จุดเด่นของนโยบายรัฐบาลตระกูลชินวัตรไม่ว่าเมื่อปี 2544 หรือล่าสุดที่จะแถลงต่อรัฐสภาในวันที่ 23, 24 สิงหาคม 2554 นี้ก็คือมีชุดความคิดใหม่ที่แตกต่างออกไปจากกรอบความคิดเดิมของรัฐราชการ แต่จุดเด่นนี้ก็เป็นจุดด้อยไปพร้อม ๆ กันหากว่าชุดความคิดใหม่ไม่ใช่ชุดความคิดที่เหมาะสมที่สุดกับประเทศในยุคเศรษฐกิจทุนนิยมโลกกำลังประสบวิกฤตหนักและมีอัตราเสี่ยงนานัปการ
“แนวคิดในการบริหารบ้านเมืองไม่สามารถใช้กรอบแนวคิดแบบเดิมที่เคยเป็นมาในอดีตได้ กรอบแนวคิดใหม่ ๆ มีความจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้เพิ่มเติมร่วมกับต้นทุนดั้งเดิมของประเทศที่เรามี...”
นี่คือหนึ่งในประโยคต้น ๆ ที่นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศจะแถลงตอนสาย ๆ วันอังคารนี้ ซึ่งแน่นอนว่าฟังดูดี แต่เราก็ได้แต่หวังว่ากรอบแนวคิดใหม่ ๆ ที่ว่านี้จะไม่ไปทำลายต้นทุนดั้งเดิมของประเทศที่เรามีไปเสียหมด
ในการอภิปรายตั้งข้อสังเกตและวิพากษ์วิจารณ์ที่ได้รับความกรุณาจากคณะกรรมาธิการการเงินการคลังการธนาคารและสถาบันการเงิน วุฒิสภา มอบให้เป็นตัวแทนในวันอังคารหรือพุธนี้ ผมจึงจะใช้เวลาที่ได้มา 10 นาทีตั้งข้อสังเกตถึงจุดอันตราย 3 จุดของนโยบายรัฐบาล
อันตรายที่ 1 กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ
อันตรายที่ 2 การเร่งนำทรัพยากรพลังงานในอ่าวไทยขึ้นมาใช้
อันตรายที่ 3 การไม่มีนโยบายปฏิรูปประเทศมีแต่นโยบายร่างรัฐธรรมนูญใหม่
2 จุดแรกเป็นอันตรายจากกรอบแนวคิดใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ ส่วนจุดที่ 3 เป็นการจมอยู่กับกรอบความคิดเก่าที่เชื่อว่าการร่างรัฐธรรมนูญใหม่เท่านั้นที่จะดับวิกฤตของประเทศหรือสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริงได้
2 จุดแรกนี้รัฐบาลทั้งพูดและมีการกระทำมาก จนอาจจะมากเกินไปมีโอกาสทำให้เสียงานใหญ่ด้วยซ้ำ
แม้ว่าเรื่องกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ หรือ Sovereign Wealth Fund จะไม่ได้อยู่ในนโยบายเร่งด่วนที่เริ่มดำเนินการในปีแรก โดยไปบรรจุอยู่ในนโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงเวลา 4 ปีของวาระรัฐบาล ในส่วนของนโยบายเศรษฐกิจมหภาค (ข้อ 3.1.7) ก็ตาม แต่ดูเหมือนรมว.พลังงานจะพูดเรื่องนี้บ่อยมาก และรมว.คลังก็เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญที่เสนอแนวคิดเรื่องนี้มาอย่างแข็งขัน หากพิจารณาเปรียบเทียบกับนโยบายเร่งด่วนที่ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มการใช้จ่ายเงินมหาศาลแล้ว คำถามที่ว่ารัฐบาลใหม่จะหาเงินจากที่ไหนมารองรับ เพราะกู้ได้อีกไม่มาก อาจจะทำได้ในปีสองปีแรก แต่จากนั้นจะลำบาก เชื่อว่าคำตอบหนึ่งคิอกองทุนที่ว่านี้ เพราะไม่มีแหล่งเงินที่ไหนจะมีมาเมากและเร็วเท่ากับดึงสมบัติเก่ามาทำมาหากินให้เกิดดอกออกผลตามแนวคิด
ผมเชื่อว่าเรื่องนี้จะเป็นประเด็นใหญ่ในอนาคตอันมิไกลนัก โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาว่าผู้ใหญ่ของทางธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาให้ข่าวคัดค้านกันทุกระดับ ซึ่งไม่เกิดขึ้นบ่อยนักกับหน่วยงานระดับแบงก์ชาติ
นี่จะเป็นอีกสมรภูมิที่ดุเดือดของการต่อสู้ระหว่างกลุ่มทุนใหม่กับกลุ่มทุนเก่า !
กรอบแนวคิดของกองทุนมั่งคั่งแห่งชาตินี้โดยหลักคือนำสินทรัพย์ในทุนสำรองระหว่างประเทศส่วนที่มีมากเกินความจำเป็นมาลงทุนให้ได้ผลตอบแทนคุ้มค่ากว่าที่เคยเป็นมาในอดีต
ทุนสำรองระหว่างประเทศนี้ตามพ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ. 2501 มีข้อจำกัดอยู่ว่าจะลงทุนได้แค่ฝากไว้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศ และลงทุนในหลักทรัพย์ที่ค้ำประกันโดยรัฐบาลต่างประเทศหรือสถาบันการเงินที่ไทยเป็นสมาชิกและมีความน่าเชื่อถือสูง ซึ่งเป็นไปเพื่อเป็นหลักประกันว่าทุนสำรองระหว่างประเทศจะไม่มีความเสี่ยง แม้จะได้ผลตอบแทนน้อยกว่าการไปลงทุนในนวัตกรรมทางการเงินและทางด้านอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ในภาคเอกชน เคยมีความพยายามที่จะแก้ไขหลักการนี้มาในปี 2550 ครั้งหนึ่งแล้ว แม้จะโดยวัตถุประสงค์ที่อาจจะแตกต่างกว่าในกรอบความคิดใหม่ของรัฐบาลนี้ คือครั้งนั้นเสมือนมองแต่ด้านล้างหนี้หรือล้างภาวะขาดทุนของแบงก์ชาติมากกว่าด้านที่จะนำสินทรัพย์ส่วนนี้ไปลงทุนแสวงกำไรอย่างเป็นกอบเป็นกำเป็นเรื่องเป็นราว
เรื่องนี้ไม่ง่าย เพราะจะต้องเริ่มต้นด้วยการแก้ไข พ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ. 2501 อีกครั้งหลังจากค้างเติ่งเพราะแรงต้านจากเหล่าลูกศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนเมื่อปลายปี 2550
แต่คนไทยก็ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิดและเริ่มลงมือศึกษาประเด็นนี้ให้กระจ่างโดยเร็ว
ก็คงจำต้องเรียกร้องดัง ๆ ว่าถ้าจะแก้ไขก็ขอให้เดินตามช่องพ.ร.บ.ที่ต้องผ่าน 2 สภา อย่าได้เลือกทางพ.ร.ก.ที่เป็นอำนาจของรัฐบาลทำไปก่อนแล้วมาขออนุมัติ 2 สภาภายหลังนะ !!
การหาเงินได้มาก ๆ ภายในเวลารวดเร็วอีกวิธีหนึ่งคือการเร่งขุดทรัพยากรพลังงานธรรมชาติในอ่าวไทยในเขตพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชาขึ้นมาใช้ ซึ่งนี่อาจจะไม่ใช่ 2 วิธีที่แยกจากกัน แต่อาจจะเป็นการเชื่อมประสานเป็นหนึ่งเดียวกันเลยด้วยซ้ำ
สมการที่คิดเขียนได้ในบรรทัดนี้อาจจะเป็นได้ดั่งนี้ครับพี่น้อง
กรอบแนวคิดใหม่ = เอาทรัพย์สมบัติเก่าที่ปู่ย่าตาทวดบรรพชนในอดีตสะสมไว้ออกมาหาผลประโยชน์ให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด + เร่งขุดสมบัติในดินที่จะตกเป็นของลูกหลานในอนาคตมาใช้โดยเร็ว
การเร่งขุดทรัพยากรในอ่าวไทยจะโยงไปถึงการฟื้นฟูสัมพันธ์กับกัมพูชา ซึ่งจริง ๆ ถ้าเราไม่เร่ง แต่รู้อยู่ว่ากัมพูชาเร่ง เราก็จะมีข้อต่อรองที่ดีกว่าในกรณีที่ทั้งเราทั้งกัมพูชาต่างเร่งทั้งคู่ ในกรณีหลังนี้มีอัตราเสี่ยงสูงมากต่อการไปเข้ากับหลักขัดกันแห่งประโยชน์ระหว่างผลประโยชน์ของชาติกับผลประโยชน์ของนักการเมืองและกลุ่มทุน และมีอัตราเสี่ยงสูงมากต่อการสูญเสียอธิปไตยทั้งทางบกและทางทะเลในทางปฏิบัติในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง
การเร่งขุดทรัพยากรพลังงานธรรมชาติยังโยงกับปรัชญาในการนำพาประเทศ และธรรมาภิบาลในการกำหนดราคาพลังงานในประเทศ
ก่อนจะเร่งเดินไปข้างหน้าทำไมไม่เร่งทบทวนความไม่เป็นธรรมที่ดำรงอยู่เสียก่อน
ถ้าทุกอย่างมีธรรมาภิบาล ทุกบาททุกสตางค์ที่มาจากทรัพยากรของส่วนรวมตกถึงมือประชาชน จะเดินไปข้างหน้าก็ยังพอพูดกันได้ แต่นี่ก็รู้ ๆ กันอยู่ว่าประชาชนจะได้เพิ่มเพียงเพื่อให้เกิดมายาภาพลวงตาสะกดจิตตัวเองว่าได้เพิ่ม แต่กลุ่มทุนที่ลงทุนทางการเมืองนั้นได้มากกว่ามหาศาล อย่างนี้จะปล่อยให้ผ่านง่าย ๆ ก็เสียชาติเกิด
ประชาธิปไตยที่แท้จริงต้องไม่ใช่แค่รูปแบบหลอก ๆ ที่อาจแสดงให้เห็นในรัฐธรรมนูญ
แต่ต้องเป็นเนื้อหาที่ผลประโยชน์จากทรัพยากรแผ่นดินส่วนใหญ่ต้องตกอยู่กับคนทั้งแผ่นดินจริง ๆ เท่านั้น
ทว่าในนโยบายรัฐบาลกลับไม่พูดถึงการปฏิรูปประเทศ หรือแม้แต่การปฏิรูปการเมืองในความหมายอย่างกว้าง พูดแต่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะทำในรูปแบบสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระและผ่านการลงประชามติ แล้วก็พูดถึงเรื่องการฟื้นฟูประชาธิปไตย
นี่ก็เป็นอันตรายจุดที่ 3 แต่ 10 นาทีอาจจะไม่พอให้ผมแตะจุดนี้ได้มากนัก
หวังว่ากรอบความคิดใหม่ ๆ จะมีมากกว่าเอาสมบัติเก่าที่ปู่ย่าตาทวดสะสมไว้ให้แกมาหากินกับขุดสมบัติใหม่ใต้ทะเลที่ควรจะตกทอดแก่ลูกหลานในอนาคตมาใช้เท่านั้นนะครับ
“แนวคิดในการบริหารบ้านเมืองไม่สามารถใช้กรอบแนวคิดแบบเดิมที่เคยเป็นมาในอดีตได้ กรอบแนวคิดใหม่ ๆ มีความจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้เพิ่มเติมร่วมกับต้นทุนดั้งเดิมของประเทศที่เรามี...”
นี่คือหนึ่งในประโยคต้น ๆ ที่นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศจะแถลงตอนสาย ๆ วันอังคารนี้ ซึ่งแน่นอนว่าฟังดูดี แต่เราก็ได้แต่หวังว่ากรอบแนวคิดใหม่ ๆ ที่ว่านี้จะไม่ไปทำลายต้นทุนดั้งเดิมของประเทศที่เรามีไปเสียหมด
ในการอภิปรายตั้งข้อสังเกตและวิพากษ์วิจารณ์ที่ได้รับความกรุณาจากคณะกรรมาธิการการเงินการคลังการธนาคารและสถาบันการเงิน วุฒิสภา มอบให้เป็นตัวแทนในวันอังคารหรือพุธนี้ ผมจึงจะใช้เวลาที่ได้มา 10 นาทีตั้งข้อสังเกตถึงจุดอันตราย 3 จุดของนโยบายรัฐบาล
อันตรายที่ 1 กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ
อันตรายที่ 2 การเร่งนำทรัพยากรพลังงานในอ่าวไทยขึ้นมาใช้
อันตรายที่ 3 การไม่มีนโยบายปฏิรูปประเทศมีแต่นโยบายร่างรัฐธรรมนูญใหม่
2 จุดแรกเป็นอันตรายจากกรอบแนวคิดใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ ส่วนจุดที่ 3 เป็นการจมอยู่กับกรอบความคิดเก่าที่เชื่อว่าการร่างรัฐธรรมนูญใหม่เท่านั้นที่จะดับวิกฤตของประเทศหรือสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริงได้
2 จุดแรกนี้รัฐบาลทั้งพูดและมีการกระทำมาก จนอาจจะมากเกินไปมีโอกาสทำให้เสียงานใหญ่ด้วยซ้ำ
แม้ว่าเรื่องกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ หรือ Sovereign Wealth Fund จะไม่ได้อยู่ในนโยบายเร่งด่วนที่เริ่มดำเนินการในปีแรก โดยไปบรรจุอยู่ในนโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงเวลา 4 ปีของวาระรัฐบาล ในส่วนของนโยบายเศรษฐกิจมหภาค (ข้อ 3.1.7) ก็ตาม แต่ดูเหมือนรมว.พลังงานจะพูดเรื่องนี้บ่อยมาก และรมว.คลังก็เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญที่เสนอแนวคิดเรื่องนี้มาอย่างแข็งขัน หากพิจารณาเปรียบเทียบกับนโยบายเร่งด่วนที่ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มการใช้จ่ายเงินมหาศาลแล้ว คำถามที่ว่ารัฐบาลใหม่จะหาเงินจากที่ไหนมารองรับ เพราะกู้ได้อีกไม่มาก อาจจะทำได้ในปีสองปีแรก แต่จากนั้นจะลำบาก เชื่อว่าคำตอบหนึ่งคิอกองทุนที่ว่านี้ เพราะไม่มีแหล่งเงินที่ไหนจะมีมาเมากและเร็วเท่ากับดึงสมบัติเก่ามาทำมาหากินให้เกิดดอกออกผลตามแนวคิด
ผมเชื่อว่าเรื่องนี้จะเป็นประเด็นใหญ่ในอนาคตอันมิไกลนัก โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาว่าผู้ใหญ่ของทางธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาให้ข่าวคัดค้านกันทุกระดับ ซึ่งไม่เกิดขึ้นบ่อยนักกับหน่วยงานระดับแบงก์ชาติ
นี่จะเป็นอีกสมรภูมิที่ดุเดือดของการต่อสู้ระหว่างกลุ่มทุนใหม่กับกลุ่มทุนเก่า !
กรอบแนวคิดของกองทุนมั่งคั่งแห่งชาตินี้โดยหลักคือนำสินทรัพย์ในทุนสำรองระหว่างประเทศส่วนที่มีมากเกินความจำเป็นมาลงทุนให้ได้ผลตอบแทนคุ้มค่ากว่าที่เคยเป็นมาในอดีต
ทุนสำรองระหว่างประเทศนี้ตามพ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ. 2501 มีข้อจำกัดอยู่ว่าจะลงทุนได้แค่ฝากไว้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศ และลงทุนในหลักทรัพย์ที่ค้ำประกันโดยรัฐบาลต่างประเทศหรือสถาบันการเงินที่ไทยเป็นสมาชิกและมีความน่าเชื่อถือสูง ซึ่งเป็นไปเพื่อเป็นหลักประกันว่าทุนสำรองระหว่างประเทศจะไม่มีความเสี่ยง แม้จะได้ผลตอบแทนน้อยกว่าการไปลงทุนในนวัตกรรมทางการเงินและทางด้านอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ในภาคเอกชน เคยมีความพยายามที่จะแก้ไขหลักการนี้มาในปี 2550 ครั้งหนึ่งแล้ว แม้จะโดยวัตถุประสงค์ที่อาจจะแตกต่างกว่าในกรอบความคิดใหม่ของรัฐบาลนี้ คือครั้งนั้นเสมือนมองแต่ด้านล้างหนี้หรือล้างภาวะขาดทุนของแบงก์ชาติมากกว่าด้านที่จะนำสินทรัพย์ส่วนนี้ไปลงทุนแสวงกำไรอย่างเป็นกอบเป็นกำเป็นเรื่องเป็นราว
เรื่องนี้ไม่ง่าย เพราะจะต้องเริ่มต้นด้วยการแก้ไข พ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ. 2501 อีกครั้งหลังจากค้างเติ่งเพราะแรงต้านจากเหล่าลูกศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนเมื่อปลายปี 2550
แต่คนไทยก็ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิดและเริ่มลงมือศึกษาประเด็นนี้ให้กระจ่างโดยเร็ว
ก็คงจำต้องเรียกร้องดัง ๆ ว่าถ้าจะแก้ไขก็ขอให้เดินตามช่องพ.ร.บ.ที่ต้องผ่าน 2 สภา อย่าได้เลือกทางพ.ร.ก.ที่เป็นอำนาจของรัฐบาลทำไปก่อนแล้วมาขออนุมัติ 2 สภาภายหลังนะ !!
การหาเงินได้มาก ๆ ภายในเวลารวดเร็วอีกวิธีหนึ่งคือการเร่งขุดทรัพยากรพลังงานธรรมชาติในอ่าวไทยในเขตพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชาขึ้นมาใช้ ซึ่งนี่อาจจะไม่ใช่ 2 วิธีที่แยกจากกัน แต่อาจจะเป็นการเชื่อมประสานเป็นหนึ่งเดียวกันเลยด้วยซ้ำ
สมการที่คิดเขียนได้ในบรรทัดนี้อาจจะเป็นได้ดั่งนี้ครับพี่น้อง
กรอบแนวคิดใหม่ = เอาทรัพย์สมบัติเก่าที่ปู่ย่าตาทวดบรรพชนในอดีตสะสมไว้ออกมาหาผลประโยชน์ให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด + เร่งขุดสมบัติในดินที่จะตกเป็นของลูกหลานในอนาคตมาใช้โดยเร็ว
การเร่งขุดทรัพยากรในอ่าวไทยจะโยงไปถึงการฟื้นฟูสัมพันธ์กับกัมพูชา ซึ่งจริง ๆ ถ้าเราไม่เร่ง แต่รู้อยู่ว่ากัมพูชาเร่ง เราก็จะมีข้อต่อรองที่ดีกว่าในกรณีที่ทั้งเราทั้งกัมพูชาต่างเร่งทั้งคู่ ในกรณีหลังนี้มีอัตราเสี่ยงสูงมากต่อการไปเข้ากับหลักขัดกันแห่งประโยชน์ระหว่างผลประโยชน์ของชาติกับผลประโยชน์ของนักการเมืองและกลุ่มทุน และมีอัตราเสี่ยงสูงมากต่อการสูญเสียอธิปไตยทั้งทางบกและทางทะเลในทางปฏิบัติในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง
การเร่งขุดทรัพยากรพลังงานธรรมชาติยังโยงกับปรัชญาในการนำพาประเทศ และธรรมาภิบาลในการกำหนดราคาพลังงานในประเทศ
ก่อนจะเร่งเดินไปข้างหน้าทำไมไม่เร่งทบทวนความไม่เป็นธรรมที่ดำรงอยู่เสียก่อน
ถ้าทุกอย่างมีธรรมาภิบาล ทุกบาททุกสตางค์ที่มาจากทรัพยากรของส่วนรวมตกถึงมือประชาชน จะเดินไปข้างหน้าก็ยังพอพูดกันได้ แต่นี่ก็รู้ ๆ กันอยู่ว่าประชาชนจะได้เพิ่มเพียงเพื่อให้เกิดมายาภาพลวงตาสะกดจิตตัวเองว่าได้เพิ่ม แต่กลุ่มทุนที่ลงทุนทางการเมืองนั้นได้มากกว่ามหาศาล อย่างนี้จะปล่อยให้ผ่านง่าย ๆ ก็เสียชาติเกิด
ประชาธิปไตยที่แท้จริงต้องไม่ใช่แค่รูปแบบหลอก ๆ ที่อาจแสดงให้เห็นในรัฐธรรมนูญ
แต่ต้องเป็นเนื้อหาที่ผลประโยชน์จากทรัพยากรแผ่นดินส่วนใหญ่ต้องตกอยู่กับคนทั้งแผ่นดินจริง ๆ เท่านั้น
ทว่าในนโยบายรัฐบาลกลับไม่พูดถึงการปฏิรูปประเทศ หรือแม้แต่การปฏิรูปการเมืองในความหมายอย่างกว้าง พูดแต่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะทำในรูปแบบสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระและผ่านการลงประชามติ แล้วก็พูดถึงเรื่องการฟื้นฟูประชาธิปไตย
นี่ก็เป็นอันตรายจุดที่ 3 แต่ 10 นาทีอาจจะไม่พอให้ผมแตะจุดนี้ได้มากนัก
หวังว่ากรอบความคิดใหม่ ๆ จะมีมากกว่าเอาสมบัติเก่าที่ปู่ย่าตาทวดสะสมไว้ให้แกมาหากินกับขุดสมบัติใหม่ใต้ทะเลที่ควรจะตกทอดแก่ลูกหลานในอนาคตมาใช้เท่านั้นนะครับ