ASTVผู้จัดการรายวัน – คลังไม่ห่วงรัฐบาลปูแดงรื้องบปี 55 เชื่อแก้ไขแต่ไส้ในไม่กระทบกรอบวงเงินเดิมและไม่กดดันเงินเฟ้อพุ่ง คาดมีผลบังคับใช้ช่วงมกราคม 55 ด้านกรมศุลฯ ประเมินรายได้ปี 55 ใหม่คาดเพิ่ม10%เตรียมรับรัฐบาลใหม่ พร้อมเข้มงวดสินค้าสวมสิทธิใช้ประโยชน์ทางภาษีอาฟต้า ระบุปีหน้าใช้สิทธิภาษีเพิ่มถึง60%ปีหน้า
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การสรุปวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 จะดำเนินการได้ หลังจากรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศขณะนี้เพียงเตรียมพร้อมด้านตัวเลขซึ่งมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามา โดยอาจจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายงบประมาณใช้ล่าช้าไป 2-3 เดือน หรือประมาณเดือนมกราคม 55 ซึ่งการรื้องบประมาณใหม่นั้นน่าจะมีการรื้อในส่วนของไส้ใน ส่วนของกรอบวงเงินไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ขึ้นอยู่กับความชัดเจนของนโยบายการและการใช้เงินตามมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลด้วย
นอกจากนี้การขาดดุลงบประมาณที่ตั้งไว้ 3.5 แสนล้านบาทนั้นยังไม่ชัดเจนว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ซึ่งต้องคำนึงถึงการประเมินความเหมาะสมของการใช้เงินภาครัฐจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ด้วยว่าจะต้องไม่มีแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ ส่วนรายได้ 2 ล้านล้านบาทซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิม 1 แสนล้านบาทนั้นเป็นการประเมินจากฐานภาษีเดิม ยังไม่รวมการปรับลดภาษีนิติบุคคลและการปรับเปลี่ยนอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ซึ่งภาษีต้องดูที่โครงสร้างหากลดภาษีดังกล่าวตามนโยบายรัฐบาลก็ต้องพิจารณาภาษีอื่นๆ มาทดแทนรายได้ที่หายไป เช่นภาษีสิ่งแวดล้อมเป็นต้น
ด้านนายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวว่า กรมศุลกากรอยู่ระหว่างการทบทวนประมาณการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2555 ใหม่หลังจากที่พบว่าการจัดเก็บรายได้ปี 2554 สามารถจัดเก็บได้เดินเป้าหมายแล้ว 14% จากเป้าหมายเดิม 8.84 หมื่นล้านบาท โดยทั้งปีน่าจะเก็บได้ 9.94 หมื่นล้านบาท ส่วนปี 2555 น่าจะเก็บรายได้เพิ่ม 10% หรือแสนล้านเศษ ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจาต่อรองกับทางกระทรวงการคลัง เพราะแม้รายได้จะมีแนวโน้มเก็บได้เพิ่มตามปริมาณการค้าที่เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีส่วนที่กรมศุลกากรต้องสูญเสียรายได้ไปจากการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามเขตการค้าเสรีอาเซียนที่มีมากขึ้นต่อเนื่อง
"รายได้ปีงบฯ 54 เพิ่มจากเดิมประมาณ 1 หมื่นล้านบาทปี 55 ก็น่าจะเพิ่มระดับเดียวกัน แม้เศรษฐกิจจะดีขึ้น ปริมาณการค้าเพิ่มมากขึ้น แต่การใช้สิทธิภาษีอาฟต้าก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ จาก 10-20% มาอยู่ที่ 30-40% และมีแนวโน้มจะเพิ่มถึง 60%ในปีหน้าจึงอาจมีผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ด้วยของกรมศุลกากร" นายประสงค์ กล่าว
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) กล่าวว่า รายได้นำส่งของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2554 มีเป้าหมาย 8.4 หมื่นล้านบาท แต่ในช่วงครึ่งแรกของปีจัดเก็บได้เกินเป้าหมาย จึงทำให้ปรับเป้าเป็น 9 หมื่นล้านบาท เพราะการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจมีกำไรค่อนข้างดีมาก ส่วนปีงบประมาณ 2555 เป้าหมายการจัดเก็บอยู่ที่ 9.7 หมื่นล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถปรับเพิ่มได้เล็กน้อยหากรัฐบาลใหม่ต้องการที่จะให้ทบทวน แต่ยังมีความเสี่ยงที่ต้องระวังอยู่สองประการ คือ การเปลี่ยนมาตรฐานบัญชีใหม่ของรัฐวิสาหกิจ ที่ให้นำรายจ่ายประเภทสวัสดิการพนักงานหลังเกษียณมาบันทึกบัญชีทันที จะทำให้ผลประกอบการของรัฐวิสาหกจิแย่ลง และความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งหากสามารถจัดการความเสี่ยงดังกล่าวได้ ก็สามารถที่จะเพิ่มรายได้จากการนำส่งของรัฐวิสาหกิจได้
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การสรุปวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 จะดำเนินการได้ หลังจากรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศขณะนี้เพียงเตรียมพร้อมด้านตัวเลขซึ่งมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามา โดยอาจจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายงบประมาณใช้ล่าช้าไป 2-3 เดือน หรือประมาณเดือนมกราคม 55 ซึ่งการรื้องบประมาณใหม่นั้นน่าจะมีการรื้อในส่วนของไส้ใน ส่วนของกรอบวงเงินไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ขึ้นอยู่กับความชัดเจนของนโยบายการและการใช้เงินตามมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลด้วย
นอกจากนี้การขาดดุลงบประมาณที่ตั้งไว้ 3.5 แสนล้านบาทนั้นยังไม่ชัดเจนว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ซึ่งต้องคำนึงถึงการประเมินความเหมาะสมของการใช้เงินภาครัฐจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ด้วยว่าจะต้องไม่มีแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ ส่วนรายได้ 2 ล้านล้านบาทซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิม 1 แสนล้านบาทนั้นเป็นการประเมินจากฐานภาษีเดิม ยังไม่รวมการปรับลดภาษีนิติบุคคลและการปรับเปลี่ยนอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ซึ่งภาษีต้องดูที่โครงสร้างหากลดภาษีดังกล่าวตามนโยบายรัฐบาลก็ต้องพิจารณาภาษีอื่นๆ มาทดแทนรายได้ที่หายไป เช่นภาษีสิ่งแวดล้อมเป็นต้น
ด้านนายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวว่า กรมศุลกากรอยู่ระหว่างการทบทวนประมาณการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2555 ใหม่หลังจากที่พบว่าการจัดเก็บรายได้ปี 2554 สามารถจัดเก็บได้เดินเป้าหมายแล้ว 14% จากเป้าหมายเดิม 8.84 หมื่นล้านบาท โดยทั้งปีน่าจะเก็บได้ 9.94 หมื่นล้านบาท ส่วนปี 2555 น่าจะเก็บรายได้เพิ่ม 10% หรือแสนล้านเศษ ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจาต่อรองกับทางกระทรวงการคลัง เพราะแม้รายได้จะมีแนวโน้มเก็บได้เพิ่มตามปริมาณการค้าที่เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีส่วนที่กรมศุลกากรต้องสูญเสียรายได้ไปจากการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามเขตการค้าเสรีอาเซียนที่มีมากขึ้นต่อเนื่อง
"รายได้ปีงบฯ 54 เพิ่มจากเดิมประมาณ 1 หมื่นล้านบาทปี 55 ก็น่าจะเพิ่มระดับเดียวกัน แม้เศรษฐกิจจะดีขึ้น ปริมาณการค้าเพิ่มมากขึ้น แต่การใช้สิทธิภาษีอาฟต้าก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ จาก 10-20% มาอยู่ที่ 30-40% และมีแนวโน้มจะเพิ่มถึง 60%ในปีหน้าจึงอาจมีผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ด้วยของกรมศุลกากร" นายประสงค์ กล่าว
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) กล่าวว่า รายได้นำส่งของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2554 มีเป้าหมาย 8.4 หมื่นล้านบาท แต่ในช่วงครึ่งแรกของปีจัดเก็บได้เกินเป้าหมาย จึงทำให้ปรับเป้าเป็น 9 หมื่นล้านบาท เพราะการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจมีกำไรค่อนข้างดีมาก ส่วนปีงบประมาณ 2555 เป้าหมายการจัดเก็บอยู่ที่ 9.7 หมื่นล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถปรับเพิ่มได้เล็กน้อยหากรัฐบาลใหม่ต้องการที่จะให้ทบทวน แต่ยังมีความเสี่ยงที่ต้องระวังอยู่สองประการ คือ การเปลี่ยนมาตรฐานบัญชีใหม่ของรัฐวิสาหกิจ ที่ให้นำรายจ่ายประเภทสวัสดิการพนักงานหลังเกษียณมาบันทึกบัญชีทันที จะทำให้ผลประกอบการของรัฐวิสาหกจิแย่ลง และความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งหากสามารถจัดการความเสี่ยงดังกล่าวได้ ก็สามารถที่จะเพิ่มรายได้จากการนำส่งของรัฐวิสาหกิจได้