ASTVผู้จัดการรายวัน - พธม.แฉ “กษิต-ประวิตร” งุบงิบคุยเขมร ยอมให้ส่งทีมอิเหนาเข้าพื้นที่ 4.6 ตร.กม. ชี้เข้าข่ายเปลี่ยนอาณาเขต เปิดโอกาสให้ถูกยึดแผ่นดินถาวร ขู่ออกมาแจงให้ชัด ก่อนโดนเล่นทาง กม.อาญา ม.119-120 ด้าน“สุวิทย์”บินไปฝรั่งเศส หารือร่วมกัมพูชานอกรอบก่อนประชุมคณะกรรมการมรดกโลก 25 พ.ค.
วานนี้ (22 พ.ค.) ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพัธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.เตียบัน รมว.กลาโหม กัมพูชา ออกมาระบุว่าฝ่ายไทยโดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ได้ให้ความยินยอมในการนำชุดล่วงของคณะผู้สังเกตการณ์ชาวอินโดนีเซียเข้ามาสำรวจพื้นที่ 4.6 ตร.กม. โดยจะมีการพรางตัวใส่ชุดพลเรือน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ราษฎรไทยทราบ ว่า เรื่องนี้ภาคประชาชนมีความไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะการส่งทีมล่วงหน้าเข้ามานั้น ก็เพื่อต้องการไม่ให้เกิดการปะทะขึ้นอีก โดยที่เข้ามาเป็นสักขีพยานทหารกัมพูชายังยึดครองดินแดนไทยอยู่ ซึ่งถือว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศอย่างชัดเจน ทำให้ทหารไทยไม่สามารถใช้กำลังผลักดันให้กัมพูชาออกจากแผ่นดินไทยได้ เมื่อเป็นเช่นนี้เท่ากับว่ากัมพูชาจะสามารถยึดครองแดนไทยไว้ได้จนกว่าจะมีการเรจาที่ทำให้ฝ่ายกัมพูชาพอใจ หรือมีสิทธิ์ครอบครองออกไปอย่างไม่มีกำหนดระยะเวลานั่นเอง เท่ากับไทยต้องเสียดินแดนในท้ายที่สุด
นายปานเทพ กล่าวอีกว่า ข้อตกลงเป็นเริ่มมาจากที่นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ได้ตกลงเจรจากับฝ่ายกัมพูชามาก่อนหน้านี้ แต่กลับไม่เคยได้รับคำชี้แจงที่ออกมาจากกระทรวงการต่างประเทศเลย เราจึงขอเรียกร้องให้ทั้ง พล.อ.ประวิตร และนายกษิต ออกมาชี้แจงในประเด็นนี้ให้ชัดเจนว่าได้มีการตกลงกับฝ่ายกัมพูชาล่วงหน้าหรือไม่ รวมทั้งยังตกลงในเงื่อนเวลาที่กัมพูชาวางไว้ โดยไม่ได้มีเงื่อนไขที่ให้กัมพูชาถอนกำลังออกจาดินแดนไทยแต่อย่างใด
“จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลไทยต้องออกมาแถลงจุดยืนให้ชัดว่าได้ไปทำการตกลงที่ทำให้ประเทศต้องเสียเปรียบเช่นนี้หรือไม่ หากเป็นจริงก็จะเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 119-120 และบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เพราะเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับอาณาเขตดินแดน แต่ไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ภาคประชาชนจึงจำเป็นที่ต้องดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป” นายปานเทพ กล่าว
ขณะนี้กระแสการเลือกตั้ง ทำให้ประชาชนไม่ได้ให้ความสนใจในข้อพิพาทระหว่างไทยหับกัมพูชาเท่าที่ควร ทั้งที่กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลโลก และศาลได้พิจารณารับคำร้องใน 2 ประเด็น คือ การสั่งคุ้มครองชั่วคราวพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหาร และตีความคำพิพากษาเมื่อปี 2505 เพิ่มเติม ซึ่งเรียกให้ฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยเข้าให้ข้อมูลในวันที่ 30 พ.ค.นี้ ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในกรณีนี้รัฐบาลต้องห้ามส่งทนายความฝรั่งเศสไปเด็ดขาด ควรมอบหมายให้เป็นหน้าที่ของเอกอัครราชทูตประจำกรุงเฮก ในการไปแก้ต่างว่าศาลโลกไม่มีอำนาจพิจารณาใดๆเพิ่มเติม เพราะไทยไม่ยอมรับคำวินิจฉัย และไม่ได้ต่อสัญยาการเป็นอนุภาคีศาลโลก แม้แต่การส่งกองกำลังสันติภาพของสหประชาชาติเข้ามา ก็ไม่เป็นอำนาจของศาล เพราะเรื่องนี้ต้องเป็นมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอสซี) รวมไปถึงกรณีที่คณะกรรมการมรดกโลกจะเดินหน้าในการพิจารณาแผนบริหารจัดการมรดกโลกต่อ โดยยังไม่มีสัญญาณว่าจะเลื่อนการประชุม ในวันที่ 26-29 มิ.ย.นั้น เท่ากับเอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชา และเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อประเทศไทย ดังนั้นไทยต้องรีบถอนตัวออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลกห่อนที่จะมีการลงมติ
“หากรัฐบาลไทยพลาด ปล่อยให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนพร้อมแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารสำเร็จ ก็เชื่อว่ากระแสโหวตโนจะรุนแรง ชัดเจน และกว้างขวางมากขึ้น เพราะความผิดพลาดที่รัฐบาลก่อไว้ ดังนั้นรัฐบาลต้องเร่งแก้ไขในจุดนี้ทันที” นายปานเทพ กล่าว
**สุวิทย์เจรจาเขมรนอกรอบปมพระวิหาร
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ในวันที่ 23 พ.ค.นี้ จะเดินทางไปประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่ประเทศฝรั่งเศส และได้มีการประชุมสองฝ่ายระหว่างไทยกับกัมพูชาตามที่ทางยูเนสโก ขอให้มีการพูดคุยก่อนการประชุม เพื่อหาทางยุติปัญหา และป้องกันการทะเลาะในที่ประชุม ซึ่งในส่วนของไทยได้จัดเตรียมข้อมูลต่างไว้แล้ว แต่ยังไม่สมบูรณ์
ทั้งนี้ จะประชุมหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมข้อมูลให้ครบถ้วน เนื่องจากหากขาดความระมัดระวังหรือไม่รอบคอบ อาจส่งผลกระทบต่ออำนาจอธิปไตย และเขตแดนของไทยได้ ส่วนกรณีที่กัมพูชา จะส่งเอกสารหลักฐานแผนบริหารจัดการ หลังจากได้ตรวจสอบแล้วพบว่า ยังมีข้อบกพร่อง ทำให้ไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการพิจารณาได้ หากกัมพูชาจะผลักดันเข้าสู่การพิจารณา ก็ต้องพิจารณาอีกครั้ง
รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังกล่าวถึงการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งนี้ว่า ได้กำหนดวาระไว้แล้ว จึงขึ้นอยู่กับการประชุมรวมสองฝ่ายว่า จะหาข้อยุติได้หรือไม่ เพื่อให้คณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาว่าจะเลื่อนการพิจารณาหรือถอนวาระดังกล่าวออกจากที่ประชุม
วานนี้ (22 พ.ค.) ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพัธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.เตียบัน รมว.กลาโหม กัมพูชา ออกมาระบุว่าฝ่ายไทยโดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ได้ให้ความยินยอมในการนำชุดล่วงของคณะผู้สังเกตการณ์ชาวอินโดนีเซียเข้ามาสำรวจพื้นที่ 4.6 ตร.กม. โดยจะมีการพรางตัวใส่ชุดพลเรือน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ราษฎรไทยทราบ ว่า เรื่องนี้ภาคประชาชนมีความไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะการส่งทีมล่วงหน้าเข้ามานั้น ก็เพื่อต้องการไม่ให้เกิดการปะทะขึ้นอีก โดยที่เข้ามาเป็นสักขีพยานทหารกัมพูชายังยึดครองดินแดนไทยอยู่ ซึ่งถือว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศอย่างชัดเจน ทำให้ทหารไทยไม่สามารถใช้กำลังผลักดันให้กัมพูชาออกจากแผ่นดินไทยได้ เมื่อเป็นเช่นนี้เท่ากับว่ากัมพูชาจะสามารถยึดครองแดนไทยไว้ได้จนกว่าจะมีการเรจาที่ทำให้ฝ่ายกัมพูชาพอใจ หรือมีสิทธิ์ครอบครองออกไปอย่างไม่มีกำหนดระยะเวลานั่นเอง เท่ากับไทยต้องเสียดินแดนในท้ายที่สุด
นายปานเทพ กล่าวอีกว่า ข้อตกลงเป็นเริ่มมาจากที่นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ได้ตกลงเจรจากับฝ่ายกัมพูชามาก่อนหน้านี้ แต่กลับไม่เคยได้รับคำชี้แจงที่ออกมาจากกระทรวงการต่างประเทศเลย เราจึงขอเรียกร้องให้ทั้ง พล.อ.ประวิตร และนายกษิต ออกมาชี้แจงในประเด็นนี้ให้ชัดเจนว่าได้มีการตกลงกับฝ่ายกัมพูชาล่วงหน้าหรือไม่ รวมทั้งยังตกลงในเงื่อนเวลาที่กัมพูชาวางไว้ โดยไม่ได้มีเงื่อนไขที่ให้กัมพูชาถอนกำลังออกจาดินแดนไทยแต่อย่างใด
“จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลไทยต้องออกมาแถลงจุดยืนให้ชัดว่าได้ไปทำการตกลงที่ทำให้ประเทศต้องเสียเปรียบเช่นนี้หรือไม่ หากเป็นจริงก็จะเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 119-120 และบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เพราะเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับอาณาเขตดินแดน แต่ไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ภาคประชาชนจึงจำเป็นที่ต้องดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป” นายปานเทพ กล่าว
ขณะนี้กระแสการเลือกตั้ง ทำให้ประชาชนไม่ได้ให้ความสนใจในข้อพิพาทระหว่างไทยหับกัมพูชาเท่าที่ควร ทั้งที่กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลโลก และศาลได้พิจารณารับคำร้องใน 2 ประเด็น คือ การสั่งคุ้มครองชั่วคราวพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหาร และตีความคำพิพากษาเมื่อปี 2505 เพิ่มเติม ซึ่งเรียกให้ฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยเข้าให้ข้อมูลในวันที่ 30 พ.ค.นี้ ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในกรณีนี้รัฐบาลต้องห้ามส่งทนายความฝรั่งเศสไปเด็ดขาด ควรมอบหมายให้เป็นหน้าที่ของเอกอัครราชทูตประจำกรุงเฮก ในการไปแก้ต่างว่าศาลโลกไม่มีอำนาจพิจารณาใดๆเพิ่มเติม เพราะไทยไม่ยอมรับคำวินิจฉัย และไม่ได้ต่อสัญยาการเป็นอนุภาคีศาลโลก แม้แต่การส่งกองกำลังสันติภาพของสหประชาชาติเข้ามา ก็ไม่เป็นอำนาจของศาล เพราะเรื่องนี้ต้องเป็นมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอสซี) รวมไปถึงกรณีที่คณะกรรมการมรดกโลกจะเดินหน้าในการพิจารณาแผนบริหารจัดการมรดกโลกต่อ โดยยังไม่มีสัญญาณว่าจะเลื่อนการประชุม ในวันที่ 26-29 มิ.ย.นั้น เท่ากับเอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชา และเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อประเทศไทย ดังนั้นไทยต้องรีบถอนตัวออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลกห่อนที่จะมีการลงมติ
“หากรัฐบาลไทยพลาด ปล่อยให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนพร้อมแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารสำเร็จ ก็เชื่อว่ากระแสโหวตโนจะรุนแรง ชัดเจน และกว้างขวางมากขึ้น เพราะความผิดพลาดที่รัฐบาลก่อไว้ ดังนั้นรัฐบาลต้องเร่งแก้ไขในจุดนี้ทันที” นายปานเทพ กล่าว
**สุวิทย์เจรจาเขมรนอกรอบปมพระวิหาร
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ในวันที่ 23 พ.ค.นี้ จะเดินทางไปประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่ประเทศฝรั่งเศส และได้มีการประชุมสองฝ่ายระหว่างไทยกับกัมพูชาตามที่ทางยูเนสโก ขอให้มีการพูดคุยก่อนการประชุม เพื่อหาทางยุติปัญหา และป้องกันการทะเลาะในที่ประชุม ซึ่งในส่วนของไทยได้จัดเตรียมข้อมูลต่างไว้แล้ว แต่ยังไม่สมบูรณ์
ทั้งนี้ จะประชุมหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมข้อมูลให้ครบถ้วน เนื่องจากหากขาดความระมัดระวังหรือไม่รอบคอบ อาจส่งผลกระทบต่ออำนาจอธิปไตย และเขตแดนของไทยได้ ส่วนกรณีที่กัมพูชา จะส่งเอกสารหลักฐานแผนบริหารจัดการ หลังจากได้ตรวจสอบแล้วพบว่า ยังมีข้อบกพร่อง ทำให้ไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการพิจารณาได้ หากกัมพูชาจะผลักดันเข้าสู่การพิจารณา ก็ต้องพิจารณาอีกครั้ง
รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังกล่าวถึงการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งนี้ว่า ได้กำหนดวาระไว้แล้ว จึงขึ้นอยู่กับการประชุมรวมสองฝ่ายว่า จะหาข้อยุติได้หรือไม่ เพื่อให้คณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาว่าจะเลื่อนการพิจารณาหรือถอนวาระดังกล่าวออกจากที่ประชุม