เหตุวิกฤตใหญ่จุดปะทุความขัดแย้งระหว่าง “ระบอบเก่า” กับ “ระบอบใหม่” ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1931 ไม่ได้มีเพียงแค่การลอบสังหารท่านซับดรุง จิกมี โดร์จี กายมนุษย์วัย 26 ที่สถิตแห่งจิตวิญญาณที่กลับมาเกิดใหม่ของท่านซับดรุง งาวัง นัมเกลผู้ก่อตั้งประเทศและก่อตั้งระบอบเก่าเมื่อเกือบ 300 ปีก่อนเท่านั้น
สถานการณ์ตามล้างตามล่าและความขัดแย้งที่ปรากฏชัดยังดำรงต่อเนื่องมา
ตาโลซ่ง สถานที่เกิดเหตุลอบสังหาร กลายเป็นสถานที่แห่งเดียวในภูฏานที่พระมหากษัตริย์ไม่เสด็จฯ ไปอีกเลยนับจากนั้น จนกระทั่งปีค.ศ. 1988 ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวจิกมี ซิงเกะ วังชุก พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์วังชุกพระราชบิดาของพระเจ้าอยู่หัวจิกมี เคซาร์ นัมเกล วังชุกพระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบันที่คนไทยรู้จักกันดีตั้งแต่สมัยดำรงพระอิสริยยศเป็นมกุฎราชกุมารและเสด็จฯ มาเมืองไทยเพื่อร่วมพิธีเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบ้านเราเมื่อ 5 ปีก่อน
นับได้ 57 ปีทีเดียวที่ตาโลซ่งกลายเป็นสถานที่ต้องห้ามสำหรับพระเจ้าแผ่นดินภูฏาน!
หลังเหตุลอบสังหารสายเลือดและญาติพี่น้องของท่านซับดรุง จิกมี โดร์จีเหยื่อวัย 26 ก็ต้องประสบเหตุรุนแรงต่อเนื่อง ต้องอพยพจากถิ่นที่อยู่เดิมในภูฏาน จากคฤหาสน์หลังงามในเมืองปาโร ออกนอกมาตุภูมิเร่ร่อนไปยังดินแดนต่างๆ ตั้งแต่ทิเบต สิกขิม ไปถึงกาลิมปงในอินเดีย เพราะไม่อาจทนการข่มขู่คุกคามจากผู้ดำรงตำแหน่งเป็นลปแห่งปาโร หรือถ้าจะพูดเชิงเปรียบเทียบได้ว่าอ๋องแห่งปาโร ซึ่งเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ของพระเจ้าอยู่หัวจิกมี นัมเกล พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์วังชุก
เป็นลปแห่งปาโรท่านนี้ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการลอบสังหารที่ตาโลซ่ง
ก็เสมือนเป็นการตัดสินใจเนรเทศตัวเองออกจากประเทศโดยทิ้งทรัพย์สินไว้ข้างหลังของเครือญาติท่านซับดรุง จิกมี โดร์จีนั่นเอง!
ณ ปีค.ศ. 1931 ภูฏานยังไม่มีถนนในความหมายที่เรารู้จักกันในปัจจุบันแม้แต่เส้นเดียว การเดินทางไกลเพื่อหนีราชภัยจึงมีความหมายตรงตามรูปคำคือเดินอย่างแท้จริง เดินขึ้นเขาสูง เลียบริมเหว ท่ามกลางความหนาวเหน็บและเฉอะแฉะชื้นตามสภาพฤดูกาลเสี่ยงต่ออุบัติเหตุและโรคภัยไข้เจ็บสารพัด จะมีเครื่องทุ่นแรงก็แต่เพียงโดยสารไปบนหลังสัตว์พาหนะ เช่น ม้า ลา หรือล่อ เป็นบาง
ช่วงเท่านั้น อย่าว่าแต่เมื่อปีค.ศ. 1931 เลย แม้จนทุกวันนี้ใครที่ไปเที่ยวภูฏานก็อย่าหวังจะได้พบถนนในความหมายอย่างที่เรารู้จักกันในบ้านเรา ทางหลวงที่นั่นเปรียบเทียบกับบ้านเราก็ระดับทางหลวงชนบท ความกว้าง 2 เลนสวนไปกลับเสียเป็นส่วนใหญ่ แถมชำรุดเป็นช่วงๆ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน และความที่เป็นทางเลียบเขาเสียเป็นส่วนมากจึงใช้ความเร็วไม่ได้ รถโดยสารอย่างใหญ่ที่พอใช้ได้คือรถบัสขนาดเล็ก(มาก)ไม่เกิน 20 ที่นั่ง และสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศอย่างมหาวิหารตั๊กซังหรือ Tiger Nest นั้นก็ต้องเดินขึ้นเขา 4 ชั่วโมงสถานเดียว จะผ่อนแรงได้ก็เฉพาะครึ่งทางขาขึ้นยอมเสียสตางค์นั่งม้าขึ้นไป ดังนั้นการเนรเทศตัวเองของกลุ่มเครือญาติท่านซับดรุง จิกมี โดร์จีเมื่อ 80 ปีก่อนนั้น สมเด็จพระราชินีอาชิ โดร์จี วังโม วังชุกจึงทรงมีพระนิพนธ์ไว้ว่า...
“เผชิญความทุกข์ยากแสนสาหัส...”
สมเด็จพระราชินีอาชิ โดร์จี วังโม วังชุกในพระเจ้าอยู่หัวจิกมี ซิงเกะ วังชุกทำไมถึงทรงทราบเรื่องนี้ดี พระองค์ไม่ได้ทรงอยู่ในขบวนคาราวานเนรเทศตัวเองของครอบครัวและเครือญาติท่านซับดรุง จิกมี โดร์จีนเมื่อ 80 ปีก่อนหรอก เพราะพระองค์ทรงประสูติเมื่อปีค.ศ. 1955 หรือพ.ศ. 2498 นี่เอง ปัจจุบันทรงมีพระชนมายุ 56 พรรษา เหตุวิกฤตนี้เกิดขึ้นขณะพระองค์ยังไม่ประสูติ แต่เป็นเหตุที่พระองค์ทรงได้รับการถ่ายทอดมาโดยตรงตั้งแต่ทรงพระเยาว์
เพราะบิดาของสมเด็จพระราชินีอาชิ โดร์จี วังโม วังชุกอยู่ในขบวนคาราวานเนรเทศตัวเองครั้งนั้นด้วย
ขณะนั้นท่านมีอายุเพียง 8 ขวบ!
ท่านซับดรุง จิกมี โดร์จีเหยื่อของการลอบสังหารครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ภูฏานยุคใหม่เป็นลุงของบิดาของสมเด็จพระราชินีอาชิ โดร์จี วังโม วังชุก หากเปรียบเทียบโดยศักดิ์แบบไทยๆ แล้วจะกล่าวว่าท่านซับดรุง จิกมี โดร์จีมีศักดิ์เสมือนเป็นปู่ของสมเด็จพระราชินีอาชิ โดร์จี วังโม วังชุกก็คงไม่ผิดนัก
ในขบวนคาราวานเนรเทศตนเองเมื่อ 80 ปีก่อนโน้น บุคคลสำคัญอีกท่านหนึ่งก็คือท่านจิกมี เต็นซิน ผู้ซึ่งร่างของท่านเป็นที่สถิตแห่งจิตวิญญาณที่กลับชาติมาเกิดของท่านซับดรุง งาวัง นัมเกลอีกร่างหนึ่ง แต่ร่างนี้เป็นฝ่ายวจี ไม่ใช่ฝ่ายมโนซึ่งทรงสิทธิในการปกครองสูงสุดเหมือนท่านซับดรุง จิกมี โดร์จีเหยื่อสังหารวัย 26 ซึ่งเป็นร่างที่สถิตแห่งจิตวิญญาณที่กลับชาติมาเกิดใหม่ของท่านซับดรุง งาวัง นัมเกลฝ่ายมโนองค์ที่ 6 ท่านจิกมี เต็นซินเป็นร่างที่สถิตแห่งจิตวิญญาณที่กลับมาเกิดใหม่ของท่านซับดรุง งาวัง นัมเกลฝ่ายวจีองค์ที่ 6 ขณะร่วมคาราวานคนทุกข์ท่านมีอายุเพียง 12 ขวบ
คงยังจำได้นะครับว่าการกลับชาติมาเกิดใหม่ในร่างของเด็กน้อยของพระอริยะหรือบุคคลสำคัญตามคติพุทธศาสนาแนววัชรยานหรือตันตระแบบทิเบตนี้สามารถมาพร้อมกัน 3 ร่าง คือ ฝ่ายมโน, ฝ่ายวจี และฝ่ายกาย
ถึงตรงนี้คงพอเดาได้บ้างแล้วนะครับว่าพระเจ้าอยู่หัวจิกมี ซิงเกะ วังชุกทรงดับวิกฤตครั้งนี้ในปีค.ศ. 1979 เพราะก่อนหน้านี้บางครั้งเวลาเอ่ยถึงสมเด็จพระราชินีอาชิ โดร์จี วังโม วังชุกผมก็เขียนเสียเต็มพระยศเสมอมาว่า “สมเด็จพระราชินีอาชิ โดร์จี วังโม วังชุกในพระเจ้าอยู่หัวจิกมี ซิงเกะ วังชุก” เพื่อให้ท่านผู้อ่านจดจำไว้ มาถึงตรงนี้เมื่อทราบว่าสมเด็จพระราชินีในรัชกาลก่อนพระองค์นี้มีศักดิ์เป็นหลานปู่ของท่านซับดรุง จิกมี โดร์จีเหยื่อลอบสังหารเมื่อค.ศ. 1931 ก็เพื่อเริ่มเปิดไม่ให้เรื่องซับซ้อนเกินไป
ท่านผู้อ่านเดาไม่ผิดหรอกครับว่าพระเจ้าอยู่หัวจิกมี ซิงเกะ วังชุกทรงแก้วิกฤตโดยการอภิเษกสมรสกับหลานปู่ของท่านซับดรุง จิกมี โดจีร์
ซึ่งนอกจากจะเป็นการเยียวยาบาดแผลของแผ่นดินในปีค.ศ. 1931 ยังเป็นการหลอมรวม “ระบอบเก่า” กับ “ระบอบใหม่” เข้าด้วยกันด้วยวิธีการสากลของทั้งโลกตะวันตกและโลกตะวันออก
การแต่งงาน!
แต่เรื่องจริงไม่ง่ายอย่างนั้นหรอก ผมบอกแล้วไงว่าเรื่องนี้กินเวลาแก้ไขถึง 3 รัชกาล
ก่อนอื่นก็ต้องยกให้เป็นพระมหากรุณาธิคุณและพระราชปณิธานที่ยาวไกลของพระเจ้าอยู่หัวจิกมี นัมเกล พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์วังชุก แม้เหตุลอบสังหารจะเกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ โดยผู้ได้รับการกล่าวขานว่ามีบทบาทสำคัญอยู่เบื้องหลังที่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ และขบวนคาราวานคนทุกข์ที่เป็นครอบครัวและเครือญาติของเหยื่อแห่งการลอบสังหารที่เนรเทศตัวเองออกไปเผชิญทุกข์ยากแสนสาหัสก็เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ แต่ในปีค.ศ. 1947 ก่อนพระองค์เสด็จสวรรคต 5 ปีพระเจ้าอยู่หัวจิกมี นัมเกลก็ทรงตัดสินพระทัยครั้งสำคัญอันจะปูทางเป็นรากฐานในพระราชภารกิจปรองดองสมานฉันท์และปฏิรูปใหญ่ประเทศภูฏาน ของพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ต่อไปต่อเนื่องกันอีก 2 รัชกาล
พระเจ้าอยู่หัวจิกมี นัมเกลทรงกระแสพระราชดำริว่าครอบครัวและเครือญาติของท่านซับดรุง จิกมี โดจีร์ควรจะเกินทางกลบมาตุภูมิภูฏานได้แล้ว
โดยพระองค์ทรงพระราชทานทรัพย์สินคืนให้ทั้งหมด!
สถานการณ์ตามล้างตามล่าและความขัดแย้งที่ปรากฏชัดยังดำรงต่อเนื่องมา
ตาโลซ่ง สถานที่เกิดเหตุลอบสังหาร กลายเป็นสถานที่แห่งเดียวในภูฏานที่พระมหากษัตริย์ไม่เสด็จฯ ไปอีกเลยนับจากนั้น จนกระทั่งปีค.ศ. 1988 ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวจิกมี ซิงเกะ วังชุก พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์วังชุกพระราชบิดาของพระเจ้าอยู่หัวจิกมี เคซาร์ นัมเกล วังชุกพระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบันที่คนไทยรู้จักกันดีตั้งแต่สมัยดำรงพระอิสริยยศเป็นมกุฎราชกุมารและเสด็จฯ มาเมืองไทยเพื่อร่วมพิธีเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบ้านเราเมื่อ 5 ปีก่อน
นับได้ 57 ปีทีเดียวที่ตาโลซ่งกลายเป็นสถานที่ต้องห้ามสำหรับพระเจ้าแผ่นดินภูฏาน!
หลังเหตุลอบสังหารสายเลือดและญาติพี่น้องของท่านซับดรุง จิกมี โดร์จีเหยื่อวัย 26 ก็ต้องประสบเหตุรุนแรงต่อเนื่อง ต้องอพยพจากถิ่นที่อยู่เดิมในภูฏาน จากคฤหาสน์หลังงามในเมืองปาโร ออกนอกมาตุภูมิเร่ร่อนไปยังดินแดนต่างๆ ตั้งแต่ทิเบต สิกขิม ไปถึงกาลิมปงในอินเดีย เพราะไม่อาจทนการข่มขู่คุกคามจากผู้ดำรงตำแหน่งเป็นลปแห่งปาโร หรือถ้าจะพูดเชิงเปรียบเทียบได้ว่าอ๋องแห่งปาโร ซึ่งเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ของพระเจ้าอยู่หัวจิกมี นัมเกล พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์วังชุก
เป็นลปแห่งปาโรท่านนี้ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการลอบสังหารที่ตาโลซ่ง
ก็เสมือนเป็นการตัดสินใจเนรเทศตัวเองออกจากประเทศโดยทิ้งทรัพย์สินไว้ข้างหลังของเครือญาติท่านซับดรุง จิกมี โดร์จีนั่นเอง!
ณ ปีค.ศ. 1931 ภูฏานยังไม่มีถนนในความหมายที่เรารู้จักกันในปัจจุบันแม้แต่เส้นเดียว การเดินทางไกลเพื่อหนีราชภัยจึงมีความหมายตรงตามรูปคำคือเดินอย่างแท้จริง เดินขึ้นเขาสูง เลียบริมเหว ท่ามกลางความหนาวเหน็บและเฉอะแฉะชื้นตามสภาพฤดูกาลเสี่ยงต่ออุบัติเหตุและโรคภัยไข้เจ็บสารพัด จะมีเครื่องทุ่นแรงก็แต่เพียงโดยสารไปบนหลังสัตว์พาหนะ เช่น ม้า ลา หรือล่อ เป็นบาง
ช่วงเท่านั้น อย่าว่าแต่เมื่อปีค.ศ. 1931 เลย แม้จนทุกวันนี้ใครที่ไปเที่ยวภูฏานก็อย่าหวังจะได้พบถนนในความหมายอย่างที่เรารู้จักกันในบ้านเรา ทางหลวงที่นั่นเปรียบเทียบกับบ้านเราก็ระดับทางหลวงชนบท ความกว้าง 2 เลนสวนไปกลับเสียเป็นส่วนใหญ่ แถมชำรุดเป็นช่วงๆ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน และความที่เป็นทางเลียบเขาเสียเป็นส่วนมากจึงใช้ความเร็วไม่ได้ รถโดยสารอย่างใหญ่ที่พอใช้ได้คือรถบัสขนาดเล็ก(มาก)ไม่เกิน 20 ที่นั่ง และสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศอย่างมหาวิหารตั๊กซังหรือ Tiger Nest นั้นก็ต้องเดินขึ้นเขา 4 ชั่วโมงสถานเดียว จะผ่อนแรงได้ก็เฉพาะครึ่งทางขาขึ้นยอมเสียสตางค์นั่งม้าขึ้นไป ดังนั้นการเนรเทศตัวเองของกลุ่มเครือญาติท่านซับดรุง จิกมี โดร์จีเมื่อ 80 ปีก่อนนั้น สมเด็จพระราชินีอาชิ โดร์จี วังโม วังชุกจึงทรงมีพระนิพนธ์ไว้ว่า...
“เผชิญความทุกข์ยากแสนสาหัส...”
สมเด็จพระราชินีอาชิ โดร์จี วังโม วังชุกในพระเจ้าอยู่หัวจิกมี ซิงเกะ วังชุกทำไมถึงทรงทราบเรื่องนี้ดี พระองค์ไม่ได้ทรงอยู่ในขบวนคาราวานเนรเทศตัวเองของครอบครัวและเครือญาติท่านซับดรุง จิกมี โดร์จีนเมื่อ 80 ปีก่อนหรอก เพราะพระองค์ทรงประสูติเมื่อปีค.ศ. 1955 หรือพ.ศ. 2498 นี่เอง ปัจจุบันทรงมีพระชนมายุ 56 พรรษา เหตุวิกฤตนี้เกิดขึ้นขณะพระองค์ยังไม่ประสูติ แต่เป็นเหตุที่พระองค์ทรงได้รับการถ่ายทอดมาโดยตรงตั้งแต่ทรงพระเยาว์
เพราะบิดาของสมเด็จพระราชินีอาชิ โดร์จี วังโม วังชุกอยู่ในขบวนคาราวานเนรเทศตัวเองครั้งนั้นด้วย
ขณะนั้นท่านมีอายุเพียง 8 ขวบ!
ท่านซับดรุง จิกมี โดร์จีเหยื่อของการลอบสังหารครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ภูฏานยุคใหม่เป็นลุงของบิดาของสมเด็จพระราชินีอาชิ โดร์จี วังโม วังชุก หากเปรียบเทียบโดยศักดิ์แบบไทยๆ แล้วจะกล่าวว่าท่านซับดรุง จิกมี โดร์จีมีศักดิ์เสมือนเป็นปู่ของสมเด็จพระราชินีอาชิ โดร์จี วังโม วังชุกก็คงไม่ผิดนัก
ในขบวนคาราวานเนรเทศตนเองเมื่อ 80 ปีก่อนโน้น บุคคลสำคัญอีกท่านหนึ่งก็คือท่านจิกมี เต็นซิน ผู้ซึ่งร่างของท่านเป็นที่สถิตแห่งจิตวิญญาณที่กลับชาติมาเกิดของท่านซับดรุง งาวัง นัมเกลอีกร่างหนึ่ง แต่ร่างนี้เป็นฝ่ายวจี ไม่ใช่ฝ่ายมโนซึ่งทรงสิทธิในการปกครองสูงสุดเหมือนท่านซับดรุง จิกมี โดร์จีเหยื่อสังหารวัย 26 ซึ่งเป็นร่างที่สถิตแห่งจิตวิญญาณที่กลับชาติมาเกิดใหม่ของท่านซับดรุง งาวัง นัมเกลฝ่ายมโนองค์ที่ 6 ท่านจิกมี เต็นซินเป็นร่างที่สถิตแห่งจิตวิญญาณที่กลับมาเกิดใหม่ของท่านซับดรุง งาวัง นัมเกลฝ่ายวจีองค์ที่ 6 ขณะร่วมคาราวานคนทุกข์ท่านมีอายุเพียง 12 ขวบ
คงยังจำได้นะครับว่าการกลับชาติมาเกิดใหม่ในร่างของเด็กน้อยของพระอริยะหรือบุคคลสำคัญตามคติพุทธศาสนาแนววัชรยานหรือตันตระแบบทิเบตนี้สามารถมาพร้อมกัน 3 ร่าง คือ ฝ่ายมโน, ฝ่ายวจี และฝ่ายกาย
ถึงตรงนี้คงพอเดาได้บ้างแล้วนะครับว่าพระเจ้าอยู่หัวจิกมี ซิงเกะ วังชุกทรงดับวิกฤตครั้งนี้ในปีค.ศ. 1979 เพราะก่อนหน้านี้บางครั้งเวลาเอ่ยถึงสมเด็จพระราชินีอาชิ โดร์จี วังโม วังชุกผมก็เขียนเสียเต็มพระยศเสมอมาว่า “สมเด็จพระราชินีอาชิ โดร์จี วังโม วังชุกในพระเจ้าอยู่หัวจิกมี ซิงเกะ วังชุก” เพื่อให้ท่านผู้อ่านจดจำไว้ มาถึงตรงนี้เมื่อทราบว่าสมเด็จพระราชินีในรัชกาลก่อนพระองค์นี้มีศักดิ์เป็นหลานปู่ของท่านซับดรุง จิกมี โดร์จีเหยื่อลอบสังหารเมื่อค.ศ. 1931 ก็เพื่อเริ่มเปิดไม่ให้เรื่องซับซ้อนเกินไป
ท่านผู้อ่านเดาไม่ผิดหรอกครับว่าพระเจ้าอยู่หัวจิกมี ซิงเกะ วังชุกทรงแก้วิกฤตโดยการอภิเษกสมรสกับหลานปู่ของท่านซับดรุง จิกมี โดจีร์
ซึ่งนอกจากจะเป็นการเยียวยาบาดแผลของแผ่นดินในปีค.ศ. 1931 ยังเป็นการหลอมรวม “ระบอบเก่า” กับ “ระบอบใหม่” เข้าด้วยกันด้วยวิธีการสากลของทั้งโลกตะวันตกและโลกตะวันออก
การแต่งงาน!
แต่เรื่องจริงไม่ง่ายอย่างนั้นหรอก ผมบอกแล้วไงว่าเรื่องนี้กินเวลาแก้ไขถึง 3 รัชกาล
ก่อนอื่นก็ต้องยกให้เป็นพระมหากรุณาธิคุณและพระราชปณิธานที่ยาวไกลของพระเจ้าอยู่หัวจิกมี นัมเกล พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์วังชุก แม้เหตุลอบสังหารจะเกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ โดยผู้ได้รับการกล่าวขานว่ามีบทบาทสำคัญอยู่เบื้องหลังที่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ และขบวนคาราวานคนทุกข์ที่เป็นครอบครัวและเครือญาติของเหยื่อแห่งการลอบสังหารที่เนรเทศตัวเองออกไปเผชิญทุกข์ยากแสนสาหัสก็เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ แต่ในปีค.ศ. 1947 ก่อนพระองค์เสด็จสวรรคต 5 ปีพระเจ้าอยู่หัวจิกมี นัมเกลก็ทรงตัดสินพระทัยครั้งสำคัญอันจะปูทางเป็นรากฐานในพระราชภารกิจปรองดองสมานฉันท์และปฏิรูปใหญ่ประเทศภูฏาน ของพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ต่อไปต่อเนื่องกันอีก 2 รัชกาล
พระเจ้าอยู่หัวจิกมี นัมเกลทรงกระแสพระราชดำริว่าครอบครัวและเครือญาติของท่านซับดรุง จิกมี โดจีร์ควรจะเกินทางกลบมาตุภูมิภูฏานได้แล้ว
โดยพระองค์ทรงพระราชทานทรัพย์สินคืนให้ทั้งหมด!