ทุกวันนี้ผมยังแผ่เมตตาให้และหวังดีต่อนายกฯ อภิสิทธิ์เสมอ ผมอยากเห็นหนุ่มสาวที่มีคุณลักษณะและคุณสมบัติเหมือนนายกฯ อภิสิทธิ์ลงมาสู่วงการเมืองมากๆ จึงไม่อยากให้ผลงานทั้งหมดของนายกฯ อภิสิทธิ์เหลวแหลกและแหลกเหลวจนไม่มีชิ้นดี
ผมได้เขียนถึงนายกฯ อภิสิทธิ์ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีแรกของรัฐบาลแล้ว ว่านายกฯ มิใช่บุคคลที่เหมาะสมจะทำหน้าที่ในช่วงเวลานี้ ต้องรอคอยให้มีการปฏิรูปเสียก่อนจึงจะดี หรือจะให้ดียิ่งกว่านั้น นายกฯ ต้องนำพาการปฏิรูปเสียเอง
ประธานกรรมการปฏิรูปทั้ง 2 คณะของรัฐบาลคือคุณอานันท์และนพ.ประเวศ ก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าจะปฏิรูปได้ก็ต่อเมื่อรัฐบาลและรัฐสภาเป็นผู้ลงมือเอง
ความคิดดังกล่าวได้รับการคัดค้านมานานแล้วจาก ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ ซึ่งเห็นว่าการปฏิรูปจะต้องนำโดย Statesman เท่านั้น (ถ้ามี แต่ยังไม่เห็นแววว่ามี) เพราะทั้งนายกฯ รัฐบาล และรัฐสภาต่างก็เป็นผู้เสวยประโยชน์จากระบบการเมืองที่เน่าเฟะในปัจจุบัน ไฉนจึงจะมาทำลายผลประโยชน์ของตนเองเสีย ไม่มีทาง
ว่าไปแล้ว ผลงานใน 2 ปีครึ่งของอภิสิทธิ์ก็เน่าเฟะและเหลวแหลกจริงๆ นับตั้งแต่การทำลายภาพลักษณ์เกือบพันปีของประเทศไทย โดยปล่อยให้อันธพาลการเมืองกระจอกหยิบมือเดียวล้มการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนจนผู้นำต่างประเทศต้องหนีกระเจิดกระเจิง หากไม่นับข้าวยากมากแพงและขาดแคลน รวมถึงไร้ความสามารถในการป้องกันภัยพิบัติธรรมชาติ รัฐบาลมีส่วนร่วมในการทำลายขื่อแปของบ้านเมืองร่วมกับพรรคการเมืองและกองกำลังของขบวนการแดง โดยไม่ใช้อำนาจรัฐที่มีอยู่ตัดไฟเสียแต่ต้นลม ปล่อยให้นายทหารชั้นดีของชาติตกเป็นเป้าสังหารแก้แค้นที่สี่แยกคอกวัว บ้านเมืองถูกเผาที่ราชประสงค์ ผู้ชุมนุมเสียชีวิตถึง 91 คน ปล่อยให้สภาล่มอยู่เนืองๆ และทำให้เขมรคุกคามสวัสดิภาพและชื่อเสียงของประเทศไทยในทุกระดับทุกเวที รวมทั้งปล่อยให้ประชาชนคนไทยนับแสนตกเป็นเหยื่อการระดมยิงของทหารเขมรจนกระทั่งบ้านแตกสาแหรกขาดกลายเป็นผู้อพยพลี้ภัยในบ้านเมืองตนเองร่วมแสนคนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย
ที่รัฐบาลอ่อนแอที่สุดคือเทียบไม่ได้กับขบวนการทวงอำนาจคืนของทักษิณ ซึ่งโตวันโตคืนเข้มแข็งขึ้นทุกด้านในรัฐบาลนี้ จนกระทั่งเหิมเกริมประกาศตั้งรัฐไทยใหม่ ทำร้ายและบ่อนทำลายองค์พระประมุขและสถาบันอย่างเปิดเผยไม่เกรงกลัวทุกหนทุกแห่งทั้งในชนบทและในเมือง ทั้งในและนอกประเทศ
ในที่สุด อภิสิทธิ์ก็ไม่ต่างจากทักษิณ ตรงที่รีบประกาศยุบสภา วางแผนเอาการเลือกตั้งมาฟอกความชอบธรรม และหวังลมๆ แล้งๆ ว่า การเลือกตั้งจะแก้ปัญหาให้ตนและประเทศชาติได้ ทั้งที่การเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคการเมืองทุกพรรคพากันกระทำผิดกฎหมายทำลายหลักนิติรัฐ ทำลายหลักจริยธรรมและความชอบธรรมทางการเมืองครบทุกประการ
การที่พรรคเพื่อไทยปฏิบัติการตามคำสั่งของอาชญากรทักษิณผู้ต้องห้ามทางการเมืองก็ดี การที่พรรคเชิดชูนำเอาผู้นำขบวนการแดงเผาเมืองมาอยู่ลำดับต้นผู้สมัครบัญชีรายชื่อก็ดี เป็นการบ่งบอกว่าหากได้เป็นรัฐบาลก็จะเดินหน้า หากไม่ได้เป็นรัฐบาลก็จะหาว่าทหารคบกับประชาธิปัตย์โกงเลือกตั้ง จะไม่มีวันหยุดยั้งการต่อสู้ทุกรูปแบบที่จะนำไปสู่รัฐไทยใหม่ตามที่พรรคประกาศไว้เป็นธง
ผลการเลือกตั้งจะออกมาอย่างไรก็เกรงว่าล้วนแต่จะหลีกไม่พ้นการยึดอำนาจหรือการนองเลือดครั้งใหญ่ทั้งสิ้น ผมเคยแนะนำให้เลื่อนการเลือกตั้งธันวาคม 2550 เพื่อให้ทุกพรรคหมดปัญหาในการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายรัฐธรรมนูญ และเลือกตั้งเสียก่อน แต่เมืองไทยโดยเฉพาะผู้มีอำนาจตามกฎหมายก็ดันทุรังไปทั้งๆ ที่รู้ว่าผิด การเลือกตั้งครั้งนี้ปัจจัยบวกเหนือการเลือกตั้ง 2550 ไม่มีเลย มีแต่ปัจจัยลบที่มากขึ้นและหนักขึ้นเป็นทวีตรีคูณ การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่มีทางที่จะสุจริตยุติธรรมได้เลย
ขอเตือนความจำสังคมไทยและนายกฯ อภิสิทธิ์ว่า จำได้ไหม ครั้งหนึ่งนายกฯ อภิสิทธิ์เคยเสนอทางออกไว้อย่างไร
“ข้อเสนอเพื่อปฏิเสธการนองเลือดและรัฐประหาร” โดย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
“หลักใหญ่ที่สุดของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง คือ ทำอย่างไรให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และเป็นไปโดยสันติ”
มาตรา 7 เป็นกลไกสุดท้ายของรัฐธรรมนูญ เป็นจุดที่เปิดช่องไว้เพื่อให้ทุกทางตันมีทางออก เมื่อเห็นว่ามาถึงทางตันแล้ว ผมจึงเสนอว่าควรต้องใช้ช่องทางนี้
แต่ช่องทางนี้ ตามที่ผมตีความและตามที่ได้เสนอไป ณ การชุมนุมที่ท้องสนามหลวง ยังยอมรับหลักการว่า คนที่จะใช้ได้จริงๆ คือ คุณทักษิณกับคณะในฐานะที่เป็นผู้นำเป็นรัฐบาลมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ด้วยการลาออกทั้งคณะ เพื่อให้บทบัญญัติในมาตราอื่นไม่สามารถบังคับใช้ได้เลย เนื่องจากขณะนั้นไม่มีสภาผู้แทนราษฎร
ถามว่า ผิดรัฐธรรมนูญไหม ไม่ผิดแน่นอน
ถามว่า เป็นประชาธิปไตยไหม ต้องเป็นประชาธิปไตยแน่นอน เพราะการกระทำอย่างนั้น เป็นจุดที่บอกว่า ทั้งผู้ที่สนับสนุนและคัดค้านคุณทักษิณเห็นพ้องต้องกันแล้ว
คนที่วิพากษ์วิจารณ์ผมเรื่องมาตรา 7 นี้ มักจะเข้าใจผิดว่า การเสนอใช้มาตรา 7 คือ อยู่ดีๆ เดินไปขอพระราชทานนายกฯ โดยที่คุณทักษิณยังเป็นนายกฯ อยู่ ซึ่งไม่ใช่
แต่ข้อเสนอของผมเป็นไปตามรัฐธรรมนูญและเป็นประชาธิปไตยเพราะต้องได้ฉันทานุมัติจากทุกฝ่ายแล้ว โดยเฉพาะได้ฉันทานุมัติจากคุณทักษิณ ซึ่งจะต้องลาออกเอง
แน่นอน ถ้าคุณทักษิณลาออก ก็คงไม่มีใครอีกแล้วที่จะไม่ยอมหนทางนี้
ผมนำเสนอทางเลือกนี้ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม ก่อนวันเลือกตั้ง 2 เมษายน เพราะมันป็นทางออกจริงๆ และเป็นทางออกที่เหลืออยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และผมถือว่าเป็นความรับผิดชอบของพรรคประชาธิปัตย์ เพราะพรรคประชาธิปัตย์ตัดสินใจไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการแสดงจุดยืน และบอกกับประชาชนก่อนวันเลือกตั้งว่า เลือกตั้งครั้งนี้ไม่ใช่คำตอบ ประชาธิปัตย์จึงเสนอคำตอบต่อประชาชนด้วย
หากคุณทักษิณลาออก คนที่จะมาเป็นรัฐบาลตามมาตรา 7 จะเป็นรัฐบาลชั่วคราวที่สั้นมากๆ ทำภารกิจ 2 เรื่อง คือ ทำอย่างไรให้เกิดความมั่นใจว่า การเลือกตั้งครั้งต่อไปเป็นธรรม กับไต่สวนคดีขายหุ้นชินฯ ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่รุนแรงที่สุด แล้วถ้าผลการไต่สวนโดยคนที่เป็นอิสระออกมาแล้วว่าไม่มีอะไรผิด คุณทักษิณก็มีความชอบธรรมทุกประการที่จะกลับสู่สนามเลือกตั้ง
หากเลือกทางเดินนี้ เราก็จะไม่ต้องเสียรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ทั้งฉบับ ไม่เสียแม้แต่มาตราเดียว ไม่ต้องเสี่ยงว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 จะดีกว่าหรือเลวกว่าเก่า
น่าเสียดาย...คุณทักษิณปฏิเสธข้อเสนอนี้ภายในหนึ่งวัน
ช่วงที่ผมเสนอทางเลือกนี้ ก่อนที่คุณทักษิณจะปฏิเสธ ผมพูดไว้ประโยคหนึ่งว่า “วันหนึ่งเมื่อคุณทักษิณถึงจุดจบ แล้วจะนึกถึงข้อเสนอผม...”
(จากหนังสือ : การเมืองไทยหลังรัฐประหาร ทางออกจากวิกฤติก่อนจะกลับไปไม่ได้ ไปไม่ถึง พิมพ์ครั้งแรก มกราคม 2550 หน้า 19-21)
ผมได้เขียนถึงนายกฯ อภิสิทธิ์ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีแรกของรัฐบาลแล้ว ว่านายกฯ มิใช่บุคคลที่เหมาะสมจะทำหน้าที่ในช่วงเวลานี้ ต้องรอคอยให้มีการปฏิรูปเสียก่อนจึงจะดี หรือจะให้ดียิ่งกว่านั้น นายกฯ ต้องนำพาการปฏิรูปเสียเอง
ประธานกรรมการปฏิรูปทั้ง 2 คณะของรัฐบาลคือคุณอานันท์และนพ.ประเวศ ก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าจะปฏิรูปได้ก็ต่อเมื่อรัฐบาลและรัฐสภาเป็นผู้ลงมือเอง
ความคิดดังกล่าวได้รับการคัดค้านมานานแล้วจาก ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ ซึ่งเห็นว่าการปฏิรูปจะต้องนำโดย Statesman เท่านั้น (ถ้ามี แต่ยังไม่เห็นแววว่ามี) เพราะทั้งนายกฯ รัฐบาล และรัฐสภาต่างก็เป็นผู้เสวยประโยชน์จากระบบการเมืองที่เน่าเฟะในปัจจุบัน ไฉนจึงจะมาทำลายผลประโยชน์ของตนเองเสีย ไม่มีทาง
ว่าไปแล้ว ผลงานใน 2 ปีครึ่งของอภิสิทธิ์ก็เน่าเฟะและเหลวแหลกจริงๆ นับตั้งแต่การทำลายภาพลักษณ์เกือบพันปีของประเทศไทย โดยปล่อยให้อันธพาลการเมืองกระจอกหยิบมือเดียวล้มการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนจนผู้นำต่างประเทศต้องหนีกระเจิดกระเจิง หากไม่นับข้าวยากมากแพงและขาดแคลน รวมถึงไร้ความสามารถในการป้องกันภัยพิบัติธรรมชาติ รัฐบาลมีส่วนร่วมในการทำลายขื่อแปของบ้านเมืองร่วมกับพรรคการเมืองและกองกำลังของขบวนการแดง โดยไม่ใช้อำนาจรัฐที่มีอยู่ตัดไฟเสียแต่ต้นลม ปล่อยให้นายทหารชั้นดีของชาติตกเป็นเป้าสังหารแก้แค้นที่สี่แยกคอกวัว บ้านเมืองถูกเผาที่ราชประสงค์ ผู้ชุมนุมเสียชีวิตถึง 91 คน ปล่อยให้สภาล่มอยู่เนืองๆ และทำให้เขมรคุกคามสวัสดิภาพและชื่อเสียงของประเทศไทยในทุกระดับทุกเวที รวมทั้งปล่อยให้ประชาชนคนไทยนับแสนตกเป็นเหยื่อการระดมยิงของทหารเขมรจนกระทั่งบ้านแตกสาแหรกขาดกลายเป็นผู้อพยพลี้ภัยในบ้านเมืองตนเองร่วมแสนคนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย
ที่รัฐบาลอ่อนแอที่สุดคือเทียบไม่ได้กับขบวนการทวงอำนาจคืนของทักษิณ ซึ่งโตวันโตคืนเข้มแข็งขึ้นทุกด้านในรัฐบาลนี้ จนกระทั่งเหิมเกริมประกาศตั้งรัฐไทยใหม่ ทำร้ายและบ่อนทำลายองค์พระประมุขและสถาบันอย่างเปิดเผยไม่เกรงกลัวทุกหนทุกแห่งทั้งในชนบทและในเมือง ทั้งในและนอกประเทศ
ในที่สุด อภิสิทธิ์ก็ไม่ต่างจากทักษิณ ตรงที่รีบประกาศยุบสภา วางแผนเอาการเลือกตั้งมาฟอกความชอบธรรม และหวังลมๆ แล้งๆ ว่า การเลือกตั้งจะแก้ปัญหาให้ตนและประเทศชาติได้ ทั้งที่การเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคการเมืองทุกพรรคพากันกระทำผิดกฎหมายทำลายหลักนิติรัฐ ทำลายหลักจริยธรรมและความชอบธรรมทางการเมืองครบทุกประการ
การที่พรรคเพื่อไทยปฏิบัติการตามคำสั่งของอาชญากรทักษิณผู้ต้องห้ามทางการเมืองก็ดี การที่พรรคเชิดชูนำเอาผู้นำขบวนการแดงเผาเมืองมาอยู่ลำดับต้นผู้สมัครบัญชีรายชื่อก็ดี เป็นการบ่งบอกว่าหากได้เป็นรัฐบาลก็จะเดินหน้า หากไม่ได้เป็นรัฐบาลก็จะหาว่าทหารคบกับประชาธิปัตย์โกงเลือกตั้ง จะไม่มีวันหยุดยั้งการต่อสู้ทุกรูปแบบที่จะนำไปสู่รัฐไทยใหม่ตามที่พรรคประกาศไว้เป็นธง
ผลการเลือกตั้งจะออกมาอย่างไรก็เกรงว่าล้วนแต่จะหลีกไม่พ้นการยึดอำนาจหรือการนองเลือดครั้งใหญ่ทั้งสิ้น ผมเคยแนะนำให้เลื่อนการเลือกตั้งธันวาคม 2550 เพื่อให้ทุกพรรคหมดปัญหาในการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายรัฐธรรมนูญ และเลือกตั้งเสียก่อน แต่เมืองไทยโดยเฉพาะผู้มีอำนาจตามกฎหมายก็ดันทุรังไปทั้งๆ ที่รู้ว่าผิด การเลือกตั้งครั้งนี้ปัจจัยบวกเหนือการเลือกตั้ง 2550 ไม่มีเลย มีแต่ปัจจัยลบที่มากขึ้นและหนักขึ้นเป็นทวีตรีคูณ การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่มีทางที่จะสุจริตยุติธรรมได้เลย
ขอเตือนความจำสังคมไทยและนายกฯ อภิสิทธิ์ว่า จำได้ไหม ครั้งหนึ่งนายกฯ อภิสิทธิ์เคยเสนอทางออกไว้อย่างไร
“ข้อเสนอเพื่อปฏิเสธการนองเลือดและรัฐประหาร” โดย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
“หลักใหญ่ที่สุดของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง คือ ทำอย่างไรให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และเป็นไปโดยสันติ”
มาตรา 7 เป็นกลไกสุดท้ายของรัฐธรรมนูญ เป็นจุดที่เปิดช่องไว้เพื่อให้ทุกทางตันมีทางออก เมื่อเห็นว่ามาถึงทางตันแล้ว ผมจึงเสนอว่าควรต้องใช้ช่องทางนี้
แต่ช่องทางนี้ ตามที่ผมตีความและตามที่ได้เสนอไป ณ การชุมนุมที่ท้องสนามหลวง ยังยอมรับหลักการว่า คนที่จะใช้ได้จริงๆ คือ คุณทักษิณกับคณะในฐานะที่เป็นผู้นำเป็นรัฐบาลมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ด้วยการลาออกทั้งคณะ เพื่อให้บทบัญญัติในมาตราอื่นไม่สามารถบังคับใช้ได้เลย เนื่องจากขณะนั้นไม่มีสภาผู้แทนราษฎร
ถามว่า ผิดรัฐธรรมนูญไหม ไม่ผิดแน่นอน
ถามว่า เป็นประชาธิปไตยไหม ต้องเป็นประชาธิปไตยแน่นอน เพราะการกระทำอย่างนั้น เป็นจุดที่บอกว่า ทั้งผู้ที่สนับสนุนและคัดค้านคุณทักษิณเห็นพ้องต้องกันแล้ว
คนที่วิพากษ์วิจารณ์ผมเรื่องมาตรา 7 นี้ มักจะเข้าใจผิดว่า การเสนอใช้มาตรา 7 คือ อยู่ดีๆ เดินไปขอพระราชทานนายกฯ โดยที่คุณทักษิณยังเป็นนายกฯ อยู่ ซึ่งไม่ใช่
แต่ข้อเสนอของผมเป็นไปตามรัฐธรรมนูญและเป็นประชาธิปไตยเพราะต้องได้ฉันทานุมัติจากทุกฝ่ายแล้ว โดยเฉพาะได้ฉันทานุมัติจากคุณทักษิณ ซึ่งจะต้องลาออกเอง
แน่นอน ถ้าคุณทักษิณลาออก ก็คงไม่มีใครอีกแล้วที่จะไม่ยอมหนทางนี้
ผมนำเสนอทางเลือกนี้ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม ก่อนวันเลือกตั้ง 2 เมษายน เพราะมันป็นทางออกจริงๆ และเป็นทางออกที่เหลืออยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และผมถือว่าเป็นความรับผิดชอบของพรรคประชาธิปัตย์ เพราะพรรคประชาธิปัตย์ตัดสินใจไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการแสดงจุดยืน และบอกกับประชาชนก่อนวันเลือกตั้งว่า เลือกตั้งครั้งนี้ไม่ใช่คำตอบ ประชาธิปัตย์จึงเสนอคำตอบต่อประชาชนด้วย
หากคุณทักษิณลาออก คนที่จะมาเป็นรัฐบาลตามมาตรา 7 จะเป็นรัฐบาลชั่วคราวที่สั้นมากๆ ทำภารกิจ 2 เรื่อง คือ ทำอย่างไรให้เกิดความมั่นใจว่า การเลือกตั้งครั้งต่อไปเป็นธรรม กับไต่สวนคดีขายหุ้นชินฯ ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่รุนแรงที่สุด แล้วถ้าผลการไต่สวนโดยคนที่เป็นอิสระออกมาแล้วว่าไม่มีอะไรผิด คุณทักษิณก็มีความชอบธรรมทุกประการที่จะกลับสู่สนามเลือกตั้ง
หากเลือกทางเดินนี้ เราก็จะไม่ต้องเสียรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ทั้งฉบับ ไม่เสียแม้แต่มาตราเดียว ไม่ต้องเสี่ยงว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 จะดีกว่าหรือเลวกว่าเก่า
น่าเสียดาย...คุณทักษิณปฏิเสธข้อเสนอนี้ภายในหนึ่งวัน
ช่วงที่ผมเสนอทางเลือกนี้ ก่อนที่คุณทักษิณจะปฏิเสธ ผมพูดไว้ประโยคหนึ่งว่า “วันหนึ่งเมื่อคุณทักษิณถึงจุดจบ แล้วจะนึกถึงข้อเสนอผม...”
(จากหนังสือ : การเมืองไทยหลังรัฐประหาร ทางออกจากวิกฤติก่อนจะกลับไปไม่ได้ ไปไม่ถึง พิมพ์ครั้งแรก มกราคม 2550 หน้า 19-21)