ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท.จี้รัฐบาลใหม่รื้อโครงสร้างอุดหนุนราคาพลังงานใหม่ เน้นอุดหนุนเฉพาะผู้ที่เดือนร้อน-ยากจนจริง ย้ำการอุดหนุนเหวี่ยงแหทำให้ประเทศต้องแบกรับภาระมากและนำเข้าพลังงานสูง ชี้หากไม่เก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน เชื่อรัฐต้องกู้เพื่ออุดหนุนแอลพีจีน-เอ็นจีวีและแก๊สโซฮอล์เพื่อไม่ให้ราคาพุ่ง
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า รัฐบาลชุดใหม่ควรมีการปรับโครงสร้างการอุดหนุนราคาพลังงานใหม่ทั้งหมด โดยเน้นอุดหนุนเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจริงและยากจน ไม่ใช่อุดหนุนทุกภาคส่วน เนื่องจากแนวโน้มราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งการอุดหนุนทำให้ประชาชนมีการใช้พลังงานไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ประเทศมีภาระการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศและต้องใช้เงินอุดหนุนเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ การชดเชยแอลพีจีในการตรึงราคาให้กับภาคครัวเรือนและขนส่ง มาจากเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้อุดหนุนการนำเข้าแอลพีจีปีละ 20,000 ล้านบาท และคาดว่าจะเพิ่มเป็นปีละ 30,000-40,000 ล้านบาทในอนาคต และส่วนหนึ่งการชดเชยมาจากโรงแยกก๊าชธรรมชาติและโรงกลั่นน้ำมันเที่ขายในราคาต่ำกว่าทุน อีกทั้งปตท.ต้องรับภาระการอุดหนุนราคาก๊าชธรรมชาติในรถยนต์ หรือ เอ็นจีวีตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบันแล้ว 30,000 ล้านบาท ซึ่งปริมาณการใช้เอ็นจีวีอยู่ที่กว่า 200 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน เป็นอันดับ 11 ของโลก และนับวันการใช้เอ็นจีวีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นผลจากการที่รัฐบาลได้มีการตรึงราคาไว้ที่ 8.50 บาท/กิโลกรัม ซึ่งการอุดหนุนราคาพลังงานของปตท.นี้ สุดท้ายปตท.นำเงินส่งเข้ารัฐในรูปเงินปันผลน้อยลงด้วย
ส่วนการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร เห็นว่ารัฐควรเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลเพื่อนำเม็ดเงินภาษีปีละกว่า 1แสนล้านบาทไปพัฒนาประเทศ โดยอาจจะทยอยจัดเก็บภาษีก็ได้ ส่วนการยกเว้นการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลทำได้ โดยรัฐต้องหาเงินมาอุดหนุนแอลพีจีและเอ็นจีวี รวมถึงแก๊สโซฮอล์ เพื่อไม่ให้ราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในเบื้องต้นแหล่งเงินที่จัดหาเพื่ออุดหนุนราคาพลังงานคงมาจากการกู้ยืม จากนั้นรัฐคงต้องลดการอุดหนุนลงในระยะกลางและยาวเพื่อให้ราคาพลังงานสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง
ปัจจุบันไทยมีการใช้พลังงานอยู่ที่ 1.7 ล้านบาร์เรล/วัน คิดเป็นมูลค่าการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ 1.8-1.9 ล้านล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 20 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ทำให้การนำเข้าพลังงานเป็นสัดส่วนร้อยละ 10 ของจีดีพี หรือประมาณ 1 ล้านล้านบาทต่อปี
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า รัฐบาลชุดใหม่ควรมีการปรับโครงสร้างการอุดหนุนราคาพลังงานใหม่ทั้งหมด โดยเน้นอุดหนุนเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจริงและยากจน ไม่ใช่อุดหนุนทุกภาคส่วน เนื่องจากแนวโน้มราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งการอุดหนุนทำให้ประชาชนมีการใช้พลังงานไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ประเทศมีภาระการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศและต้องใช้เงินอุดหนุนเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ การชดเชยแอลพีจีในการตรึงราคาให้กับภาคครัวเรือนและขนส่ง มาจากเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้อุดหนุนการนำเข้าแอลพีจีปีละ 20,000 ล้านบาท และคาดว่าจะเพิ่มเป็นปีละ 30,000-40,000 ล้านบาทในอนาคต และส่วนหนึ่งการชดเชยมาจากโรงแยกก๊าชธรรมชาติและโรงกลั่นน้ำมันเที่ขายในราคาต่ำกว่าทุน อีกทั้งปตท.ต้องรับภาระการอุดหนุนราคาก๊าชธรรมชาติในรถยนต์ หรือ เอ็นจีวีตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบันแล้ว 30,000 ล้านบาท ซึ่งปริมาณการใช้เอ็นจีวีอยู่ที่กว่า 200 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน เป็นอันดับ 11 ของโลก และนับวันการใช้เอ็นจีวีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นผลจากการที่รัฐบาลได้มีการตรึงราคาไว้ที่ 8.50 บาท/กิโลกรัม ซึ่งการอุดหนุนราคาพลังงานของปตท.นี้ สุดท้ายปตท.นำเงินส่งเข้ารัฐในรูปเงินปันผลน้อยลงด้วย
ส่วนการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร เห็นว่ารัฐควรเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลเพื่อนำเม็ดเงินภาษีปีละกว่า 1แสนล้านบาทไปพัฒนาประเทศ โดยอาจจะทยอยจัดเก็บภาษีก็ได้ ส่วนการยกเว้นการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลทำได้ โดยรัฐต้องหาเงินมาอุดหนุนแอลพีจีและเอ็นจีวี รวมถึงแก๊สโซฮอล์ เพื่อไม่ให้ราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในเบื้องต้นแหล่งเงินที่จัดหาเพื่ออุดหนุนราคาพลังงานคงมาจากการกู้ยืม จากนั้นรัฐคงต้องลดการอุดหนุนลงในระยะกลางและยาวเพื่อให้ราคาพลังงานสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง
ปัจจุบันไทยมีการใช้พลังงานอยู่ที่ 1.7 ล้านบาร์เรล/วัน คิดเป็นมูลค่าการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ 1.8-1.9 ล้านล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 20 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ทำให้การนำเข้าพลังงานเป็นสัดส่วนร้อยละ 10 ของจีดีพี หรือประมาณ 1 ล้านล้านบาทต่อปี