ASTVผู้จัดการรายวัน- “มาร์ค” กลับลำ ไม่ให้อินโดฯเข้าพื้นที่ 4.6 กม. ย้ำเป็นดินแดนไทย สั่ง กต.หารืออินโดฯให้ชัดเจน ไม่สนเจรจายืดเยื้อไปเรื่อย ขณะที่ “ทีโออาร์อัปยศ” ฉบับเต็ม ให้ทีมสังเกตการณ์อินโดฯมีทั้งทหาร ขรก.พลเรือน ไม่ต้องติดอาวุธ-เครื่องแบบ เผยต้องส่งรายงานให้อินโดฯทุก ๆ วัน โดยรัฐบาลอินโดฯจะเป็นผู้สั่งสิ้นสุดหรือชะลอ
วานนี้ (10 เม.ย) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่นายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศของกัมพูชา ออกมาแสดงความผิดหวังที่ไทยปฏิเสธให้กองกำลังของประเทศอินโดนีเซีย เข้ามาสังเกตการณ์ว่า การจะเข้ามาสังเกตการณ์ จะต้องมีการตกลงกันว่ามาสังเกตการณ์ที่ไหน และเมื่อพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร เป็นของไทยจะเอามาสังเกตการณ์ในฝ่ายไทยได้อย่างไร ซึ่งต้องมาดูว่า พื้นที่ที่จะสังเกตการณ์อยู่ตรงไหน ถ้าไปสังเกตการณ์ในดินแดนของกัมพูชา คงไม่มีปัญหา ซึ่งตรงนี้ทางกระทรวงการต่างประเทศ ต้องไปพูดคุย
ผู้สื่อข่าวถามว่าดูเหมือนกับว่า ทางกัมพูชาจะไม่พอใจผลการเจรจา นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เป็นธรรมดา การเจรจาคงทำให้พอใจทุกฝ่ายไม่ได้ แต่สิ่งสำคัญคือ จะต้องมีการเจรจากันต่อไป เพื่อแสดงให้เห็นว่า กลไกนี้มันยังสามารถที่จะพิจารณาเรื่องที่เป็นสาระตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ได้อยู่ ที่ขณะนี้มีการนำเรื่องภาพถ่ายทางอากาศ, การเดินสำรวจในหลักเขตต่างๆ ที่ยังมีปัญหาอยู่
เมื่อถามว่า เวลานี้กลไกต่างๆ เริ่มเดินหน้าแล้ว ก็คงไม่จำเป็นที่จะต้องไประชุมที่ประเทศอินโดนีเซีย ต่อไปหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตรงนี้จะไปตกลงกันอีกที เพราะตรงนี้ก็เป็นประเด็นหนึ่งที่ยังมีความเห็นขัดกัน และการประชุมในครั้งต่อไป จะเดินโดยผ่านกลไกอะไร เพราะตนดูจากบันทึกของการพูดคุยกัน พบว่ายังมีการแยกกันเขียนอยู่ ฝ่ายไทยเห็นอย่าง ทางกัมพูชาเห็นอย่าง ซึ่งฝ่ายไทยก็ทำทุกอย่างตามปกติ และเห็นว่าเราน่าจะเดินกลับมาสู่ภาวะปกติได้แล้ว แต่ทางกัมพูชา ยังมีความพยายามให้อินโดนีเซีย ในฐานะประธานอาเซียน เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกอยู่
เมื่อถามว่า ทางอินโดนีเซียเห็นว่า ทุกอย่างน่าจะกลับสู่ภาวะปกติ และสองประเทศน่าจะเดินหน้าได้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ระหว่างนี้ก็จะต้องมีการหารือกันไปเรื่อยๆ ระหว่างไทย และกัมพูชา และทางประธานอาเซียน น่าจะมีการสอบถามมาเป็นระยะ โดยเราจะคลี่คลายปัญหาโดยการอำนวยความสะดวกให้กลไกเดินหน้าต่อได้
**ลั่นไม่ให้อินโดฯเข้าพื้นที่ 4.6 กม.
ส่วนกรณีที่กัมพูชาออกมากล่าวว่าให้ไทยยอมรับอินโดนีเซีย ในฐานะประธานอาเซียน ตรงนี้ไทยจำเป็นที่จะต้องยอมรับไปทุกเรื่องหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เวลานี้ บทบาทของอินโดนีเซียได้เข้ามาช่วยในเรื่องบทบาทของการอำนวยความสะดวก จัดให้มีการประชุม ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะฉะนั้นจะมีการมองว่าสองฝ่ายพูดคุยกันได้หรือไม่ และเมื่อเวลานี้เขาจัดให้ก็คุยกันได้แล้วนับว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่เรื่องผู้สังเกตการณ์ต้องไปดูเรื่องพื้นที่
“ถ้าผมเอาทหาร หรือใคร ของอินโดนีเซียไปสังเกตการณ์อยู่ฝั่งกัมพูชาได้ไหม มันก็เป็นไปไม่ได้ กัมพูชาเขาก็ไม่ยอม เวลานี้ไม่ได้มีเรื่องทหาร แต่มีเรื่องของผู้สังเกตการณ์ ซึ่งจะต้องไม่ติดอาวุธอยู่แน่นอน ส่วนเรื่องจะเป็นใคร ที่ไหน เป็นเรื่องของรายละเอียดที่ต้องไปพูดคุยกันต่อไปเท่านั้นเอง เดิมนั้นมีการกำหนดเอาไว้ว่า ผู้สังเกตการณ์จะมี 15 คน อยู่ในไทยและอีก 15 คนอยู่ในกัมพูชา แต่เมื่อถามไปว่า อยู่ที่ไหน ทางกัมพูชาบอกว่าจะเอามาอยู่ 4.6 ตารางกิโลเมตร เราบอกว่าแบบนี้มันไม่ถูก เพราะ 4.6 ตารางกิโลเมตรนั้น เราถือว่าเป็นของเราจะเอามาอยู่ตรงนี้ไม่ได้ มันก็ทำให้ตกลงกันไม่ได้เท่านั้นเอง ผมเอง ผมก็มีความรู้สึกว่า ถ้าเวลามันเดินต่อไป แล้วเห็นได้ว่าในพื้นที่บริหารจัดการกันได้ ก็อาจจะทบทวนตรงนี้ อินโดนีเซีย ก็คงดูอยู่ เราจะดูไปตามสถานการณ์ เรื่องพื้นที่ถ้าสมมุติว่าตกลงกันได้ ก็เดินหน้า ถ้าตกลงไม่ได้ ก็ต้องคุยกันใหม่” นายกฯกล่าว
เมื่อถามว่า ไทยจะเป็นคนเสนอเรื่องดังกล่าว เพราะอินโดนีเซีย พร้อมที่จะทำตรงนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เราพูดคุยตลอดเวลา ซึ่งเราเองก็บอกให้เขาติดตามว่าไม่มีอะไร เมื่อถามต่อว่า ทางอินโดนีเซียออกตัวมาอย่างชัดเจนว่า ถ้าประเทศใดประเทศหนึ่งไม่ยินยอมให้เขาเข้าไปสังเกตการณ์ เขาก็พร้อมที่จะไม่เข้าไปนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก็ไม่มีปัญหา เราก็ไม่มีปัญหาในหลักการตรงนั้นอยู่แล้ว
เมื่อถามย้ำว่า ถ้าไม่มีประเทศอินโดนีเซียเป็นตัวประสาน ไทยกับกัมพูชา คงไม่สามารถที่จะคุยกันได้อีกแล้ว นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ในที่สุดแล้วกลไกทวิภาคี มันต้องเดินได้อยู่แล้ว เพียงแต่กัมพูชาอาจจะยังมีความต้องการที่จะให้คนอื่นเข้ามาช่วย ในเรื่องต่างๆ อยู่ แต่เราก็ต้องค่อยๆ สร้างความมั่นใจว่า จริงแล้วกลไกตรงนี้เดินได้ เพราะเราจริงจังในการที่จะเดิน เมื่อถามว่า อาเซียนจะมีความมั่นใจกับกลไกทวิภาคีตรงนี้มากขึ้นด้วยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เขาก็คงเห็น แต่ต้องใช้เวลากับตรงนี้
** เจรจาข้อกำหนดผู้สังเกตุการณ์อินโด
นายอภิสิทธิ์ กล่าวในรายการ”เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์”ว่า ตนได้รับทราบรายงานผลการประชุมเจีบีซี 2 ประเทศ ว่าได้ผ่านพ้นไปอย่างเรียบร้อย ซึ่งเป็นไปตามที่ฝ่ายไทยได้พยายามแสดงออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเราได้พยายามชี้ให้ประชาคมโลกได้เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เกิดขึ้นนั้น สามารถที่จะแก้ไขได้ในกรอบการพูดคุยเจรจากันสองฝ่าย ถึงแม้ว่าจะยังมีอีกหลายเรื่องที่สองฝ่ายที่ยังเห็นไม่ตรงกัน เพราะอาจจะติดปัญหาขั้นตอนภายในของสองประเทศ ซึ่งเรื่องนี้แต่ละประเทศจะต้องไปดำเนินการ
ส่วนกรณีของการประชุมจีบีซี ที่ไม่ได้มีการประชุมนั้น ซึ่งก็ยังไม่มีประเด็นการประชุมที่เร่งด่วนอะไร สำหรับข้อเสนอของอินโดนีเซียที่จะให้มีผู้สังเกตุการณ์เข้ามา ซึ่งเรื่องนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนและทำความเข้าใจ รวมทั้งทำข้อตกลงร่วมกันในหลักการ ซึ่งเรื่องนี้ฝ่ายเราเห็นว่าการจะส่งผู้สังเกตการเข้ามาในพื้นที่ที่ยังมีปัญหากันอยู่ ที่ยังเป็นพื้นที่ของไทย 4.6 ตารางกิโลเมตรนั้น ซึ่งอาจจะจะทำให้เกิดความตรึงเครียดมากยิ่งขึ้น ดังนั้งคงจะต้องใช้เวลาในการตกลงกันสักระยะหนึ่ง โดยเฉพาะการเจรจาตกลงทำรายละเอียดของผู้ที่สังเกตุการณ์จะเข้ามาต่อไป ซึ่งความเป็นจริงแล้วทางฝ่ายำทยเราได้มีการพูดคุยกับทางฝ่ายอินโดนีเซียมาตลอดว่า หลังจากเกิดเหตุการปะทะมาเป็นเวลา 2 เดือน ขณะนี้ในพื้นที่ทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
**แผนผู้สังเกตการณ์ยังติดชะงัก
สำนักข่าวฟิฟทีนมูฟ รายงานอ้างหนังสือพิมพ์จาการ์ตาโกลบของอินโดนีเซีย วันที่ 9 เม.ย.54ว่า แผนการส่งผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย ไปยังพื้นที่พิพาทระหว่างประเทศไทยและกัมพูชาชะงักงัน ขณะสองประเทศโต้แย้งเรื่องพื้นที่ปฏิบัติการของผู้สังเกตการณ์ อย่างไรก็ตาม นายมาร์ตี นาตาเลกาวา รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย กล่าวว่าตนมีความมั่นใจว่าทางตันดังกล่าวจะได้รับการแก้ไขในสองสามวันข้างหน้า ระหว่างการพบหารือกับรัฐมนตรีไทยและกัมพูชา นายกษิต ภิรมย์ และนายฮอ นัมฮง
นายมาร์ตีกล่าวว่ารัฐมนตรีทั้งสามจะได้หารือปัญหาที่การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-ญี่ปุ่น ที่จาการ์ตาในวันเสาร์ และการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่กรุงเทพฯ ในวันอาทิตย์และจันทร์ “เป็นเรื่องค้างคาแต่เป็นไปได้ที่จะแก้ปัญหา” นายมาร์ตีกล่าว
นายมาร์ตีกล่าวว่าขณะที่อินโดนีเซียจะไม่เข้าไปยุ่งในการเมืองภายในของไทย ตนได้สื่อสารอย่างต่อเนื่องกับรัฐมนตรีต่างประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้รับเรื่องไปสู่รัฐบาล
**อินโดนีเซียฟุ้งยังไม่ยกเลิก
ข้อเสนอส่งผู้สังเกตการณ์ไปยังพื้นที่พิพาทเกิดขึ้นในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ที่จาการ์ตาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ระหว่างการประชุมดังกล่าว แผนระดับภูมิภาคถูกกำหนดขึ้นเพื่อรับประกันการหยุดยิงที่เห็นชอบโดยไทยและกัมพูชา ทั้งสองประเทศในตอนนั้นเห็นชอบที่จะรับผู้สังเกตการณ์ การตัดสินใจดังกล่าว นายมาร์ตีกล่าวว่าสะท้อนความมั่นใจของประชาคมระดับภูมิภาค ในการที่อินโดนีเซียแสดงบทบาทสำคัญในการไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง
เขากล่าวว่าการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ที่บอกอร์สัปดาห์นี้ ย้ำยืนยันถึงความตั้งใจของทั้งสองประเทศ ที่จะใช้ทางออกทางการทูตแก้ปัญหาเขตแดน “นี่เป็นความแข็งแกร่งของทางเลือกที่อินโดนีเซียได้เสนอมาโดยตลอด” นายมาร์ตีกล่าวว่าสองประเทศคู่ขัดแย้งทางประวัติศาสตร์กำลังประชุมภายใต้หลังคาเดียวกันที่วังบอกอร์ ซึ่งได้แสดงให้เห็นความก้าวหน้าที่ชัดเจน เทียบกับสถานการณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อการปะทะเขตแดนส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตอย่างน้อยหกราย
“สองเดือนที่แล้วเขายิงปืนใหญ่เข้าใส่กัน ตอนนี้เขาแลกเปลี่ยนข้อโต้แย้งกัน และนั่นชัดเจนว่าเป็นทางที่ดีกว่ามาก” เขายังกล่าวอีกว่าอินโดนีเซียนิยมทางออกสันติมากกว่าความขัดแย้งทางทหาร
ผลการประชุม JBC ยังไม่ถูกประกาศขณะที่การหารือยังคงดำเนินต่อเนื่องในวันศุกร์ “มันเป็นเรื่องภายในระหว่างสองตัวแทน” นายมาร์ตีกล่าว “เขาจะแจ้งเราภายหลังให้รับทราบในฐานะผู้อำนวยความสะดวก และเราจะแจ้งต่อไปยังรัฐสมาชิกอาเซียนอื่น”
**แฉ “ทีโออาร์อัปยศ” ฉบับเต็ม
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับจดหมายเงื่อนไขการทำสัญญาหรือ TOR ในการจัดวางทีม IOT ในพื้นที่พิพาทชายแดนกัมพูชา-ไทย ที่ทางรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย ในฐานะประเทศประธานอาเซียน นำเสนอ นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศราชอาณาจักรไทย และนายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา รวมทั้งภาคผนวกเพิ่มเติมจากจดหมาย กล่าวคือ TOR หรือเงื่อนไขการทำสัญญา การวางทีมผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย (IOT) ในพื้นที่พิพาทชายแดนกัมพูชา-ไทย ระบุว่า เป็นความหวังอย่างจริงใจว่า ข้าพเจ้าสามารถรับความคิดเห็นจากกัมพูชาและไทยต่อจดหมายร่างนี้โดยเร็ว เพื่อจะได้นำไปใช้กับร่างที่จะตามมา ข้าพเจ้าทำได้เพียงเริ่มกระบวนการแลกเปลี่ยนจดหมายเมื่อข้อตกลงนั้นได้ไปสู่ 3 ประเทศกล่าวคือ กัมพูชา อินโดนีเซีย และไทย
“อินโดนีเซียได้ริเริ่มเตรียมการระดับชาติสำหรับหน้าที่ที่ได้รับมอบให้สังเกตการณ์สิ่งที่กล่าวมาแล้ว” จดหมายระบุ
จดหมาย ระบุอีกว่า จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งหากท่านจะยืนยัน ในฐานะรัฐบาลไทย ในการยินยอมรับการจัดทำ TOR และยืนยันความเข้าใจในจดหมายและภาคผนวกนี้ พร้อมทั้งตอบกลับมาจะถือเป็นการประกอบเอกสารสิทธิ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายระหว่างอินโดนีเซีย ไทย และ กัมพูชา TOR จะมีผลบังคับใช้ในวันที่อินโดนีเซียรับการยืนยันจากคู่ภาคีรายสุดท้ายว่าด้วยการตกลงยอมรับ TOR ซึ่งข้าพเจ้าจะแจ้งให้คู่ภาคีทราบต่อไปในการเริ่มบังคับใช้ TOR
**ทีมสังเกตการณ์มีทหาร-ขรก.พลเรือน
โดย เงื่อนไขการทำสัญญา (TOR) การวางทีมผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย (IOT) ในพื้นที่พิพาทชายแดนกัมพูชา-ไทย
มีวัตถุประสงค์ ให้เป็นไปตามคำกล่าวของประธานอาเซียนในโอกาสการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2011 ว่า “ช่วยและสนับสนุนทั้งสองฝ่ายให้สามารถหลีกเลี่ยงการใช้กำลังระหว่างกันให้จงได้ โดยการเฝ้าดูและส่งรายงานอย่างถูกต้องเป็นกลางในเรื่องที่เกี่ยวกับการร้อง เรียนว่าด้วยการละเมิดความตกลง แล้วส่งรายงานนั้นไปยังแต่ละฝ่าย ผ่านอินโดนีเซียผู้เป็นประธานปัจจุบันของอาเซียน”
โดย มีองค์ประกอบ ทีมสังเกตการณ์อินโดนีเซีย (IOT) จะประกอบด้วยข้าราชการทหาร และข้าราชการพลเรือนของอินโดนีเซีย รวม 30 คน
ทีมสังเกตการณ์อินโดนีเซีย 30 คนนี้ จะมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้ IOT กัมพูชา 15 คน จะอยู่ในพื้นที่กัมพูชาที่เป็นพื้นที่พิพาทชายแดนกัมพูชา-ไทย และ IOT ไทย 15 คน จะอยู่ในพื้นที่ไทยที่เป็นพื้นที่พิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา
สถานะภาพ ทีม IOT จะมีสิทธิพิเศษในฐานะที่เป็นตัวแทนทางการทูต มีพื้นที่ครอบคลุมของ IOT กัมพูชา จะเป็นพื้นที่กัมพูชาที่เป็นพื้นที่พิพาทชายแดนกัมพูชา-ไทย กล่าวคือ (จะระบุภายหลัง) และพื้นที่ครอบคลุมของ IOT ไทย จะเป็นพื้นที่กัมพูชาที่เป็นพื้นที่พิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา กล่าวคือ (จะระบุภายหลัง)
**ไม่ติดอาวุธ เครื่องแบบ ตราตำแหน่ง
บทบาทและความรับผิดชอบ ทีม IOT จะต้อง สังเกตและตรวจสอบการหยุดรบตามที่คู่ภาคีได้ตกลง ตรวจสอบความจริงในพื้นที่ตามรายงานการปะทะตามที่คู่ภาคีได้ตกลง ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศสมาชิกในการตรวจสอบความจริงในพื้นที่ ตามรายงานการปะทะตามที่คู่ภาคีได้ตกลง
รักษาความยุติธรรม ความเป็นกลาง และความเป็นอิสระ อย่างเคร่งครัด ที่จะปฏิบัติตามคำสั่งและภารกิจของคู่ภาคี และจะเคารพกฎกติกาของกัมพูชา(สำหรับทีม IOT กัมพูชา) และของไทย(สำหรับทีม IOT ไทย) ในการดำเนินพันธกิจให้ตลอดรอดฝั่ง จะระมัดระวังท่าทีที่จะมีผลให้เกิดการขัดแย้งกัน ยึดถือกฎระเบียบและการประชุมกับคู่ภาคี เพื่อแก้ปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ และไม่ติดอาวุธ แต่จะต้องใส่เครื่องแบบและตราประจำตำแหน่ง
**ต้องส่งรายงานให้อินโดฯทุกๆวัน
ทั้งนี้ คู่ภาคีจะต้อง รับผิดชอบเต็มรูปแบบต่อความปลอดภัยของทีม IOT ในการปฏิบัติหน้าที่ ใช้มาตรการที่จำเป็นทุกมาตรการ ในการปกป้องและรักษาความปลอดภัยให้แก่ทีม IOT รับรองว่าจะให้การเคลื่อนที่ที่เป็นอิสระโดยทั่ว ในพื้นที่ที่ครอบคลุมการปฏิบัติงานของทีม IOT จัดเตรียมเส้นทางปลอดภัยในทันที กรณีที่ต้องเคลื่อนย้ายคณะออกจากพื้นที่ครอบคลุม
โดยจะต้องรายงาน ทีม IOTจะส่งรายงานประจำวันต่ออินโดนีเซียผู้เป็นประธานปัจจุบันของอาเซียน ทีม IOTจะส่งรายงานด่วนในกรณีที่มีการสู้รบตามที่คู่ภาคีได้ตกลงกัน และกรณีอื่น ๆ ที่เป็นที่สนใจอย่างเร่งด่วนจากอินโดนีเซียผู้เป็นประธานปัจจุบันของอาเซียน
การบริหารและการจัดการสนับสนุน คู่ภาคีจะต้องจัดหา ที่พักอย่างเพียงพอ พร้อมสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการเดินทางและติดต่อสื่อสาร การขนส่งทั้งทางอากาศและทางบกอย่างเหมาะสม พร้อมด้วยนักบินและคนขับ เจ้าหน้าที่ประสานงานและหน่วยเคลื่อนที่ที่จะอำนวยการประสานงาน
**รัฐบาลอินโดฯเป็นผู้สั่งสิ้นสุด/ชะลอ
ทั้งนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียจะรับผิดชอบสำหรับ เงินเดือนและเงินได้อื่นๆ ค่าพาหนะไปยังเมืองหลวงของประเทศคู่ภาคี แต่ค่าพาหนะหรือการขนส่งไปยังพื้นที่ชายแดนจะเป็นภาระรับผิดชอบของคู่ภาคี
ส่วนช่วงเวลาดำเนินการของสัญญากำหนด.........เดือน (จะระบุภายหลัง) จากวันที่ที่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายของ TOR และจะแก้ไขได้ด้วยการตกลงระหว่างสามภาคีที่เกี่ยวข้อง การทำให้เป็นผลตาม TOR ของทีม IOT จะมีการทบทวน .........เดือน (จะระบุภายหลัง)
โดยการสิ้นสุดและ/หรือ การชะลอ รัฐบาลอินโดนีเซียจะยุติหรือจะชะลอการปฏิบัติหน้าที่ โดยมีการแจ้งเตือนไปถึงคู่ภาคีในกรณี :สถานการณ์ในพื้นที่นำไปสู่อันตรายและการคุกคามต่อชีวิตของผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย คู่ภาคีไม่ทำตามสัญญาและความรับผิดชอบในการหยุดรบตามที่ระบุไว้ใน TOR หรือ คู่ภาคีมีเจตนาเพิกเฉยที่จะดำเนินการตามที่รับการแนะนำในการละเมิดการหยุดรบ ลงชื่อ ดร.อาร์.เอ็ม มาร์ตี้ เอม.นาตาเลกาวา.
วานนี้ (10 เม.ย) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่นายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศของกัมพูชา ออกมาแสดงความผิดหวังที่ไทยปฏิเสธให้กองกำลังของประเทศอินโดนีเซีย เข้ามาสังเกตการณ์ว่า การจะเข้ามาสังเกตการณ์ จะต้องมีการตกลงกันว่ามาสังเกตการณ์ที่ไหน และเมื่อพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร เป็นของไทยจะเอามาสังเกตการณ์ในฝ่ายไทยได้อย่างไร ซึ่งต้องมาดูว่า พื้นที่ที่จะสังเกตการณ์อยู่ตรงไหน ถ้าไปสังเกตการณ์ในดินแดนของกัมพูชา คงไม่มีปัญหา ซึ่งตรงนี้ทางกระทรวงการต่างประเทศ ต้องไปพูดคุย
ผู้สื่อข่าวถามว่าดูเหมือนกับว่า ทางกัมพูชาจะไม่พอใจผลการเจรจา นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เป็นธรรมดา การเจรจาคงทำให้พอใจทุกฝ่ายไม่ได้ แต่สิ่งสำคัญคือ จะต้องมีการเจรจากันต่อไป เพื่อแสดงให้เห็นว่า กลไกนี้มันยังสามารถที่จะพิจารณาเรื่องที่เป็นสาระตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ได้อยู่ ที่ขณะนี้มีการนำเรื่องภาพถ่ายทางอากาศ, การเดินสำรวจในหลักเขตต่างๆ ที่ยังมีปัญหาอยู่
เมื่อถามว่า เวลานี้กลไกต่างๆ เริ่มเดินหน้าแล้ว ก็คงไม่จำเป็นที่จะต้องไประชุมที่ประเทศอินโดนีเซีย ต่อไปหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตรงนี้จะไปตกลงกันอีกที เพราะตรงนี้ก็เป็นประเด็นหนึ่งที่ยังมีความเห็นขัดกัน และการประชุมในครั้งต่อไป จะเดินโดยผ่านกลไกอะไร เพราะตนดูจากบันทึกของการพูดคุยกัน พบว่ายังมีการแยกกันเขียนอยู่ ฝ่ายไทยเห็นอย่าง ทางกัมพูชาเห็นอย่าง ซึ่งฝ่ายไทยก็ทำทุกอย่างตามปกติ และเห็นว่าเราน่าจะเดินกลับมาสู่ภาวะปกติได้แล้ว แต่ทางกัมพูชา ยังมีความพยายามให้อินโดนีเซีย ในฐานะประธานอาเซียน เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกอยู่
เมื่อถามว่า ทางอินโดนีเซียเห็นว่า ทุกอย่างน่าจะกลับสู่ภาวะปกติ และสองประเทศน่าจะเดินหน้าได้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ระหว่างนี้ก็จะต้องมีการหารือกันไปเรื่อยๆ ระหว่างไทย และกัมพูชา และทางประธานอาเซียน น่าจะมีการสอบถามมาเป็นระยะ โดยเราจะคลี่คลายปัญหาโดยการอำนวยความสะดวกให้กลไกเดินหน้าต่อได้
**ลั่นไม่ให้อินโดฯเข้าพื้นที่ 4.6 กม.
ส่วนกรณีที่กัมพูชาออกมากล่าวว่าให้ไทยยอมรับอินโดนีเซีย ในฐานะประธานอาเซียน ตรงนี้ไทยจำเป็นที่จะต้องยอมรับไปทุกเรื่องหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เวลานี้ บทบาทของอินโดนีเซียได้เข้ามาช่วยในเรื่องบทบาทของการอำนวยความสะดวก จัดให้มีการประชุม ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะฉะนั้นจะมีการมองว่าสองฝ่ายพูดคุยกันได้หรือไม่ และเมื่อเวลานี้เขาจัดให้ก็คุยกันได้แล้วนับว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่เรื่องผู้สังเกตการณ์ต้องไปดูเรื่องพื้นที่
“ถ้าผมเอาทหาร หรือใคร ของอินโดนีเซียไปสังเกตการณ์อยู่ฝั่งกัมพูชาได้ไหม มันก็เป็นไปไม่ได้ กัมพูชาเขาก็ไม่ยอม เวลานี้ไม่ได้มีเรื่องทหาร แต่มีเรื่องของผู้สังเกตการณ์ ซึ่งจะต้องไม่ติดอาวุธอยู่แน่นอน ส่วนเรื่องจะเป็นใคร ที่ไหน เป็นเรื่องของรายละเอียดที่ต้องไปพูดคุยกันต่อไปเท่านั้นเอง เดิมนั้นมีการกำหนดเอาไว้ว่า ผู้สังเกตการณ์จะมี 15 คน อยู่ในไทยและอีก 15 คนอยู่ในกัมพูชา แต่เมื่อถามไปว่า อยู่ที่ไหน ทางกัมพูชาบอกว่าจะเอามาอยู่ 4.6 ตารางกิโลเมตร เราบอกว่าแบบนี้มันไม่ถูก เพราะ 4.6 ตารางกิโลเมตรนั้น เราถือว่าเป็นของเราจะเอามาอยู่ตรงนี้ไม่ได้ มันก็ทำให้ตกลงกันไม่ได้เท่านั้นเอง ผมเอง ผมก็มีความรู้สึกว่า ถ้าเวลามันเดินต่อไป แล้วเห็นได้ว่าในพื้นที่บริหารจัดการกันได้ ก็อาจจะทบทวนตรงนี้ อินโดนีเซีย ก็คงดูอยู่ เราจะดูไปตามสถานการณ์ เรื่องพื้นที่ถ้าสมมุติว่าตกลงกันได้ ก็เดินหน้า ถ้าตกลงไม่ได้ ก็ต้องคุยกันใหม่” นายกฯกล่าว
เมื่อถามว่า ไทยจะเป็นคนเสนอเรื่องดังกล่าว เพราะอินโดนีเซีย พร้อมที่จะทำตรงนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เราพูดคุยตลอดเวลา ซึ่งเราเองก็บอกให้เขาติดตามว่าไม่มีอะไร เมื่อถามต่อว่า ทางอินโดนีเซียออกตัวมาอย่างชัดเจนว่า ถ้าประเทศใดประเทศหนึ่งไม่ยินยอมให้เขาเข้าไปสังเกตการณ์ เขาก็พร้อมที่จะไม่เข้าไปนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก็ไม่มีปัญหา เราก็ไม่มีปัญหาในหลักการตรงนั้นอยู่แล้ว
เมื่อถามย้ำว่า ถ้าไม่มีประเทศอินโดนีเซียเป็นตัวประสาน ไทยกับกัมพูชา คงไม่สามารถที่จะคุยกันได้อีกแล้ว นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ในที่สุดแล้วกลไกทวิภาคี มันต้องเดินได้อยู่แล้ว เพียงแต่กัมพูชาอาจจะยังมีความต้องการที่จะให้คนอื่นเข้ามาช่วย ในเรื่องต่างๆ อยู่ แต่เราก็ต้องค่อยๆ สร้างความมั่นใจว่า จริงแล้วกลไกตรงนี้เดินได้ เพราะเราจริงจังในการที่จะเดิน เมื่อถามว่า อาเซียนจะมีความมั่นใจกับกลไกทวิภาคีตรงนี้มากขึ้นด้วยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เขาก็คงเห็น แต่ต้องใช้เวลากับตรงนี้
** เจรจาข้อกำหนดผู้สังเกตุการณ์อินโด
นายอภิสิทธิ์ กล่าวในรายการ”เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์”ว่า ตนได้รับทราบรายงานผลการประชุมเจีบีซี 2 ประเทศ ว่าได้ผ่านพ้นไปอย่างเรียบร้อย ซึ่งเป็นไปตามที่ฝ่ายไทยได้พยายามแสดงออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเราได้พยายามชี้ให้ประชาคมโลกได้เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เกิดขึ้นนั้น สามารถที่จะแก้ไขได้ในกรอบการพูดคุยเจรจากันสองฝ่าย ถึงแม้ว่าจะยังมีอีกหลายเรื่องที่สองฝ่ายที่ยังเห็นไม่ตรงกัน เพราะอาจจะติดปัญหาขั้นตอนภายในของสองประเทศ ซึ่งเรื่องนี้แต่ละประเทศจะต้องไปดำเนินการ
ส่วนกรณีของการประชุมจีบีซี ที่ไม่ได้มีการประชุมนั้น ซึ่งก็ยังไม่มีประเด็นการประชุมที่เร่งด่วนอะไร สำหรับข้อเสนอของอินโดนีเซียที่จะให้มีผู้สังเกตุการณ์เข้ามา ซึ่งเรื่องนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนและทำความเข้าใจ รวมทั้งทำข้อตกลงร่วมกันในหลักการ ซึ่งเรื่องนี้ฝ่ายเราเห็นว่าการจะส่งผู้สังเกตการเข้ามาในพื้นที่ที่ยังมีปัญหากันอยู่ ที่ยังเป็นพื้นที่ของไทย 4.6 ตารางกิโลเมตรนั้น ซึ่งอาจจะจะทำให้เกิดความตรึงเครียดมากยิ่งขึ้น ดังนั้งคงจะต้องใช้เวลาในการตกลงกันสักระยะหนึ่ง โดยเฉพาะการเจรจาตกลงทำรายละเอียดของผู้ที่สังเกตุการณ์จะเข้ามาต่อไป ซึ่งความเป็นจริงแล้วทางฝ่ายำทยเราได้มีการพูดคุยกับทางฝ่ายอินโดนีเซียมาตลอดว่า หลังจากเกิดเหตุการปะทะมาเป็นเวลา 2 เดือน ขณะนี้ในพื้นที่ทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
**แผนผู้สังเกตการณ์ยังติดชะงัก
สำนักข่าวฟิฟทีนมูฟ รายงานอ้างหนังสือพิมพ์จาการ์ตาโกลบของอินโดนีเซีย วันที่ 9 เม.ย.54ว่า แผนการส่งผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย ไปยังพื้นที่พิพาทระหว่างประเทศไทยและกัมพูชาชะงักงัน ขณะสองประเทศโต้แย้งเรื่องพื้นที่ปฏิบัติการของผู้สังเกตการณ์ อย่างไรก็ตาม นายมาร์ตี นาตาเลกาวา รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย กล่าวว่าตนมีความมั่นใจว่าทางตันดังกล่าวจะได้รับการแก้ไขในสองสามวันข้างหน้า ระหว่างการพบหารือกับรัฐมนตรีไทยและกัมพูชา นายกษิต ภิรมย์ และนายฮอ นัมฮง
นายมาร์ตีกล่าวว่ารัฐมนตรีทั้งสามจะได้หารือปัญหาที่การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-ญี่ปุ่น ที่จาการ์ตาในวันเสาร์ และการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่กรุงเทพฯ ในวันอาทิตย์และจันทร์ “เป็นเรื่องค้างคาแต่เป็นไปได้ที่จะแก้ปัญหา” นายมาร์ตีกล่าว
นายมาร์ตีกล่าวว่าขณะที่อินโดนีเซียจะไม่เข้าไปยุ่งในการเมืองภายในของไทย ตนได้สื่อสารอย่างต่อเนื่องกับรัฐมนตรีต่างประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้รับเรื่องไปสู่รัฐบาล
**อินโดนีเซียฟุ้งยังไม่ยกเลิก
ข้อเสนอส่งผู้สังเกตการณ์ไปยังพื้นที่พิพาทเกิดขึ้นในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ที่จาการ์ตาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ระหว่างการประชุมดังกล่าว แผนระดับภูมิภาคถูกกำหนดขึ้นเพื่อรับประกันการหยุดยิงที่เห็นชอบโดยไทยและกัมพูชา ทั้งสองประเทศในตอนนั้นเห็นชอบที่จะรับผู้สังเกตการณ์ การตัดสินใจดังกล่าว นายมาร์ตีกล่าวว่าสะท้อนความมั่นใจของประชาคมระดับภูมิภาค ในการที่อินโดนีเซียแสดงบทบาทสำคัญในการไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง
เขากล่าวว่าการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ที่บอกอร์สัปดาห์นี้ ย้ำยืนยันถึงความตั้งใจของทั้งสองประเทศ ที่จะใช้ทางออกทางการทูตแก้ปัญหาเขตแดน “นี่เป็นความแข็งแกร่งของทางเลือกที่อินโดนีเซียได้เสนอมาโดยตลอด” นายมาร์ตีกล่าวว่าสองประเทศคู่ขัดแย้งทางประวัติศาสตร์กำลังประชุมภายใต้หลังคาเดียวกันที่วังบอกอร์ ซึ่งได้แสดงให้เห็นความก้าวหน้าที่ชัดเจน เทียบกับสถานการณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อการปะทะเขตแดนส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตอย่างน้อยหกราย
“สองเดือนที่แล้วเขายิงปืนใหญ่เข้าใส่กัน ตอนนี้เขาแลกเปลี่ยนข้อโต้แย้งกัน และนั่นชัดเจนว่าเป็นทางที่ดีกว่ามาก” เขายังกล่าวอีกว่าอินโดนีเซียนิยมทางออกสันติมากกว่าความขัดแย้งทางทหาร
ผลการประชุม JBC ยังไม่ถูกประกาศขณะที่การหารือยังคงดำเนินต่อเนื่องในวันศุกร์ “มันเป็นเรื่องภายในระหว่างสองตัวแทน” นายมาร์ตีกล่าว “เขาจะแจ้งเราภายหลังให้รับทราบในฐานะผู้อำนวยความสะดวก และเราจะแจ้งต่อไปยังรัฐสมาชิกอาเซียนอื่น”
**แฉ “ทีโออาร์อัปยศ” ฉบับเต็ม
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับจดหมายเงื่อนไขการทำสัญญาหรือ TOR ในการจัดวางทีม IOT ในพื้นที่พิพาทชายแดนกัมพูชา-ไทย ที่ทางรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย ในฐานะประเทศประธานอาเซียน นำเสนอ นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศราชอาณาจักรไทย และนายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา รวมทั้งภาคผนวกเพิ่มเติมจากจดหมาย กล่าวคือ TOR หรือเงื่อนไขการทำสัญญา การวางทีมผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย (IOT) ในพื้นที่พิพาทชายแดนกัมพูชา-ไทย ระบุว่า เป็นความหวังอย่างจริงใจว่า ข้าพเจ้าสามารถรับความคิดเห็นจากกัมพูชาและไทยต่อจดหมายร่างนี้โดยเร็ว เพื่อจะได้นำไปใช้กับร่างที่จะตามมา ข้าพเจ้าทำได้เพียงเริ่มกระบวนการแลกเปลี่ยนจดหมายเมื่อข้อตกลงนั้นได้ไปสู่ 3 ประเทศกล่าวคือ กัมพูชา อินโดนีเซีย และไทย
“อินโดนีเซียได้ริเริ่มเตรียมการระดับชาติสำหรับหน้าที่ที่ได้รับมอบให้สังเกตการณ์สิ่งที่กล่าวมาแล้ว” จดหมายระบุ
จดหมาย ระบุอีกว่า จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งหากท่านจะยืนยัน ในฐานะรัฐบาลไทย ในการยินยอมรับการจัดทำ TOR และยืนยันความเข้าใจในจดหมายและภาคผนวกนี้ พร้อมทั้งตอบกลับมาจะถือเป็นการประกอบเอกสารสิทธิ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายระหว่างอินโดนีเซีย ไทย และ กัมพูชา TOR จะมีผลบังคับใช้ในวันที่อินโดนีเซียรับการยืนยันจากคู่ภาคีรายสุดท้ายว่าด้วยการตกลงยอมรับ TOR ซึ่งข้าพเจ้าจะแจ้งให้คู่ภาคีทราบต่อไปในการเริ่มบังคับใช้ TOR
**ทีมสังเกตการณ์มีทหาร-ขรก.พลเรือน
โดย เงื่อนไขการทำสัญญา (TOR) การวางทีมผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย (IOT) ในพื้นที่พิพาทชายแดนกัมพูชา-ไทย
มีวัตถุประสงค์ ให้เป็นไปตามคำกล่าวของประธานอาเซียนในโอกาสการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2011 ว่า “ช่วยและสนับสนุนทั้งสองฝ่ายให้สามารถหลีกเลี่ยงการใช้กำลังระหว่างกันให้จงได้ โดยการเฝ้าดูและส่งรายงานอย่างถูกต้องเป็นกลางในเรื่องที่เกี่ยวกับการร้อง เรียนว่าด้วยการละเมิดความตกลง แล้วส่งรายงานนั้นไปยังแต่ละฝ่าย ผ่านอินโดนีเซียผู้เป็นประธานปัจจุบันของอาเซียน”
โดย มีองค์ประกอบ ทีมสังเกตการณ์อินโดนีเซีย (IOT) จะประกอบด้วยข้าราชการทหาร และข้าราชการพลเรือนของอินโดนีเซีย รวม 30 คน
ทีมสังเกตการณ์อินโดนีเซีย 30 คนนี้ จะมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้ IOT กัมพูชา 15 คน จะอยู่ในพื้นที่กัมพูชาที่เป็นพื้นที่พิพาทชายแดนกัมพูชา-ไทย และ IOT ไทย 15 คน จะอยู่ในพื้นที่ไทยที่เป็นพื้นที่พิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา
สถานะภาพ ทีม IOT จะมีสิทธิพิเศษในฐานะที่เป็นตัวแทนทางการทูต มีพื้นที่ครอบคลุมของ IOT กัมพูชา จะเป็นพื้นที่กัมพูชาที่เป็นพื้นที่พิพาทชายแดนกัมพูชา-ไทย กล่าวคือ (จะระบุภายหลัง) และพื้นที่ครอบคลุมของ IOT ไทย จะเป็นพื้นที่กัมพูชาที่เป็นพื้นที่พิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา กล่าวคือ (จะระบุภายหลัง)
**ไม่ติดอาวุธ เครื่องแบบ ตราตำแหน่ง
บทบาทและความรับผิดชอบ ทีม IOT จะต้อง สังเกตและตรวจสอบการหยุดรบตามที่คู่ภาคีได้ตกลง ตรวจสอบความจริงในพื้นที่ตามรายงานการปะทะตามที่คู่ภาคีได้ตกลง ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศสมาชิกในการตรวจสอบความจริงในพื้นที่ ตามรายงานการปะทะตามที่คู่ภาคีได้ตกลง
รักษาความยุติธรรม ความเป็นกลาง และความเป็นอิสระ อย่างเคร่งครัด ที่จะปฏิบัติตามคำสั่งและภารกิจของคู่ภาคี และจะเคารพกฎกติกาของกัมพูชา(สำหรับทีม IOT กัมพูชา) และของไทย(สำหรับทีม IOT ไทย) ในการดำเนินพันธกิจให้ตลอดรอดฝั่ง จะระมัดระวังท่าทีที่จะมีผลให้เกิดการขัดแย้งกัน ยึดถือกฎระเบียบและการประชุมกับคู่ภาคี เพื่อแก้ปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ และไม่ติดอาวุธ แต่จะต้องใส่เครื่องแบบและตราประจำตำแหน่ง
**ต้องส่งรายงานให้อินโดฯทุกๆวัน
ทั้งนี้ คู่ภาคีจะต้อง รับผิดชอบเต็มรูปแบบต่อความปลอดภัยของทีม IOT ในการปฏิบัติหน้าที่ ใช้มาตรการที่จำเป็นทุกมาตรการ ในการปกป้องและรักษาความปลอดภัยให้แก่ทีม IOT รับรองว่าจะให้การเคลื่อนที่ที่เป็นอิสระโดยทั่ว ในพื้นที่ที่ครอบคลุมการปฏิบัติงานของทีม IOT จัดเตรียมเส้นทางปลอดภัยในทันที กรณีที่ต้องเคลื่อนย้ายคณะออกจากพื้นที่ครอบคลุม
โดยจะต้องรายงาน ทีม IOTจะส่งรายงานประจำวันต่ออินโดนีเซียผู้เป็นประธานปัจจุบันของอาเซียน ทีม IOTจะส่งรายงานด่วนในกรณีที่มีการสู้รบตามที่คู่ภาคีได้ตกลงกัน และกรณีอื่น ๆ ที่เป็นที่สนใจอย่างเร่งด่วนจากอินโดนีเซียผู้เป็นประธานปัจจุบันของอาเซียน
การบริหารและการจัดการสนับสนุน คู่ภาคีจะต้องจัดหา ที่พักอย่างเพียงพอ พร้อมสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการเดินทางและติดต่อสื่อสาร การขนส่งทั้งทางอากาศและทางบกอย่างเหมาะสม พร้อมด้วยนักบินและคนขับ เจ้าหน้าที่ประสานงานและหน่วยเคลื่อนที่ที่จะอำนวยการประสานงาน
**รัฐบาลอินโดฯเป็นผู้สั่งสิ้นสุด/ชะลอ
ทั้งนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียจะรับผิดชอบสำหรับ เงินเดือนและเงินได้อื่นๆ ค่าพาหนะไปยังเมืองหลวงของประเทศคู่ภาคี แต่ค่าพาหนะหรือการขนส่งไปยังพื้นที่ชายแดนจะเป็นภาระรับผิดชอบของคู่ภาคี
ส่วนช่วงเวลาดำเนินการของสัญญากำหนด.........เดือน (จะระบุภายหลัง) จากวันที่ที่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายของ TOR และจะแก้ไขได้ด้วยการตกลงระหว่างสามภาคีที่เกี่ยวข้อง การทำให้เป็นผลตาม TOR ของทีม IOT จะมีการทบทวน .........เดือน (จะระบุภายหลัง)
โดยการสิ้นสุดและ/หรือ การชะลอ รัฐบาลอินโดนีเซียจะยุติหรือจะชะลอการปฏิบัติหน้าที่ โดยมีการแจ้งเตือนไปถึงคู่ภาคีในกรณี :สถานการณ์ในพื้นที่นำไปสู่อันตรายและการคุกคามต่อชีวิตของผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย คู่ภาคีไม่ทำตามสัญญาและความรับผิดชอบในการหยุดรบตามที่ระบุไว้ใน TOR หรือ คู่ภาคีมีเจตนาเพิกเฉยที่จะดำเนินการตามที่รับการแนะนำในการละเมิดการหยุดรบ ลงชื่อ ดร.อาร์.เอ็ม มาร์ตี้ เอม.นาตาเลกาวา.