คมสัน โพธิ์คง
สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศรับรองผู้สมัครรับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน ๓๕๘ คน เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ในจำนวนนี้แบ่งเป็น ผู้ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน ๒๔๙ คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน ๑๐๙ คน และมีการรอการประกาศผลการเลือกตั้ง(ภาษาของสื่อมวลชนเรียกว่า “แขวน”) จำนวน ๑๔๘ คน โดยในจำนวนนี้มีผู้สมัครคนสำคัญที่รอการประกาศผล และจะไปดำเนินการพิจารณาในเรื่องคัดค้านการเลือกตั้งต่อไปหลังจากการรับรองไปแล้ว(ภาษาสื่อมวลชน เรียกว่า “สอย”)
เมื่อพิจารณาไปแล้ว คงเกิดเรื่องจากการรับรองอีกแล้วครับ เป็นปัญหาสับสนในหลักการของการรับรองผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ปฏิบัติหน้าที่โดยถูกต้องตามหลักการตามมาตรา ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ และบทบัญญัติเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมเมื่อ ปีพ.ศ. ๒๕๕๔ หรือไม่ และถ้าไม่ถูกต้องควรต้องปฏิบัติอย่างไร ซึ่งผมจะแจกแจงในรายละเอียดให้ได้รับทราบดังนี้
๑.การรับรองผู้สมัครรับเลือกตั้งที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้กระทำเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เป็นการรับรองที่ไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
ตามมาตรา๑๒๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้กำหนดให้การประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกต้องกระทำภายในสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้ง จึงทำให้วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔ จึงเป็นวันสุดท้ายที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจะสามารถประกาศรับรองผลการเลือกตั้งได้ และเพราะเหตุใดในการร่างรัฐธรรมนูญจึงต้องบัญญัติให้มีการกำหนดระยะเวลาในการเปิดภาครั้งแรกไว้ ก็เนื่องมาจากที่คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดแรกดำเนินการตรวจสอบการเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความสุจริตและเที่ยงธรรมแต่นื่องจากใช้เวลาในการดำเนินการสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หลายครั้งจนไม่สามารถเปิดประชุมสภาครั้งแรกได้ เท่ากับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีกำหนดเวลาในการทำงานส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาที่ไม่อาจทำงานได้ จึงต้องกำหนดระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งภายหลังการเลือกตั้งให้พอเหมาะพอสม จึงกำหนดระยะเวลาการเปิดประชุมครั้งแรกเพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งได้รู้กรอบการปฏิบัติหน้าที่ของตน อย่างไรก็ตามการกำหนดกรอบดังกล่าวมิได้เป็นบทที่ขัดแย้งต่อการปฏิบัติหน้าที่ องคณะกรรมการการเลือกตั้งเพียงแต่เป็นบทเร่งรัดให้การปฏิบัติหน้าที่มิให้เนิ่นช้าออกไป อีกทั้งเป็นไปโดยสอดคล้องกับหลักการตามมาตรา ๒๓๖(๕)และมาตรา ๒๓๘ ของรัฐธรรมนูญแก่งราชอาณาจักรไทยและมาตรา ๑๐(๑๐)และ(๑๒) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่โดยพลันที่ดำเนินการเสร็จสิ้น ข้อกฎหมายดังกล่าวส่งผลให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีเวลาในการดำเนินการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อโต้แย้งได้จนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔เพื่อให้สามารถเปิดประชุมได้ในวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ (ครบ ๓๐ วัน ตามมาตรา ๑๒๗) แต่คณะกรรมการการเลือกตั้งกลับเร่งร้อนรับรองผู้สมัครรับเลือกตั้งภายหลังการเลือกตั้งเพียง ๗วัน โดยไม่ตอบว่าได้จัดการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยเรื่องร้องเรียนหลายประการที่ได้มีการร้องเรียนมาก่อนและระหว่างการเลือกตั้ง รวมถึงการคัดค้านการเลือกตั้งอีกหลายเรื่องที่มีการร้องเรียนมาก่อน นอกจากนี้ บางเรื่องเป็นเรื่องที่มีการร้องเรียนมาเป็นเวลานาน ก่อนการเลือกตั้งเสียอีกเช่นกรณีที่ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเข้ามามีส่วนในการบริหารและจัดการพรรคการเมืองอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๙๗ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๕๐ หรือกรณีของการกำหนดนโยบายที่เข้าลักษณะ “สัญญาว่าจะให้” ซึ่งเป้นวินิจฉัยในข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงที่รับรู้กันโดยทั่วไปและกระทำมาตลอดเวลาของการเลือกตั้งตั้งแต่วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ จนถึงวันเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ซึ่งเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่จะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จเสียก่อน เพราะส่งผลต่อการเลือกตั้งเป็นไปโดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรมอย่างเห็นได้ชัด หรือกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งไปวินิจฉัยการเลือกตั้งนอกเขตส่งผลให้เป็นการตัดสิทธิเลือกตั้งจำนวนมหาศาลไม่ต่ำกว่าสองล้านคน ส่งผลให้การเลือกตั้งมิได้เป็นโดยสุจริตและเที่ยงธรรมก็ไม่ได้รับการวินิจฉัยเสียก่อน ซึ่งประเด็นดังกล่าวล้วนแล้วแต่ส่งผลให้มีการเลือกตั้งใหม่ทั่วประเทศ ทั้งที่คณะกรรมการการเลือกตั้งยังมีเวลาถึง ๓๐ วันที่จะวินิจฉัยให้ครบถ้วนและเป็นไปโดยรอบคอบ เพราะการเร่งร้อนวินิจฉัยไปก่อนโดยที่ยังไม่ปรากฏการดำเนินการไม่ชี้แจงและไม่วินิจฉัยข้อร้องเรียนและคัดค้านการเลือกตั้งให้เสร็จสิ้นทั้งที่มีเวลาอีกประมาณ ๒๐ วัน เท่ากับเป็นการแสดงเจตนาที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย หากต่อมาสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดในภายหลังแล้วต้องสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ทั่วประเทศ จะทำอย่างไร ทำได้หรือไม่ เพราะบรรดา สส. และคณะรัฐมนตรีที่ได้รับผลกระทบให้ต้องพ้นจากตำแหน่งในภายหลังเขาจะยอมคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือไม่ หรือสุดท้ายเลยต้องยอมให้เข้าสู่ตำแหน่งโดยผิดกฎหมายไปเรื่อย ๆ เพราะในที่สุดไม่สามารถทำอะไรเพราะสภาพการเมืองบีบคั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งจะทำอย่างไร รับผิดชอบในสิ่งที่กระทำในวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ หรือไม่ หรือจะโทษว่ารัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างๆ ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งทั้งที่รู้อยู่แก่ใจว่าไม่ได้ดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนตามอำนาจหน้าที่ตามเป็นความจริงทั้งที่กรรมการการเลือกตั้งท่านหนึ่ง(นายวิสุทธิ์ โพธิแท่น)ทำการทักท้วงแล้ว “หลักนิติรัฐ” อยู่ที่ตรงไหนในการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งครับ
๒.การไม่รับรองผู้สมัคร กรณี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับแกนนำ นปช. ที่เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทย เมื่อเลยวันเลือกตั้งแล้ว เป็นกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การวินิจฉัยในเรื่องนี้อาจแบ่งได้เป็นสองส่วน คือ การวินิจฉัยการกระทำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่ามีการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายในเรื่องนโยบายของพรรคเพื่อไทยกับการให้ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเข้ามาช่วยดำเนินการหาเสียงเลือกตั้ง กับการวินิจฉัยเรื่องคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เป็นสมาชิก นปช.ทั้งหลาย ทั้งสองกรณีผมคาดว่าในที่สุด คณะกรรมการการเลือกตั้งคงต้องปล่อยให้มีการรับรองเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่อไป เพราะไปดูมติของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ ๗๐/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ลำดับที่ สส.ท ๘/๕๔ ซึ่งได้วินิจฉัยไปในเรื่องลักษณะเดียวกันแล้ว และไม่รับเรื่องคัดค้านการเลือกตั้งที่มีผู้ร้องในการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ ๒ จังหวัดสุรินทร์ รวมถึงเรื่องการผัดหมี่ของนางสาวยิ่งลักษณ์ฯ ก็วินิจฉัยไปแล้วในคราวเดียวกันตาม ลำดับที่ สส.ท ๖๓/๕๔ ส่วนเรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามก็เหมือนกับมีความเห็นไปแล้วว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีอำนาจหลังการเลือกตั้งต้องส่งสภาผุ้แทนราษฎรและศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย สำหรับกรณีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเพราะเหตุข้างต้น มีข้อสังเกตว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ไม่ใช่กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย หากเป็นเรื่องของการกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองที่มีปัญหาในเรื่องต่าง ๆเช่น เข้าลักษณะ “สัญญาว่าจะให้” และ ให้ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมากำหนดนโยบายเสมือนเป็นคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง และขัดต่อมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ คงต้องแขวนทั้งผู้สมัครที่เป็นกรรมการบริหารพรรค และผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหมด ไม่ใช่เพียงนางสาวยิ่งลักษณ์ฯ คนเดียวแล้วกรรมการบริหารพรรคคนอื่นหายไปไหนครับ เรื่องนี้หากดูไปแล้ว สงสัยว่าการวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งในวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ที่จะถึงคงจะปล่อยหมดแน่ๆ
๓.การสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่กรณีนายสมคิด บาลไธสง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง เขต ๒ พรรคเพื่อไทย จังหวัดขอนแก่น เป็นการสั่งที่ไม่ชอบด้วยมาตรา ๒๓๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๕๐
คณะกรรมการการเลือกตั้งได้วินิจฉัยให้มีการสั่งให้เลือกตั้งใหม่กรณีนายสมคิด บาลไธสง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง เขต ๒ จังหวัดหนองคาย ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบพิจารณาการให้ใบเหลืองด้วยมติเสียงข้างมาก พิจารณาให้ใบเหลือง ๓ คน ให้ใบแดง ๒ คน จากกรณีที่นายสมคิด จ่ายเงินให้กับผู้ขับขี่รถสามล้อ เพื่อขนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปฟังการปราศรัย โดยมีหลักฐานเป็นคลิปวีดีโอชัดเจน รวมถึงมีพยานเป็นกลุ่มคนเสื้อแดง(รายงานข่าวจากคมชัดลึก วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๑๕๕๔)จึงเป็นกรณีที่ปรากฏหลักฐานผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ทำให้การรับเลือกตั้งทั่วไปในครั้งนี้มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ต้องถูกดำเนินการตามมาตรา ๒๓๗ วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญ และมาตรา ๑๐๓ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งหากปรากฎหลักฐานว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งกระทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ต้องดำเนินการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง(ใบแดง)เป็นเวลาหนึ่งปี รวมทั้งสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่(ใบเหลือง) โดยผู้สมัครรับเลือกตั้งไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้เพราะต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง การสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่(ที่ไม่เป็นเอกฉันท์)โดยให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ถูกวินิจฉัยว่าทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม จึงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยหลักการของกฎหมาย
การรับรองผู้สมัครรับและเพิกถอนการเลือกตั้งแปลกๆ แบบนี้ สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น น่าจะจัดให้เป็นเรื่องแปลกเรื่องใหม่อันดับหนึ่งนะครับ
สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศรับรองผู้สมัครรับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน ๓๕๘ คน เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ในจำนวนนี้แบ่งเป็น ผู้ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน ๒๔๙ คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน ๑๐๙ คน และมีการรอการประกาศผลการเลือกตั้ง(ภาษาของสื่อมวลชนเรียกว่า “แขวน”) จำนวน ๑๔๘ คน โดยในจำนวนนี้มีผู้สมัครคนสำคัญที่รอการประกาศผล และจะไปดำเนินการพิจารณาในเรื่องคัดค้านการเลือกตั้งต่อไปหลังจากการรับรองไปแล้ว(ภาษาสื่อมวลชน เรียกว่า “สอย”)
เมื่อพิจารณาไปแล้ว คงเกิดเรื่องจากการรับรองอีกแล้วครับ เป็นปัญหาสับสนในหลักการของการรับรองผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ปฏิบัติหน้าที่โดยถูกต้องตามหลักการตามมาตรา ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ และบทบัญญัติเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมเมื่อ ปีพ.ศ. ๒๕๕๔ หรือไม่ และถ้าไม่ถูกต้องควรต้องปฏิบัติอย่างไร ซึ่งผมจะแจกแจงในรายละเอียดให้ได้รับทราบดังนี้
๑.การรับรองผู้สมัครรับเลือกตั้งที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้กระทำเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เป็นการรับรองที่ไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
ตามมาตรา๑๒๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้กำหนดให้การประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกต้องกระทำภายในสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้ง จึงทำให้วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔ จึงเป็นวันสุดท้ายที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจะสามารถประกาศรับรองผลการเลือกตั้งได้ และเพราะเหตุใดในการร่างรัฐธรรมนูญจึงต้องบัญญัติให้มีการกำหนดระยะเวลาในการเปิดภาครั้งแรกไว้ ก็เนื่องมาจากที่คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดแรกดำเนินการตรวจสอบการเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความสุจริตและเที่ยงธรรมแต่นื่องจากใช้เวลาในการดำเนินการสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หลายครั้งจนไม่สามารถเปิดประชุมสภาครั้งแรกได้ เท่ากับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีกำหนดเวลาในการทำงานส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาที่ไม่อาจทำงานได้ จึงต้องกำหนดระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งภายหลังการเลือกตั้งให้พอเหมาะพอสม จึงกำหนดระยะเวลาการเปิดประชุมครั้งแรกเพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งได้รู้กรอบการปฏิบัติหน้าที่ของตน อย่างไรก็ตามการกำหนดกรอบดังกล่าวมิได้เป็นบทที่ขัดแย้งต่อการปฏิบัติหน้าที่ องคณะกรรมการการเลือกตั้งเพียงแต่เป็นบทเร่งรัดให้การปฏิบัติหน้าที่มิให้เนิ่นช้าออกไป อีกทั้งเป็นไปโดยสอดคล้องกับหลักการตามมาตรา ๒๓๖(๕)และมาตรา ๒๓๘ ของรัฐธรรมนูญแก่งราชอาณาจักรไทยและมาตรา ๑๐(๑๐)และ(๑๒) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่โดยพลันที่ดำเนินการเสร็จสิ้น ข้อกฎหมายดังกล่าวส่งผลให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีเวลาในการดำเนินการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อโต้แย้งได้จนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔เพื่อให้สามารถเปิดประชุมได้ในวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ (ครบ ๓๐ วัน ตามมาตรา ๑๒๗) แต่คณะกรรมการการเลือกตั้งกลับเร่งร้อนรับรองผู้สมัครรับเลือกตั้งภายหลังการเลือกตั้งเพียง ๗วัน โดยไม่ตอบว่าได้จัดการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยเรื่องร้องเรียนหลายประการที่ได้มีการร้องเรียนมาก่อนและระหว่างการเลือกตั้ง รวมถึงการคัดค้านการเลือกตั้งอีกหลายเรื่องที่มีการร้องเรียนมาก่อน นอกจากนี้ บางเรื่องเป็นเรื่องที่มีการร้องเรียนมาเป็นเวลานาน ก่อนการเลือกตั้งเสียอีกเช่นกรณีที่ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเข้ามามีส่วนในการบริหารและจัดการพรรคการเมืองอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๙๗ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๕๐ หรือกรณีของการกำหนดนโยบายที่เข้าลักษณะ “สัญญาว่าจะให้” ซึ่งเป้นวินิจฉัยในข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงที่รับรู้กันโดยทั่วไปและกระทำมาตลอดเวลาของการเลือกตั้งตั้งแต่วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ จนถึงวันเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ซึ่งเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่จะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จเสียก่อน เพราะส่งผลต่อการเลือกตั้งเป็นไปโดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรมอย่างเห็นได้ชัด หรือกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งไปวินิจฉัยการเลือกตั้งนอกเขตส่งผลให้เป็นการตัดสิทธิเลือกตั้งจำนวนมหาศาลไม่ต่ำกว่าสองล้านคน ส่งผลให้การเลือกตั้งมิได้เป็นโดยสุจริตและเที่ยงธรรมก็ไม่ได้รับการวินิจฉัยเสียก่อน ซึ่งประเด็นดังกล่าวล้วนแล้วแต่ส่งผลให้มีการเลือกตั้งใหม่ทั่วประเทศ ทั้งที่คณะกรรมการการเลือกตั้งยังมีเวลาถึง ๓๐ วันที่จะวินิจฉัยให้ครบถ้วนและเป็นไปโดยรอบคอบ เพราะการเร่งร้อนวินิจฉัยไปก่อนโดยที่ยังไม่ปรากฏการดำเนินการไม่ชี้แจงและไม่วินิจฉัยข้อร้องเรียนและคัดค้านการเลือกตั้งให้เสร็จสิ้นทั้งที่มีเวลาอีกประมาณ ๒๐ วัน เท่ากับเป็นการแสดงเจตนาที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย หากต่อมาสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดในภายหลังแล้วต้องสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ทั่วประเทศ จะทำอย่างไร ทำได้หรือไม่ เพราะบรรดา สส. และคณะรัฐมนตรีที่ได้รับผลกระทบให้ต้องพ้นจากตำแหน่งในภายหลังเขาจะยอมคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือไม่ หรือสุดท้ายเลยต้องยอมให้เข้าสู่ตำแหน่งโดยผิดกฎหมายไปเรื่อย ๆ เพราะในที่สุดไม่สามารถทำอะไรเพราะสภาพการเมืองบีบคั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งจะทำอย่างไร รับผิดชอบในสิ่งที่กระทำในวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ หรือไม่ หรือจะโทษว่ารัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างๆ ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งทั้งที่รู้อยู่แก่ใจว่าไม่ได้ดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนตามอำนาจหน้าที่ตามเป็นความจริงทั้งที่กรรมการการเลือกตั้งท่านหนึ่ง(นายวิสุทธิ์ โพธิแท่น)ทำการทักท้วงแล้ว “หลักนิติรัฐ” อยู่ที่ตรงไหนในการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งครับ
๒.การไม่รับรองผู้สมัคร กรณี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับแกนนำ นปช. ที่เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทย เมื่อเลยวันเลือกตั้งแล้ว เป็นกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การวินิจฉัยในเรื่องนี้อาจแบ่งได้เป็นสองส่วน คือ การวินิจฉัยการกระทำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่ามีการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายในเรื่องนโยบายของพรรคเพื่อไทยกับการให้ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเข้ามาช่วยดำเนินการหาเสียงเลือกตั้ง กับการวินิจฉัยเรื่องคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เป็นสมาชิก นปช.ทั้งหลาย ทั้งสองกรณีผมคาดว่าในที่สุด คณะกรรมการการเลือกตั้งคงต้องปล่อยให้มีการรับรองเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่อไป เพราะไปดูมติของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ ๗๐/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ลำดับที่ สส.ท ๘/๕๔ ซึ่งได้วินิจฉัยไปในเรื่องลักษณะเดียวกันแล้ว และไม่รับเรื่องคัดค้านการเลือกตั้งที่มีผู้ร้องในการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ ๒ จังหวัดสุรินทร์ รวมถึงเรื่องการผัดหมี่ของนางสาวยิ่งลักษณ์ฯ ก็วินิจฉัยไปแล้วในคราวเดียวกันตาม ลำดับที่ สส.ท ๖๓/๕๔ ส่วนเรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามก็เหมือนกับมีความเห็นไปแล้วว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีอำนาจหลังการเลือกตั้งต้องส่งสภาผุ้แทนราษฎรและศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย สำหรับกรณีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเพราะเหตุข้างต้น มีข้อสังเกตว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ไม่ใช่กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย หากเป็นเรื่องของการกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองที่มีปัญหาในเรื่องต่าง ๆเช่น เข้าลักษณะ “สัญญาว่าจะให้” และ ให้ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมากำหนดนโยบายเสมือนเป็นคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง และขัดต่อมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ คงต้องแขวนทั้งผู้สมัครที่เป็นกรรมการบริหารพรรค และผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหมด ไม่ใช่เพียงนางสาวยิ่งลักษณ์ฯ คนเดียวแล้วกรรมการบริหารพรรคคนอื่นหายไปไหนครับ เรื่องนี้หากดูไปแล้ว สงสัยว่าการวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งในวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ที่จะถึงคงจะปล่อยหมดแน่ๆ
๓.การสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่กรณีนายสมคิด บาลไธสง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง เขต ๒ พรรคเพื่อไทย จังหวัดขอนแก่น เป็นการสั่งที่ไม่ชอบด้วยมาตรา ๒๓๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๕๐
คณะกรรมการการเลือกตั้งได้วินิจฉัยให้มีการสั่งให้เลือกตั้งใหม่กรณีนายสมคิด บาลไธสง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง เขต ๒ จังหวัดหนองคาย ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบพิจารณาการให้ใบเหลืองด้วยมติเสียงข้างมาก พิจารณาให้ใบเหลือง ๓ คน ให้ใบแดง ๒ คน จากกรณีที่นายสมคิด จ่ายเงินให้กับผู้ขับขี่รถสามล้อ เพื่อขนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปฟังการปราศรัย โดยมีหลักฐานเป็นคลิปวีดีโอชัดเจน รวมถึงมีพยานเป็นกลุ่มคนเสื้อแดง(รายงานข่าวจากคมชัดลึก วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๑๕๕๔)จึงเป็นกรณีที่ปรากฏหลักฐานผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ทำให้การรับเลือกตั้งทั่วไปในครั้งนี้มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ต้องถูกดำเนินการตามมาตรา ๒๓๗ วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญ และมาตรา ๑๐๓ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งหากปรากฎหลักฐานว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งกระทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ต้องดำเนินการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง(ใบแดง)เป็นเวลาหนึ่งปี รวมทั้งสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่(ใบเหลือง) โดยผู้สมัครรับเลือกตั้งไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้เพราะต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง การสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่(ที่ไม่เป็นเอกฉันท์)โดยให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ถูกวินิจฉัยว่าทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม จึงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยหลักการของกฎหมาย
การรับรองผู้สมัครรับและเพิกถอนการเลือกตั้งแปลกๆ แบบนี้ สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น น่าจะจัดให้เป็นเรื่องแปลกเรื่องใหม่อันดับหนึ่งนะครับ