คลังประเมินรายได้ปีงบประมาณ 55 ใหม่ คาดอยู่ที่ระดับ 2 ล้านล้านบาท หลังแนวโน้มการจัดเก็บปี 54 สูงถึง 1.84 ล้านล้าน ส่วนงบประมาณรายจ่ายคาดอยู่ที่ 2.25 ล้านล้านบาท พร้อมโชว์ฐานะการคลังแข็งแกร่ง 9 เดือนแรกปี 54 ส่งรายได้เข้าคลังกว่า 1.39 ล้านล้านบาท เพิ่มจากช่วงเดียวกันปีก่อน 1.44 แสนล้าน เงินคงคลังพุ่งกว่า 3 แสนล้าน
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างประชุมหน่วยงานภายใน เพื่อประเมินการจัดเก็บรายได้ปี 2555 ใหม่ ทั้งกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และ กรมศุลกากร หลังจากพบว่า การจัดเก็บรายได้ปี 2554 คาดว่าน่าจะถึง 1.84 ล้านล้านบาทได้ จากเอกสารงบประมาณที่คาดว่าจัดเก็บรายได้ทั้งสิ้น 1.65 ล้านล้านบาท ดังนั้น จึงต้องกลับมาทบทวนตัวเลขการจัดเก็บรายได้ปี 2555 ใหม่ โดยเบื้องต้นคาดว่า จะถึง 2 ล้านล้านบาท แต่จะต้องรอสรุปตัวเลขรายละเอียดที่ชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง เพราะต้องรอตัวเลขการขายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ปี 2554 ที่ชัดเจนก่อน
โดยในขณะนี้ยังมีความเห็นที่แตกต่างของตัวเลขจีดีพีปี 2554 โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่า จะขยายสูงถึง 4.9% ขณะที่กระทรวงการคลัง มองที่ 4.5% และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มองใกล้เคียงกันแต่ต่ำกว่ากระทรวงการคลังเล็กน้อย ซึ่งจีดีพีจะเป็นฐานสำคัญในการประมาณการรายไดทั้งปี อย่างกรณีปี 2554 ที่รายได้สูงกว่าเป้าหมายมาก เพราะเป็นฐานการจัดเก็บรายได้จากจีดีพีปี 2553 ที่ขยายตัวสูงถึง 7.8% ทำให้การจัดเก็บรายได้ภาษีนิติบุคคลเดือนพฤษภาคม สูงกว่าเป้าหมายถึง 5 หมื่นล้านบาท แต่หากจีดีพีปีนี้ขยายตัวลดลง ก็อาจจะทำให้การจัดเก็บรายได้นิติบุคคลที่จะเข้ามาในกลางปีหน้าลดลงด้วย
“เราเองได้ประชุมหน่วยงานภายในไปเบื้องต้นแล้ว เพื่อเตรียมความพร้อมเสนอกระทรวงการคลังในการจัดทำกรอบงบประมาณใหม่ตามที่รัฐบาลต้องการ ซึ่งหากแต่ละหน่วยงานได้ตัวเลขที่ชัดเจนแล้ว จึงจะเป็นการประชุมร่วมกับ 4 หน่วยงาน คือ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สศช.และ ธปท.เพื่อสรุปเป็นกรอบงบประมาณปี 2555 ใหม่จากเดิมที่เคยผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว คือ งบประมาณรายจ่ายที่ 2.25 ล้านล้านบาท และงบประมาณรายได้ 1.9 ล้านบาท คิดเป็นงบประมาณขาดดุล 3.5 แสนล้านบาท” นายนริศ กล่าว
นายนริศ กล่าวว่า สำหรับฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2554 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 1.39 ล้านล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 1.44 แสนล้านบาท หรือ 11.6% โดยเป็นผลมาจากเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลจาก 3 กรมจัดเก็บภาษี รวมทั้งการนำส่งรายได้จากรัฐวิสาหกิจและส่วนราชการอื่นเพิ่มขึ้นมาก
ในขณะที่การเบิกจ่ายเงินงบประมาณมีจำนวนทั้งสิ้น 1.69 ล้านล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 3.58 แสนล้านบาท หรือ 26.8% ทำให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 3.07 แสนล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 3.99 หมื่นล้านบาทจากการชดใช้เงินคงคลังและการไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวม 2.67 แสนล้านบาท และรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 1.39 แสนล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดหลังกู้ขาดดุลทั้งสิ้น 1.28 แสนล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2554 มีจำนวน 3.01 แสนล้านบาท
“จากแนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลที่สูงกว่าเป้าหมายตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ กระทรวงการคลังมั่นใจว่าเงินคงคลัง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2554 จะมีจำนวนประมาณ 4 แสนล้านบาท ใกล้เคียงกับระดับเงินคงคลัง ณ สิ้นปีงบประมาณก่อน ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่มั่นคงมาก”
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างประชุมหน่วยงานภายใน เพื่อประเมินการจัดเก็บรายได้ปี 2555 ใหม่ ทั้งกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และ กรมศุลกากร หลังจากพบว่า การจัดเก็บรายได้ปี 2554 คาดว่าน่าจะถึง 1.84 ล้านล้านบาทได้ จากเอกสารงบประมาณที่คาดว่าจัดเก็บรายได้ทั้งสิ้น 1.65 ล้านล้านบาท ดังนั้น จึงต้องกลับมาทบทวนตัวเลขการจัดเก็บรายได้ปี 2555 ใหม่ โดยเบื้องต้นคาดว่า จะถึง 2 ล้านล้านบาท แต่จะต้องรอสรุปตัวเลขรายละเอียดที่ชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง เพราะต้องรอตัวเลขการขายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ปี 2554 ที่ชัดเจนก่อน
โดยในขณะนี้ยังมีความเห็นที่แตกต่างของตัวเลขจีดีพีปี 2554 โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่า จะขยายสูงถึง 4.9% ขณะที่กระทรวงการคลัง มองที่ 4.5% และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มองใกล้เคียงกันแต่ต่ำกว่ากระทรวงการคลังเล็กน้อย ซึ่งจีดีพีจะเป็นฐานสำคัญในการประมาณการรายไดทั้งปี อย่างกรณีปี 2554 ที่รายได้สูงกว่าเป้าหมายมาก เพราะเป็นฐานการจัดเก็บรายได้จากจีดีพีปี 2553 ที่ขยายตัวสูงถึง 7.8% ทำให้การจัดเก็บรายได้ภาษีนิติบุคคลเดือนพฤษภาคม สูงกว่าเป้าหมายถึง 5 หมื่นล้านบาท แต่หากจีดีพีปีนี้ขยายตัวลดลง ก็อาจจะทำให้การจัดเก็บรายได้นิติบุคคลที่จะเข้ามาในกลางปีหน้าลดลงด้วย
“เราเองได้ประชุมหน่วยงานภายในไปเบื้องต้นแล้ว เพื่อเตรียมความพร้อมเสนอกระทรวงการคลังในการจัดทำกรอบงบประมาณใหม่ตามที่รัฐบาลต้องการ ซึ่งหากแต่ละหน่วยงานได้ตัวเลขที่ชัดเจนแล้ว จึงจะเป็นการประชุมร่วมกับ 4 หน่วยงาน คือ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สศช.และ ธปท.เพื่อสรุปเป็นกรอบงบประมาณปี 2555 ใหม่จากเดิมที่เคยผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว คือ งบประมาณรายจ่ายที่ 2.25 ล้านล้านบาท และงบประมาณรายได้ 1.9 ล้านบาท คิดเป็นงบประมาณขาดดุล 3.5 แสนล้านบาท” นายนริศ กล่าว
นายนริศ กล่าวว่า สำหรับฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2554 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 1.39 ล้านล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 1.44 แสนล้านบาท หรือ 11.6% โดยเป็นผลมาจากเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลจาก 3 กรมจัดเก็บภาษี รวมทั้งการนำส่งรายได้จากรัฐวิสาหกิจและส่วนราชการอื่นเพิ่มขึ้นมาก
ในขณะที่การเบิกจ่ายเงินงบประมาณมีจำนวนทั้งสิ้น 1.69 ล้านล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 3.58 แสนล้านบาท หรือ 26.8% ทำให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 3.07 แสนล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 3.99 หมื่นล้านบาทจากการชดใช้เงินคงคลังและการไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวม 2.67 แสนล้านบาท และรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 1.39 แสนล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดหลังกู้ขาดดุลทั้งสิ้น 1.28 แสนล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2554 มีจำนวน 3.01 แสนล้านบาท
“จากแนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลที่สูงกว่าเป้าหมายตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ กระทรวงการคลังมั่นใจว่าเงินคงคลัง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2554 จะมีจำนวนประมาณ 4 แสนล้านบาท ใกล้เคียงกับระดับเงินคงคลัง ณ สิ้นปีงบประมาณก่อน ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่มั่นคงมาก”