ASTVผู้จัดการรายวัน-“เอดีบี”สนโปรเจ็กต์ระบบรางไทย ระบุพร้อมปล่อยกู้ 1,200 ล้านบาทหนุนแผนพัฒนาโดยเฉพาะระบบตั๋วร่วมหลังช่วยเหลือมาแล้ว 300 ล้านบาท ด้าน”คมนาคม”เผยพิจารณาเป็นทางเลือกหากไจก้าแหล่งเงินญี่ปุ่นมีปัญหา พร้อม ชงครม. อนุมัติเดินหน้าตั้งสำนักงานกลางใต้สังกัดสนข. บริหารตั๋วร่วมระยะแรก
นายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ รองปลัดกระทรวงคมนาคมด้านโครงสร้างพื้นฐาน เปิดเผยว่า ในวันนี้ (5 เม.ย.) ผู้แทนธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือเอดีบี จะเข้าพบเพื่อหารือร่วมกับกระทรวงคมนาคม สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ถึงการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง โดยเบื้องต้นเอดีบีระบุว่ามีความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือเงินกู้ทั้งหมดประมาณ 40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 1,200 ล้านบาทแก่ประเทศไทย ในการดำเนินโครงการขนส่ง แบ่งเป็นการสนับสนุนเฉพาะโครงการพัฒนาระบบตั๋วร่วมถึง 22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งก่อนหน้านี้ เอดีบีได้ให้เงินช่วยเหลือจำนวน 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (300 ล้านบาท) แก่ สนข.สำหรับโครงการพัฒนาตั๋วร่วมแล้ว
นอกจากนี้ เอดีบียังแสดงความสนใจในแผนการพัฒนารถไฟทางคู่ และโครงการอื่นๆของร.ฟ.ท. อีกด้วย ทั้งนี้ การพิจารณาว่าจะมีการกู้เงินจากเอดีบีหรือไม่นั้นเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ซึ่งเงินกู้จากเอดีบี เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของรัฐบาล แม้อัตราดอกเบี้ยจะสูงกว่า องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า) เนื่องจากขณะนี้ ญี่ปุ่นอาจมีความจำเป็นต้องนำเงินไปใช้เพื่อการฟื้นฟูประเทศจากภัยพิบัติ ดังนั้นการกู้ยืมเงินจากญี่ปุ่นอาจจะเป็นเรื่องยาก
นายจำรูญกล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กระทรวงคมนาคมได้สรุปแผนการบริหารจัดการตั๋วร่วมและเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว ซึ่งหากครม.เห็นชอบ จะเริ่มดำเนินการได้ทันทีโดยระยะแรก จะตั้งสำนักงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ภายใต้ สนข. เพื่อให้รัฐเป็นผู้ดูแลก่อน เนื่องจาก ระบบขนส่งมวลชนของไทย มีความหลากหลายและหลายเจ้าของ เช่น ระบบรถไฟฟ้า ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ประมาณ 4-5 สาย, รถไฟฟ้า BTS และ BRT ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร (กทม.) , รถไฟฟ้าสายสีแดง,แอร์พอร์ตลิ้งค์และรถไฟความเร็วสูง ของ ร.ฟ.ท. ,ระบบทางด่วนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.),มอเตอร์เวย์ของกรมทางหลวงรวมถึงรถโดยสารประจำทาง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)และเรือด่วนเจ้าพระยาด้วย
“ก่อนหน้านี้ เอดีบีให้ความช่วยเหลือและให้เงินกู้กับโครงการของกรมทางหลวงค่อนข้างมาก แต่ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมเน้นการพัฒนาและลงทุนระบบรางมากขึ้นดังนั้น เอดีบีก็คงต้องการรับทราบแผนการพัฒนาที่ชัดเจนของกระทรวงคมนาคมในขณะนี้ โดยเฉพาะร.ฟ.ท.แม้จะมีแผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนารถไฟอยู่แล้ว แต่ยังมีปัญหาในเรื่องของงบประมาณในการก่อสร้าง เทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากร การวางราง ระบบอาณัติสัญญาณ และพนักงาน ซึ่งโดยรวมแล้ว จะต้องมีการปรับใหม่ทั้งหมด โดยเฉพาะวิธีคิด เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”นายจำรูญกล่าว
อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ เอดีบี ได้เสนอว่าควรจัดตั้งในรูปแบบบริษัท จำกัด ขณะที่ สนข.เห็นว่า ควรจัดตั้งเป็นองค์กรมหาชนเพื่อกิจการสาธารณะ แต่ทั้ง 2 รูปแบบต่างก็มีอุปสรรค เพราะหากจัดตั้งตามความเห็นของ เอดีบี จะกลายเป็นองค์กรแสวงหากำไร และหากจัดตั้งตามความเห็นของ สนข. จะต้องใช้เวลาถึง 3 ปีตามระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งต้องกำหนดอัตราเงินเดือนค่อนข้างสูงด้วย
นายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ รองปลัดกระทรวงคมนาคมด้านโครงสร้างพื้นฐาน เปิดเผยว่า ในวันนี้ (5 เม.ย.) ผู้แทนธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือเอดีบี จะเข้าพบเพื่อหารือร่วมกับกระทรวงคมนาคม สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ถึงการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง โดยเบื้องต้นเอดีบีระบุว่ามีความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือเงินกู้ทั้งหมดประมาณ 40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 1,200 ล้านบาทแก่ประเทศไทย ในการดำเนินโครงการขนส่ง แบ่งเป็นการสนับสนุนเฉพาะโครงการพัฒนาระบบตั๋วร่วมถึง 22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งก่อนหน้านี้ เอดีบีได้ให้เงินช่วยเหลือจำนวน 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (300 ล้านบาท) แก่ สนข.สำหรับโครงการพัฒนาตั๋วร่วมแล้ว
นอกจากนี้ เอดีบียังแสดงความสนใจในแผนการพัฒนารถไฟทางคู่ และโครงการอื่นๆของร.ฟ.ท. อีกด้วย ทั้งนี้ การพิจารณาว่าจะมีการกู้เงินจากเอดีบีหรือไม่นั้นเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ซึ่งเงินกู้จากเอดีบี เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของรัฐบาล แม้อัตราดอกเบี้ยจะสูงกว่า องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า) เนื่องจากขณะนี้ ญี่ปุ่นอาจมีความจำเป็นต้องนำเงินไปใช้เพื่อการฟื้นฟูประเทศจากภัยพิบัติ ดังนั้นการกู้ยืมเงินจากญี่ปุ่นอาจจะเป็นเรื่องยาก
นายจำรูญกล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กระทรวงคมนาคมได้สรุปแผนการบริหารจัดการตั๋วร่วมและเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว ซึ่งหากครม.เห็นชอบ จะเริ่มดำเนินการได้ทันทีโดยระยะแรก จะตั้งสำนักงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ภายใต้ สนข. เพื่อให้รัฐเป็นผู้ดูแลก่อน เนื่องจาก ระบบขนส่งมวลชนของไทย มีความหลากหลายและหลายเจ้าของ เช่น ระบบรถไฟฟ้า ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ประมาณ 4-5 สาย, รถไฟฟ้า BTS และ BRT ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร (กทม.) , รถไฟฟ้าสายสีแดง,แอร์พอร์ตลิ้งค์และรถไฟความเร็วสูง ของ ร.ฟ.ท. ,ระบบทางด่วนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.),มอเตอร์เวย์ของกรมทางหลวงรวมถึงรถโดยสารประจำทาง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)และเรือด่วนเจ้าพระยาด้วย
“ก่อนหน้านี้ เอดีบีให้ความช่วยเหลือและให้เงินกู้กับโครงการของกรมทางหลวงค่อนข้างมาก แต่ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมเน้นการพัฒนาและลงทุนระบบรางมากขึ้นดังนั้น เอดีบีก็คงต้องการรับทราบแผนการพัฒนาที่ชัดเจนของกระทรวงคมนาคมในขณะนี้ โดยเฉพาะร.ฟ.ท.แม้จะมีแผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนารถไฟอยู่แล้ว แต่ยังมีปัญหาในเรื่องของงบประมาณในการก่อสร้าง เทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากร การวางราง ระบบอาณัติสัญญาณ และพนักงาน ซึ่งโดยรวมแล้ว จะต้องมีการปรับใหม่ทั้งหมด โดยเฉพาะวิธีคิด เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”นายจำรูญกล่าว
อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ เอดีบี ได้เสนอว่าควรจัดตั้งในรูปแบบบริษัท จำกัด ขณะที่ สนข.เห็นว่า ควรจัดตั้งเป็นองค์กรมหาชนเพื่อกิจการสาธารณะ แต่ทั้ง 2 รูปแบบต่างก็มีอุปสรรค เพราะหากจัดตั้งตามความเห็นของ เอดีบี จะกลายเป็นองค์กรแสวงหากำไร และหากจัดตั้งตามความเห็นของ สนข. จะต้องใช้เวลาถึง 3 ปีตามระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งต้องกำหนดอัตราเงินเดือนค่อนข้างสูงด้วย