ASTVผู้จัดการรายวัน - “พลัส” สบช่องพลังงานแพงเปิดบริการบริหารจัดการด้านพลังงานตั้งแต่เริ่มออกแบบอาคาร จนถึงอาคารเก่า ระบะช่วยลดค่าไฟฟ้าเจ้าของอาคารได้ถึง 10% เชื่อลูกค้าสนใจคาดหนุนรายได้โต 10% จากปี 53
นายชาญ ศิริรัตน์ ผ็ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานบริหารทรัพย์ยากรอาคารและฝ่ายวิศวกรรม บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์พลังงานโลก แนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเสี่ยงต่อการขาดแคลนพลังงาน ทำให้ราคาปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่คาดการณ์ว่าจะแกว่งตัวอยู่ที่ระดับ 100 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ขณะที่ในความเป็นจริงน่าจะอยู่ที่ประมาณ 90 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
ดังนั้น การประหยัดพลังงานและการหาวิธีการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานจึงสิ่งสำคัญสำหรับภาคธุรกิจ โดยในต่างประเทศได้ให้ความสำคัญต่ออาคารประหยัดพลังงาน โดยกำหนดมาตรฐานการให้คะแนนเกี่ยวกับประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคาร ซึ่งอาคารใดผ่านเกณฑ์มาตรฐานก็จะได้รับข้อยกเว้นหรือสิทธิพิเศษด้านภาษี เช่น LEED ในสหรัฐอเมริกา ที่นิยมใช้มากที่สุด ซึ่งในประเทศไทยอยู่ระหว่างการร่างมาตรการอาคารเขียว โดยใช้แนวทางของ LEED เป็นต้นแบบ คาดว่าจะสามารถนำมาใช้ได้ในเร็วๆนี้ ส่วนจะได้รับยกเว้นหรือส่วนลดด้านภาษีหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล แต่ที่สำคัญจะได้รับการยอมรับ และความเชื่อถือทั้งจากชาวไทยและต่างชาต
ทั้งนี้ การลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ต้องใช้ระบบในการบริหารจัดการ การเก็บสถิติ ที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ จึงจะสามารถลดการใช้พลังงานได้อย่างถูกจุด ไม่ลงทุนโดยเปล่าประโยชน์ จากการศึกษาการใช้พลังงานภายในอาคารพบว่า ระบบปรับอากาศมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 53.8% ของค่าพลังงานทั้งหมด รองลงมาคือ อุปกรณ์สำนักงาน 14.84% ระบบแสงสว่าง 12.33% ระบบลิฟต์ 2.74% และอื่นๆ 15.58% ตัวเลขดังกล่าวจะทำให้สามารถบริหารจัดการค่าไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น
จากประสบการณ์ในการบริหารอาคารมาเป็นเวลานาน พลัสจึงได้เพิ่มบริหาร การบริหารจัดการด้านพลังงานให้แก่เจ้าของอาคารเพื่อลดค่าใช้จ่าย โดยให้คำปรึกษาตั้งแต่เริ่มออกแบบอาคาร วิเคราะห์และประมวลผลอย่างละเอียด ในกรณีที่เป็นอาคารเก่าจะเข้าไปศึกษาถึงพฤติกรรม รายละเอียด ระดับการใช้พลังงาน (ราคาไฟฟ้าต่อหน่วย ดัชนีการใช้พลังงาน) และสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าของอาคาร นั้นๆ
ทั้งนี้การจัดการด้านพลังงานสามารถทำใด้หลายแนวทาง โดยแบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ ระยะสั้น ความคุมปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดของพลังงาน ซึ่งจะช่วยประหยัดได้ถึง 5-10% เน้นการดูแลบำรุงรักษา, ระยะกลาง จะเป็นการลงทุนปรับ และเสริมอุปกรณ์บางส่วน เช่นหลอดไฟประหยัดพลังงาน โดยจะต้องคืนทุนภายใน 1-2 ปี และระยะยาว เปลี่ยนหรือติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ ใช้เทคโนโลยีการประหยัดพลังงานลงทุนมาก โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาและวิเคราะห์ทางการเงินอย่างละเอียด โดยจะต้องคืนทุนมากกว่า 5 ปี
นายชาญ กล่าวต่อว่า การเพิ่มบริการดังกล่าวจะช่วยให้บริษัทมีการเติบโตเพิ่มขึ้นประมาณ 10% จากปีที่ผ่านมา โดยปัจจุบันมีเจ้าของอาคารอยู่ระหว่างเจรจาให้พลัสบริหารด้านพลังงานให้ 2 อาคาร ส่วนรายได้รายได้รวมปีที่ผ่านมาจำนวน 300 ล้านบาท แบ่งเป็น รายได้จากการบริหารอาคาร 100 ล้านบาท , รายได้จากการเป็นตัวแทน ซื้อ - ขาย- เช่า อสังหาริมทรัพย์ และบริหารงานขายสินทรัพย์ (เอเจนซี่) 194 ล้านบาท และรายได้จากการบริหารอาคารที่พักอาศัย 193.5 ล้านบาท
ปัจจุบันมีจำนวนอาคาร ในเขต CBD ของกรุงเทพฯ 345 อาคาร โดยพลัสบริหารจำนวน 30 อาคาร พื้นที่รวม 1.5 ล้านตารางเมตร ในปี 2553 มีอุปทานสะสมเติบโตขึ้นเล็กน้อย 2% มาอยู่ที่ 7.713 ล้านตารางเมตร และคาดว่าในอนาคตยังมีอุปทานใหม่เตรียมเปิดตัวอีกกว่า 470,000 ตารางเมตร ซึ่งจะทำให้พื้นที่อาคารสำนักงานสะสมเติบโตขึ้นอีก 6% เมื่อเทียบกับปัจจุบัน
นายชาญ ศิริรัตน์ ผ็ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานบริหารทรัพย์ยากรอาคารและฝ่ายวิศวกรรม บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์พลังงานโลก แนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเสี่ยงต่อการขาดแคลนพลังงาน ทำให้ราคาปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่คาดการณ์ว่าจะแกว่งตัวอยู่ที่ระดับ 100 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ขณะที่ในความเป็นจริงน่าจะอยู่ที่ประมาณ 90 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
ดังนั้น การประหยัดพลังงานและการหาวิธีการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานจึงสิ่งสำคัญสำหรับภาคธุรกิจ โดยในต่างประเทศได้ให้ความสำคัญต่ออาคารประหยัดพลังงาน โดยกำหนดมาตรฐานการให้คะแนนเกี่ยวกับประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคาร ซึ่งอาคารใดผ่านเกณฑ์มาตรฐานก็จะได้รับข้อยกเว้นหรือสิทธิพิเศษด้านภาษี เช่น LEED ในสหรัฐอเมริกา ที่นิยมใช้มากที่สุด ซึ่งในประเทศไทยอยู่ระหว่างการร่างมาตรการอาคารเขียว โดยใช้แนวทางของ LEED เป็นต้นแบบ คาดว่าจะสามารถนำมาใช้ได้ในเร็วๆนี้ ส่วนจะได้รับยกเว้นหรือส่วนลดด้านภาษีหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล แต่ที่สำคัญจะได้รับการยอมรับ และความเชื่อถือทั้งจากชาวไทยและต่างชาต
ทั้งนี้ การลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ต้องใช้ระบบในการบริหารจัดการ การเก็บสถิติ ที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ จึงจะสามารถลดการใช้พลังงานได้อย่างถูกจุด ไม่ลงทุนโดยเปล่าประโยชน์ จากการศึกษาการใช้พลังงานภายในอาคารพบว่า ระบบปรับอากาศมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 53.8% ของค่าพลังงานทั้งหมด รองลงมาคือ อุปกรณ์สำนักงาน 14.84% ระบบแสงสว่าง 12.33% ระบบลิฟต์ 2.74% และอื่นๆ 15.58% ตัวเลขดังกล่าวจะทำให้สามารถบริหารจัดการค่าไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น
จากประสบการณ์ในการบริหารอาคารมาเป็นเวลานาน พลัสจึงได้เพิ่มบริหาร การบริหารจัดการด้านพลังงานให้แก่เจ้าของอาคารเพื่อลดค่าใช้จ่าย โดยให้คำปรึกษาตั้งแต่เริ่มออกแบบอาคาร วิเคราะห์และประมวลผลอย่างละเอียด ในกรณีที่เป็นอาคารเก่าจะเข้าไปศึกษาถึงพฤติกรรม รายละเอียด ระดับการใช้พลังงาน (ราคาไฟฟ้าต่อหน่วย ดัชนีการใช้พลังงาน) และสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าของอาคาร นั้นๆ
ทั้งนี้การจัดการด้านพลังงานสามารถทำใด้หลายแนวทาง โดยแบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ ระยะสั้น ความคุมปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดของพลังงาน ซึ่งจะช่วยประหยัดได้ถึง 5-10% เน้นการดูแลบำรุงรักษา, ระยะกลาง จะเป็นการลงทุนปรับ และเสริมอุปกรณ์บางส่วน เช่นหลอดไฟประหยัดพลังงาน โดยจะต้องคืนทุนภายใน 1-2 ปี และระยะยาว เปลี่ยนหรือติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ ใช้เทคโนโลยีการประหยัดพลังงานลงทุนมาก โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาและวิเคราะห์ทางการเงินอย่างละเอียด โดยจะต้องคืนทุนมากกว่า 5 ปี
นายชาญ กล่าวต่อว่า การเพิ่มบริการดังกล่าวจะช่วยให้บริษัทมีการเติบโตเพิ่มขึ้นประมาณ 10% จากปีที่ผ่านมา โดยปัจจุบันมีเจ้าของอาคารอยู่ระหว่างเจรจาให้พลัสบริหารด้านพลังงานให้ 2 อาคาร ส่วนรายได้รายได้รวมปีที่ผ่านมาจำนวน 300 ล้านบาท แบ่งเป็น รายได้จากการบริหารอาคาร 100 ล้านบาท , รายได้จากการเป็นตัวแทน ซื้อ - ขาย- เช่า อสังหาริมทรัพย์ และบริหารงานขายสินทรัพย์ (เอเจนซี่) 194 ล้านบาท และรายได้จากการบริหารอาคารที่พักอาศัย 193.5 ล้านบาท
ปัจจุบันมีจำนวนอาคาร ในเขต CBD ของกรุงเทพฯ 345 อาคาร โดยพลัสบริหารจำนวน 30 อาคาร พื้นที่รวม 1.5 ล้านตารางเมตร ในปี 2553 มีอุปทานสะสมเติบโตขึ้นเล็กน้อย 2% มาอยู่ที่ 7.713 ล้านตารางเมตร และคาดว่าในอนาคตยังมีอุปทานใหม่เตรียมเปิดตัวอีกกว่า 470,000 ตารางเมตร ซึ่งจะทำให้พื้นที่อาคารสำนักงานสะสมเติบโตขึ้นอีก 6% เมื่อเทียบกับปัจจุบัน