ปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านที่อยู่อาศัยและอาคารธุรกิจ มีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าการใช้พลังงานไฟฟ้ารวมของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งนี้มีอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงถึง 67,000 ล้านหน่วยต่อปี หรือคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 2 แสนล้านบาท
จากเหตุดังกล่าวข้างต้นทำให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน จึงได้ริเริ่มโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในอาคารโดยการติดฉลากตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เจ้าของอาคารตระหนัก และทราบถึงภาวะและประสิทธิภาพการใช้พลังงานในเชิงรุก
ดร.ณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานมีภารกิจหลักในการจัดหา พัฒนา และบริหารจัดการพลังงาน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ รวมถึงการดำเนินการส่งเสริมการอนุรักษ์และประหยัดพลังงาน ทั้งในภาคครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ และภาคการขนส่ง ซึ่งโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในอาคารโดยการติดฉลาก เป็นหนึ่งในมาตรการเพื่อรณรงค์ให้เจ้าของอาคาร เจ้าของบ้านพักอาศัย ผู้ผลิตวัสดุอุปกรณ์ ผู้ซื้อหรือผู้เช่าอาคาร ตระหนักถึงคุณค่าในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม จนนำไปสู่บ้านและอาคารอนุรักษ์พลังงาน
ในปี 2554 มีบ้านและอาคารที่ได้รับการติดฉลากอนุรักษ์พลังงานจำนวนทั้งหมด 58 ราย โดยอยู่ในระดับดีเด่นจำนวน 2 ราย คือ อาคารเอนเนอร์ยีคอมเพล็กซ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานกระทรวงพลังงาน และบ้านของคุณทวีป อัศวแสงทอง ย่านจอมทอง สำหรับอาคารและบ้านที่ผ่านการประเมินจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้อย่างน้อยร้อยละ 15 ขึ้นไป และยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกได้อีกด้วย
นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กล่าวว่า ในปีนี้มีบ้านและอาคารที่ผ่านการประเมินและได้รับการติดฉลากจำนวน 58 ราย โดยแบ่งเป็นบ้านจำนวน 50 ราย และอาคารจำนวน 8 ราย ซึ่งบ้านและอาคารที่ได้รับการติดฉลากอาคารอนุรักษ์พลังงานนั้น มีการเลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงที่ช่วยลดการใช้พลังงานภายในบ้านและอาคารลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น การติดตั้งฉนวนกันความร้อน เพื่อป้องกันความร้อนเข้าสู่บ้านและอาคาร ทำให้ภายในตัวบ้านและอาคารไม่ร้อน เป็นการช่วยลดภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศ
นายไกรฤทธิ์ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า มูลค่าในการก่อสร้างบ้านอนุรักษ์พลังงานที่ได้รับฉลากจำนวน 50 ราย คิดเป็นมูลค่าการก่อสร้างกว่า 450 ล้านบาท โดยมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงและอุปกรณ์ประหยัดพลังงานที่มีมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 2.22 ของมูลค่าในการก่อสร้าง
และในส่วนของอาคารอนุรักษ์พลังงานที่ได้รับฉลากจำนวน 8 รายนั้น คิดเป็นมูลค่าการก่อสร้างอาคารกว่า 15,040 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงและอุปกรณ์ประหยัดพลังงานมูลค่ากว่า 379 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 2.45 ของมูลค่าในการก่อสร้าง
ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผลที่บ้านและอาคารจะประหยัดได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ซึ่งคิดเป็นมูลค่ากว่า 55 ล้านบาทต่อปีนั้น ถือว่าการเลือกใช้อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงและอุปกรณ์ประหยัดพลังงานมีความคุ้มค่าเป็นอย่างมาก เมื่อเทียบกับผลการประหยัดที่จะได้ในระยะยาว
สำหรับโครงการนี้ในปีต่อไปนั้น พพ. ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนส่งเสริมด้านพลังงานจะผลักดันให้ฉลากอาคารอนุรักษ์พลังงาน เป็นเครื่องหมายการันตีสำหรับบ้านและอาคารที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เพื่อให้ประเทศไทยเกิดการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในอนาคต
สำหรับฉลากอนุรักษ์พลังงานที่มอบให้แก่อาคารและบ้านที่เข้าร่วมโครงการ มีอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่ ฉลากอาคารอนุรักษ์พลังงาน และฉลากบ้านอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับเหมือนกัน คือ ระดับดี (สีทองแดง) ระดับดีมาก (สีเงิน) และระดับดีเด่น (สีทอง)
นอกจากนี้ พพ. ยังได้ดำเนินการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวิธีประหยัดพลังงานในอาคารตั้งแต่การออกแบบ การวางผังอาคาร การเลือกวัสดุก่อสร้าง การเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า พร้อมทั้งจัดทำแบบประเมินอาคาร และบ้านอยู่อาศัยประหยัดพลังงาน เพื่อประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร รวมทั้งชี้จุดบกพร่องที่ทำให้การใช้พลังงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
อย่างไรก็ตาม พพ. ยังมีบริการให้คำปรึกษาแนะนำแก่เจ้าของอาคารและบ้านอยู่อาศัย ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้สูงขึ้น เป็นการสร้างจิตสำนึกให้แก่ผู้ซื้อ หรือเจ้าของบ้าน หรืออาคารให้ตระหนักถึงการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นการยกย่องชื่นชมเจ้าของอาคารที่สามารถผ่านเกณฑ์ประเมินตามระดับคะแนนที่กำหนด ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้ข้อมูลการติดฉลากเป็นกลไกตลาดในระยะยาวที่จะผลักดันเรื่องการอนุรักษ์พลังงานให้เป็นไปอย่างยั่งยืน
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2553-8111 หรือที่ head@boi.go.th
จากเหตุดังกล่าวข้างต้นทำให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน จึงได้ริเริ่มโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในอาคารโดยการติดฉลากตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เจ้าของอาคารตระหนัก และทราบถึงภาวะและประสิทธิภาพการใช้พลังงานในเชิงรุก
ดร.ณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานมีภารกิจหลักในการจัดหา พัฒนา และบริหารจัดการพลังงาน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ รวมถึงการดำเนินการส่งเสริมการอนุรักษ์และประหยัดพลังงาน ทั้งในภาคครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ และภาคการขนส่ง ซึ่งโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในอาคารโดยการติดฉลาก เป็นหนึ่งในมาตรการเพื่อรณรงค์ให้เจ้าของอาคาร เจ้าของบ้านพักอาศัย ผู้ผลิตวัสดุอุปกรณ์ ผู้ซื้อหรือผู้เช่าอาคาร ตระหนักถึงคุณค่าในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม จนนำไปสู่บ้านและอาคารอนุรักษ์พลังงาน
ในปี 2554 มีบ้านและอาคารที่ได้รับการติดฉลากอนุรักษ์พลังงานจำนวนทั้งหมด 58 ราย โดยอยู่ในระดับดีเด่นจำนวน 2 ราย คือ อาคารเอนเนอร์ยีคอมเพล็กซ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานกระทรวงพลังงาน และบ้านของคุณทวีป อัศวแสงทอง ย่านจอมทอง สำหรับอาคารและบ้านที่ผ่านการประเมินจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้อย่างน้อยร้อยละ 15 ขึ้นไป และยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกได้อีกด้วย
นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กล่าวว่า ในปีนี้มีบ้านและอาคารที่ผ่านการประเมินและได้รับการติดฉลากจำนวน 58 ราย โดยแบ่งเป็นบ้านจำนวน 50 ราย และอาคารจำนวน 8 ราย ซึ่งบ้านและอาคารที่ได้รับการติดฉลากอาคารอนุรักษ์พลังงานนั้น มีการเลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงที่ช่วยลดการใช้พลังงานภายในบ้านและอาคารลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น การติดตั้งฉนวนกันความร้อน เพื่อป้องกันความร้อนเข้าสู่บ้านและอาคาร ทำให้ภายในตัวบ้านและอาคารไม่ร้อน เป็นการช่วยลดภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศ
นายไกรฤทธิ์ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า มูลค่าในการก่อสร้างบ้านอนุรักษ์พลังงานที่ได้รับฉลากจำนวน 50 ราย คิดเป็นมูลค่าการก่อสร้างกว่า 450 ล้านบาท โดยมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงและอุปกรณ์ประหยัดพลังงานที่มีมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 2.22 ของมูลค่าในการก่อสร้าง
และในส่วนของอาคารอนุรักษ์พลังงานที่ได้รับฉลากจำนวน 8 รายนั้น คิดเป็นมูลค่าการก่อสร้างอาคารกว่า 15,040 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงและอุปกรณ์ประหยัดพลังงานมูลค่ากว่า 379 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 2.45 ของมูลค่าในการก่อสร้าง
ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผลที่บ้านและอาคารจะประหยัดได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ซึ่งคิดเป็นมูลค่ากว่า 55 ล้านบาทต่อปีนั้น ถือว่าการเลือกใช้อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงและอุปกรณ์ประหยัดพลังงานมีความคุ้มค่าเป็นอย่างมาก เมื่อเทียบกับผลการประหยัดที่จะได้ในระยะยาว
สำหรับโครงการนี้ในปีต่อไปนั้น พพ. ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนส่งเสริมด้านพลังงานจะผลักดันให้ฉลากอาคารอนุรักษ์พลังงาน เป็นเครื่องหมายการันตีสำหรับบ้านและอาคารที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เพื่อให้ประเทศไทยเกิดการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในอนาคต
สำหรับฉลากอนุรักษ์พลังงานที่มอบให้แก่อาคารและบ้านที่เข้าร่วมโครงการ มีอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่ ฉลากอาคารอนุรักษ์พลังงาน และฉลากบ้านอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับเหมือนกัน คือ ระดับดี (สีทองแดง) ระดับดีมาก (สีเงิน) และระดับดีเด่น (สีทอง)
นอกจากนี้ พพ. ยังได้ดำเนินการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวิธีประหยัดพลังงานในอาคารตั้งแต่การออกแบบ การวางผังอาคาร การเลือกวัสดุก่อสร้าง การเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า พร้อมทั้งจัดทำแบบประเมินอาคาร และบ้านอยู่อาศัยประหยัดพลังงาน เพื่อประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร รวมทั้งชี้จุดบกพร่องที่ทำให้การใช้พลังงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
อย่างไรก็ตาม พพ. ยังมีบริการให้คำปรึกษาแนะนำแก่เจ้าของอาคารและบ้านอยู่อาศัย ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้สูงขึ้น เป็นการสร้างจิตสำนึกให้แก่ผู้ซื้อ หรือเจ้าของบ้าน หรืออาคารให้ตระหนักถึงการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นการยกย่องชื่นชมเจ้าของอาคารที่สามารถผ่านเกณฑ์ประเมินตามระดับคะแนนที่กำหนด ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้ข้อมูลการติดฉลากเป็นกลไกตลาดในระยะยาวที่จะผลักดันเรื่องการอนุรักษ์พลังงานให้เป็นไปอย่างยั่งยืน
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2553-8111 หรือที่ head@boi.go.th