เอเอฟพี/ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ในขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพิ่งจะเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ไม่ถึงเดือน อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ผู้พี่ก็เร่งเดินสายเปิดตัวในต่างประเทศ ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่า ไม่ต่างจากการเล่นพนันวางเดิมพันก้อนใหญ่ ซึ่งจะยิ่งเป็นผลเสียต่อการกุมอำนาจของพรรคเพื่อไทย
อดีตมหาเศรษฐีหมื่นล้าน ซึ่งสูญเสียอำนาจจากการถูกรัฐประหารเมื่อปี 2006 ชิงกลบกระแสนายกฯหญิง 2 สัปดาห์อย่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ผู้เป็นน้องสาวของตนเอง ด้วยการประกาศเยือนญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 22-28 สิงหาคมนี้ ทำให้เกิดคำถามร้อนๆ ว่า รัฐบาลชุดใหม่กำลังใช้อิทธิพลเข้าแทรกแซงเพื่ออำนวยความสะดวกแก่พี่ชายนายกฯหรือไม่
นายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ซึ่งเวลานี้ทำงานเป็นนักวิจัยอยู่ที่สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในสิงคโปร์ ให้ความเห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังฮึกเหิมกับชัยชนะของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งที่ผ่านมา และต้องการบอกให้ทราบว่า เขาต่างหากที่เป็น “นายกรัฐมนตรีในทางพฤตินัย”
อย่างไรก็ดี นายปวิน มองว่า พ.ต.ท.ทักษิณ “กำลังเดินเกมเร็วเกินไป” ซึ่งจะทำให้ “ชนชั้นสูงผู้มีอำนาจและกองทัพไทยโต้กลับอย่างแน่นอน”
นายทหารระดับสูงและผู้พิพากษาของไทย เคยมีประวัติแทรกแซงการเมืองมาแล้ว โดยเฉพาะกรณีของ ทักษิณ ซึ่งเป็นที่รักและเทิดทูนในกลุ่มคนยากคนจน ในขณะที่ชนชั้นนำในกรุงเทพมหานคร มองว่า เขาเป็นเพียงจอมเผด็จการและเป็นภัยคุกคามต่อสถาบัน
ทางด้านนายฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่า การที่ พ.ต.ท.ทักษิณพยายามกลับมามีบทบาทอีกครั้งอย่างรีบร้อน ถือเป็น “การยั่วยุและไม่ฉลาดเลย หากเขายังอยากให้น้องสาวมีโอกาสบริหารบ้านเมือง”
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทยให้ครบ 4 ปีดูจะเป็นความสามารถพิเศษมากกว่าระเบียบปฏิบัติ ซึ่งที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้นำเพียงคนเดียวที่สามารถทำได้ และนายฐิตินันท์ บอกว่า “พวกศัตรูผู้มีอำนาจ” มีอิทธิพลพอที่จะขัดขวางไม่ให้พรรคของเขาได้ปกครองประเทศ
เวลานี้รัฐบาลยิ่งลักษณ์กำลังเผชิญแรงกดดันทางกฎหมายอย่างหนัก เมื่อสัปดาห์ที่แล้วพรรคประชาธิปัตย์ได้เข้าแจ้งความต่อตำรวจ โดยกล่าวหาว่า นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ กระทำผิดกฎหมายโดยให้ความช่วยเหลือแก่อดีตนายกฯที่มีคดีทุจริตและก่อการร้ายติดตัว และแม้รัฐบาลจะปฏิเสธว่าไม่เคยร้องขอให้ทางการญี่ปุ่นออกวีซ่าให้ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่กรุงโตเกียวกลับประกาศอย่างไม่อ้อมค้อมว่า ได้รับคำร้องจากรัฐบาลไทยให้อนุญาตให้อดีตนายกฯเดินทางเข้าประเทศเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับนายพอล เชมเบอร์ส ที่ปัจจุบันนักวิจัยอาวุโสจากมหาวิทยาลัยพายัพ ระบุว่า ท่าทีของน.ส. ยิ่งลักษณ์ ซึ่งแสดงออกเหมือนเต็มใจจะช่วยให้พี่ชายเข้าญี่ปุ่น กลายเป็นอาวุธหนักที่ฝ่ายค้านอย่างประชาธิปัตย์ใช้โจมตีรัฐบาลใหม่
นายเชมเบอร์ส ชี้ด้วยว่า แผนการแก้รัฐธรรมนูญปี 2550 ของรัฐบาลชุดใหม่ ก็มีจุดประสงค์เพื่อล้างมลทินต่างๆให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ และเปิดทางให้อดีตนายกฯเดินทางกลับไทยได้ในที่สุด
“หากมีการแก้รัฐธรรมนูญหลายมาตรา และช่วยให้ทักษิณกลับมาได้จริง จะก่อให้เกิดการประท้วงต่อต้าน และสร้างความโกรธแค้นขึ้นภายในกองทัพที่นำโดยพวกซึ่งไม่เอาทักษิณ”
การให้ความช่วยเหลืออย่างโจ่งแจ้งแก่อดีตนายกฯลี้ภัยผู้นี้ อาจจะทำให้เกิดข้อวิจารณ์เรื่องพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของรัฐบาล จนอาจนำไปสู่การถอดถอนรัฐบาลทั้งชุดโดยกระบวนการยุติธรรมอีกครั้งหนึ่ง นายเชมเบอร์ส กล่าว
อนึ่ง สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานเพิ่มเติมเมื่อคืนวานนี้ว่า ผู้ทำหน้าที่โฆษกให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้หนึ่ง ได้ออกมาแถลงเพื่อมุ่งลดน้ำหนักความสำคัญของการที่อดีตนายกฯผู้นี้เดินทางไปเยือนญี่ปุ่น โดยโฆษกผู้นี้กล่าวว่า “เป็นเพียงหนึ่งในบรรดาการเดินทางเยือนที่พวกอดีตผู้นำของโลกทั้งหลายกระทำกันอยู่”
นอกจากนั้น โฆษกผู้นี้ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้มีแผนการใดๆ ที่จะกลับคืนเมืองไทย “จนกว่าสิ่งต่างๆ ที่นั่นจะกลับคืนสู่ความเป็นปกติ” และ พ.ต.ท.ทักษิณก็ “ไม่ได้มีบทบาทที่เป็นทางการใดๆ ในคณะรัฐบาลใหม่ ถึงแม้จะทำหน้าที่เป็นผู้แทนอย่างไม่เป็นทางการในบางลักษณะอยู่ก็ตาม”
อดีตมหาเศรษฐีหมื่นล้าน ซึ่งสูญเสียอำนาจจากการถูกรัฐประหารเมื่อปี 2006 ชิงกลบกระแสนายกฯหญิง 2 สัปดาห์อย่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ผู้เป็นน้องสาวของตนเอง ด้วยการประกาศเยือนญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 22-28 สิงหาคมนี้ ทำให้เกิดคำถามร้อนๆ ว่า รัฐบาลชุดใหม่กำลังใช้อิทธิพลเข้าแทรกแซงเพื่ออำนวยความสะดวกแก่พี่ชายนายกฯหรือไม่
นายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ซึ่งเวลานี้ทำงานเป็นนักวิจัยอยู่ที่สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในสิงคโปร์ ให้ความเห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังฮึกเหิมกับชัยชนะของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งที่ผ่านมา และต้องการบอกให้ทราบว่า เขาต่างหากที่เป็น “นายกรัฐมนตรีในทางพฤตินัย”
อย่างไรก็ดี นายปวิน มองว่า พ.ต.ท.ทักษิณ “กำลังเดินเกมเร็วเกินไป” ซึ่งจะทำให้ “ชนชั้นสูงผู้มีอำนาจและกองทัพไทยโต้กลับอย่างแน่นอน”
นายทหารระดับสูงและผู้พิพากษาของไทย เคยมีประวัติแทรกแซงการเมืองมาแล้ว โดยเฉพาะกรณีของ ทักษิณ ซึ่งเป็นที่รักและเทิดทูนในกลุ่มคนยากคนจน ในขณะที่ชนชั้นนำในกรุงเทพมหานคร มองว่า เขาเป็นเพียงจอมเผด็จการและเป็นภัยคุกคามต่อสถาบัน
ทางด้านนายฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่า การที่ พ.ต.ท.ทักษิณพยายามกลับมามีบทบาทอีกครั้งอย่างรีบร้อน ถือเป็น “การยั่วยุและไม่ฉลาดเลย หากเขายังอยากให้น้องสาวมีโอกาสบริหารบ้านเมือง”
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทยให้ครบ 4 ปีดูจะเป็นความสามารถพิเศษมากกว่าระเบียบปฏิบัติ ซึ่งที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้นำเพียงคนเดียวที่สามารถทำได้ และนายฐิตินันท์ บอกว่า “พวกศัตรูผู้มีอำนาจ” มีอิทธิพลพอที่จะขัดขวางไม่ให้พรรคของเขาได้ปกครองประเทศ
เวลานี้รัฐบาลยิ่งลักษณ์กำลังเผชิญแรงกดดันทางกฎหมายอย่างหนัก เมื่อสัปดาห์ที่แล้วพรรคประชาธิปัตย์ได้เข้าแจ้งความต่อตำรวจ โดยกล่าวหาว่า นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ กระทำผิดกฎหมายโดยให้ความช่วยเหลือแก่อดีตนายกฯที่มีคดีทุจริตและก่อการร้ายติดตัว และแม้รัฐบาลจะปฏิเสธว่าไม่เคยร้องขอให้ทางการญี่ปุ่นออกวีซ่าให้ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่กรุงโตเกียวกลับประกาศอย่างไม่อ้อมค้อมว่า ได้รับคำร้องจากรัฐบาลไทยให้อนุญาตให้อดีตนายกฯเดินทางเข้าประเทศเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับนายพอล เชมเบอร์ส ที่ปัจจุบันนักวิจัยอาวุโสจากมหาวิทยาลัยพายัพ ระบุว่า ท่าทีของน.ส. ยิ่งลักษณ์ ซึ่งแสดงออกเหมือนเต็มใจจะช่วยให้พี่ชายเข้าญี่ปุ่น กลายเป็นอาวุธหนักที่ฝ่ายค้านอย่างประชาธิปัตย์ใช้โจมตีรัฐบาลใหม่
นายเชมเบอร์ส ชี้ด้วยว่า แผนการแก้รัฐธรรมนูญปี 2550 ของรัฐบาลชุดใหม่ ก็มีจุดประสงค์เพื่อล้างมลทินต่างๆให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ และเปิดทางให้อดีตนายกฯเดินทางกลับไทยได้ในที่สุด
“หากมีการแก้รัฐธรรมนูญหลายมาตรา และช่วยให้ทักษิณกลับมาได้จริง จะก่อให้เกิดการประท้วงต่อต้าน และสร้างความโกรธแค้นขึ้นภายในกองทัพที่นำโดยพวกซึ่งไม่เอาทักษิณ”
การให้ความช่วยเหลืออย่างโจ่งแจ้งแก่อดีตนายกฯลี้ภัยผู้นี้ อาจจะทำให้เกิดข้อวิจารณ์เรื่องพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของรัฐบาล จนอาจนำไปสู่การถอดถอนรัฐบาลทั้งชุดโดยกระบวนการยุติธรรมอีกครั้งหนึ่ง นายเชมเบอร์ส กล่าว
อนึ่ง สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานเพิ่มเติมเมื่อคืนวานนี้ว่า ผู้ทำหน้าที่โฆษกให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้หนึ่ง ได้ออกมาแถลงเพื่อมุ่งลดน้ำหนักความสำคัญของการที่อดีตนายกฯผู้นี้เดินทางไปเยือนญี่ปุ่น โดยโฆษกผู้นี้กล่าวว่า “เป็นเพียงหนึ่งในบรรดาการเดินทางเยือนที่พวกอดีตผู้นำของโลกทั้งหลายกระทำกันอยู่”
นอกจากนั้น โฆษกผู้นี้ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้มีแผนการใดๆ ที่จะกลับคืนเมืองไทย “จนกว่าสิ่งต่างๆ ที่นั่นจะกลับคืนสู่ความเป็นปกติ” และ พ.ต.ท.ทักษิณก็ “ไม่ได้มีบทบาทที่เป็นทางการใดๆ ในคณะรัฐบาลใหม่ ถึงแม้จะทำหน้าที่เป็นผู้แทนอย่างไม่เป็นทางการในบางลักษณะอยู่ก็ตาม”