองขึ้นมามีอำนาจ แล้วทิ้งคนจนหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้น ถือว่า หลอกลวงคนจน บาปที่สุด
ด้านนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นประท้วงทันทีว่า ตนมีสองสถานะ ทั้งคนเสื้อแดง และสมาชิกพรรคเพื่อไทย สิ่งที่พรรคเพื่อไทยประกาศไว้ ต้องรอให้ผ่านวันนี้ไปก่อนถึงจะเริ่มต้นได้ ตนไม่เคยเห็นปรากฏการณ์ที่รัฐบาลยังไม่เริ่มต้นทำงาน ก็ถูกสร้างเรื่องราวขึ้นมาใส่ร้ายมากมาย ขณะนี้ยังไม่ได้เริ่มต้นอะไร แล้วจะมาหาว่าหลอกลวงได้อย่างไร ส่วนคำว่า ไพร่ อำมาตย์ เป็นเพียงการอธิบายว่า ความเหลื่อมล้ำจากปฏิบัติหน้าที่รัฐบาลชุดที่แล้ว
ทำให้นายเจ๊ะอาหมิง โต๊ะตาหยง ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ ลุกขึ้นประท้วงระบุว่า การทักท้วงของนายจตุพร ต้องบอกว่าผิดข้อบังคับใด ไม่ใช่ขึ้นมาอภิปราย ซึ่งนายจตุพร ได้สวนกลับทันทีด้วยหน้าตาขึงขังว่า การอภิปรายกับการทักท้วงเป็นคนละเรื่อง เป็นผู้แทนมานาน ทำไมยังฟังภาษาคนไม่รู้เรื่อง นายเจ๊ะอาหมิง จึงขอให้นายจตุพร ถอนคำพูด เพราะตนฟังภาษาคนรู้เรื่อง ไม่ใช่ลิงอุรังอุตัง ในที่สุดนายจตุพร ยอมถอนคำพูดว่า นายเจ๊อาหมิง ไม่ใช่ลิงอุรังอุตัง
**แฉ"แม้ว"สารภาพใช้"กำปั้นเหล็ก"3 จว.ใต้
ต่อมา นายชวน หลีกภัย ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายถึงนโยบาย 3 จ.ชายแดนภาคใต้ ในเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น และช่วงหนึ่งได้ระบุถึงการสั่งฆ่าประชาชนชาวมุสลิมใน 3 จ.ภาคใต้ของรัฐบาลยุค ทักษิณ และได้อ้างถึงคำสารภาพของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ให้สัมภาษณ์ไว้ในสื่อสิงคโปร์ ที่ว่าตนเป็นตำรวจ ถูกสอนให้ใช้การแก้ปัญหาด้วยกำปั้นเหล็ก และถุงมือกำมะหยี่ แต่เหตุการณ์กับพี่น้องชาวไทยมุสลิมที่ 3 จ.ภาคใต้ ตนใช้กำปั้นเหล็กมากเกินไป จนนึกเสียใจมาถึงทุกวันนี้
นายชวน กล่าวว่า การที่รองนายกรัฐมนตรี จะบอกว่าอะไรที่แล้วๆไป ให้ลืมนั้นมันไม่ได้ อะไรดีให้จำไว้เพื่อทำต่อไป แต่อะไรที่ไม่ดีต้องมีการตรวจสอบ เหตุการณ์ภาคใต้ที่สงบลงได้ระยะหนึ่ง ต้องยอมรับเรื่องความต่อเนื่อง ในหลวงเสด็จช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ทุกปี จนเหตุการณ์สงบลงตามละดับ แต่การประเมินผิดว่าเป็นเรื่องโจรกระจอก กลายเป็นปัญหาบานปลาย เมื่อมีการยกเลิกหน่วยงานที่เป็นประโยชน์ เช่น ศอ.บต ก็ขาดกำลังเจ้าหน้าที่ไป วันนี้เราสูญเสียคนไป 4,700 คน ไม่รู้ว่าพรุ่งนี้จะสูญเสียอะไรอีก