ASTVผู้จัดการรายวัน-ทหารประกาศจุดยืน ประชุมจีบีซีต้องเกิดขึ้นที่กัมพูชาหรือไทยเท่านั้น พร้อมคัดค้านอินโดนีเซียส่งคนเข้ามาสังเกตการณ์ ด้านบัวแก้วเมินเสียงทหาร ยันเดินหน้าถกเจบีซีที่อินโดฯ ต่อไป พันธมิตรฯ เห็นใจ 2 ครอบครัว ที่ต้องหันพึ่ง "แม้ว" สะท้อนรัฐบาล "มาร์ค" ล้มเหลว "ปานเทพ" เชื่อฝ่ายความมั่นคงไม่พอใจรัฐบาลรุนแรง หลังบอยคอตไม่ร่วมถกจีบีซีที่อินโดฯ ด้าน"ประพันธ์" ประณามทั้งรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย หวังใช้ "วีระ-ราตรี" เป็นเหยื่อช่วงชิงผลประโยชน์ทางการเมือง
เมื่อวานนี้ (5 เม.ย.) พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้นำ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.ต.อ.พงศ์พัศ พงษ์เจริญ ที่ปรึกษา สบ.10 ตัวแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน หลังการประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ที่ห้องประชุมกองทัพอากาศ
พล.อ.ทรงกิตติกล่าวว่า เหล่าทัพได้มีจุดยืนที่แน่ชัดและได้แจ้งต่อพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ของไทย ในที่ประชุมสภากลาโหมว่าควรจะมีการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา (จีบีซี) ในประกัมพูชา ซึ่งข้อตกลงของผู้แทนสองประเทศในบันทึกความเข้าใจปี 2538 ว่ามีแนวทางในการแก้ไขปัญหาในกลไกทวิภาคี โดยใช้จีบีซี เป็นช่องทางในการหารือ ซึ่งข้อตกลงยังระบุว่าจะประชุมปีละครั้ง โดยไทยและกัมพูชาสลับกันเป็นเจ้าภาพ
ทั้งนี้ ในปี 2554 เป็นการประชุมครั้งที่ 8 กัมพูชารับเป็นเจ้าภาพตามวาระ โดยกำหนดไว้ในเดือนมิ.ย.25 54 ดังนั้น การไปประชุมที่ประเทศอินโดนีเซีย จึงไม่เป็นไปตามข้อตกลงและละเมิดเอ็มโอยู ถ้าไม่ทำตามนี้ ก็ต้องไปยกเลิกพันธกรณีดังกล่าว ซึ่งเป็นอำนาจของรัฐบาลสองประเทศ ไม่ใช่อำนาจของกองทัพ และหากกัมพูชาไม่พร้อมประชุม ก็จะรอ และถ้าไม่พร้อมจริงๆ ก็จัดในประเทศไทยได้
นอกจากนั้น รัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย ยังระบุว่า รัฐต้องมีกำลังทหารในการรักษาอธิปไตยและดินแดน ดังนั้นกองทัพต้องยืนยันอย่างชัดเจนว่าจะไม่ยอมให้กำลังทหารจากประเทศใดเข้ามาอยู่ในประเทศไทย เพราะไทยมีอธิปไตยเหนือดินแดน และแบ่งแยกออกจากกันไม่ได้ การที่กำลังทหารประเทศใดเข้ามา ก็ถือเป็นการละเมิดอธิปไตยเหนือดินแดน รัฐธรรมนูญก็ไม่เห็นด้วยที่จะมีกองทัพประเทศอื่นใดเข้ามาในประเทศไทย
** ค้านเรื่องให้อินโดฯเข้ามาสังเกตการณ์
พล.อ.ทรงกิตติกล่าวว่า กองทัพเคารพในมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ที่เรียกร้องให้ไทย-กัมพูชา หลีกเลี่ยงการดำเนินการใดๆ ที่จะกระทบกระทั่งกัน และแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีผ่านการเจรจา พร้อมกันนั้นยังเคารพในมติเอกฉันท์ ของที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนให้ไทย-กัมพูชา กลับมาดำเนินการเจรจาแก้ไขปัญหาแบบทวิภาคี
"เหล่านี้ คือ คำตอบว่า ทำไมเราจึงยืนยันว่าจะไม่ประชุมที่อินโดนีเซีย และยังไม่เห็นด้วยในการให้ผู้สังเกตการณ์เข้ามาในประเทศไทย ที่สำคัญกองทัพเคารพในมติสหประชาชาติ ในอดีตกรณีที่สหประชาชาติ มีมติให้ประเทศอื่นร่วมในการแก้ไขปัญหาพิพาทระหว่างประเทศใด ต้องได้รับการยอมรับจากสองประเทศนั้นก่อน เช่น กรณีในติมอร์ตะวันออก ที่ได้ร้องขอให้เราเข้าไปรักษาสันติภาพ ผมได้พูดคุยกับประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ซึ่งเป็นอดีตเสนาธิการทหารในช่วงนั้น ถ้าเขาไม่ให้เข้าเราก็ไม่ไป เราทำตามหลักการ และเหตุผลทุกอย่าง และยึดพันธกรณี ไม่ได้ทำอะไรตามอารมณ์"พล.อ.ทรงกิตติ กล่าว
** กต.ไม่สนทหารยันเดินหน้าประชุมเจบีซี
นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีพล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผบ.สส. ระบุว่า จะไม่มีการประชุมจีบีซี ที่ประเทศอินโดนีเซียว่า กระทรวงการต่างประเทศ กำลังประสานและกำลังตรวจสอบรายละเอียดกับทางทหาร และกระทรวงกลาโหมว่า ได้มีการหารือถึงการจัดประชุมจีบีซี ที่ประเทศกัมพูชา ไทย หรือประเทศอื่น ซึ่งรอความชัดเจนจากกระทรวงกลาโหมว่าได้ตกลงกันอย่างไร ในส่วนของการประชุมคณะกรรมธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) ในระหว่างวันที่ 7-8 เม.ย.นี้ ที่เมืองโบกอร์ ประเทศอินโดนีเซีย ก็จะเดินหน้าต่อไป ทั้งนี้ ย้ำว่า การประชุมจีบีซี จะไม่กระทบต่อการประชุมเจบีซี
ส่วนกรณีกองทัพยืนยันจะไม่ยอมให้ผู้สังเกตการณ์ของอินโดนีเซียมาประจำในพื้นที่พิพาทชายแดนไทย-กัมพูชานั้น กระทรวงการต่างประเทศ ได้หารือกับกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบกมาโดยตลอด ซึ่งฝ่ายไทย และกัมพูชา ต้องหารือจนได้ข้อยุติเสียก่อนว่า จะให้ผู้สังเกตการณ์เข้ามาประจำในจุดใดบ้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ฝ่ายไทยได้แจ้งกลับไปยังอินโดนีเซียถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของผู้สังเกตการณ์ที่จะเข้ามายังพื้นที่ชายแดนหรือไม่ นายธานี กล่าวว่า ยังไม่ได้ระบุถึงจุดที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม คงต้องรอผลการหารือระหว่างกระทรวงกลาโหมของไทยและกัมพูชา ในการหาข้อสรุปร่วมกันก่อน
** ชี้ชัด"รัฐบาลมาร์ค" ล้มเหลว
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงกรณีที่ครอบครัวของนายวีระ สมความคิด และน.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ที่ถูกศาลกัมพูชาตัดสินจำคุก ได้เข้ายื่นหนังสือต่อพรรคเพื่อไทย เพื่อขอให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้การช่วยเหลือ 2 คนไทยว่า สิ่งที่ภาคประชาชนพยายามนำเสนอที่ผ่านมา คือ ข้อเท็จจริงที่ว่า 7 คนไทย ไม่สมควรจะถูกจับกุมโดยกองกำลังติดอาวุธของกัมพูชา เพราะยังอยู่ในดินแดนไทย และอยู่ในบริเวณที่ยังไม่มีการปักปันหลักเขตแดนที่ชัดเจน รวมทั้ง 2 ประเทศ มีข้อตกลงต่อกันในการไม่นำประชาชนของอีกประเทศเข้าสู่กระบวนการศาลของประเทศนั้นๆ ซึ่งเมื่อเกิดเหตุรัฐบาลต้องมีมาตรการตอบโต้ และช่วยเหลือคนไทยให้ออกจากพื้นที่ตรงนั้น โดยไม่ถูกศาลกัมพูชาพิพากษาจับคุก แต่รัฐบาลกลับไม่ทำอะไรเลย นอกจากโยนความผิดและการตัดสินใจให้แก่นายวีระ และน.ส.ราตรี เองว่าจะยื่นอุทธรณ์ หรือขออภัยโทษ ถือว่าเป็นความอำมหิตของรัฐบาลที่ต้องรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
ดังนั้น การที่ครอบครัวจะแสวงหาแนวทางอื่น ก็เป็นการดิ้นรน เพื่อช่วยสมาชิกในครอบครัวอย่างไม่มีทางเลือก ซึ่งในส่วนพันธมิตรฯ ก็เห็นใจต่อการตัดสินใจของครอบครัวทั้งคู่ ไม่ว่าจะดำเนินการในทางไหน เราก็มีความเข้าใจ และเห็นใจเป็นอย่างยิ่ง การหันไปหาพ.ต.ท.ทักษิณ ก็เพราะไม่มีทางเลือก สะท้อนถึงความล้มเหลวของรัฐบาลชุดนี้ ที่ไม่สามารถใช้อำนาจของฝ่ายบริหารเข้าช่วยเหลือได้
** กองทัพไปคนละทางกับรัฐบาล
นายปานเทพ ยังได้กล่าวกำหนดการประชุมเจบีซี และจีบีซี ที่กำหนดจัดขึ้นที่ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 7-8 เม.ย.นี้ ว่า มีความขัดแย้งอย่างชัดเจนในรัฐบาลที่พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ยืนยันชัดว่าจะไม่เดินทางไปอินโดนีเซีย ทำให้จะมีการประชุมของเจบีซีอย่างเดียว เป็นท่วงทำนองของฝ่ายทหารที่สอดคล้องกันกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. เป็นท่าทีที่แสดงว่าฝ่ายทหารไม่ยอมประชุมเรื่องชายแดนในประเทศที่ 3 ชี้ให้เห็นถึงความไม่ลงรอยกันอย่างชัดเจน จากเหตุที่ฝ่ายการเมืองและกระทรวงการต่างประเทศเห็นดีเห็นงามให้ประเทศที่ 3 เข้ามาเป็นสักขีพยานในการไม่ให้ฝ่ายทหารใช้กำลังทหารผลักดันกัมพูชาออกจากดินแดนไทย
"ฝ่ายความมั่นคงอึดอัดกับท่าทีของรัฐบาลที่ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถทวงแผ่นดินกลับคืนมาได้โดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ซึ่งก็คือการสูญเสียดินแดนอย่างถาวร" นายปานเทพกล่าว
**อัดรัฐบาล-พท.ใช้ "วีระ-ราตรี" เป็นเหยื่อ
นายประพันธ์ คูณมี โฆษกคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย กล่าวว่า การที่ญาติพี่น้องของนายวีระ และน.ส.ราตรี ต้องไปขอความช่วยเหลือจากพ.ต.ท.ทักษิณ มาจากการที่รัฐบาลนี้ล้มเหลว และไม่ทำหน้าที่ช่วยเหลืออย่างจริงจัง ประกอบกับท่าทีของนายฮุนเซนที่ต้องใช้ 2 คนไทยเป็นเงื่อนไขในการต่อรองผลประโยชน์ โดยเฉพาะกรณีการขึ้นทะเบียนมรดกโลก และความได้เปรียบในการยึดครองดินแดนไทย ซึ่งชี้ให้เห็นว่า การจับกุม 7 คนไทยจนมาถึง 2 คนไทยที่เหลืออยู่ในเรือนจำกัมพูชา เป็นกระบวนการลักพาตัวเพื่อแลกค่าไถ่ เพราะหากทางกัมพูชาคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเงื่อนไขในเอ็มโอยู 2543 หรือในบันทึกเจบีซี ทั้ง 3 ฉบับแล้ว กัมพูชาไม่อยู่ในฐานะที่จะจับกุมคนไทยไปขึ้นศาลกัมพูชาได้เลย
ทั้งนี้ แม้แต่ในบันทึกการประชุมเจบีซีครั้งสุดท้าย นายฮอร์ นัม ฮง ประธานเจบีซี ฝ่ายกัมพูชา ก็ยังเป็นผู้เรียกร้องเองให้ฝ่ายไทยปฏิบัติกับคนกัมพูชาที่ถูกจับกุมหรือผลัดหลงเข้ามาในดินแดนไทย โดยให้วิธีการประสานงานเจรจาโดยไม่นำตัวเข้าสู่กระบวนการในชั้นศาล สิ่งนี้ คือ แนวทางการปฏิบัติที่ผ่านมา แต่รัฐบาลไทยกลับไม่เรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชาปฏิบัติเช่นเดียวกัน ทำให้ฝ่ายกัมพูชาสามารถใช้การจับกุมนายวีระ และน.ส.ราตรี กดดันต่อรองกับประเทศไทย เห็นได้ชัดจากการที่รัฐบาลไทยพยายามให้ครอบครัวของทั้งคู่ให้ความยินยอมในการดำเนินการขออภัยโทษ แต่ถึงบัดนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ
"เกมในขณะนี้ เชื่อว่ารัฐบาลกัมพูชาจะเปิดทางให้ พ.ต.ท.ทักษิณ และพรรคเพื่อไทยเข้ามามีบทบาท แต่คงไม่ได้รับความร่วมมือ หรือปล่อยคุณวีระ และคุณราตรี มาเปล่าๆ แต่จะมีข้อตกลงพิเศษที่ พ.ต.ท.ทักษิณเคยมีต่อนายฮุนเซน ในอดีต จึงต้องขอประณามฝ่ายการเมือง ทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน ที่พยายามช่วงชิงเรื่องนี้เป็นเครื่องมือทางการเมือง มากกว่าจะคิดถึงสิทธิเสรีภาพของคนไทยทั้งสอง ทำให้คุณวีระ และคุณราตรี ตกเป็นเหยื่อทางการเมือง" นายประพันธ์กล่าว
**ต้องพักการประชุมเจบีซี ไว้ก่อน
ส่วนกรณีการประชุมเจบีซี ที่กำหนดในวันที่ 7-8 เม.ย.นี้ ที่ประเทศอินโดนีเซียนั้น นายประพันธ์ กล่าวว่า ตนเห็นว่าการเจรจาใดๆ ระหว่างไทยกับกัมพูชา รัฐบาลควรยุติการดำเนินการทั้งหมด เพราะประกาศชัดว่าจะยุบสภาในช่วงต้นเดือนพ.ค.นี้ ไม่ควรใช้ช่วงเวลานี้ในการทำสิ่งที่มีผลผูกพันในระยะยาวขึ้นมาอีก เพราะเรื่องนี้ยังเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ และหากมีการเลือกตั้ง ควรให้พรรคการเมืองที่เสนอตัวออกนโยบายแข่งขันกันว่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร เพื่อให้ประชาชนได้ตัดสินใจ โดยเฉพาะในช่วงที่ประสบกับภัยธรรมชาติอย่างหนัก รัฐบาลควรใช้เวลาในการทุ่มเทแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเป็นหลักมากกว่า
"หากว่ารัฐบาลพิจารณายุติประเด็นที่มีผลเกี่ยวกับดินแดนอธิปไตยของประเทศ ภาคประชาชนก็จะพิจารณาถึงดำเนินการทางการเมืองถึงทางออกในเรื่องนี้ แต่ถ้าตราบใด รัฐบาลยังไม่มีความชัดเจน แล้วยังเดินหน้าในการประชุมเจบีซี หรือจีบีซี รวมทั้งการรับรองบันทึกเจบีซี 3 ฉบับต่อไป โดยไม่มีการตอบสนอง 3 ข้อเรียกร้องของภาคประชาชนเลย การชุมนุมก็ยังต้องยืนหยัดอยู่ต่อไป ความชอบธรรมของรัฐบาลในวันนี้หมดลงแล้ว ไม่ควรดำเนินการบริหารบ้านเมืองเรื่องใดๆ ต่อไป เรื่องที่สำคัญของบ้านเมืองควรยุติ ปล่อยให้เป็นหน้าที่รัฐบาลใหม่ งานที่ทำควรเป็นปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น" นายประพันธ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงว่าหากรัฐบาลยุติการดำเนินการเกี่ยวกับเขตแดนไทย-กัมพูชา ทางพันธมิตรฯ พร้อมที่จะทบทวนท่าที และยุติการชุมนุมหรือไม่ นายประพันธ์ กล่าวว่า รัฐบาลควรมีท่าทีที่ชัดเจนต่อ 3 ข้อเรียกร้องของภาคประชาชน รวมทั้งการดำเนินการต่อเจบีซี จีบีซี มรดกโลก หรือบันทึกเจบีซี ต้องมีความชัดเจนออกมาเช่นกัน เพราะตราบใดที่รัฐบาลไม่มีคำตอบให้ประชาชน การชุมนุมก็ต้องดำเนินต่อไป
ส่วนเมื่อมีการยุบสภา และมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นแล้ว การชุมนุมก็อาจจะแปรเปลี่ยนเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนลงคะแนนในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน หรือโหวตโนแทน เนื่องจากที่ผ่านมาเวทีนี้ก็ประกาศมาเสมอว่า เราไม่สนับสนุนการเลือกตั้งในห้วงเวลานี้อยู่ ซึ่งการชุมนุมจะอยู่ต่อไปหรือไม่ ก็คงไม่เป็นผลต่อการเลือกตั้ง เพราะผู้ชุมนุมไม่ได้มีพฤติกรรมขัดขวางกระบวนการเลือกตั้ง แต่มีเวทีอยู่เพื่อให้ความรู้กับประชาชนต่อไป รวมทั้งติดตามด้วยว่ารัฐบาลต่อไปที่เข้ามาทำหน้าที่มีแนวนโยบาย เช่นเดียวกับรัฐบาลนี้หรือไม่ หากเหมือนกัน การชุมนุมก็ต้องดำเนินต่อไป
**มาร์คปล่อยเผาเมือง-จาบจ้วงสถาบันฯ
นายประพันธ์ ยังได้กล่าวถึงกระแสพระดำรัสของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ผ่านทางรายการวู้ดดี้เกิดมาคุย ถึงกรณีเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมือง เมื่อเดือนพ.ค.2553 ว่า เป็นสิ่งที่เศร้าสะเทือนใจ และชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลปล่อยปละละเลยในเรื่องนี้ ไม่เอาใจใส่ป้องกันเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะขบวนการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ และหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่รัฐบาลกลับมาออกหนังสือ "ประเทศไทยของเรา อย่าให้ใครเผาอีก" ซึ่งรวบรวมจากปากคำของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ซึ่งมีเนื้อหาที่ไม่ได้รับผิดชอบว่าการเผาบ้าน เผาเมือง เป็นความผิดของใคร ทั้งที่เป็นที่รู้กันอยู่แล้ว ซึ่งความผิดที่เกิดขึ้นฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองก็ควรที่จะมีความผิดด้วย ในการไม่สามารถป้องกันเหตุได้ ซึ่งพระกระแสดังกล่าวรัฐบาลควรนำมาใส่เกล้า และทบทวนสิ่งที่ล้มเหลวผิดพลาดที่ผ่านมา ไม่ใช่ทำหนังสือมาโยนความผิดให้แก่ผู้อื่นเช่นนี้
เมื่อวานนี้ (5 เม.ย.) พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้นำ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.ต.อ.พงศ์พัศ พงษ์เจริญ ที่ปรึกษา สบ.10 ตัวแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน หลังการประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ที่ห้องประชุมกองทัพอากาศ
พล.อ.ทรงกิตติกล่าวว่า เหล่าทัพได้มีจุดยืนที่แน่ชัดและได้แจ้งต่อพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ของไทย ในที่ประชุมสภากลาโหมว่าควรจะมีการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา (จีบีซี) ในประกัมพูชา ซึ่งข้อตกลงของผู้แทนสองประเทศในบันทึกความเข้าใจปี 2538 ว่ามีแนวทางในการแก้ไขปัญหาในกลไกทวิภาคี โดยใช้จีบีซี เป็นช่องทางในการหารือ ซึ่งข้อตกลงยังระบุว่าจะประชุมปีละครั้ง โดยไทยและกัมพูชาสลับกันเป็นเจ้าภาพ
ทั้งนี้ ในปี 2554 เป็นการประชุมครั้งที่ 8 กัมพูชารับเป็นเจ้าภาพตามวาระ โดยกำหนดไว้ในเดือนมิ.ย.25 54 ดังนั้น การไปประชุมที่ประเทศอินโดนีเซีย จึงไม่เป็นไปตามข้อตกลงและละเมิดเอ็มโอยู ถ้าไม่ทำตามนี้ ก็ต้องไปยกเลิกพันธกรณีดังกล่าว ซึ่งเป็นอำนาจของรัฐบาลสองประเทศ ไม่ใช่อำนาจของกองทัพ และหากกัมพูชาไม่พร้อมประชุม ก็จะรอ และถ้าไม่พร้อมจริงๆ ก็จัดในประเทศไทยได้
นอกจากนั้น รัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย ยังระบุว่า รัฐต้องมีกำลังทหารในการรักษาอธิปไตยและดินแดน ดังนั้นกองทัพต้องยืนยันอย่างชัดเจนว่าจะไม่ยอมให้กำลังทหารจากประเทศใดเข้ามาอยู่ในประเทศไทย เพราะไทยมีอธิปไตยเหนือดินแดน และแบ่งแยกออกจากกันไม่ได้ การที่กำลังทหารประเทศใดเข้ามา ก็ถือเป็นการละเมิดอธิปไตยเหนือดินแดน รัฐธรรมนูญก็ไม่เห็นด้วยที่จะมีกองทัพประเทศอื่นใดเข้ามาในประเทศไทย
** ค้านเรื่องให้อินโดฯเข้ามาสังเกตการณ์
พล.อ.ทรงกิตติกล่าวว่า กองทัพเคารพในมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ที่เรียกร้องให้ไทย-กัมพูชา หลีกเลี่ยงการดำเนินการใดๆ ที่จะกระทบกระทั่งกัน และแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีผ่านการเจรจา พร้อมกันนั้นยังเคารพในมติเอกฉันท์ ของที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนให้ไทย-กัมพูชา กลับมาดำเนินการเจรจาแก้ไขปัญหาแบบทวิภาคี
"เหล่านี้ คือ คำตอบว่า ทำไมเราจึงยืนยันว่าจะไม่ประชุมที่อินโดนีเซีย และยังไม่เห็นด้วยในการให้ผู้สังเกตการณ์เข้ามาในประเทศไทย ที่สำคัญกองทัพเคารพในมติสหประชาชาติ ในอดีตกรณีที่สหประชาชาติ มีมติให้ประเทศอื่นร่วมในการแก้ไขปัญหาพิพาทระหว่างประเทศใด ต้องได้รับการยอมรับจากสองประเทศนั้นก่อน เช่น กรณีในติมอร์ตะวันออก ที่ได้ร้องขอให้เราเข้าไปรักษาสันติภาพ ผมได้พูดคุยกับประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ซึ่งเป็นอดีตเสนาธิการทหารในช่วงนั้น ถ้าเขาไม่ให้เข้าเราก็ไม่ไป เราทำตามหลักการ และเหตุผลทุกอย่าง และยึดพันธกรณี ไม่ได้ทำอะไรตามอารมณ์"พล.อ.ทรงกิตติ กล่าว
** กต.ไม่สนทหารยันเดินหน้าประชุมเจบีซี
นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีพล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผบ.สส. ระบุว่า จะไม่มีการประชุมจีบีซี ที่ประเทศอินโดนีเซียว่า กระทรวงการต่างประเทศ กำลังประสานและกำลังตรวจสอบรายละเอียดกับทางทหาร และกระทรวงกลาโหมว่า ได้มีการหารือถึงการจัดประชุมจีบีซี ที่ประเทศกัมพูชา ไทย หรือประเทศอื่น ซึ่งรอความชัดเจนจากกระทรวงกลาโหมว่าได้ตกลงกันอย่างไร ในส่วนของการประชุมคณะกรรมธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) ในระหว่างวันที่ 7-8 เม.ย.นี้ ที่เมืองโบกอร์ ประเทศอินโดนีเซีย ก็จะเดินหน้าต่อไป ทั้งนี้ ย้ำว่า การประชุมจีบีซี จะไม่กระทบต่อการประชุมเจบีซี
ส่วนกรณีกองทัพยืนยันจะไม่ยอมให้ผู้สังเกตการณ์ของอินโดนีเซียมาประจำในพื้นที่พิพาทชายแดนไทย-กัมพูชานั้น กระทรวงการต่างประเทศ ได้หารือกับกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบกมาโดยตลอด ซึ่งฝ่ายไทย และกัมพูชา ต้องหารือจนได้ข้อยุติเสียก่อนว่า จะให้ผู้สังเกตการณ์เข้ามาประจำในจุดใดบ้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ฝ่ายไทยได้แจ้งกลับไปยังอินโดนีเซียถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของผู้สังเกตการณ์ที่จะเข้ามายังพื้นที่ชายแดนหรือไม่ นายธานี กล่าวว่า ยังไม่ได้ระบุถึงจุดที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม คงต้องรอผลการหารือระหว่างกระทรวงกลาโหมของไทยและกัมพูชา ในการหาข้อสรุปร่วมกันก่อน
** ชี้ชัด"รัฐบาลมาร์ค" ล้มเหลว
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงกรณีที่ครอบครัวของนายวีระ สมความคิด และน.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ที่ถูกศาลกัมพูชาตัดสินจำคุก ได้เข้ายื่นหนังสือต่อพรรคเพื่อไทย เพื่อขอให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้การช่วยเหลือ 2 คนไทยว่า สิ่งที่ภาคประชาชนพยายามนำเสนอที่ผ่านมา คือ ข้อเท็จจริงที่ว่า 7 คนไทย ไม่สมควรจะถูกจับกุมโดยกองกำลังติดอาวุธของกัมพูชา เพราะยังอยู่ในดินแดนไทย และอยู่ในบริเวณที่ยังไม่มีการปักปันหลักเขตแดนที่ชัดเจน รวมทั้ง 2 ประเทศ มีข้อตกลงต่อกันในการไม่นำประชาชนของอีกประเทศเข้าสู่กระบวนการศาลของประเทศนั้นๆ ซึ่งเมื่อเกิดเหตุรัฐบาลต้องมีมาตรการตอบโต้ และช่วยเหลือคนไทยให้ออกจากพื้นที่ตรงนั้น โดยไม่ถูกศาลกัมพูชาพิพากษาจับคุก แต่รัฐบาลกลับไม่ทำอะไรเลย นอกจากโยนความผิดและการตัดสินใจให้แก่นายวีระ และน.ส.ราตรี เองว่าจะยื่นอุทธรณ์ หรือขออภัยโทษ ถือว่าเป็นความอำมหิตของรัฐบาลที่ต้องรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
ดังนั้น การที่ครอบครัวจะแสวงหาแนวทางอื่น ก็เป็นการดิ้นรน เพื่อช่วยสมาชิกในครอบครัวอย่างไม่มีทางเลือก ซึ่งในส่วนพันธมิตรฯ ก็เห็นใจต่อการตัดสินใจของครอบครัวทั้งคู่ ไม่ว่าจะดำเนินการในทางไหน เราก็มีความเข้าใจ และเห็นใจเป็นอย่างยิ่ง การหันไปหาพ.ต.ท.ทักษิณ ก็เพราะไม่มีทางเลือก สะท้อนถึงความล้มเหลวของรัฐบาลชุดนี้ ที่ไม่สามารถใช้อำนาจของฝ่ายบริหารเข้าช่วยเหลือได้
** กองทัพไปคนละทางกับรัฐบาล
นายปานเทพ ยังได้กล่าวกำหนดการประชุมเจบีซี และจีบีซี ที่กำหนดจัดขึ้นที่ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 7-8 เม.ย.นี้ ว่า มีความขัดแย้งอย่างชัดเจนในรัฐบาลที่พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ยืนยันชัดว่าจะไม่เดินทางไปอินโดนีเซีย ทำให้จะมีการประชุมของเจบีซีอย่างเดียว เป็นท่วงทำนองของฝ่ายทหารที่สอดคล้องกันกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. เป็นท่าทีที่แสดงว่าฝ่ายทหารไม่ยอมประชุมเรื่องชายแดนในประเทศที่ 3 ชี้ให้เห็นถึงความไม่ลงรอยกันอย่างชัดเจน จากเหตุที่ฝ่ายการเมืองและกระทรวงการต่างประเทศเห็นดีเห็นงามให้ประเทศที่ 3 เข้ามาเป็นสักขีพยานในการไม่ให้ฝ่ายทหารใช้กำลังทหารผลักดันกัมพูชาออกจากดินแดนไทย
"ฝ่ายความมั่นคงอึดอัดกับท่าทีของรัฐบาลที่ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถทวงแผ่นดินกลับคืนมาได้โดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ซึ่งก็คือการสูญเสียดินแดนอย่างถาวร" นายปานเทพกล่าว
**อัดรัฐบาล-พท.ใช้ "วีระ-ราตรี" เป็นเหยื่อ
นายประพันธ์ คูณมี โฆษกคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย กล่าวว่า การที่ญาติพี่น้องของนายวีระ และน.ส.ราตรี ต้องไปขอความช่วยเหลือจากพ.ต.ท.ทักษิณ มาจากการที่รัฐบาลนี้ล้มเหลว และไม่ทำหน้าที่ช่วยเหลืออย่างจริงจัง ประกอบกับท่าทีของนายฮุนเซนที่ต้องใช้ 2 คนไทยเป็นเงื่อนไขในการต่อรองผลประโยชน์ โดยเฉพาะกรณีการขึ้นทะเบียนมรดกโลก และความได้เปรียบในการยึดครองดินแดนไทย ซึ่งชี้ให้เห็นว่า การจับกุม 7 คนไทยจนมาถึง 2 คนไทยที่เหลืออยู่ในเรือนจำกัมพูชา เป็นกระบวนการลักพาตัวเพื่อแลกค่าไถ่ เพราะหากทางกัมพูชาคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเงื่อนไขในเอ็มโอยู 2543 หรือในบันทึกเจบีซี ทั้ง 3 ฉบับแล้ว กัมพูชาไม่อยู่ในฐานะที่จะจับกุมคนไทยไปขึ้นศาลกัมพูชาได้เลย
ทั้งนี้ แม้แต่ในบันทึกการประชุมเจบีซีครั้งสุดท้าย นายฮอร์ นัม ฮง ประธานเจบีซี ฝ่ายกัมพูชา ก็ยังเป็นผู้เรียกร้องเองให้ฝ่ายไทยปฏิบัติกับคนกัมพูชาที่ถูกจับกุมหรือผลัดหลงเข้ามาในดินแดนไทย โดยให้วิธีการประสานงานเจรจาโดยไม่นำตัวเข้าสู่กระบวนการในชั้นศาล สิ่งนี้ คือ แนวทางการปฏิบัติที่ผ่านมา แต่รัฐบาลไทยกลับไม่เรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชาปฏิบัติเช่นเดียวกัน ทำให้ฝ่ายกัมพูชาสามารถใช้การจับกุมนายวีระ และน.ส.ราตรี กดดันต่อรองกับประเทศไทย เห็นได้ชัดจากการที่รัฐบาลไทยพยายามให้ครอบครัวของทั้งคู่ให้ความยินยอมในการดำเนินการขออภัยโทษ แต่ถึงบัดนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ
"เกมในขณะนี้ เชื่อว่ารัฐบาลกัมพูชาจะเปิดทางให้ พ.ต.ท.ทักษิณ และพรรคเพื่อไทยเข้ามามีบทบาท แต่คงไม่ได้รับความร่วมมือ หรือปล่อยคุณวีระ และคุณราตรี มาเปล่าๆ แต่จะมีข้อตกลงพิเศษที่ พ.ต.ท.ทักษิณเคยมีต่อนายฮุนเซน ในอดีต จึงต้องขอประณามฝ่ายการเมือง ทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน ที่พยายามช่วงชิงเรื่องนี้เป็นเครื่องมือทางการเมือง มากกว่าจะคิดถึงสิทธิเสรีภาพของคนไทยทั้งสอง ทำให้คุณวีระ และคุณราตรี ตกเป็นเหยื่อทางการเมือง" นายประพันธ์กล่าว
**ต้องพักการประชุมเจบีซี ไว้ก่อน
ส่วนกรณีการประชุมเจบีซี ที่กำหนดในวันที่ 7-8 เม.ย.นี้ ที่ประเทศอินโดนีเซียนั้น นายประพันธ์ กล่าวว่า ตนเห็นว่าการเจรจาใดๆ ระหว่างไทยกับกัมพูชา รัฐบาลควรยุติการดำเนินการทั้งหมด เพราะประกาศชัดว่าจะยุบสภาในช่วงต้นเดือนพ.ค.นี้ ไม่ควรใช้ช่วงเวลานี้ในการทำสิ่งที่มีผลผูกพันในระยะยาวขึ้นมาอีก เพราะเรื่องนี้ยังเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ และหากมีการเลือกตั้ง ควรให้พรรคการเมืองที่เสนอตัวออกนโยบายแข่งขันกันว่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร เพื่อให้ประชาชนได้ตัดสินใจ โดยเฉพาะในช่วงที่ประสบกับภัยธรรมชาติอย่างหนัก รัฐบาลควรใช้เวลาในการทุ่มเทแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเป็นหลักมากกว่า
"หากว่ารัฐบาลพิจารณายุติประเด็นที่มีผลเกี่ยวกับดินแดนอธิปไตยของประเทศ ภาคประชาชนก็จะพิจารณาถึงดำเนินการทางการเมืองถึงทางออกในเรื่องนี้ แต่ถ้าตราบใด รัฐบาลยังไม่มีความชัดเจน แล้วยังเดินหน้าในการประชุมเจบีซี หรือจีบีซี รวมทั้งการรับรองบันทึกเจบีซี 3 ฉบับต่อไป โดยไม่มีการตอบสนอง 3 ข้อเรียกร้องของภาคประชาชนเลย การชุมนุมก็ยังต้องยืนหยัดอยู่ต่อไป ความชอบธรรมของรัฐบาลในวันนี้หมดลงแล้ว ไม่ควรดำเนินการบริหารบ้านเมืองเรื่องใดๆ ต่อไป เรื่องที่สำคัญของบ้านเมืองควรยุติ ปล่อยให้เป็นหน้าที่รัฐบาลใหม่ งานที่ทำควรเป็นปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น" นายประพันธ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงว่าหากรัฐบาลยุติการดำเนินการเกี่ยวกับเขตแดนไทย-กัมพูชา ทางพันธมิตรฯ พร้อมที่จะทบทวนท่าที และยุติการชุมนุมหรือไม่ นายประพันธ์ กล่าวว่า รัฐบาลควรมีท่าทีที่ชัดเจนต่อ 3 ข้อเรียกร้องของภาคประชาชน รวมทั้งการดำเนินการต่อเจบีซี จีบีซี มรดกโลก หรือบันทึกเจบีซี ต้องมีความชัดเจนออกมาเช่นกัน เพราะตราบใดที่รัฐบาลไม่มีคำตอบให้ประชาชน การชุมนุมก็ต้องดำเนินต่อไป
ส่วนเมื่อมีการยุบสภา และมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นแล้ว การชุมนุมก็อาจจะแปรเปลี่ยนเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนลงคะแนนในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน หรือโหวตโนแทน เนื่องจากที่ผ่านมาเวทีนี้ก็ประกาศมาเสมอว่า เราไม่สนับสนุนการเลือกตั้งในห้วงเวลานี้อยู่ ซึ่งการชุมนุมจะอยู่ต่อไปหรือไม่ ก็คงไม่เป็นผลต่อการเลือกตั้ง เพราะผู้ชุมนุมไม่ได้มีพฤติกรรมขัดขวางกระบวนการเลือกตั้ง แต่มีเวทีอยู่เพื่อให้ความรู้กับประชาชนต่อไป รวมทั้งติดตามด้วยว่ารัฐบาลต่อไปที่เข้ามาทำหน้าที่มีแนวนโยบาย เช่นเดียวกับรัฐบาลนี้หรือไม่ หากเหมือนกัน การชุมนุมก็ต้องดำเนินต่อไป
**มาร์คปล่อยเผาเมือง-จาบจ้วงสถาบันฯ
นายประพันธ์ ยังได้กล่าวถึงกระแสพระดำรัสของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ผ่านทางรายการวู้ดดี้เกิดมาคุย ถึงกรณีเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมือง เมื่อเดือนพ.ค.2553 ว่า เป็นสิ่งที่เศร้าสะเทือนใจ และชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลปล่อยปละละเลยในเรื่องนี้ ไม่เอาใจใส่ป้องกันเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะขบวนการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ และหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่รัฐบาลกลับมาออกหนังสือ "ประเทศไทยของเรา อย่าให้ใครเผาอีก" ซึ่งรวบรวมจากปากคำของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ซึ่งมีเนื้อหาที่ไม่ได้รับผิดชอบว่าการเผาบ้าน เผาเมือง เป็นความผิดของใคร ทั้งที่เป็นที่รู้กันอยู่แล้ว ซึ่งความผิดที่เกิดขึ้นฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองก็ควรที่จะมีความผิดด้วย ในการไม่สามารถป้องกันเหตุได้ ซึ่งพระกระแสดังกล่าวรัฐบาลควรนำมาใส่เกล้า และทบทวนสิ่งที่ล้มเหลวผิดพลาดที่ผ่านมา ไม่ใช่ทำหนังสือมาโยนความผิดให้แก่ผู้อื่นเช่นนี้