ASTVผู้จัดการรายวัน- "ปานเทพ"ซัด "มาร์ค"เจ้าเล่ห์ หวังเอาตัวรอด ส่ง"สุวิทย์"ไปถ่วงเวลาเวทีมรดกโลก ชี้แค่ขอเลื่อนพิจารณาแผนจัดการพระวิหารไม่พอ ต้องขอให้ยกเลิก พร้อมถอนตัวออกจากภาคีมรดกโลกด้วย ย้ำจุดยืน "โหวตโน" เผยเตรียมปักป้ายบิ๊กเบิ้มเพิ่มเติม เชื่อฮือฮาแน่ ด้าน"มาร์ค" ปัดล้มเวทีประชุม จีบีซี ลั่นเดินหน้าต่อ แก้ปัญหาที่ตั้งทหาร เขมรต้องเดินตามกรอบข้อตกลง หากดื้อ ผู้สังเกตการณ์ส่อแววแท้ง เผย รอกำหนดท่าทีหลัง "สุวิทย์" กลับจากฝรั่งเศส ซัด แผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร ทำให้เกิดปัญหา
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึง กรณีที่ พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม ระบุถึงทีมสำรวจของอินโดนีเซียกรณีเขาพระวิหารว่า เป็นเพียงผู้สำรวจล่วงหน้า และไม่ได้อยู่ในข้อกำหนด( ทีโออาร์ )ร่วมกัน 3 ฝ่าย ว่า เรื่องนี้มีความไม่ชัดเจน และยังคลุมเครืออยู่มาก เพราะเป็นข้อมูลที่ไม่ตรงกับที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์ยอมรับว่า จากการพบกันระหว่าง รมว.กลาโหม ของทั้ง 2 ประเทศ มีข้อตกลงร่วมกันถึงแนวทางปฏิบัติที่เป็นขั้นเป็นตอน
โดยข้อแรกใน ทีโออาร์ ระบุให้มีชุดสำรวจล่วงหน้าเข้ามาเพื่อกำหนดจุดว่า ชุดสังเกตการณ์จะมาประจำอยู่จุดไหน โดยจะอยู่เพียง 1-2 วัน แล้วก็จะกลับไป จากคำให้สัมภาษณ์ของนายกฯแสดงให้เห็นว่าชุดสำรวจทีมนี้ เป็นขั้นตอนตาม ทีโออาร์ ที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้ตกลงกันทุกประการ โดยเฉพาะในเรื่องของห้วงเวลาที่ระบุไว้ชัดในเอกสารทีโออาร์ จึงเป็นสาเหตุที่ทางกัมพูชา กล้าบอกว่าการเข้ามาครั้งนี้ เป็นการเดินหน้าตามข้อตกลงที่มีต่อกันเมื่อวันที่ 9 พ.ค.ที่ผ่านมา
"หมายความว่า ประเทศไทยกำลังถลำลึกในข้อตกลงที่ไปแอบตกลงกับเขามา โดยที่ประชาชนไม่รู้ และไม่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภา ซึ่งหากมีผลในการเปลี่ยนแปลงอาณาเขต ก็จะขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 อย่างแน่นอน" นายปานเทพ กล่าว
** ส่ง"สุวิทย์"ไปเจรจาแค่แผนถ่วงเวลา
นายปานเทพ ยังได้กล่าวถึงกรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ระบุว่า ประเด็นที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่จะไปประชุมทวิภาคีกับกัมพูชาในวันที่ 25-26 พ.ค.นี้ ที่ประเทศฝรั่งเศส จะเป็นการเสนอขอเลื่อนวาระการพิจารณาแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารออกไป ว่า การสรุปให้ดำเนินการในแนวทางดังกล่าวนั้น เท่ากับว่าประเทศไทยไม่ได้ปฏิเสธ การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบเป็นมรดกโลก จากมติคณะกรรมการมรดกโลกหลายครั้งที่ผ่านมา และเป็นการเดินหน้าในลักษณะการถ่วงเวลา ที่ปัดความรับผิดชอบให้อยู่ภายใต้การตัดสินใจของรัฐบาลชุดต่อไป เราถือว่า หากนายอภิสิทธิ์ไม่สามารถยับยั้งจัดการให้ถึงขั้นยกเลิกการขึ้นทะเบียนได้ และปล่อยให้มีการเลื่อนออกไปในอนาคต ถือว่ารัฐบาลมีส่วนสมรู้ร่วมคิดในการโยนความรับผิดชอบในเรื่องที่ยังเป็นปัญหา และไม่มีหลักประกันว่า จะสามารถรักษาอธิปไตย หรือปกป้องทวงคืนแผ่นดินไทย หากรัฐบาลนี้ไม่เห็นพ้องด้วยกับแผนและการขึ้นทะเบียนดังกล่าว สิ่งเดียวที่ทำได้ก่อนที่ตัวเองจะหมดวาระการรักษาการไป ก็คือ ต้องประกาศถอนตัวออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลก
" หากมัวแต่ถ่วงเวลาไปจะเป็นภัยอันใหญ่หลวงภายใต้รัฐบาลหน้า เพราะไม่มีหลักประกันใดๆ ทั้งสิ้นว่า การตัดสินใจของรัฐบาลชุดหน้าจะเอื้อประโยชน์หรือขัดขวางแนวทางของคณะกรรมการมรดกโลกในการบริหารจัดการของทางกัมพูชา และทำให้ไทยต้องเสียดินแดน ดังนั้นหากไทยเสียเปรียบในรัฐบาลชุดหน้า ต้องถือว่าเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้" นายปานเทพ กล่าว
** ย้ำจุดยืนพันธมิตรฯ"โหวตโน"
นายปานเทพ กล่าวด้วยว่า วันที่ 25 พ.ค. ถือเป็นวันครบรอบ 3 ปี วันเริ่มต้นชุมนุม 193 วัน ซึ่งถือเป็นการชุมนุมที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย จึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมหลายอย่าง อาทิ การแสดงดนตรี การรำลึกถึงวีรชน การทบทวนแนวทางตลอด 3 ปีที่ผ่านมาของการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ และการเดินหน้าต่อไป ซึ่งในช่วงเวลาประมาณ 19.00 น. นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรคการเมืองให่ ในฐานะอดีตผู้ประสานงานพันธมิตรฯ จะมาร่วมขึ้นเวทีเสวนา เพื่อแสดงจุดยืนในการไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง และสนับสนุนการรณรงค์โหวตโน
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่พรรคเพื่อฟ้าดิน ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเพิ่มเติม นายปานเทพ กล่าวว่า เดิมทีพรรคเพื่อฟ้าดิน ส่งผู้สมัครบัญชีรายชื่อเพียงแค่คนเดียว จึงมีผลทำให้วงเงินในการรณรงค์โหวตโนนั้นจำกัดอยู่ที่วงเงิน 1.5 ล้านบาทเท่านั้น ดังนั้นหากส่งผู้สมัครเพิ่มเติมในระบบเขต ก็จะทำให้มีโอกาสในการรณรงค์เพิ่มมากขึ้น ทำให้การรณรงค์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยน่าจะมีการดำเนินการส่งผู้สมัครไม่ต่ำกกว่า 100 คน ทำให้มีวงเงินไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทในการรณรงค์โหวตโน ทั่วประเทศ แม้ว่าเราจะไม่มีเม็ดเงินมากขนาดนั้น แต่เป็นการครอบคลุมพื้นที่ให้มากที่สุด สำหรับการรณรงค์โหวตโน
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของป้ายคัตเอาต์ขนาดใหญ่ ที่กำลังจะติดตั้งเพิ่มเติมนั้น จะมีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีป้ายรณรงค์มาในประเทศไทย ส่วนจะอยู่ที่ไหน ใหญ่ขนาดไหน และมีเนื้อหาอย่างไรนั้น ขอให้ติดตามต่อไป
** "มาร์ค"ชี้ข้อเท็จจริงจะบอกชาวโลก
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีกัมพูชาจะดำเนินการฟ้องต่อมรดกโลก โดยกล่าวหาว่าไทยยิงปืนใหญ่ใส่เขาพระวิหารกว่า 400 ลูกว่า คิดว่าขณะนี้ข้อเท็จจริงต่างๆ จะเริ่มปรากฏออกมาชัดเจน อย่างน้อยที่สุดการที่กัมพูชา มีทหารอยู่ในตัวปราสาท ซึ่งเป็นการขัดต่อข้อตกลงระหว่างประเทศ และเจตนารมณ์ข้อบังคับของมรดกโลกอย่างชัดแจ้งอยู่แล้ว
ดังนั้น เราจึงไม่ค่อยกังวล เพราะข้อเท็จจริงเหล่านี้เรายืนยันได้ ขณะเดียวกันเรื่องของการดำเนินการตามที่ได้คุยกันที่อินโดนีเซีย ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของรัฐมนตรีต่างประเทศ หรือในส่วนของรัฐมนตรีกลาโหม ได้มีการดำเนินการโดยลำดับ เพราะฉะนั้นความพยายามที่กัมพูชาจะไป ที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ( ยูเอ็นเอสซี ) หรือ มรดกโลก ตนคิดว่าทางองค์กรเหล่านี้จะมองเห็นว่า จริงๆแล้วการดำเนินการที่จะคลี่คลายปัญหา สามารถที่จะเดินไปได้ในขณะนี้ และเราคิดว่า ทางอินโดนีเซีย สามารถที่จะชี้แจงได้ด้วย
เมื่อถามว่า เราเตรียมที่จะรับมืออย่างไรกับสิ่งที่กัมพูชากำลังเดินหน้าอยู่ขณะนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตอนนี้ในเวทีต่างๆ ที่เขาพยายามลากเข้าไป เพราะเขาต้องการให้เห็นว่า มีปัญหา เกิดการปะทะกัน และพยายามที่จะโยนมาที่ฝ่ายเรา แต่คิดว่าจากการที่เราไปคุย 3 ฝ่าย คือ ไทย กัมพูชา และอินโดนีเซีย ที่คอยอำนวยความสะดวกให้ ในการจะมาช่วยคลี่คลายปัญหาในกรอบของอาเซียน ถือว่าเรียบร้อยดี แต่เข้าใจว่า ล่าสุด รมว.กลาโหม ของกัมพูชา กลับไม่ยึดถือตามแนวทางที่คุยกันไว้ แต่อาจจะเป็นเพราะว่า เมื่อกลับไปที่กัมพูชาแล้ว ถูกสั่งให้พยายามที่จะให้เบี่ยงเบนกลับไปเป็นแนวทางเดิม
** ปัดล้มเวทีเจรจา"จีบีซี"
เมื่อถามว่า ทางกัมพูชาอ้างว่าไทยเป็นคนล้มการเจรจาจีบีซี ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร นายกฯ กล่าวว่า ไม่ใช่ เราพูดกันถึงว่า การเดินไปจะต้องมีหลายสิ่งหลายอย่างที่จะทำพร้อมๆ กันไป และเราบอกว่า ควรจะมีการประชุม จีบีซี เพื่อที่จะให้พื้นที่เรียบร้อยจึงจะสามารถมีการสังเกตการณ์ได้ เขาจึงพยายามมาผูกว่า ต้องมีการลงนามเรื่องข้อกำหนดเกี่ยวกับผู้สังเกตการณ์ แต่ในที่สุด ที่ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม และ นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ไปคุยมาว่ายังไม่ได้พูดถึงเรื่องทีโออาร์ เพราะว่าจะมีคณะสำรวจมา ก็จะเป็นความก้าวหน้าอย่างหนึ่ง ในการดำเนินการ ซึ่งได้ตกลงกันเรียบร้อย และมีการดำเนินการในส่วนของฝ่ายไทยที่หารือกับทางอินโดนีเซียอยู่ เพื่อให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นเรายืนยันว่า การเจรจาจีบีซี ยังสามารถเดินหน้าได้
เมื่อถามว่าชุดสำรวจจะมาได้หรือไม่ ถ้าทางกัมพูชา บอกว่าจะไม่มีการเจรจาจีบีซีแล้ว นายกฯ กล่าวว่า ถ้าเป็นอย่างนั้น เท่ากับว่าไม่ทำตามข้อตกลง เพราะฉะนั้นต้องเดินกันตรงนี้ก่อน และขณะนี้ได้มีการพูดคุยกับทางอินโดนีเซียอยู่ เพื่อที่จะให้เขาทำความเข้าใจกับกัมพูชาว่า ตกลงกันไว้อย่างไร ขณะเดียวกันทางอินโดนีเซีย จะได้ใช้โอกาสนี้ในการพูดคุยถึงความก้าวหน้าของการหารือที่ผ่านมา เพื่อให้ทางมรดกโลก และทางสหประชาชาติ ได้ทราบด้วย
** รอกำหนดท่าทีหลัง"สุวิทย์"กลับ
เมื่อถามว่า ทางกัมพูชาได้ใช้วิธีการตุกติกในทุกเรื่อง เพื่อที่จะถ่วงเวลา และนายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนการเจรจามรดกโลกฝ่ายไทย ต้องไปเจรจานอกรอบกับตัวแทนของกัมพูชา ในเรื่องของมรดกโลกนั้น มีความเห็นว่าอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องรอดูว่าท่าที่ที่ฝรั่งเศส เป็นอย่างไร ถ้าหากว่ากลับมาแล้ว ก็ต้องกำหนดท่าทีต่อไป และการที่ไปคุยนอกรอบครั้งนี้ เราหวังว่าจะได้ผลสรุปในระดับหนึ่ง เพราะเราก็ยืนยันมาตลอดว่า การเดินหน้าพิจารณาแผนที่บริหารจัดการพื้นที่ มีแต่จะทำให้ปัญหาเพิ่มมากขึ้น และทุกประเทศ น่าจะช่วยกันคลี่คลายเงื่อนไขความขัดแย้งมากกว่าที่จะมาเติมความขัดแย้ง
เมื่อถามว่า หากดูจากท่าทีของกัมพูชาขณะนี้ จะไม่ยอมง่ายๆ ในการดำเนินการต่างๆ นายกฯ กล่าวว่า เขาก็พยายาม และเป็นความพยายามของเขาที่จะเดินหน้าต่อ แต่เราต้องแสดงให้เห็นว่า การที่จะเดินหน้าต่อ มีแต่จะทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น และดีที่สุดคือ ต้องกลับมาเคารพข้อตกลง 2 ฝ่ายที่มีอยู่
เมื่อถามว่า มีความมั่นใจแค่ไหน ที่ทางมรดกโลกจะรับฟังแนวทางของไทยมากว่าแนวทางของกัมพูชา นายกฯ กล่าวว่า คงจะประเมินได้หลังจากที่นายสุวิทย์ ไปทำงาน ในวันที่ 26-27 นี้ ก็จะประเมินท่าทีกันอีกทีหนึ่ง
**ไม่มีผู้สังเกตการณ์หากเขมรไม่ถอนทหาร
ส่วนขณะนี้ไทยกับกัมพูชา ยังสามารถที่จะคุยกันรู้เรื่องหรือไม่นั้น เห็นว่าที่ผ่านมาหลายเวที โดยเฉพาะล่าสุด ทางรมว.กลาโหม รมว.ประเทศคุยกัน ยังถือว่า คุยกันได้อยู่ เพียงแต่ว่าคุยแล้วต้องมาทำตามข้อตกลงกัน แต่ถ้ายังไม่ปฏิบัติตาม ก็ต้องยืนยันกันว่าต้องปฏิบัติตามนั้น มิฉะนั้นจะเดินหน้าต่อไปไม่ได้
เมื่อถามว่า ควรจะมีอะไรที่จะกดดันกัมพูชาต้องปฏิบัติตามกติกาที่ตกลงกันบ้าง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ส่วนหนึ่งจะเป็นการคุยกันตามช่องทางที่เกี่ยวข้อง กรณีนี้ทางนายกษิต ภิรมย์ และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ คงต้องคุยกับทางฝ่ายกัมพูชา
นอกจากนี้เชื่อว่า ทางอินโดนีเซีย ในฐานะที่เขาเป็นประธานอาเซียน และพยายามมาช่วยดูเรื่องนี้อยู่ เขาคงต้องช่วยกันเคลื่อนให้เดินไปข้างหน้า
เมื่อถามว่า การส่งชุดสำรวจต่างๆ ต้องชะงักไปใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้เรื่องชุดสำรวจ เป็นเรื่องทางอินนีโดเซีย ต้องยืนยันกับเรามา แต่ตนคิดว่าถ้าทางกัมพูชาไปส่งสัญญาณว่า จะไม่ประชุมจีบีซี คงจะทำให้มันสะดุดลง ซึ่งก็ไม่ได้เป็นปัญหาอะไรกับเรา แต่อย่างไรก็ตาม เรายังคงยืนยันอยู่ว่า จีบีซี ควรที่จะต้องประชุม และจะเกิดขึ้นในเวลาที่ใกล้เคียงกับชุดสำรวจ แต่ถ้าทางจีบีซี ยังไม่มีทีท่าว่าจะประชุม ชุดสำรวจคงต้องยังไม่มา
เมื่อถามว่า ปัญหาของไทย-กัมพูชา ที่ต่างฝ่ายต่างมีความเห็นตรงกันข้าม ปัญหาจะจบลงได้ คงต้องใช้เวลาอีกนานใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องใช้เวลา แต่สิ่งสำคัญคือ ทุกอย่างควรแก้ไขกันบนโต๊ะเจรจา ไม่ควรมีความรุนแรง เมื่อถามว่า หากข้อยุติที่ยังไม่สามารถสรุปกันได้ ดังนั้นเรื่องของการส่งชุดผู้สังเกตการณ์คงจะไม่มีเข้ามาในพื้นที่ ใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คงจะเดินยาก ถ้าทางกัมพูชายังไม่ดำเนินการให้มีการประชุมจีบีซี เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องของที่ตั้งของทหาร
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึง กรณีที่ พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม ระบุถึงทีมสำรวจของอินโดนีเซียกรณีเขาพระวิหารว่า เป็นเพียงผู้สำรวจล่วงหน้า และไม่ได้อยู่ในข้อกำหนด( ทีโออาร์ )ร่วมกัน 3 ฝ่าย ว่า เรื่องนี้มีความไม่ชัดเจน และยังคลุมเครืออยู่มาก เพราะเป็นข้อมูลที่ไม่ตรงกับที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์ยอมรับว่า จากการพบกันระหว่าง รมว.กลาโหม ของทั้ง 2 ประเทศ มีข้อตกลงร่วมกันถึงแนวทางปฏิบัติที่เป็นขั้นเป็นตอน
โดยข้อแรกใน ทีโออาร์ ระบุให้มีชุดสำรวจล่วงหน้าเข้ามาเพื่อกำหนดจุดว่า ชุดสังเกตการณ์จะมาประจำอยู่จุดไหน โดยจะอยู่เพียง 1-2 วัน แล้วก็จะกลับไป จากคำให้สัมภาษณ์ของนายกฯแสดงให้เห็นว่าชุดสำรวจทีมนี้ เป็นขั้นตอนตาม ทีโออาร์ ที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้ตกลงกันทุกประการ โดยเฉพาะในเรื่องของห้วงเวลาที่ระบุไว้ชัดในเอกสารทีโออาร์ จึงเป็นสาเหตุที่ทางกัมพูชา กล้าบอกว่าการเข้ามาครั้งนี้ เป็นการเดินหน้าตามข้อตกลงที่มีต่อกันเมื่อวันที่ 9 พ.ค.ที่ผ่านมา
"หมายความว่า ประเทศไทยกำลังถลำลึกในข้อตกลงที่ไปแอบตกลงกับเขามา โดยที่ประชาชนไม่รู้ และไม่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภา ซึ่งหากมีผลในการเปลี่ยนแปลงอาณาเขต ก็จะขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 อย่างแน่นอน" นายปานเทพ กล่าว
** ส่ง"สุวิทย์"ไปเจรจาแค่แผนถ่วงเวลา
นายปานเทพ ยังได้กล่าวถึงกรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ระบุว่า ประเด็นที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่จะไปประชุมทวิภาคีกับกัมพูชาในวันที่ 25-26 พ.ค.นี้ ที่ประเทศฝรั่งเศส จะเป็นการเสนอขอเลื่อนวาระการพิจารณาแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารออกไป ว่า การสรุปให้ดำเนินการในแนวทางดังกล่าวนั้น เท่ากับว่าประเทศไทยไม่ได้ปฏิเสธ การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบเป็นมรดกโลก จากมติคณะกรรมการมรดกโลกหลายครั้งที่ผ่านมา และเป็นการเดินหน้าในลักษณะการถ่วงเวลา ที่ปัดความรับผิดชอบให้อยู่ภายใต้การตัดสินใจของรัฐบาลชุดต่อไป เราถือว่า หากนายอภิสิทธิ์ไม่สามารถยับยั้งจัดการให้ถึงขั้นยกเลิกการขึ้นทะเบียนได้ และปล่อยให้มีการเลื่อนออกไปในอนาคต ถือว่ารัฐบาลมีส่วนสมรู้ร่วมคิดในการโยนความรับผิดชอบในเรื่องที่ยังเป็นปัญหา และไม่มีหลักประกันว่า จะสามารถรักษาอธิปไตย หรือปกป้องทวงคืนแผ่นดินไทย หากรัฐบาลนี้ไม่เห็นพ้องด้วยกับแผนและการขึ้นทะเบียนดังกล่าว สิ่งเดียวที่ทำได้ก่อนที่ตัวเองจะหมดวาระการรักษาการไป ก็คือ ต้องประกาศถอนตัวออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลก
" หากมัวแต่ถ่วงเวลาไปจะเป็นภัยอันใหญ่หลวงภายใต้รัฐบาลหน้า เพราะไม่มีหลักประกันใดๆ ทั้งสิ้นว่า การตัดสินใจของรัฐบาลชุดหน้าจะเอื้อประโยชน์หรือขัดขวางแนวทางของคณะกรรมการมรดกโลกในการบริหารจัดการของทางกัมพูชา และทำให้ไทยต้องเสียดินแดน ดังนั้นหากไทยเสียเปรียบในรัฐบาลชุดหน้า ต้องถือว่าเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้" นายปานเทพ กล่าว
** ย้ำจุดยืนพันธมิตรฯ"โหวตโน"
นายปานเทพ กล่าวด้วยว่า วันที่ 25 พ.ค. ถือเป็นวันครบรอบ 3 ปี วันเริ่มต้นชุมนุม 193 วัน ซึ่งถือเป็นการชุมนุมที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย จึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมหลายอย่าง อาทิ การแสดงดนตรี การรำลึกถึงวีรชน การทบทวนแนวทางตลอด 3 ปีที่ผ่านมาของการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ และการเดินหน้าต่อไป ซึ่งในช่วงเวลาประมาณ 19.00 น. นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรคการเมืองให่ ในฐานะอดีตผู้ประสานงานพันธมิตรฯ จะมาร่วมขึ้นเวทีเสวนา เพื่อแสดงจุดยืนในการไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง และสนับสนุนการรณรงค์โหวตโน
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่พรรคเพื่อฟ้าดิน ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเพิ่มเติม นายปานเทพ กล่าวว่า เดิมทีพรรคเพื่อฟ้าดิน ส่งผู้สมัครบัญชีรายชื่อเพียงแค่คนเดียว จึงมีผลทำให้วงเงินในการรณรงค์โหวตโนนั้นจำกัดอยู่ที่วงเงิน 1.5 ล้านบาทเท่านั้น ดังนั้นหากส่งผู้สมัครเพิ่มเติมในระบบเขต ก็จะทำให้มีโอกาสในการรณรงค์เพิ่มมากขึ้น ทำให้การรณรงค์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยน่าจะมีการดำเนินการส่งผู้สมัครไม่ต่ำกกว่า 100 คน ทำให้มีวงเงินไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทในการรณรงค์โหวตโน ทั่วประเทศ แม้ว่าเราจะไม่มีเม็ดเงินมากขนาดนั้น แต่เป็นการครอบคลุมพื้นที่ให้มากที่สุด สำหรับการรณรงค์โหวตโน
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของป้ายคัตเอาต์ขนาดใหญ่ ที่กำลังจะติดตั้งเพิ่มเติมนั้น จะมีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีป้ายรณรงค์มาในประเทศไทย ส่วนจะอยู่ที่ไหน ใหญ่ขนาดไหน และมีเนื้อหาอย่างไรนั้น ขอให้ติดตามต่อไป
** "มาร์ค"ชี้ข้อเท็จจริงจะบอกชาวโลก
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีกัมพูชาจะดำเนินการฟ้องต่อมรดกโลก โดยกล่าวหาว่าไทยยิงปืนใหญ่ใส่เขาพระวิหารกว่า 400 ลูกว่า คิดว่าขณะนี้ข้อเท็จจริงต่างๆ จะเริ่มปรากฏออกมาชัดเจน อย่างน้อยที่สุดการที่กัมพูชา มีทหารอยู่ในตัวปราสาท ซึ่งเป็นการขัดต่อข้อตกลงระหว่างประเทศ และเจตนารมณ์ข้อบังคับของมรดกโลกอย่างชัดแจ้งอยู่แล้ว
ดังนั้น เราจึงไม่ค่อยกังวล เพราะข้อเท็จจริงเหล่านี้เรายืนยันได้ ขณะเดียวกันเรื่องของการดำเนินการตามที่ได้คุยกันที่อินโดนีเซีย ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของรัฐมนตรีต่างประเทศ หรือในส่วนของรัฐมนตรีกลาโหม ได้มีการดำเนินการโดยลำดับ เพราะฉะนั้นความพยายามที่กัมพูชาจะไป ที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ( ยูเอ็นเอสซี ) หรือ มรดกโลก ตนคิดว่าทางองค์กรเหล่านี้จะมองเห็นว่า จริงๆแล้วการดำเนินการที่จะคลี่คลายปัญหา สามารถที่จะเดินไปได้ในขณะนี้ และเราคิดว่า ทางอินโดนีเซีย สามารถที่จะชี้แจงได้ด้วย
เมื่อถามว่า เราเตรียมที่จะรับมืออย่างไรกับสิ่งที่กัมพูชากำลังเดินหน้าอยู่ขณะนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตอนนี้ในเวทีต่างๆ ที่เขาพยายามลากเข้าไป เพราะเขาต้องการให้เห็นว่า มีปัญหา เกิดการปะทะกัน และพยายามที่จะโยนมาที่ฝ่ายเรา แต่คิดว่าจากการที่เราไปคุย 3 ฝ่าย คือ ไทย กัมพูชา และอินโดนีเซีย ที่คอยอำนวยความสะดวกให้ ในการจะมาช่วยคลี่คลายปัญหาในกรอบของอาเซียน ถือว่าเรียบร้อยดี แต่เข้าใจว่า ล่าสุด รมว.กลาโหม ของกัมพูชา กลับไม่ยึดถือตามแนวทางที่คุยกันไว้ แต่อาจจะเป็นเพราะว่า เมื่อกลับไปที่กัมพูชาแล้ว ถูกสั่งให้พยายามที่จะให้เบี่ยงเบนกลับไปเป็นแนวทางเดิม
** ปัดล้มเวทีเจรจา"จีบีซี"
เมื่อถามว่า ทางกัมพูชาอ้างว่าไทยเป็นคนล้มการเจรจาจีบีซี ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร นายกฯ กล่าวว่า ไม่ใช่ เราพูดกันถึงว่า การเดินไปจะต้องมีหลายสิ่งหลายอย่างที่จะทำพร้อมๆ กันไป และเราบอกว่า ควรจะมีการประชุม จีบีซี เพื่อที่จะให้พื้นที่เรียบร้อยจึงจะสามารถมีการสังเกตการณ์ได้ เขาจึงพยายามมาผูกว่า ต้องมีการลงนามเรื่องข้อกำหนดเกี่ยวกับผู้สังเกตการณ์ แต่ในที่สุด ที่ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม และ นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ไปคุยมาว่ายังไม่ได้พูดถึงเรื่องทีโออาร์ เพราะว่าจะมีคณะสำรวจมา ก็จะเป็นความก้าวหน้าอย่างหนึ่ง ในการดำเนินการ ซึ่งได้ตกลงกันเรียบร้อย และมีการดำเนินการในส่วนของฝ่ายไทยที่หารือกับทางอินโดนีเซียอยู่ เพื่อให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นเรายืนยันว่า การเจรจาจีบีซี ยังสามารถเดินหน้าได้
เมื่อถามว่าชุดสำรวจจะมาได้หรือไม่ ถ้าทางกัมพูชา บอกว่าจะไม่มีการเจรจาจีบีซีแล้ว นายกฯ กล่าวว่า ถ้าเป็นอย่างนั้น เท่ากับว่าไม่ทำตามข้อตกลง เพราะฉะนั้นต้องเดินกันตรงนี้ก่อน และขณะนี้ได้มีการพูดคุยกับทางอินโดนีเซียอยู่ เพื่อที่จะให้เขาทำความเข้าใจกับกัมพูชาว่า ตกลงกันไว้อย่างไร ขณะเดียวกันทางอินโดนีเซีย จะได้ใช้โอกาสนี้ในการพูดคุยถึงความก้าวหน้าของการหารือที่ผ่านมา เพื่อให้ทางมรดกโลก และทางสหประชาชาติ ได้ทราบด้วย
** รอกำหนดท่าทีหลัง"สุวิทย์"กลับ
เมื่อถามว่า ทางกัมพูชาได้ใช้วิธีการตุกติกในทุกเรื่อง เพื่อที่จะถ่วงเวลา และนายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนการเจรจามรดกโลกฝ่ายไทย ต้องไปเจรจานอกรอบกับตัวแทนของกัมพูชา ในเรื่องของมรดกโลกนั้น มีความเห็นว่าอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องรอดูว่าท่าที่ที่ฝรั่งเศส เป็นอย่างไร ถ้าหากว่ากลับมาแล้ว ก็ต้องกำหนดท่าทีต่อไป และการที่ไปคุยนอกรอบครั้งนี้ เราหวังว่าจะได้ผลสรุปในระดับหนึ่ง เพราะเราก็ยืนยันมาตลอดว่า การเดินหน้าพิจารณาแผนที่บริหารจัดการพื้นที่ มีแต่จะทำให้ปัญหาเพิ่มมากขึ้น และทุกประเทศ น่าจะช่วยกันคลี่คลายเงื่อนไขความขัดแย้งมากกว่าที่จะมาเติมความขัดแย้ง
เมื่อถามว่า หากดูจากท่าทีของกัมพูชาขณะนี้ จะไม่ยอมง่ายๆ ในการดำเนินการต่างๆ นายกฯ กล่าวว่า เขาก็พยายาม และเป็นความพยายามของเขาที่จะเดินหน้าต่อ แต่เราต้องแสดงให้เห็นว่า การที่จะเดินหน้าต่อ มีแต่จะทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น และดีที่สุดคือ ต้องกลับมาเคารพข้อตกลง 2 ฝ่ายที่มีอยู่
เมื่อถามว่า มีความมั่นใจแค่ไหน ที่ทางมรดกโลกจะรับฟังแนวทางของไทยมากว่าแนวทางของกัมพูชา นายกฯ กล่าวว่า คงจะประเมินได้หลังจากที่นายสุวิทย์ ไปทำงาน ในวันที่ 26-27 นี้ ก็จะประเมินท่าทีกันอีกทีหนึ่ง
**ไม่มีผู้สังเกตการณ์หากเขมรไม่ถอนทหาร
ส่วนขณะนี้ไทยกับกัมพูชา ยังสามารถที่จะคุยกันรู้เรื่องหรือไม่นั้น เห็นว่าที่ผ่านมาหลายเวที โดยเฉพาะล่าสุด ทางรมว.กลาโหม รมว.ประเทศคุยกัน ยังถือว่า คุยกันได้อยู่ เพียงแต่ว่าคุยแล้วต้องมาทำตามข้อตกลงกัน แต่ถ้ายังไม่ปฏิบัติตาม ก็ต้องยืนยันกันว่าต้องปฏิบัติตามนั้น มิฉะนั้นจะเดินหน้าต่อไปไม่ได้
เมื่อถามว่า ควรจะมีอะไรที่จะกดดันกัมพูชาต้องปฏิบัติตามกติกาที่ตกลงกันบ้าง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ส่วนหนึ่งจะเป็นการคุยกันตามช่องทางที่เกี่ยวข้อง กรณีนี้ทางนายกษิต ภิรมย์ และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ คงต้องคุยกับทางฝ่ายกัมพูชา
นอกจากนี้เชื่อว่า ทางอินโดนีเซีย ในฐานะที่เขาเป็นประธานอาเซียน และพยายามมาช่วยดูเรื่องนี้อยู่ เขาคงต้องช่วยกันเคลื่อนให้เดินไปข้างหน้า
เมื่อถามว่า การส่งชุดสำรวจต่างๆ ต้องชะงักไปใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้เรื่องชุดสำรวจ เป็นเรื่องทางอินนีโดเซีย ต้องยืนยันกับเรามา แต่ตนคิดว่าถ้าทางกัมพูชาไปส่งสัญญาณว่า จะไม่ประชุมจีบีซี คงจะทำให้มันสะดุดลง ซึ่งก็ไม่ได้เป็นปัญหาอะไรกับเรา แต่อย่างไรก็ตาม เรายังคงยืนยันอยู่ว่า จีบีซี ควรที่จะต้องประชุม และจะเกิดขึ้นในเวลาที่ใกล้เคียงกับชุดสำรวจ แต่ถ้าทางจีบีซี ยังไม่มีทีท่าว่าจะประชุม ชุดสำรวจคงต้องยังไม่มา
เมื่อถามว่า ปัญหาของไทย-กัมพูชา ที่ต่างฝ่ายต่างมีความเห็นตรงกันข้าม ปัญหาจะจบลงได้ คงต้องใช้เวลาอีกนานใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องใช้เวลา แต่สิ่งสำคัญคือ ทุกอย่างควรแก้ไขกันบนโต๊ะเจรจา ไม่ควรมีความรุนแรง เมื่อถามว่า หากข้อยุติที่ยังไม่สามารถสรุปกันได้ ดังนั้นเรื่องของการส่งชุดผู้สังเกตการณ์คงจะไม่มีเข้ามาในพื้นที่ ใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คงจะเดินยาก ถ้าทางกัมพูชายังไม่ดำเนินการให้มีการประชุมจีบีซี เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องของที่ตั้งของทหาร