นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงการชี้แจงของ นายวีระชัย พลาศรัย เอกอัคราชทูต ประจำกรุงเฮก 5 ประเด็น ต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ศาลโลก เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ที่ผ่านมาว่า 1.ไทยในฐานะสมาชิกสหประชาชาติ ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกครบถ้วน 2.คำพิพากษาของศาลโลก เป็นเรื่องของอธิปไตยเหนือตัวปราสาท ไม่ใช่เส้นเขตแดน ตลอดเวลาที่ผ่านมา กัมพูชายอมรับเส้นขอบเขตของพื้นที่ใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร ตามมติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2505 เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าวแล้ว โดยนิ่งเฉย ไม่ได้ทักท้วงใดๆ มากกว่า 40 ปี 3.ไทยต้องการอยู่ร่วมกับกัมพูชาอย่างสันติและพัฒนาความสัมพันธ์บนพื้นฐานของความร่วมมือและความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่จะสร้างความขัดแย้งกับกัมพูชา 4.ไทยไม่ได้เป็นฝ่ายเริ่มให้เกิดการปะทะ ไม่ว่าจะเป็นเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ที่ปราสาทพระวิหาร และเดือนเมษายน-พฤษภาคม ที่ปราสาทตาเมือนและตาควาย จึงจำเป็นต้องใช้สิทธิในการป้องกันตนเอง เพื่อปกป้องอธิปไตยและพลเรือนไทย ที่ตกเป็นเป้าหมายการโจมตีของกัมพูชา และ 5.กัมพูชาต้องการดินแดนที่จะใช้เป็นพื้นที่กันชนในการจัดการปราสาทพระวิหาร เพื่อให้กระบวนการขึ้นทะเบียนปราสาทเป็นมรดกโลกโดยสมบูรณ์
ในวันนี้ (31 พ.ค.) นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะนำทีมกฎหมายให้ข้อมูลต่อศาลโลกเพิ่มเติม ในเวลา 16.00-17.00 น. ตามเวลาประเทศเนเธอแลนด์ หรือ 22.00-23.00 น.ตามเวลาประเทศไทย หลังจากทั้ง 2 ฝ่ายให้ข้อมูล จะใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ ว่ามีความจำเป็นจะใช้มาตรการคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่ ส่วนการตีความคำพิพากษา ปี 2505 คาดว่า ศาลโลกจะนัดทั้ง 2 ฝ่าย ให้ข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษรอีกครั้ง ประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม 2554 และจะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 1-2 ปี
ในวันนี้ (31 พ.ค.) นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะนำทีมกฎหมายให้ข้อมูลต่อศาลโลกเพิ่มเติม ในเวลา 16.00-17.00 น. ตามเวลาประเทศเนเธอแลนด์ หรือ 22.00-23.00 น.ตามเวลาประเทศไทย หลังจากทั้ง 2 ฝ่ายให้ข้อมูล จะใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ ว่ามีความจำเป็นจะใช้มาตรการคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่ ส่วนการตีความคำพิพากษา ปี 2505 คาดว่า ศาลโลกจะนัดทั้ง 2 ฝ่าย ให้ข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษรอีกครั้ง ประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม 2554 และจะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 1-2 ปี