คลังเผยจัดเก็บรายได้ 9 เดือนแรกของปีงบ 54 สูงกว่าเป้า 1.8 แสนล้านบาท ระบุ แหล่งที่มาจากภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งสูงกว่าประมาณการ ยกเว้นภาษีน้ำมันที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้า 7.6 พันล้าน หลังใช้นโยบายตรึงดีเซล 30 บาท “กรมบัญชีกลาง” แจงผลการเบิกจ่ายงบประมาณปี 54 เบิกจ่ายสิ้นไตรมาส 3 เกินเป้า4.83% ระบุ “การเบิกจ่ายงบไทยเข้มแข็ง 2555” เบิกไม่ทันต้องหาเงินจากแหล่งอื่นมาสนับสนุน
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า รัฐบาลจัดเก็บรายได้เดือนมิถุนายนสูงกว่าเป้าหมาย 2 พันล้านบาท ส่งผลให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2554 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิสูงกว่าเป้าหมายกว่า 1.8 แสนล้านบาท ทั้งนี้ เดือนมิถุนายน 2554 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 109,571 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 2,065 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.9 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.0) เป็นผลจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่สูงกว่าประมาณการ จำนวน 5,474 ล้านบาท 3,476 ล้านบาท และ 1,544 ล้านบาท ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ภาษีสรรพสามิตน้ำมันจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 7,558 ล้านบาท เป็นผลจากการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงชั่วคราว
โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2554 (ตุลาคม 2553 - มิถุนายน 2554) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,386,281 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 181,050 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.0 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.3) จากภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ของทุกหน่วยงานสูงกว่าเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมสรรพากร รองลงมาได้แก่ กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจซึ่งสูงกว่าเป้าหมาย 138,739 ล้านบาท 21,629 ล้านบาท 9,431 ล้านบาท และ 11,805 ล้านบาท ตามลำดับ
"จากการจัดเก็บรายได้ในช่วงที่ผ่านมาที่สูงกว่าเป้าหมายเป็นจำนวนมาก กระทรวงการคลังมั่นใจว่าในปีงบประมาณ 2554 นี้ รัฐบาลจะจัดเก็บรายได้เป็นจำนวนกว่า 1.8 ล้านล้านบาทซึ่งสูงกว่าเป้าหมาย (1.65 ล้านล้านบาท) ในอัตราที่ค่อนข้างสูง และส่งผลให้ฐานะการคลังของประเทศมีความมั่นคงต่อเนื่องจากปีที่แล้ว"
ด้านหน่วยงานอื่น จัดเก็บรายได้รวม 80,073 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 8,080 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.2 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 34.6) เนื่องจากการจัดเก็บรายได้จากสัมปทานปิโตรเลียมสูงกว่าประมาณการ 3,800 ล้านบาท เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น นอกจากนี้ มีเงินรับคืนจากโครงการมิยาซาว่าและโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรจำนวน 1,952 ล้านบาท และ 445 ล้านบาท ตามลำดับ
ทั้งนี้ สาเหตุที่การจัดเก็บรายได้ของหน่วยงานอื่นต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 42,426 ล้านบาท เนื่องจากปีที่แล้วมีรายได้พิเศษจากการยึดทรัพย์ฯอดีตนายกรัฐมนตรี จำนวน 49,016 ล้านบาท
การคืนภาษีของกรมสรรพากร จำนวน 169,269 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 4,082 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.5 โดยเป็นการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 130,542 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 4,458 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.3 และการคืนภาษีอื่นๆ 38,727 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 8,540 หรือร้อยละ 28.3
การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตาม พ.ร.บ. กำหนดแผน และขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ (12 งวดต่อปี) จัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้ว 6 งวด (ตุลาคม 2553 - มีนาคม 2554) รวม 36,358 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการจำนวน 3,008 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.0
***รสก.ส่งรายได้เกินเป้า 1.1 หมื่นล้าน
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผย ว่า รัฐวิสาหกิจและกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นน้อยกว่าร้อยละ 50 นำส่งรายได้แผ่นดินของเดือนมิถุนายน 2554 จำนวน 3,477.05 ล้านบาทและรายได้แผ่นดินสะสมตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนมิถุนายน 2554 จำนวนทั้งสิ้น 79,806.30 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ จำนวน 11,805.17 ล้านบาท จากที่ได้ประมาณไว้ 68,001.13 ล้านบาท
ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้แผ่นดินสูงสุด คือการไฟฟ้านครหลวง โดยนำส่งรายได้แผ่นดินจากกำไรสุทธิปี 2553 จำนวน 1,158.40 ล้านบาท และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นำส่งรายได้เข้าแผ่นดิน จำนวน 800 ล้านบาท
นายสมชัยฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากนี้ภาคการเมืองได้มีความชัดเจน และถือว่าเป็นปัจจัยบวกโดยตรงต่อเศรษฐกิจของประเทศจึงมั่นใจว่าในปีนี้รัฐวิสาหกิจจะสามารถนำส่งเงินรายได้เข้ารัฐวิสาหกิจได้เกินเป้าที่ตั้งไว้อย่างแน่นอน
***“กรมบัญชีกลาง” เผยเบิกจ่ายเกินเป้า4.83%
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยถึง ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ประจำปีพ.ศ. 2554 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 ถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2554 เบิกจ่ายงบประมาณภาพรวมจำนวน 1,507,491.96 ล้านบาท หรือร้อยละ 72.83 เกินกว่าเป้าหมายร้อยละ 4.83 (เป้าหมายร้อยละ 68) สำหรับรายจ่ายลงทุน เบิกจ่ายแล้วจำนวน 190,069.58 ล้านบาท หรือร้อยละ 54.41 ต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 6.59 และรายจ่ายประจำเบิกจ่ายแล้วจำนวน 1,317,422.38 ล้านบาท หรือร้อยละ 76.57 สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 7.17
นายรังสรรค์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายสูงสุด 3 อันดับแรก และเกินเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ (เป้าหมายร้อยละ 61) ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกองบัญชาการกองทัพไทย คิดเป็นร้อยละ 99.79 , 83.14 และ 63.37 ตามลำดับ
“สำหรับผลการเบิกจ่ายงบไทยเข้มแข็ง ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2554 เบิกจ่ายแล้ว 284,058.11 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 83.22 จากวงเงินที่ได้รับจัดสรร 341,326.33 ล้านบาท คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 เกี่ยวกับการบริหารโครงการภายใต้งบไทยเข้มแข็ง 2555 โดยโครงการที่มีเวลาดำเนินงาน 1 ปี ให้หน่วยงานดำเนินการและเบิกจ่ายเงินให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2555 หากเบิกจ่ายไม่ทันจะต้องหาแหล่งเงินอื่นมาสนับสนุนการดำเนินโครงการต่อไป สำหรับโครงการที่ขอขยายเวลาลงนามในสัญญาหรือขอขยายเวลาเบิกจ่ายเงินแต่ยังไม่ลงนามในสัญญาหรือยังไม่เริ่มดำเนินงาน ต้องแจ้งคณะกรรมการกลั่นกรองและบริหารโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 พิจารณา หากดำเนินการไม่ทันก็ควรยกเลิกโครงการและรวมเป็นเงินเหลือจ่ายต่อไป” นายรังสรรค์กล่าว
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า รัฐบาลจัดเก็บรายได้เดือนมิถุนายนสูงกว่าเป้าหมาย 2 พันล้านบาท ส่งผลให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2554 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิสูงกว่าเป้าหมายกว่า 1.8 แสนล้านบาท ทั้งนี้ เดือนมิถุนายน 2554 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 109,571 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 2,065 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.9 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.0) เป็นผลจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่สูงกว่าประมาณการ จำนวน 5,474 ล้านบาท 3,476 ล้านบาท และ 1,544 ล้านบาท ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ภาษีสรรพสามิตน้ำมันจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 7,558 ล้านบาท เป็นผลจากการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงชั่วคราว
โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2554 (ตุลาคม 2553 - มิถุนายน 2554) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,386,281 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 181,050 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.0 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.3) จากภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ของทุกหน่วยงานสูงกว่าเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมสรรพากร รองลงมาได้แก่ กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจซึ่งสูงกว่าเป้าหมาย 138,739 ล้านบาท 21,629 ล้านบาท 9,431 ล้านบาท และ 11,805 ล้านบาท ตามลำดับ
"จากการจัดเก็บรายได้ในช่วงที่ผ่านมาที่สูงกว่าเป้าหมายเป็นจำนวนมาก กระทรวงการคลังมั่นใจว่าในปีงบประมาณ 2554 นี้ รัฐบาลจะจัดเก็บรายได้เป็นจำนวนกว่า 1.8 ล้านล้านบาทซึ่งสูงกว่าเป้าหมาย (1.65 ล้านล้านบาท) ในอัตราที่ค่อนข้างสูง และส่งผลให้ฐานะการคลังของประเทศมีความมั่นคงต่อเนื่องจากปีที่แล้ว"
ด้านหน่วยงานอื่น จัดเก็บรายได้รวม 80,073 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 8,080 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.2 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 34.6) เนื่องจากการจัดเก็บรายได้จากสัมปทานปิโตรเลียมสูงกว่าประมาณการ 3,800 ล้านบาท เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น นอกจากนี้ มีเงินรับคืนจากโครงการมิยาซาว่าและโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรจำนวน 1,952 ล้านบาท และ 445 ล้านบาท ตามลำดับ
ทั้งนี้ สาเหตุที่การจัดเก็บรายได้ของหน่วยงานอื่นต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 42,426 ล้านบาท เนื่องจากปีที่แล้วมีรายได้พิเศษจากการยึดทรัพย์ฯอดีตนายกรัฐมนตรี จำนวน 49,016 ล้านบาท
การคืนภาษีของกรมสรรพากร จำนวน 169,269 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 4,082 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.5 โดยเป็นการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 130,542 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 4,458 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.3 และการคืนภาษีอื่นๆ 38,727 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 8,540 หรือร้อยละ 28.3
การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตาม พ.ร.บ. กำหนดแผน และขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ (12 งวดต่อปี) จัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้ว 6 งวด (ตุลาคม 2553 - มีนาคม 2554) รวม 36,358 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการจำนวน 3,008 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.0
***รสก.ส่งรายได้เกินเป้า 1.1 หมื่นล้าน
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผย ว่า รัฐวิสาหกิจและกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นน้อยกว่าร้อยละ 50 นำส่งรายได้แผ่นดินของเดือนมิถุนายน 2554 จำนวน 3,477.05 ล้านบาทและรายได้แผ่นดินสะสมตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนมิถุนายน 2554 จำนวนทั้งสิ้น 79,806.30 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ จำนวน 11,805.17 ล้านบาท จากที่ได้ประมาณไว้ 68,001.13 ล้านบาท
ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้แผ่นดินสูงสุด คือการไฟฟ้านครหลวง โดยนำส่งรายได้แผ่นดินจากกำไรสุทธิปี 2553 จำนวน 1,158.40 ล้านบาท และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นำส่งรายได้เข้าแผ่นดิน จำนวน 800 ล้านบาท
นายสมชัยฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากนี้ภาคการเมืองได้มีความชัดเจน และถือว่าเป็นปัจจัยบวกโดยตรงต่อเศรษฐกิจของประเทศจึงมั่นใจว่าในปีนี้รัฐวิสาหกิจจะสามารถนำส่งเงินรายได้เข้ารัฐวิสาหกิจได้เกินเป้าที่ตั้งไว้อย่างแน่นอน
***“กรมบัญชีกลาง” เผยเบิกจ่ายเกินเป้า4.83%
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยถึง ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ประจำปีพ.ศ. 2554 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 ถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2554 เบิกจ่ายงบประมาณภาพรวมจำนวน 1,507,491.96 ล้านบาท หรือร้อยละ 72.83 เกินกว่าเป้าหมายร้อยละ 4.83 (เป้าหมายร้อยละ 68) สำหรับรายจ่ายลงทุน เบิกจ่ายแล้วจำนวน 190,069.58 ล้านบาท หรือร้อยละ 54.41 ต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 6.59 และรายจ่ายประจำเบิกจ่ายแล้วจำนวน 1,317,422.38 ล้านบาท หรือร้อยละ 76.57 สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 7.17
นายรังสรรค์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายสูงสุด 3 อันดับแรก และเกินเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ (เป้าหมายร้อยละ 61) ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกองบัญชาการกองทัพไทย คิดเป็นร้อยละ 99.79 , 83.14 และ 63.37 ตามลำดับ
“สำหรับผลการเบิกจ่ายงบไทยเข้มแข็ง ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2554 เบิกจ่ายแล้ว 284,058.11 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 83.22 จากวงเงินที่ได้รับจัดสรร 341,326.33 ล้านบาท คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 เกี่ยวกับการบริหารโครงการภายใต้งบไทยเข้มแข็ง 2555 โดยโครงการที่มีเวลาดำเนินงาน 1 ปี ให้หน่วยงานดำเนินการและเบิกจ่ายเงินให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2555 หากเบิกจ่ายไม่ทันจะต้องหาแหล่งเงินอื่นมาสนับสนุนการดำเนินโครงการต่อไป สำหรับโครงการที่ขอขยายเวลาลงนามในสัญญาหรือขอขยายเวลาเบิกจ่ายเงินแต่ยังไม่ลงนามในสัญญาหรือยังไม่เริ่มดำเนินงาน ต้องแจ้งคณะกรรมการกลั่นกรองและบริหารโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 พิจารณา หากดำเนินการไม่ทันก็ควรยกเลิกโครงการและรวมเป็นเงินเหลือจ่ายต่อไป” นายรังสรรค์กล่าว