ASTVผู้จัดการรายวัน-พันธมิตรฯ ฉะ"มาร์ค" หมกเม็ดปล่อยทีมสำรวจอินโดฯ เข้าพื้นที่ แถมให้ข่าวทำประชาชนสับสน แฉ"กษิต"ไปลงนามทีโออาร์ กำหนดเวลาทีมสังเกตการณ์เข้าพื้นที่ แต่ไม่ยื่นคำขาดให้เขมรถอนทหาร เบรกรัฐบาลใช้หลักฐานใหม่สู้ในศาลโลก หวั่นเข้าแผนยืมมือศาลโลกยกแผ่นดินให้เขมร
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เปิดเผยถึงกรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยอมรับว่า จะมีทีมล่วงหน้าของอินโดนีเซีย เข้ามาสำรวจพื้นที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ก่อนที่จะมีทีมสังเกตการณ์เต็มชุดเข้ามาว่า เป็นเพียงการเลี่ยงใช้ภาษาที่ว่าเป็นทีมสำรวจพื้นที่ล่วงหน้า ไม่ใช่ทีมสังเกตการณ์ เพื่อสร้างความคลุมเครือให้กับสังคม เพราะพอภาคประชาชนจะออกมาเปิดเผยข้อมูล รัฐบาลจึงออกมาแถลงในภายหลัง โดยยอมรับว่าจะมีคณะจากต่างชาติเข้ามา แต่ไม่ได้บอกรายละเอียดว่าเป็นคณะทหาร หรือตำรวจ มีเพียงข่าวที่ออกจากทางฝ่ายกัมพูชาว่า คณะดังกล่าวจะไม่สวมเครื่องแบบ เพื่ออำพรางตัวว่าเป็นพลเรือน
อย่างไรก็ตาม กระบวนนี้เป็นการดำเนินการตามข้อตกลงร่วมกัน (ทีโออาร์) ของรัฐมนตรีต่างประเทศของ 3 ฝ่าย คือ ไทย กัมพูชา และอินโดนีเซีย ที่มีการลงนามกันเมื่อวันที่ 9 พ.ค.ที่ผ่านมา ในการประชุมที่ประเทศอินโดนีเซีย
ทั้งนี้ ในทีโออาร์ดังกล่าวได้จัดชุดทางออก (Package of Solutions) โดยกำหนดเงื่อนเวลาไว้ 3 ช่วง คือ 1.ลงนามและแลกเปลี่ยนทีโออาร์ พร้อมประกาศประชุมคณะกรรมาธิการชายแดนทั่วไป (จีบีซี) และคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (เจบีซี)
2.ภายหลังจากนั้น 5 วัน ส่งทีมสำรวจพื้นที่เข้ามา พร้อมเริ่มการประชุมเจบีซี หรือจีบีซี
3.ถัดจากนั้นอีก 5 วัน ส่งทีมสังเกตการณ์เต็มชุดจากอินโดนีเซีย พร้อมติดตามผลการประชุมเจบีซี และจีบีซี โดยเงื่อนไขเหล่านี้อยู่ในส่วนของการสรุปข้อตกลงที่ทั้ง 3 ฝ่ายลงนาม โดยที่ไม่มีเงื่อนไขที่ให้ทหาร และชุมชนชาวกัมพูชาถอนตัวออกจากพื้นที่ 4.6 ตร.กม.รอบปราสาทพระวิหารแต่อย่างไร
"ไม่ว่านายกฯ จะเรียกคณะดังกล่าวว่า ทีมสำรวจล่วงหน้า หรือทีมสังเกตการณ์ ตราบใดที่มีวัตถุประสงค์ไม่ให้เกิดการปะทะนั้น ก็เท่ากับเปิดโอกาสให้กัมพูชายึดครองแผ่นดินไทย โดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ดังนั้น รัฐบาลต้องไม่เห็นด้วยกับแนวทางนี้ และต้องให้กัมพูชาออกไปก่อนเป็นเงื่อนไขสำคัญ จึงจะเริ่มนับหนึ่งในการเจรจา หรือให้ใครเข้ามาสังเกตการณ์ ไม่ใช่มากำหนดกรอบเวลาเช่นนี้" นายปานเทพกล่าว
นายปานเทพกล่าวว่า อยากฝากถามไปถึงนายกฯ ว่า ชุดสำรวจที่เข้ามาในพื้นที่นั้น อยู่ในขั้นตอนที่ 2 ของทีโออาร์ เมื่อวันที่ 9 พ.ค.ใช่หรือไม่ และอีก 5 วันหลังจากนี้ ก็จะมีชุดสังเกตการณ์เต็มทีมเข้ามาเพิ่มเติม การกระทำดังกล่าว แสดงว่า รัฐบาลเดินหน้าทำข้อตกลงกับต่างชาติ และดำเนินการมาอยู่ในช่วงที่ 2 โดยที่ประชาชนไม่รับรู้ความเคลื่อนไหวเลย จึงขอให้รัฐบาลเปิดเผยทีโออาร์ ออกมาอย่างเป็นทางการ เพราะข้อมูลที่เราได้รับก็มาจากการเปิดเผยของทางการกัมพูชา ซึ่งขั้นตอนก็เป็นไปตามนั้นทุกประการ
** ยืมมือศาลโลกยกแผ่นดินให้เขมร
นายปานเทพกล่าวว่า กรณีที่นายกฯ ออกมาระบุว่า ฝ่ายไทยมีหลักฐานใหม่ในการชี้แจงกับศาลโลก ในวันที่ 30-31 พ.ค.นี้ แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้นั้น ในฐานะภาคประชาชน ขอย้ำว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญและมีความละเอียดอ่อนมาก การที่รัฐบาลไม่ยอมเปิดเผยหลักฐานดังกล่าว แสดงว่า 1.รัฐบาลยอมรับอำนาจของศาลโลก แทนที่จะปฏิเสธการยอมรับคำตัดสิน เนื่องจากศาลโลกเป็นเพียงศาลการเมืองระหว่างประเทศ และ2.เมื่อรัฐบาลไม่ยอมเปิดเผยให้ประชาชนรับรู้ แต่อีกทางกลับเปิดเผยให้ทนายความชาวฝรั่งเศส ที่กระทรวงการต่างประเทศว่าจ้างให้ว่าความในศาลโลก ทั้งที่ประเทศฝรั่งเศส มีผลประโยชน์โดยตรงกับกัมพูชา ในฐานะเจ้าอาณานิคม และผลประโยชนร์ด้านน้ำมัน ปัญหาเหล่านี้ทำให้ประชาชนมีความเคลือบแคลงสงสัยในพฤติกรรมของรัฐบาล ทำให้คิดได้ว่า มีขบวนการสมรู้ร่วมคิด ยกแผ่นดินให้กัมพูชาโดยอาศัยมือของศาลโลก
ทั้งนี้ นายปานเทพยังกล่าวถึงข้อเขียนฉบับใหม่ของ ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศ ที่มีการระบุให้รัฐบาลปฏิเสธอำนาจของศาลโลกในทุกกรณี โดยให้เหตุผลว่า ไทยไม่ได้ต่ออายุการยอมรับปฏิญญาว่าด้วยการบังคับใช้อำนาจของศาลว่า ศาลโลกจึงไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาคดี หรือแม้แต่ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ดังนั้น ฝ่ายไทยต้องต่อสู้ในศาลโลกโดยให้ศาลพิจารณาถึงอำนาจขอบเขตการพิจารณาของศาลเสียก่อน แล้วจึงใช้ข้อสงวนสิทธิที่ไทยได้เคยประกาศไว้ในที่ประชุมสหประชาชาติ เมื่อปี 2505 ต่อไป รวมทั้งการยืนยันในการไม่ยอมรับอำนาจของศาลโลกไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาคดีใหม่ หรือการตีความเพิ่มเติมของคดีเมื่อปี 2505 เพราะผ่านมากว่า 50 ปีแล้ว โดยที่ทั้ง 2 ฝ่าย ก็ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาอย่างเคร่งครัดไม่มีการยื่นคำร้องคัดค้านแต่อย่างไร
"รัฐบาลไทยต้องสู้โดยไม่ยอมรับอำนาจศาลโลก ไม่ใช่นำหลักฐานใหม่ที่อ้างถึงไปสู้ ซึ่งน่าเป็นห่วงว่า ฝ่ายไทยจะเสียเปรียบในเวทีศาลโลก เมื่อถึงเวลานั้นรัฐบาลไม่มีสิทธิที่จะอ้างว่า ศาลโลกเป็นผู้ตัดสิน เพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบ" นายปานเทพกล่าว
** จวก"มาร์ค"งุบงิบสมยอม"ฮุนเซน"
พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ กล่าวว่า ขอตั้งข้อสังเกตว่าการที่รัฐบาลไทยว่าจ้างทนายชาวฝรั่งเศสทำหน้าที่ในศาลโลกนั้น สามารถทำได้หรือไม่ เพราะระเบียบกำหนดไว้ว่า ไม่ให้มีคนสัญชาติเดียวกันเกินกว่า 1 คน อยู่ในศาล แต่ในศาลก็มีผู้แทนของฝรั่งเศสอยู่แล้ว จึงน่าแปลกใจว่า เหตุใดรัฐบาลจึงยังพยายามที่จะใช้ทนายชาวฝรั่งเศส ทั้งที่มีผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศ และมีความรู้ในเรื่องข้อพิพาทปราสาทพระวิหาร อย่างศ.ดร.สมปองอยู่ หรือว่านายกฯ ของ 2 ประเทศ สมยอมกัน
ส่วนกรณีที่นายอภิสิทธิ์ ออกมาระบุยอมรับว่ามีผู้บุกรุกอยู่ในดินแดนของไทย แต่ไม่อยากใช้ความรุนแรง เพราะเห็นว่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านนั้น พล.ต.จำลอง กล่าวว่า การที่นายกฯ ไม่ทำหน้าที่ปกป้องดินแดน โดยอ้างว่าไม่อยากมีปัญหากับเพื่อนบ้านนั้น ถือว่าถูกต้องหรือไม่ หากเป็นบ้านของนายกฯ ถูกบุกรุก จะปล่อยเช่นนี้หรือ
อย่างไรก็ตาม การที่เราเสนอให้มีการผลักดันกัมพูชาออกจากดินแดนไทยนั้น ไม่ใช่ต้องการให้ใช้กำลังไปรบราฆ่าฟัน เพราะยังมีมาตรการทางเศรษฐกิจที่ยังสามารถใช้ได้อีกหลายหนทาง แต่เมื่อรัฐบาลไม่ทำอะไรเลย จึงเป็นการพิสูจน์แล้วว่า เป็นการสมยอมกัน
ด้านนายประพันธ์ คูณมี โฆษกคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย กล่าวเสริมว่า รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีปัญหาในการทำหน้าที่ปกป้องดินแดนอธิปไตยของชาติ โดยมัวแต่สร้างปัญหาเพิ่ม ทั้งที่มีภาคประชาชนคอยคัดค้าน และเสนอข้อมูลทางออก แต่ก็ไม่ยอมทำตาม
อย่างไรก็ตาม จากท่าทีล่าสุดของกองทัพ ทำให้เห็นได้ว่า กองทัพกับรัฐบาลสมรู้ร่วมคิดกัน เพราะจากเดิมที่กองทัพประกาศชัดว่า จะไม่ยอมให้ชุดสังเกตการณ์ของอินโดนีเซียเข้ามาในพื้นที่ หรือไม่ไปประชุมจีบีซี หากไม่มีการถอนทหารกัมพูชาออกจากแผ่นดินไทย แต่สุดท้ายก็ยอมให้ทีมสำรวจล่วงหน้าเข้ามา แสดงให้เห็นถึงความไม่จริงใจในการทำหน้าที่ปกป้องเอกราชของชาติ
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เปิดเผยถึงกรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยอมรับว่า จะมีทีมล่วงหน้าของอินโดนีเซีย เข้ามาสำรวจพื้นที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ก่อนที่จะมีทีมสังเกตการณ์เต็มชุดเข้ามาว่า เป็นเพียงการเลี่ยงใช้ภาษาที่ว่าเป็นทีมสำรวจพื้นที่ล่วงหน้า ไม่ใช่ทีมสังเกตการณ์ เพื่อสร้างความคลุมเครือให้กับสังคม เพราะพอภาคประชาชนจะออกมาเปิดเผยข้อมูล รัฐบาลจึงออกมาแถลงในภายหลัง โดยยอมรับว่าจะมีคณะจากต่างชาติเข้ามา แต่ไม่ได้บอกรายละเอียดว่าเป็นคณะทหาร หรือตำรวจ มีเพียงข่าวที่ออกจากทางฝ่ายกัมพูชาว่า คณะดังกล่าวจะไม่สวมเครื่องแบบ เพื่ออำพรางตัวว่าเป็นพลเรือน
อย่างไรก็ตาม กระบวนนี้เป็นการดำเนินการตามข้อตกลงร่วมกัน (ทีโออาร์) ของรัฐมนตรีต่างประเทศของ 3 ฝ่าย คือ ไทย กัมพูชา และอินโดนีเซีย ที่มีการลงนามกันเมื่อวันที่ 9 พ.ค.ที่ผ่านมา ในการประชุมที่ประเทศอินโดนีเซีย
ทั้งนี้ ในทีโออาร์ดังกล่าวได้จัดชุดทางออก (Package of Solutions) โดยกำหนดเงื่อนเวลาไว้ 3 ช่วง คือ 1.ลงนามและแลกเปลี่ยนทีโออาร์ พร้อมประกาศประชุมคณะกรรมาธิการชายแดนทั่วไป (จีบีซี) และคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (เจบีซี)
2.ภายหลังจากนั้น 5 วัน ส่งทีมสำรวจพื้นที่เข้ามา พร้อมเริ่มการประชุมเจบีซี หรือจีบีซี
3.ถัดจากนั้นอีก 5 วัน ส่งทีมสังเกตการณ์เต็มชุดจากอินโดนีเซีย พร้อมติดตามผลการประชุมเจบีซี และจีบีซี โดยเงื่อนไขเหล่านี้อยู่ในส่วนของการสรุปข้อตกลงที่ทั้ง 3 ฝ่ายลงนาม โดยที่ไม่มีเงื่อนไขที่ให้ทหาร และชุมชนชาวกัมพูชาถอนตัวออกจากพื้นที่ 4.6 ตร.กม.รอบปราสาทพระวิหารแต่อย่างไร
"ไม่ว่านายกฯ จะเรียกคณะดังกล่าวว่า ทีมสำรวจล่วงหน้า หรือทีมสังเกตการณ์ ตราบใดที่มีวัตถุประสงค์ไม่ให้เกิดการปะทะนั้น ก็เท่ากับเปิดโอกาสให้กัมพูชายึดครองแผ่นดินไทย โดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ดังนั้น รัฐบาลต้องไม่เห็นด้วยกับแนวทางนี้ และต้องให้กัมพูชาออกไปก่อนเป็นเงื่อนไขสำคัญ จึงจะเริ่มนับหนึ่งในการเจรจา หรือให้ใครเข้ามาสังเกตการณ์ ไม่ใช่มากำหนดกรอบเวลาเช่นนี้" นายปานเทพกล่าว
นายปานเทพกล่าวว่า อยากฝากถามไปถึงนายกฯ ว่า ชุดสำรวจที่เข้ามาในพื้นที่นั้น อยู่ในขั้นตอนที่ 2 ของทีโออาร์ เมื่อวันที่ 9 พ.ค.ใช่หรือไม่ และอีก 5 วันหลังจากนี้ ก็จะมีชุดสังเกตการณ์เต็มทีมเข้ามาเพิ่มเติม การกระทำดังกล่าว แสดงว่า รัฐบาลเดินหน้าทำข้อตกลงกับต่างชาติ และดำเนินการมาอยู่ในช่วงที่ 2 โดยที่ประชาชนไม่รับรู้ความเคลื่อนไหวเลย จึงขอให้รัฐบาลเปิดเผยทีโออาร์ ออกมาอย่างเป็นทางการ เพราะข้อมูลที่เราได้รับก็มาจากการเปิดเผยของทางการกัมพูชา ซึ่งขั้นตอนก็เป็นไปตามนั้นทุกประการ
** ยืมมือศาลโลกยกแผ่นดินให้เขมร
นายปานเทพกล่าวว่า กรณีที่นายกฯ ออกมาระบุว่า ฝ่ายไทยมีหลักฐานใหม่ในการชี้แจงกับศาลโลก ในวันที่ 30-31 พ.ค.นี้ แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้นั้น ในฐานะภาคประชาชน ขอย้ำว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญและมีความละเอียดอ่อนมาก การที่รัฐบาลไม่ยอมเปิดเผยหลักฐานดังกล่าว แสดงว่า 1.รัฐบาลยอมรับอำนาจของศาลโลก แทนที่จะปฏิเสธการยอมรับคำตัดสิน เนื่องจากศาลโลกเป็นเพียงศาลการเมืองระหว่างประเทศ และ2.เมื่อรัฐบาลไม่ยอมเปิดเผยให้ประชาชนรับรู้ แต่อีกทางกลับเปิดเผยให้ทนายความชาวฝรั่งเศส ที่กระทรวงการต่างประเทศว่าจ้างให้ว่าความในศาลโลก ทั้งที่ประเทศฝรั่งเศส มีผลประโยชน์โดยตรงกับกัมพูชา ในฐานะเจ้าอาณานิคม และผลประโยชนร์ด้านน้ำมัน ปัญหาเหล่านี้ทำให้ประชาชนมีความเคลือบแคลงสงสัยในพฤติกรรมของรัฐบาล ทำให้คิดได้ว่า มีขบวนการสมรู้ร่วมคิด ยกแผ่นดินให้กัมพูชาโดยอาศัยมือของศาลโลก
ทั้งนี้ นายปานเทพยังกล่าวถึงข้อเขียนฉบับใหม่ของ ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศ ที่มีการระบุให้รัฐบาลปฏิเสธอำนาจของศาลโลกในทุกกรณี โดยให้เหตุผลว่า ไทยไม่ได้ต่ออายุการยอมรับปฏิญญาว่าด้วยการบังคับใช้อำนาจของศาลว่า ศาลโลกจึงไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาคดี หรือแม้แต่ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ดังนั้น ฝ่ายไทยต้องต่อสู้ในศาลโลกโดยให้ศาลพิจารณาถึงอำนาจขอบเขตการพิจารณาของศาลเสียก่อน แล้วจึงใช้ข้อสงวนสิทธิที่ไทยได้เคยประกาศไว้ในที่ประชุมสหประชาชาติ เมื่อปี 2505 ต่อไป รวมทั้งการยืนยันในการไม่ยอมรับอำนาจของศาลโลกไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาคดีใหม่ หรือการตีความเพิ่มเติมของคดีเมื่อปี 2505 เพราะผ่านมากว่า 50 ปีแล้ว โดยที่ทั้ง 2 ฝ่าย ก็ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาอย่างเคร่งครัดไม่มีการยื่นคำร้องคัดค้านแต่อย่างไร
"รัฐบาลไทยต้องสู้โดยไม่ยอมรับอำนาจศาลโลก ไม่ใช่นำหลักฐานใหม่ที่อ้างถึงไปสู้ ซึ่งน่าเป็นห่วงว่า ฝ่ายไทยจะเสียเปรียบในเวทีศาลโลก เมื่อถึงเวลานั้นรัฐบาลไม่มีสิทธิที่จะอ้างว่า ศาลโลกเป็นผู้ตัดสิน เพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบ" นายปานเทพกล่าว
** จวก"มาร์ค"งุบงิบสมยอม"ฮุนเซน"
พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ กล่าวว่า ขอตั้งข้อสังเกตว่าการที่รัฐบาลไทยว่าจ้างทนายชาวฝรั่งเศสทำหน้าที่ในศาลโลกนั้น สามารถทำได้หรือไม่ เพราะระเบียบกำหนดไว้ว่า ไม่ให้มีคนสัญชาติเดียวกันเกินกว่า 1 คน อยู่ในศาล แต่ในศาลก็มีผู้แทนของฝรั่งเศสอยู่แล้ว จึงน่าแปลกใจว่า เหตุใดรัฐบาลจึงยังพยายามที่จะใช้ทนายชาวฝรั่งเศส ทั้งที่มีผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศ และมีความรู้ในเรื่องข้อพิพาทปราสาทพระวิหาร อย่างศ.ดร.สมปองอยู่ หรือว่านายกฯ ของ 2 ประเทศ สมยอมกัน
ส่วนกรณีที่นายอภิสิทธิ์ ออกมาระบุยอมรับว่ามีผู้บุกรุกอยู่ในดินแดนของไทย แต่ไม่อยากใช้ความรุนแรง เพราะเห็นว่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านนั้น พล.ต.จำลอง กล่าวว่า การที่นายกฯ ไม่ทำหน้าที่ปกป้องดินแดน โดยอ้างว่าไม่อยากมีปัญหากับเพื่อนบ้านนั้น ถือว่าถูกต้องหรือไม่ หากเป็นบ้านของนายกฯ ถูกบุกรุก จะปล่อยเช่นนี้หรือ
อย่างไรก็ตาม การที่เราเสนอให้มีการผลักดันกัมพูชาออกจากดินแดนไทยนั้น ไม่ใช่ต้องการให้ใช้กำลังไปรบราฆ่าฟัน เพราะยังมีมาตรการทางเศรษฐกิจที่ยังสามารถใช้ได้อีกหลายหนทาง แต่เมื่อรัฐบาลไม่ทำอะไรเลย จึงเป็นการพิสูจน์แล้วว่า เป็นการสมยอมกัน
ด้านนายประพันธ์ คูณมี โฆษกคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย กล่าวเสริมว่า รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีปัญหาในการทำหน้าที่ปกป้องดินแดนอธิปไตยของชาติ โดยมัวแต่สร้างปัญหาเพิ่ม ทั้งที่มีภาคประชาชนคอยคัดค้าน และเสนอข้อมูลทางออก แต่ก็ไม่ยอมทำตาม
อย่างไรก็ตาม จากท่าทีล่าสุดของกองทัพ ทำให้เห็นได้ว่า กองทัพกับรัฐบาลสมรู้ร่วมคิดกัน เพราะจากเดิมที่กองทัพประกาศชัดว่า จะไม่ยอมให้ชุดสังเกตการณ์ของอินโดนีเซียเข้ามาในพื้นที่ หรือไม่ไปประชุมจีบีซี หากไม่มีการถอนทหารกัมพูชาออกจากแผ่นดินไทย แต่สุดท้ายก็ยอมให้ทีมสำรวจล่วงหน้าเข้ามา แสดงให้เห็นถึงความไม่จริงใจในการทำหน้าที่ปกป้องเอกราชของชาติ