"ปานเทพ" ชี้ไทยพลาดมหันต์ที่ไม่ฏิเสธอำนาจศาลโลกจวก"ชวนนท์" ผิดคิว รีบประกาศยอมรับคำตัดสินของศาลโลก ซัด"มาร์ค"แค่เลื่อนถกแผนบริหารมรดกโลก แค่ปัดสวะให้พ้นตัว ด้าน"บัวแก้ว"ทวิตแจงคำให้การทูตไทยต่อศาลโลก "มาร์ค"ลั่น จุดยืนไทยเรื่องปราสาทพระวิหาร ชัดเจน หวังจะได้รับข่าวดีจากการตัดสินของศาลโลก
วานนี้ ( 1 มิ.ย. ) นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงการชี้แจงของฝ่ายไทย ในการไต่สวนของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ต่อกรณีที่กัมพูชายื่นคำร้องให้ศาลตีความคำตัดสินปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 และขอให้ออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวว่า การต่อสู้ของฝ่ายไทยมีแนวทางใกล้เคียงกับการปราศรัยของเวทีพันธมิตรฯ และข้อเสนอแนะของภาคประชาชนเกือบทั้งหมด เหลือเพียงการประกาศไม่ยอมรับอำนาจของศาลโลกเพียงประเด็นเดียวเท่านั้น ที่ไม่มีการหยิบยกขึ้นมาใช้ ซึ่งอาจส่งผลให้ไทยมีความเสี่ยงไม่ว่าศาลโลกจะวินิจฉัยเป็นคุณ หรือเป็นโทษก็ตาม
อัด"ชวนนท์"รีบยอมรับอำนาจศาลโลก
นายปานเทพ กล่าวถึงกรณีนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรมว.ต่างประเทศ ระบุภายหลังการชี้แจงทั้ง 2 วันว่า ฝ่ายไทยได้ทำหน้าที่ดีที่สุดแล้ว ที่เหลือขึ้นอยู่กับคำตัดสินของศาลโลกนั้น ถือว่าเป็นทัศนคติที่อันตรายอย่างยิ่ง ที่ไปให้การยอมรับอำนาจของศาลโลก เช่นเดียวกับที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ระบุว่า จะมีข่าวดี ในกรณีที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้เจรจามรดกโลกฝ่ายไทย ที่ได้เตรียมการประสานงานเพื่อร่างญัตติ ขอเลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารออกไป ประเด็นนี้ตนขอย้ำว่า ไม่ใช่หนทางแก้ปัญหา เพราะอย่าลืมว่าคณะกรรมการมรดกโลกได้มีมติอนุมัติให้ปราสาทพระวิหาร และพื้นที่รอบๆ เป็นมรดกโลกไปแล้ว เหลือเพียงขั้นตอนการพิจารณาแผนบริหารจัดการเท่านั้น
การที่รัฐบาลชุดนี้เดินหน้าให้มีการเลื่อนการพิจารณา ก็ไม่ต่างจากการปัดสวะให้แก่รัฐบาลชุดต่อไป ซึ่งคาดว่าจะมาจากพรรคเพื่อไทยที่เคยมีส่วนในการสนับสนุนกัมพูชาในการขึ้นทะเบียนมรดกโลก จึงมีโอกาสที่รัฐบาลชุดหน้าจะต่อยอดสนับสนุนกัมพูชาให้ขึ้นทะเบียนได้สำเร็จ โดยที่รัฐบาลนี้ ไม่ได้พยายามยับยั้งขัดขวางไว้เลย
ชี้มหาอำนาจฮั้วเขมรยึดดินแดนไทย
ด้านนายประพันธ์ คูณมี โฆษกคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักร กล่าวว่า การที่รัฐบาลไทยแต่งตั้งทนายชาวต่างชาติ 3 คน และยอมเข้าสู่กระบวนการของศาลโลกถือว่าเป็นการยอมรับอำนาจของศาลโลกไปแล้ว ทั้งที่ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในฐานะที่ต้องยอมรับอำนาจของศาลโลกมาเป็นเวลานาน แต่รัฐบาลนี้กลับยอมรับ หลังจากที่กัมพูชาไปยื่นคำร้อง ถือเป็นความผิดพลาดของรัฐบาลอีกครั้ง เพราะการเข้าสู่กระบวนการทำให้ไทยเสียเปรียบไปโดยปริยาย
"ในความเป็นจริงศาลโลกไม่มีอำนาจหยิบยกคดีนี้ขึ้นมาพิจารณาอีก เนื่องจากการวินิจฉัยได้สิ้นสุดไปแล้ว แต่ประเทศมหาอำนาจที่ครอบงำศาลโลกอยู่ มีการจับมือสมคบกับฝ่ายกัมพูชา อาศัยลูกมั่ว นำคดีขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง แสดงให้เห็นว่ามีการฮั้วกันระหว่างศาลโลกกับกัมพูชา เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วไทยก็ยิ่งไม่ควรเข้าไปร่วมด้วย รัฐบาลกลับโง่ซ้ำซาก เล่นไปตามเกมของกัมพูชา" นายประพันธ์ กล่าว
เปิดคำให้การของฝ่ายไทยต่อศาลโลก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 08.30 น. วานนี้ (1 มิ.ย.) กระทรวงการต่างประเทศ ได้ทวิตข้อความ ผ่านเว็บไซต์ www.twitter.com ภายใต้ชื่อ @ MFAThai_PR_TH เพื่อชี้แจงถึงการเข้าให้ข้อมูลต่อศาลโลกของไทยว่า
" เมื่อวันที่ 31 พ.ค. เวลา 17.00-18.00 น. ณ กรุงเฮก คณะดำเนินคดีฝ่ายไทยชี้แจงศาลโลกตอบโต้คำขอกัมพูชาให้มีมาตรการชั่วคราว บริเวณปราสาทพระวิหารเป็นวันที่สอง
1. นายวีรชัย ( พลาศรัย ) เอกอัครราชทูตไทย ย้ำท่าทีของไทยมีความสม่ำเสมอและต่อเนื่องไทยยอมรับและได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 อย่างครบถ้วนแล้ว ซึ่งกัมพูชาก็ยอมรับ
2. ไทยย้ำศาลโลกไม่ได้ตัดสินเกี่ยวกับเส้นเขตแดน และต้องเจรจาต่อไป โดยมีกลไกในกรอบทวิภาคีดำเนินการ
3. การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ต้องมีพื้นที่บริหารจัดการอยู่ในไทย การที่ กัมพูชาปฏิเสธขึ้นทะเบียนร่วม เป็นที่มาของการยื่นคำร้องต่อศาลของกัมพูชา
4. เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ยืนยันไทยจริงใจในการดำเนินความสัมพันธ์กับกัมพูชาบนพื้นฐานของความเท่าเทียม ไม่ได้เป็นการรังแกโดยประเทศใหญ่ตามที่กัมพูชาพยายามสร้างภาพ
5.ไทยไม่ประสงค์ให้ปราสาทพระวิหารเสียหาย แต่การใช้กำลัง เป็นไปเพื่อป้องกันตนเอง ย้ำกัมพูชาใช้ปราสาทพระวิหารเป็นฐานโจมตีไทย ละเมิดอนุสัญญากรุงเฮก ปี 1954
6. เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ตอบโต้กัมพูชาว่า ไทยเป็นประชาธิปไตย การเมืองภายในของไทยไม่มีความเกี่ยวข้องแต่อย่างใดกับประเด็นที่ศาลกำลังพิจารณา
7. ไทยชี้แจงว่า ประชาชนชาวกัมพูชาเพิ่งอพยพย้ายเข้าไปอยู่ในบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง
8. ไทยย้ำความขัดแย้งเสี่ยงจะทวีความรุนแรงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับกัมพูชาที่เป็นฝ่ายเริ่มโจมตี และขยายความขัดแย้งจากบริเวณปราสาทพระวิหาร ไปยังพื้นที่อื่น
9. เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก เน้นการที่มีเหตุการณ์ปะทะเกิดขึ้นในบริเวณอื่น ไม่เป็นเหตุให้ศาลต้องพิจารณามีคำสั่งมาตรการชั่วคราวบริเวณปราสาทพระวิหาร
10. ไทยไม่ได้ปิดประตูต่อบทบาทสนับสนุนของฝ่ายที่สาม ในการแก้ไขปัญหา โดยได้ให้ข้อมูลแก่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และร่วมประชุมแข็งขันในกรอบอาเซียน
11. เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ชี้ไทยกับกัมพูชาไม่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลโลก พ.ศ. 2505 คำขอตีความของกัมพูชาเป็นการขอให้ศาลตัดสินประเด็นที่ไม่ได้ตัดสินไว้เดิม
12. เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก กล่าวสรุปคำขอของไทยต่อศาลโลก คือ ขอให้ศาลจำหน่ายคดีออกจากสารบบ "
ศาลโลกยังไม่ได้กำหนดวันตัดสิน
ทั้งนี้ในช่วงเย็นวันที่ 31 พ.ค. บรรดาผู้พิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ณ กรุงเฮก ได้เริ่มพิจารณาคำร้องของฝ่ายกัมพูชา ที่ขอให้ตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ.2505 และขอให้การคุ้มครองชั่วคราว ตลอดจนสั่งให้ไทยถอนทหารออกจากพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร หลังจากทั้งสองฝ่ายได้ให้คำชี้แจงในวันจันทร์และอังคารที่ผ่านมา แต่ศาลยังไม่ได้แจ้งกำหนดวันอ่านคำตัดสิน นอกจากบอกเพียงว่า จะมีการประกาศกำหนดวันตัดสิน เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม
นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ศาลโลกได้สอบถามถึงผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชาหลังเกิดเหตุปะทะในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา และต้องการทราบว่าทั้งสองประเทศมีการเคลื่อนย้ายประชาชนออกจากพื้นที่มากน้อยแค่ไหนอย่างไร รวมทั้งประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างไร
ทั้งนี้ศาลโลกได้ให้ไทยและกัมพูชาทำหนังสือชี้แจงเรื่องดังกล่าวกลับมายังศาลโลกภายในวันที่ 7 มิ.ย.นี้ จากนั้นศาลจะนำคำชี้แจงส่งให้อีกฝ่ายหนึ่งพิจารณาและส่งคำชี้แจงกลับมาอีกครั้งภายในวันที่ 14 มิ.ย.นี้
"มาร์ค"หวังจะมีข่าวดี
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีความคืบหน้า คดีปราสาทพระวิหารหลังจากที่มีการแถลงไปเรียบร้อยแล้วว่า การแถลงของทั้ง 2 ฝ่ายได้สิ้นสุดลงแล้ว ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับการนัดหมายอีกครั้งหนึ่ง ในการที่จะมีการวินิจฉัยในเรื่องของมาตรการชั่วคราว แต่ตนคิดว่าจุดยืนของประเทศไทย ที่ได้แสดงไปนั้นชัดเจนว่าเรื่องที่กัมพูชาเสนอขึ้นไปนั้น ไม่มีเหตุมีผล เพราะว่าไม่สามารถไปยื่นคดีใหม่ได้ ส่วนเรื่องเก่านั้น ประเทศไทยได้ปฏิบัติมาตั้งแต่ปี 2505 ไม่มีใครโต้แย้งมา 50 ปี ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันดีอยู่แล้ว แต่ว่าเป็นความพยายาม และทางกัมพูชา ก็พูดเกินเลยไปจนถึงที่อื่นหมด
เมื่อถามว่า ทางศาลโลกอาจใช้เวลาในการพิจารณาประมาณ 3 สัปดาห์ คิดว่าหลังจากนี้จะเป็นข่าวดีสำหรับประเทศไทยหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ตนตั้งใจจะฟังข่าวดี และคิดว่า เหตุผลของทางฝ่ายไทยก็มีความชัดเจนดี ซึ่งโอกาสที่จะเป็นข่าวดีนั้น ตนไม่ได้อยู่ในฐานที่จะประเมิน ตนคิดว่าด้วยเหตุด้วยผลทุกประการของฝ่ายไทย มีความชัดเจน ทั้งในข้อเท็จจริง และในข้อกฎหมาย อย่างไรก็ตาม เราต้องรักษาผลประโยชน์ของเราอย่างแน่นอน
เมื่อถามว่าที่ศาลโลกจะเป็นการจบปัญหาระหว่างไทย-กัมพูชาได้ด้วยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัย ทั้งตัวมาตรการชั่วคราว และตัวคดีหลัก เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องของมาตรการชั่วคราว
วานนี้ ( 1 มิ.ย. ) นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงการชี้แจงของฝ่ายไทย ในการไต่สวนของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ต่อกรณีที่กัมพูชายื่นคำร้องให้ศาลตีความคำตัดสินปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 และขอให้ออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวว่า การต่อสู้ของฝ่ายไทยมีแนวทางใกล้เคียงกับการปราศรัยของเวทีพันธมิตรฯ และข้อเสนอแนะของภาคประชาชนเกือบทั้งหมด เหลือเพียงการประกาศไม่ยอมรับอำนาจของศาลโลกเพียงประเด็นเดียวเท่านั้น ที่ไม่มีการหยิบยกขึ้นมาใช้ ซึ่งอาจส่งผลให้ไทยมีความเสี่ยงไม่ว่าศาลโลกจะวินิจฉัยเป็นคุณ หรือเป็นโทษก็ตาม
อัด"ชวนนท์"รีบยอมรับอำนาจศาลโลก
นายปานเทพ กล่าวถึงกรณีนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรมว.ต่างประเทศ ระบุภายหลังการชี้แจงทั้ง 2 วันว่า ฝ่ายไทยได้ทำหน้าที่ดีที่สุดแล้ว ที่เหลือขึ้นอยู่กับคำตัดสินของศาลโลกนั้น ถือว่าเป็นทัศนคติที่อันตรายอย่างยิ่ง ที่ไปให้การยอมรับอำนาจของศาลโลก เช่นเดียวกับที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ระบุว่า จะมีข่าวดี ในกรณีที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้เจรจามรดกโลกฝ่ายไทย ที่ได้เตรียมการประสานงานเพื่อร่างญัตติ ขอเลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารออกไป ประเด็นนี้ตนขอย้ำว่า ไม่ใช่หนทางแก้ปัญหา เพราะอย่าลืมว่าคณะกรรมการมรดกโลกได้มีมติอนุมัติให้ปราสาทพระวิหาร และพื้นที่รอบๆ เป็นมรดกโลกไปแล้ว เหลือเพียงขั้นตอนการพิจารณาแผนบริหารจัดการเท่านั้น
การที่รัฐบาลชุดนี้เดินหน้าให้มีการเลื่อนการพิจารณา ก็ไม่ต่างจากการปัดสวะให้แก่รัฐบาลชุดต่อไป ซึ่งคาดว่าจะมาจากพรรคเพื่อไทยที่เคยมีส่วนในการสนับสนุนกัมพูชาในการขึ้นทะเบียนมรดกโลก จึงมีโอกาสที่รัฐบาลชุดหน้าจะต่อยอดสนับสนุนกัมพูชาให้ขึ้นทะเบียนได้สำเร็จ โดยที่รัฐบาลนี้ ไม่ได้พยายามยับยั้งขัดขวางไว้เลย
ชี้มหาอำนาจฮั้วเขมรยึดดินแดนไทย
ด้านนายประพันธ์ คูณมี โฆษกคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักร กล่าวว่า การที่รัฐบาลไทยแต่งตั้งทนายชาวต่างชาติ 3 คน และยอมเข้าสู่กระบวนการของศาลโลกถือว่าเป็นการยอมรับอำนาจของศาลโลกไปแล้ว ทั้งที่ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในฐานะที่ต้องยอมรับอำนาจของศาลโลกมาเป็นเวลานาน แต่รัฐบาลนี้กลับยอมรับ หลังจากที่กัมพูชาไปยื่นคำร้อง ถือเป็นความผิดพลาดของรัฐบาลอีกครั้ง เพราะการเข้าสู่กระบวนการทำให้ไทยเสียเปรียบไปโดยปริยาย
"ในความเป็นจริงศาลโลกไม่มีอำนาจหยิบยกคดีนี้ขึ้นมาพิจารณาอีก เนื่องจากการวินิจฉัยได้สิ้นสุดไปแล้ว แต่ประเทศมหาอำนาจที่ครอบงำศาลโลกอยู่ มีการจับมือสมคบกับฝ่ายกัมพูชา อาศัยลูกมั่ว นำคดีขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง แสดงให้เห็นว่ามีการฮั้วกันระหว่างศาลโลกกับกัมพูชา เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วไทยก็ยิ่งไม่ควรเข้าไปร่วมด้วย รัฐบาลกลับโง่ซ้ำซาก เล่นไปตามเกมของกัมพูชา" นายประพันธ์ กล่าว
เปิดคำให้การของฝ่ายไทยต่อศาลโลก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 08.30 น. วานนี้ (1 มิ.ย.) กระทรวงการต่างประเทศ ได้ทวิตข้อความ ผ่านเว็บไซต์ www.twitter.com ภายใต้ชื่อ @ MFAThai_PR_TH เพื่อชี้แจงถึงการเข้าให้ข้อมูลต่อศาลโลกของไทยว่า
" เมื่อวันที่ 31 พ.ค. เวลา 17.00-18.00 น. ณ กรุงเฮก คณะดำเนินคดีฝ่ายไทยชี้แจงศาลโลกตอบโต้คำขอกัมพูชาให้มีมาตรการชั่วคราว บริเวณปราสาทพระวิหารเป็นวันที่สอง
1. นายวีรชัย ( พลาศรัย ) เอกอัครราชทูตไทย ย้ำท่าทีของไทยมีความสม่ำเสมอและต่อเนื่องไทยยอมรับและได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 อย่างครบถ้วนแล้ว ซึ่งกัมพูชาก็ยอมรับ
2. ไทยย้ำศาลโลกไม่ได้ตัดสินเกี่ยวกับเส้นเขตแดน และต้องเจรจาต่อไป โดยมีกลไกในกรอบทวิภาคีดำเนินการ
3. การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ต้องมีพื้นที่บริหารจัดการอยู่ในไทย การที่ กัมพูชาปฏิเสธขึ้นทะเบียนร่วม เป็นที่มาของการยื่นคำร้องต่อศาลของกัมพูชา
4. เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ยืนยันไทยจริงใจในการดำเนินความสัมพันธ์กับกัมพูชาบนพื้นฐานของความเท่าเทียม ไม่ได้เป็นการรังแกโดยประเทศใหญ่ตามที่กัมพูชาพยายามสร้างภาพ
5.ไทยไม่ประสงค์ให้ปราสาทพระวิหารเสียหาย แต่การใช้กำลัง เป็นไปเพื่อป้องกันตนเอง ย้ำกัมพูชาใช้ปราสาทพระวิหารเป็นฐานโจมตีไทย ละเมิดอนุสัญญากรุงเฮก ปี 1954
6. เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ตอบโต้กัมพูชาว่า ไทยเป็นประชาธิปไตย การเมืองภายในของไทยไม่มีความเกี่ยวข้องแต่อย่างใดกับประเด็นที่ศาลกำลังพิจารณา
7. ไทยชี้แจงว่า ประชาชนชาวกัมพูชาเพิ่งอพยพย้ายเข้าไปอยู่ในบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง
8. ไทยย้ำความขัดแย้งเสี่ยงจะทวีความรุนแรงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับกัมพูชาที่เป็นฝ่ายเริ่มโจมตี และขยายความขัดแย้งจากบริเวณปราสาทพระวิหาร ไปยังพื้นที่อื่น
9. เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก เน้นการที่มีเหตุการณ์ปะทะเกิดขึ้นในบริเวณอื่น ไม่เป็นเหตุให้ศาลต้องพิจารณามีคำสั่งมาตรการชั่วคราวบริเวณปราสาทพระวิหาร
10. ไทยไม่ได้ปิดประตูต่อบทบาทสนับสนุนของฝ่ายที่สาม ในการแก้ไขปัญหา โดยได้ให้ข้อมูลแก่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และร่วมประชุมแข็งขันในกรอบอาเซียน
11. เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ชี้ไทยกับกัมพูชาไม่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลโลก พ.ศ. 2505 คำขอตีความของกัมพูชาเป็นการขอให้ศาลตัดสินประเด็นที่ไม่ได้ตัดสินไว้เดิม
12. เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก กล่าวสรุปคำขอของไทยต่อศาลโลก คือ ขอให้ศาลจำหน่ายคดีออกจากสารบบ "
ศาลโลกยังไม่ได้กำหนดวันตัดสิน
ทั้งนี้ในช่วงเย็นวันที่ 31 พ.ค. บรรดาผู้พิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ณ กรุงเฮก ได้เริ่มพิจารณาคำร้องของฝ่ายกัมพูชา ที่ขอให้ตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ.2505 และขอให้การคุ้มครองชั่วคราว ตลอดจนสั่งให้ไทยถอนทหารออกจากพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร หลังจากทั้งสองฝ่ายได้ให้คำชี้แจงในวันจันทร์และอังคารที่ผ่านมา แต่ศาลยังไม่ได้แจ้งกำหนดวันอ่านคำตัดสิน นอกจากบอกเพียงว่า จะมีการประกาศกำหนดวันตัดสิน เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม
นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ศาลโลกได้สอบถามถึงผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชาหลังเกิดเหตุปะทะในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา และต้องการทราบว่าทั้งสองประเทศมีการเคลื่อนย้ายประชาชนออกจากพื้นที่มากน้อยแค่ไหนอย่างไร รวมทั้งประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างไร
ทั้งนี้ศาลโลกได้ให้ไทยและกัมพูชาทำหนังสือชี้แจงเรื่องดังกล่าวกลับมายังศาลโลกภายในวันที่ 7 มิ.ย.นี้ จากนั้นศาลจะนำคำชี้แจงส่งให้อีกฝ่ายหนึ่งพิจารณาและส่งคำชี้แจงกลับมาอีกครั้งภายในวันที่ 14 มิ.ย.นี้
"มาร์ค"หวังจะมีข่าวดี
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีความคืบหน้า คดีปราสาทพระวิหารหลังจากที่มีการแถลงไปเรียบร้อยแล้วว่า การแถลงของทั้ง 2 ฝ่ายได้สิ้นสุดลงแล้ว ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับการนัดหมายอีกครั้งหนึ่ง ในการที่จะมีการวินิจฉัยในเรื่องของมาตรการชั่วคราว แต่ตนคิดว่าจุดยืนของประเทศไทย ที่ได้แสดงไปนั้นชัดเจนว่าเรื่องที่กัมพูชาเสนอขึ้นไปนั้น ไม่มีเหตุมีผล เพราะว่าไม่สามารถไปยื่นคดีใหม่ได้ ส่วนเรื่องเก่านั้น ประเทศไทยได้ปฏิบัติมาตั้งแต่ปี 2505 ไม่มีใครโต้แย้งมา 50 ปี ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันดีอยู่แล้ว แต่ว่าเป็นความพยายาม และทางกัมพูชา ก็พูดเกินเลยไปจนถึงที่อื่นหมด
เมื่อถามว่า ทางศาลโลกอาจใช้เวลาในการพิจารณาประมาณ 3 สัปดาห์ คิดว่าหลังจากนี้จะเป็นข่าวดีสำหรับประเทศไทยหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ตนตั้งใจจะฟังข่าวดี และคิดว่า เหตุผลของทางฝ่ายไทยก็มีความชัดเจนดี ซึ่งโอกาสที่จะเป็นข่าวดีนั้น ตนไม่ได้อยู่ในฐานที่จะประเมิน ตนคิดว่าด้วยเหตุด้วยผลทุกประการของฝ่ายไทย มีความชัดเจน ทั้งในข้อเท็จจริง และในข้อกฎหมาย อย่างไรก็ตาม เราต้องรักษาผลประโยชน์ของเราอย่างแน่นอน
เมื่อถามว่าที่ศาลโลกจะเป็นการจบปัญหาระหว่างไทย-กัมพูชาได้ด้วยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัย ทั้งตัวมาตรการชั่วคราว และตัวคดีหลัก เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องของมาตรการชั่วคราว