กลับไปดูหนัง Little Buddha ของเบอร์นาโด เบอร์โตลุคชี่กันแล้วนะครับ
คงจะพอเข้าใจแล้วว่า “ระบอบเก่า” ที่ก่อตั้งโดยท่านซับดรุง งาวัง นัมเกลขึ้นมาเมื่อประมาณปีค.ศ. 1651 นั้นวางระบบสืบทอดอำนาจผู้นำสูงสุดไว้ตามแนวพุทธศาสนาแนวนิกายวัชรญาณของทิเบต คือยอมรับการกลับมาเกิดใหม่ของจิตวิญญาณท่านผ่านเด็กคนใหม่เป็นรุ่นๆ ต่อเนื่องกันมา ซึ่งแตกต่างชัดเจนกับ “ระบอบใหม่” คือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยฉันทมติของชนชั้นนำภูฏานเมื่อปีค.ศ. 1907 ที่ใช้ระบบสืบราชสันตติวงศ์ทางสายโลหิต และนี่คือความขัดแย้งสำคัญระหว่าง 2 ระบอบอันทำให้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่มีเสถียรภาพเท่าที่ควรในช่วงแรกๆ เพราะระบอบเก่าวางรากฐานในหมู่ประชาชนมากว่า 200 ปี
แค่การกลับมาเกิดในร่างใหม่ของจิตวิญญาณท่านซับดรุง งาวัง นัมเกลก็นับว่ามีปัญหาพอสมควรอยู่แล้ว แต่ของจริงยุ่งยากกว่านั้นเพราะการกลับมาเกิดใหม่นี้สามารถมาพร้อมกันทีเดียวใน 3 ร่าง คือ ฝ่ายมโน, ฝ่ายวจี และฝ่ายกาย
แม้ระบอบเก่านี้จะกำหนดให้การกลับมาเกิดใหม่ของจิตวิญญาณฝ่ายมโนเท่านั้นที่ทรงสิทธิในการปกครองก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติก็จะเกิดปัญหาอยู่เสมอ ก่อนเกิดระบอบใหม่ก็เป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างร่างที่เกิดใหม่ระหว่างบุคคลต่างๆ ที่อ้างอิง แม้จะมีระบบการตรวจสอบที่เข้มงวด แต่ก็มีคนในยอมรับอยู่ ถ้าเผอิญคนที่ไม่ยอมรับนั้นมีศรัทธาของประชาชนส่วนหนึ่งเป็นฐาน ความเป็นเอกภาพก็ไม่เกิดขึ้นอยู่ดี พอมีระบอบใหม่เกิดขึ้นก็เป็นความขัดแย้งระหว่างพระมหากษัตริย์ในระบอบใหม่กับกลุ่มผู้ที่ยังเชื่อถือในจิตวิญญาณของท่านผู้ก่อตั้งระบอบเก่าผ่านร่างใหม่
ถึงตรงนี้สมควรรู้จักผู้มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการก่อตั้งระบอบเก่าอีกท่านหนึ่ง การรู้จักท่านผู้นี้ยังจะทำให้เรารู้จักระบบการสืบทอดจิตวิญญาณผ่านการเกิดใหม่ที่ยังคงดำรงอยู่ในภูฏานแม้จนทุกวันนี้
เดสิ เต็นซิน รับเกะ (Desi Tenzin Rabgye) ท่านมีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1638 – 1696
จำได้นะครับว่า “เดสิ” เป็นชื่อตำแหน่งผู้ปกครองสูงสุดฝ่ายการเมืองการปกครองรองจากท่านซับดรุง งาวัง นัมเกล คู่กับตำแหน่ง “เจ เค็ม” หรือ “เจ เค็มโปะ” ผู้ปกครองสูงสุดฝ่ายสงฆ์ที่ขึ้นตรงต่อท่านซับดรุงเช่นกัน
เดสิ เต็นซิน รับเกะได้รับคัดเลือกได้ให้ผู้ปกครองสูงสุดต่อจากท่านซับดรุง ปกครองอยู่ 14 ปี
แต่จริงๆ แล้วท่านปกครองนานกว่านั้นมาก
เพราะตั้งแต่ปีค.ศ. 1651 ปีก่อตั้งรัฐภูฏานก่อตั้งระบอบการเมืองการปกครองของท่านซับดรุงนั้น เป็นปีเดียวกับที่ท่านซับดรุงไปทำสมาธิที่ปูนาคาซ่ง เมืองปูนาคา แล้วไม่ปรากฏกายออกให้ประชาชนพบเห็นอีกเลย ตามประวัติศาสตร์ภูฏานที่ยอมรับกันในปัจจุบันก็คือท่านซับดรุงเสียชีวิตหลังจากปีค.ศ. 1651 ไม่นาน แต่ชนชั้นนำยุคนั้นปิดข่าวไม่ให้ประชาชนรับรู้ถึง 40 ปี นอกจากปิดข่าวแล้วยังกระทำการเปิดเผยให้เห็นเสมือนท่านซับดรุงยังมีชีวิตอยู่แต่เข้าสมาธิอยู่ภายในปูนาคาซ่ง มีขบวนคนส่งอาหารน้ำเข้าไปเป็นปกติทุกวัน มีโองการของท่านซับดรุงออกมาต่อเนื่อง ซึ่งก็พอเข้าใจได้และก็มีประวัติศาสตร์บุคคลสำคัญของโลกหลายยุคที่คล้ายๆ อย่างนี้คือมีความสำคัญกับเสถียรภาพของบ้านเมืองจนไม่อาจไม่ปกปิดได้ ที่แตกต่างออกไปคือความลับของท่านซับดรุงถูกเก็บไว้ถึง 40 ปี ในระหว่าง 40 ปีนี้การปกครองที่แท้จริงจึงอยู่ในมือของเดสิ เต็นซิน รับเกะเสียเป็นส่วนใหญ่
เดสิ เต็นซิน รับเกะนี่แหละคือผู้วางรากฐานระบอบของท่านซับดรุงให้เป็นระบบสมบูรณ์ ที่จริงเราไม่มีทางรู้ว่าตลอด 40 ปีแรกนี้อะไรคือความคิดของท่านซับดรุงแท้ๆ อะไรคือความคิดของท่านเต็นซิน รับเกะในนามของท่านซับดรุง
แต่ที่แน่ๆ คือท่านเต็นซิน รับเกะคือผู้วางระบบสืบทอดอำนาจของจิตวิญญาณท่านซับดรุงผ่านการเกิดใหม่ ท่านประกาศที่ท่านได้เป็นผู้ปกครองสูงสุดต่อจากท่านซับดรุงแล้ว
สำนวนไทย “ปิดทองหลังพระ” ดูจะคู่ควรกับเดสิ เต็นซิน รับเกะอยู่มากพอสมควร!
แม้ตลอดระยะเวลาที่ไปเยือนภูฏานมา 2 ครั้ง จะพบเห็นแต่รูปเคารพท่านซับดรุง งาวัง นัมเกลเต็มไปหมด ไม่มีเดสิ เต็นซิน รับเกะเลย แต่เมื่อศึกษาจากประวัติศาสตร์เช่นนี้แล้ว ผมมักเสมือนมองทะลุรูปเคารพท่านซับดรุงไปเห็นท่านเต็นซิน รับเกะทำงานวางรากฐานแผ่นดินอยู่ข้างหลังเสมอๆ
เมื่อพูดถึงเดสิ เต็นซิน รับเกะแล้วจะไม่ให้พูดถึงมหาวิหารบนหุบเขาพาโรที่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของภูฏานเสียเลยก็กระไรอยู่...
มหาวิหารตั๊กซัง (Taktsang Monasterry)!
ถือเป็นวัดที่มีความสำคัญที่สุดของภูฏาน ทั้งความสวยงาม ความยากลำบากในการเดินทางไปเยือน และประวัติศาสตร์ ตั๊กซังรู้จักกันในอีกนามหนึ่งว่ารังเสือหรือถ้ำเสือหรือ Tiger Nest ตามตำนานว่าเป็นสถานที่ที่ท่านคุรุปัทมะสัมภวะหรือกูรูริมโปชีประทับบนหลังเสือเหาะขึ้นมาเจริญวิปัสสนากรรมฐานในถ้ำหุบเขาพาโรสูง 3,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลนี้อยู่ถึง 3 เดือนในช่วงปีค.ศ. 747 ว่ากันว่าใครไปเยือนภูฏานแล้วไม่ได้ขึ้นไปกราบพระพุทธรูปและเจริญสมาธิที่มหาวิหารตั๊กซังนี้เสมือนไม่ได้ไปเยือนภูฏาน ผมเองไป 2 ครั้ง ก็เพิ่งได้ขึ้นตั๊กซังในครั้งที่ 2 ชนิดได้ม้าเป็นตัวช่วยไปสักครึ่งทางขาขึ้น
เดสิ เต็นซิน รับเกะเป็นผู้สร้างมหาวิหารตั๊กซังขึ้นเมื่อ 300 ปีที่ผ่านมา!
และเดสิ เต็นซิน รับเกะก็เข้าร่วมพิธีมหาสมโภชมหาวิหารตั๊กซังในการบูรณะใหม่เมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 2005 ผ่านร่างใหม่ของท่านที่เป็นเด็กอายุ 9 ขวบ!!
เหตุการณ์สะเทือนใจที่สุดของชาวภูฏานเกิดขึ้นในปีค.ศ. 1998 มหาวิหารตั๊กซังประสบอัคคีภัยเผาวอดเกือบหมด เหลือไว้เพียงวิหารที่สถิตแห่งเทพยดาผู้พิทักษ์ตั๊กซังคือท่านซิงเก ซัมดุ (Singye Samdu) เท่านั้นที่ไม่ไหม้ สาเหตุแห่งอัคคีภัยไม่เป็นที่ประจักษ์ชัด แต่ก็ไม่แปลกเท่าไรนักเพราะสถานที่สำคัญแทบทุกแห่งในภูฏานทำด้วยไม้ มีการบูชาด้วยเทียนจุดไฟ รวมทั้งเก็บน้ำมันหอมและน้ำมันเติมเชื้อไฟไว้เป็นจำนวนไม่น้อย สถานที่หลายแห่งจึงประสบอัคคีภัยมากบ้างน้อยบ้าง แต่ก็มีการบูรณะหรือสร้างใหม่ให้เหมือนเดิม มหาวิหารตั๊กซังได้รับการสร้างขึ้นใหม่ให้เหมือนเดิมด้วยความร่วมมือของชาวภูฏานทุกคนโดยใช้เวลานานถึง 7 ปี
เหตุการณ์สำคัญครั้งหนึ่งของชาวภูฏานยุคนี้คือการค้นพบการกลับชาติมาเกิดใหม่ของเดสิ เต็นซิน รับเกะในช่วงปีค.ศ. 1998 ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวจิกมี ซิงเกะ วังชุกพระราชบิดาของพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ปัจจุบัน เป็นปีเดียวกับที่มหาวิหารตั๊กซังประสบอัคคีภัย
ณ วันที่ค้นพบนั้น ร่างที่จิตวิญญาณเดสิ เต็นซิน รับเกะกลับมาเกิดใหม่เป็นสามเณรวัยไม่เกิน 4 ขวบ
สามเณรน้อยผ่านการตรวจสอบตามระบบอย่างเข้มงวด จนในที่สุดก็ยึดถืออย่างเป็นทางการว่าสามเณรน้อยคือร่างที่สถิตแห่งจิตวิญญาณที่กลับมาเกิดใหม่ของเดสิ เต็นซิน รับเกะ สมเด็จพระราชินีในรัชกาลก่อนอาชิ โดร์จจี วังโม วังชุกทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือของท่านว่าการที่ร่างเกิดใหม่ของจิตวิญญาณเดสิ เต็นซิ รับเกะได้อยู่ร่วมในพิธีสมโภชมหาวิหารตั๊กซังเมื่อปีค.ศ. 2005 นี่เสมือนเป็นลิขิตจากพระผู้เป็นเจ้า
การกลับชาติมาเกิดใหม่ของสายเลือดท่านซับดรุง งาวัง นัมเกลผู้ก่อตั้งระบอบเก่าหลังปี ค.ศ. 1979 และ 1988 นอกจากจะไม่สร้างแรงกดดันให้กับระบอบใหม่แล้ว ยังเป็นเสริมสร้างบารมีและความมั่นคงให้เสียอีก
เพราะพระเจ้าอยู่หัวจิกมี ซิงเกะ วังชุกท่านทรงดับวิกฤตความขัดแย้งมอดแล้วในปีค.ศ. 1979 และ 1988!
คงจะพอเข้าใจแล้วว่า “ระบอบเก่า” ที่ก่อตั้งโดยท่านซับดรุง งาวัง นัมเกลขึ้นมาเมื่อประมาณปีค.ศ. 1651 นั้นวางระบบสืบทอดอำนาจผู้นำสูงสุดไว้ตามแนวพุทธศาสนาแนวนิกายวัชรญาณของทิเบต คือยอมรับการกลับมาเกิดใหม่ของจิตวิญญาณท่านผ่านเด็กคนใหม่เป็นรุ่นๆ ต่อเนื่องกันมา ซึ่งแตกต่างชัดเจนกับ “ระบอบใหม่” คือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยฉันทมติของชนชั้นนำภูฏานเมื่อปีค.ศ. 1907 ที่ใช้ระบบสืบราชสันตติวงศ์ทางสายโลหิต และนี่คือความขัดแย้งสำคัญระหว่าง 2 ระบอบอันทำให้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่มีเสถียรภาพเท่าที่ควรในช่วงแรกๆ เพราะระบอบเก่าวางรากฐานในหมู่ประชาชนมากว่า 200 ปี
แค่การกลับมาเกิดในร่างใหม่ของจิตวิญญาณท่านซับดรุง งาวัง นัมเกลก็นับว่ามีปัญหาพอสมควรอยู่แล้ว แต่ของจริงยุ่งยากกว่านั้นเพราะการกลับมาเกิดใหม่นี้สามารถมาพร้อมกันทีเดียวใน 3 ร่าง คือ ฝ่ายมโน, ฝ่ายวจี และฝ่ายกาย
แม้ระบอบเก่านี้จะกำหนดให้การกลับมาเกิดใหม่ของจิตวิญญาณฝ่ายมโนเท่านั้นที่ทรงสิทธิในการปกครองก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติก็จะเกิดปัญหาอยู่เสมอ ก่อนเกิดระบอบใหม่ก็เป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างร่างที่เกิดใหม่ระหว่างบุคคลต่างๆ ที่อ้างอิง แม้จะมีระบบการตรวจสอบที่เข้มงวด แต่ก็มีคนในยอมรับอยู่ ถ้าเผอิญคนที่ไม่ยอมรับนั้นมีศรัทธาของประชาชนส่วนหนึ่งเป็นฐาน ความเป็นเอกภาพก็ไม่เกิดขึ้นอยู่ดี พอมีระบอบใหม่เกิดขึ้นก็เป็นความขัดแย้งระหว่างพระมหากษัตริย์ในระบอบใหม่กับกลุ่มผู้ที่ยังเชื่อถือในจิตวิญญาณของท่านผู้ก่อตั้งระบอบเก่าผ่านร่างใหม่
ถึงตรงนี้สมควรรู้จักผู้มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการก่อตั้งระบอบเก่าอีกท่านหนึ่ง การรู้จักท่านผู้นี้ยังจะทำให้เรารู้จักระบบการสืบทอดจิตวิญญาณผ่านการเกิดใหม่ที่ยังคงดำรงอยู่ในภูฏานแม้จนทุกวันนี้
เดสิ เต็นซิน รับเกะ (Desi Tenzin Rabgye) ท่านมีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1638 – 1696
จำได้นะครับว่า “เดสิ” เป็นชื่อตำแหน่งผู้ปกครองสูงสุดฝ่ายการเมืองการปกครองรองจากท่านซับดรุง งาวัง นัมเกล คู่กับตำแหน่ง “เจ เค็ม” หรือ “เจ เค็มโปะ” ผู้ปกครองสูงสุดฝ่ายสงฆ์ที่ขึ้นตรงต่อท่านซับดรุงเช่นกัน
เดสิ เต็นซิน รับเกะได้รับคัดเลือกได้ให้ผู้ปกครองสูงสุดต่อจากท่านซับดรุง ปกครองอยู่ 14 ปี
แต่จริงๆ แล้วท่านปกครองนานกว่านั้นมาก
เพราะตั้งแต่ปีค.ศ. 1651 ปีก่อตั้งรัฐภูฏานก่อตั้งระบอบการเมืองการปกครองของท่านซับดรุงนั้น เป็นปีเดียวกับที่ท่านซับดรุงไปทำสมาธิที่ปูนาคาซ่ง เมืองปูนาคา แล้วไม่ปรากฏกายออกให้ประชาชนพบเห็นอีกเลย ตามประวัติศาสตร์ภูฏานที่ยอมรับกันในปัจจุบันก็คือท่านซับดรุงเสียชีวิตหลังจากปีค.ศ. 1651 ไม่นาน แต่ชนชั้นนำยุคนั้นปิดข่าวไม่ให้ประชาชนรับรู้ถึง 40 ปี นอกจากปิดข่าวแล้วยังกระทำการเปิดเผยให้เห็นเสมือนท่านซับดรุงยังมีชีวิตอยู่แต่เข้าสมาธิอยู่ภายในปูนาคาซ่ง มีขบวนคนส่งอาหารน้ำเข้าไปเป็นปกติทุกวัน มีโองการของท่านซับดรุงออกมาต่อเนื่อง ซึ่งก็พอเข้าใจได้และก็มีประวัติศาสตร์บุคคลสำคัญของโลกหลายยุคที่คล้ายๆ อย่างนี้คือมีความสำคัญกับเสถียรภาพของบ้านเมืองจนไม่อาจไม่ปกปิดได้ ที่แตกต่างออกไปคือความลับของท่านซับดรุงถูกเก็บไว้ถึง 40 ปี ในระหว่าง 40 ปีนี้การปกครองที่แท้จริงจึงอยู่ในมือของเดสิ เต็นซิน รับเกะเสียเป็นส่วนใหญ่
เดสิ เต็นซิน รับเกะนี่แหละคือผู้วางรากฐานระบอบของท่านซับดรุงให้เป็นระบบสมบูรณ์ ที่จริงเราไม่มีทางรู้ว่าตลอด 40 ปีแรกนี้อะไรคือความคิดของท่านซับดรุงแท้ๆ อะไรคือความคิดของท่านเต็นซิน รับเกะในนามของท่านซับดรุง
แต่ที่แน่ๆ คือท่านเต็นซิน รับเกะคือผู้วางระบบสืบทอดอำนาจของจิตวิญญาณท่านซับดรุงผ่านการเกิดใหม่ ท่านประกาศที่ท่านได้เป็นผู้ปกครองสูงสุดต่อจากท่านซับดรุงแล้ว
สำนวนไทย “ปิดทองหลังพระ” ดูจะคู่ควรกับเดสิ เต็นซิน รับเกะอยู่มากพอสมควร!
แม้ตลอดระยะเวลาที่ไปเยือนภูฏานมา 2 ครั้ง จะพบเห็นแต่รูปเคารพท่านซับดรุง งาวัง นัมเกลเต็มไปหมด ไม่มีเดสิ เต็นซิน รับเกะเลย แต่เมื่อศึกษาจากประวัติศาสตร์เช่นนี้แล้ว ผมมักเสมือนมองทะลุรูปเคารพท่านซับดรุงไปเห็นท่านเต็นซิน รับเกะทำงานวางรากฐานแผ่นดินอยู่ข้างหลังเสมอๆ
เมื่อพูดถึงเดสิ เต็นซิน รับเกะแล้วจะไม่ให้พูดถึงมหาวิหารบนหุบเขาพาโรที่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของภูฏานเสียเลยก็กระไรอยู่...
มหาวิหารตั๊กซัง (Taktsang Monasterry)!
ถือเป็นวัดที่มีความสำคัญที่สุดของภูฏาน ทั้งความสวยงาม ความยากลำบากในการเดินทางไปเยือน และประวัติศาสตร์ ตั๊กซังรู้จักกันในอีกนามหนึ่งว่ารังเสือหรือถ้ำเสือหรือ Tiger Nest ตามตำนานว่าเป็นสถานที่ที่ท่านคุรุปัทมะสัมภวะหรือกูรูริมโปชีประทับบนหลังเสือเหาะขึ้นมาเจริญวิปัสสนากรรมฐานในถ้ำหุบเขาพาโรสูง 3,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลนี้อยู่ถึง 3 เดือนในช่วงปีค.ศ. 747 ว่ากันว่าใครไปเยือนภูฏานแล้วไม่ได้ขึ้นไปกราบพระพุทธรูปและเจริญสมาธิที่มหาวิหารตั๊กซังนี้เสมือนไม่ได้ไปเยือนภูฏาน ผมเองไป 2 ครั้ง ก็เพิ่งได้ขึ้นตั๊กซังในครั้งที่ 2 ชนิดได้ม้าเป็นตัวช่วยไปสักครึ่งทางขาขึ้น
เดสิ เต็นซิน รับเกะเป็นผู้สร้างมหาวิหารตั๊กซังขึ้นเมื่อ 300 ปีที่ผ่านมา!
และเดสิ เต็นซิน รับเกะก็เข้าร่วมพิธีมหาสมโภชมหาวิหารตั๊กซังในการบูรณะใหม่เมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 2005 ผ่านร่างใหม่ของท่านที่เป็นเด็กอายุ 9 ขวบ!!
เหตุการณ์สะเทือนใจที่สุดของชาวภูฏานเกิดขึ้นในปีค.ศ. 1998 มหาวิหารตั๊กซังประสบอัคคีภัยเผาวอดเกือบหมด เหลือไว้เพียงวิหารที่สถิตแห่งเทพยดาผู้พิทักษ์ตั๊กซังคือท่านซิงเก ซัมดุ (Singye Samdu) เท่านั้นที่ไม่ไหม้ สาเหตุแห่งอัคคีภัยไม่เป็นที่ประจักษ์ชัด แต่ก็ไม่แปลกเท่าไรนักเพราะสถานที่สำคัญแทบทุกแห่งในภูฏานทำด้วยไม้ มีการบูชาด้วยเทียนจุดไฟ รวมทั้งเก็บน้ำมันหอมและน้ำมันเติมเชื้อไฟไว้เป็นจำนวนไม่น้อย สถานที่หลายแห่งจึงประสบอัคคีภัยมากบ้างน้อยบ้าง แต่ก็มีการบูรณะหรือสร้างใหม่ให้เหมือนเดิม มหาวิหารตั๊กซังได้รับการสร้างขึ้นใหม่ให้เหมือนเดิมด้วยความร่วมมือของชาวภูฏานทุกคนโดยใช้เวลานานถึง 7 ปี
เหตุการณ์สำคัญครั้งหนึ่งของชาวภูฏานยุคนี้คือการค้นพบการกลับชาติมาเกิดใหม่ของเดสิ เต็นซิน รับเกะในช่วงปีค.ศ. 1998 ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวจิกมี ซิงเกะ วังชุกพระราชบิดาของพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ปัจจุบัน เป็นปีเดียวกับที่มหาวิหารตั๊กซังประสบอัคคีภัย
ณ วันที่ค้นพบนั้น ร่างที่จิตวิญญาณเดสิ เต็นซิน รับเกะกลับมาเกิดใหม่เป็นสามเณรวัยไม่เกิน 4 ขวบ
สามเณรน้อยผ่านการตรวจสอบตามระบบอย่างเข้มงวด จนในที่สุดก็ยึดถืออย่างเป็นทางการว่าสามเณรน้อยคือร่างที่สถิตแห่งจิตวิญญาณที่กลับมาเกิดใหม่ของเดสิ เต็นซิน รับเกะ สมเด็จพระราชินีในรัชกาลก่อนอาชิ โดร์จจี วังโม วังชุกทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือของท่านว่าการที่ร่างเกิดใหม่ของจิตวิญญาณเดสิ เต็นซิ รับเกะได้อยู่ร่วมในพิธีสมโภชมหาวิหารตั๊กซังเมื่อปีค.ศ. 2005 นี่เสมือนเป็นลิขิตจากพระผู้เป็นเจ้า
การกลับชาติมาเกิดใหม่ของสายเลือดท่านซับดรุง งาวัง นัมเกลผู้ก่อตั้งระบอบเก่าหลังปี ค.ศ. 1979 และ 1988 นอกจากจะไม่สร้างแรงกดดันให้กับระบอบใหม่แล้ว ยังเป็นเสริมสร้างบารมีและความมั่นคงให้เสียอีก
เพราะพระเจ้าอยู่หัวจิกมี ซิงเกะ วังชุกท่านทรงดับวิกฤตความขัดแย้งมอดแล้วในปีค.ศ. 1979 และ 1988!