ASTVผู้จัดการรายวัน-“คมนาคม”ชำแหละแผนแม่บทพัฒนาท่าเรือคลองเตยเชิงพาณิชย์ ชี้ขาดรายละเอียดเพียบ สั่งทำเพิ่มส่งใหม่ภายใน 1 สัปดาห์หน้า ก่อนหารือ”เกื้อกูล”ตัดสินชงคลังพิจารณาตามขั้นตอน”สุพจน์”เซ็งไม่มีแผนรองรับปัญหาในอนาคต หวั่นคมนาคมขนส่งป่วนเหมือนศูนย์ราชการแถมจุดยืนภารกิจท่าเรือคลองเตยไม่ชัด
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังการประชุมรับฟังรายงานการศึกษาและจัดทำผังแม่บท (Master Plan) การใช้ประโยชน์พื้นที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) บริเวณท่าเรือกรุงเทพ(คลองเตย) วานนี้ (9 มี.ค.) ว่า แผนแม่บทการใช้ประโยชน์พื้นที่ กทท.บริเวณท่าเรือกรุงเทพในเชิงพาณิชย์ พื้นที่รวม 2,353 ไร่ ที่บริษัท สถาปนิก 49 จำกัด บริษัทที่ปรึกษาได้นำเสนอนั้น พบว่ามีหลายประเด็นที่ยังขาดรายละเอียด จึงให้กทท.กลับไปทำข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนที่ยังไม่ชัดเจน และให้สรุปภายในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้จะต้องนำข้อมูลหารือนายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมว่าจะส่งเรื่องให้กระทรวงการคลังพิจารณาตามขั้นตอนทันทีหรือจะตรวจสอบรายละเอียดให้ครบถ้วนอีกครั้งก่อน
โดย รายละเอียดที่ยังไม่ชัดเจน เช่น แผนการบริหารท่าเทียบเรือกรุงเทพในอนาคต ให้สอดคล้องกับภารกิจ ภายหลังมีการปรับเปลี่ยนทั้งขนาดและพื้นที่ของท่าเรือใหม่ จะมีการย้ายการขนส่งสินค้าไปท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) หรือไม่ ใช้เงินลงทุนเท่าไร ,การจัดระบบคมนาคมขนส่งรองรับ, แผนรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับหน่วยงานที่ตั้งในพื้นที่อาทิ กรมศุลกากร, องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) สำนักงานเขตของกทม.เป็นต้น
“มีหลายคำถามที่กทท.ยังไม่สามารถตอบหรืออธิบายได้ โดยเฉพาะการจัดระบบคมนาคมขนส่ง ต้องชัดเจน เพราะไม่อยากให้เกิดปัยหาเหมือนกรณีศูนย์ราชการ ซึ่งโครงการนำร่องการพัฒนาพื้นที่ 4 แปลงจะมีประชาชนเข้าไปเกี่ยวข้องจำนวนมากจะทำอย่างไร หรือพวกหน่วยงานในพื้นที่ท่าเรือจะย้ายไปไหน พื้นที่เท่าไร ต้องคุยกันก่อน ซึ่งตามขั้นตอนต้องเสนอคลัง แต่หากเสนอไปแบบนี้อาจจะถูกตีกลับ”นายสุพจน์กล่าว
นายสุพจน์กล่าวว่า ที่ผ่านมาผลการศึกษาโครงการพัฒนาเชิงพณิชย์ที่รายงานมายังกระทรวงคมนาคม ส่วนใหญ่มีปัญหาในลักษณะเดียวกับ กทท. ดังนั้นจึงได้สั่งให้ทุกหน่วยงาน รายงานผลเบื้องต้นให้กระทรวงพิจารณาก่อนที่จะมีการสรุปและรับตรวจรับงานจากบริษัทที่ปรึกษา เพื่อให้สามารถศึกษาเพิ่มเติมในข้อมูลส่วนที่ยังไม่ครบถ้วนได้ ซึ่งแผนแม่บทพัฒนาคลองเตยนั้นข้อมูลที่ไม่ครบเป็นเรื่องที่อยู่ในขอบเขตของการศึกษาแต่ที่ปรึกษาไม่ได้ทำมา
สำหรับแผนการพัฒนาและใช้ประโยชน์พื้นที่ท่าเรือกรุงเทพนั้น กทท.ได้ว่าจ้างคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมและจัดทำรายงานตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 เนื่องจากมูลค่าการลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท และได้เสนอโครงการนำร่องพัฒนาพื้นที่ 4แปลง ต่อกระทรวงการคลังเมื่อปี 2552
โดยคลังให้กทท.ศึกษาเพิ่มเติมข้อดีข้อเสียและผลกระทบในการพัฒนาพื้นที่ 4 แปลง โดยคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ในภาพรวม รวมถึงผลกระทบต่อฐานะการเงินและสิ่งแวดล้อม โดยกทท.ได้ว่าจ้าง บริษัท สถาปนิก 49เป็นที่ปรึกษา และสรุปผลศึกษาเสนอกระทรวงคมนาคมเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2553
โดยแผนการพัฒนาพื้นที่ 4 แปลง รวม 223 ไร่ ประกอบด้วย 1. พื้นที่ว่างบริเวณอาคารที่ทำการกทท. จำนวน 17 ไร่ โดยจะมีการบริหารงานเป็นลักษณะอาคารศูนย์ธุรกิจพาณิชยนาวี ซึ่งแบ่งออกเป็นอาคารสำนักงานบริษัทสายเรือ Freight Forwarder Shipping การประกันภัยขนส่ง ศูนย์นิทรรศการแสดงงานและการประชุม และจัดตั้งเป็นสถาบันการศึกษาศูนย์ฝึกอบรมด้านพาณิชยนาวี โลจิสติกส์และให้บริการด้านเอกสารการค้า EDI , IT 2. บริเวณอาคารทวิช สำนักแพทย์และอนามัย จำนวน 54 ไร่ จะบริหารเป็นศูนย์โลจิสติกส์ การกระจายสินค้า และเขตปลอดอาการ 3. บริเวณตลาดคลองเตย ถึงอู่รถขสมก. จำนวน 137 ไร่ จะบริหารเป็นศูนย์การค้า ธุรกิจทันสมัยครบวงจร และ 4. บริเวณคลังสินค้าผ่านแดน จำนวน 15 ไร่ จะเป็นอาคารสำนักงาน
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังการประชุมรับฟังรายงานการศึกษาและจัดทำผังแม่บท (Master Plan) การใช้ประโยชน์พื้นที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) บริเวณท่าเรือกรุงเทพ(คลองเตย) วานนี้ (9 มี.ค.) ว่า แผนแม่บทการใช้ประโยชน์พื้นที่ กทท.บริเวณท่าเรือกรุงเทพในเชิงพาณิชย์ พื้นที่รวม 2,353 ไร่ ที่บริษัท สถาปนิก 49 จำกัด บริษัทที่ปรึกษาได้นำเสนอนั้น พบว่ามีหลายประเด็นที่ยังขาดรายละเอียด จึงให้กทท.กลับไปทำข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนที่ยังไม่ชัดเจน และให้สรุปภายในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้จะต้องนำข้อมูลหารือนายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมว่าจะส่งเรื่องให้กระทรวงการคลังพิจารณาตามขั้นตอนทันทีหรือจะตรวจสอบรายละเอียดให้ครบถ้วนอีกครั้งก่อน
โดย รายละเอียดที่ยังไม่ชัดเจน เช่น แผนการบริหารท่าเทียบเรือกรุงเทพในอนาคต ให้สอดคล้องกับภารกิจ ภายหลังมีการปรับเปลี่ยนทั้งขนาดและพื้นที่ของท่าเรือใหม่ จะมีการย้ายการขนส่งสินค้าไปท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) หรือไม่ ใช้เงินลงทุนเท่าไร ,การจัดระบบคมนาคมขนส่งรองรับ, แผนรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับหน่วยงานที่ตั้งในพื้นที่อาทิ กรมศุลกากร, องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) สำนักงานเขตของกทม.เป็นต้น
“มีหลายคำถามที่กทท.ยังไม่สามารถตอบหรืออธิบายได้ โดยเฉพาะการจัดระบบคมนาคมขนส่ง ต้องชัดเจน เพราะไม่อยากให้เกิดปัยหาเหมือนกรณีศูนย์ราชการ ซึ่งโครงการนำร่องการพัฒนาพื้นที่ 4 แปลงจะมีประชาชนเข้าไปเกี่ยวข้องจำนวนมากจะทำอย่างไร หรือพวกหน่วยงานในพื้นที่ท่าเรือจะย้ายไปไหน พื้นที่เท่าไร ต้องคุยกันก่อน ซึ่งตามขั้นตอนต้องเสนอคลัง แต่หากเสนอไปแบบนี้อาจจะถูกตีกลับ”นายสุพจน์กล่าว
นายสุพจน์กล่าวว่า ที่ผ่านมาผลการศึกษาโครงการพัฒนาเชิงพณิชย์ที่รายงานมายังกระทรวงคมนาคม ส่วนใหญ่มีปัญหาในลักษณะเดียวกับ กทท. ดังนั้นจึงได้สั่งให้ทุกหน่วยงาน รายงานผลเบื้องต้นให้กระทรวงพิจารณาก่อนที่จะมีการสรุปและรับตรวจรับงานจากบริษัทที่ปรึกษา เพื่อให้สามารถศึกษาเพิ่มเติมในข้อมูลส่วนที่ยังไม่ครบถ้วนได้ ซึ่งแผนแม่บทพัฒนาคลองเตยนั้นข้อมูลที่ไม่ครบเป็นเรื่องที่อยู่ในขอบเขตของการศึกษาแต่ที่ปรึกษาไม่ได้ทำมา
สำหรับแผนการพัฒนาและใช้ประโยชน์พื้นที่ท่าเรือกรุงเทพนั้น กทท.ได้ว่าจ้างคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมและจัดทำรายงานตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 เนื่องจากมูลค่าการลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท และได้เสนอโครงการนำร่องพัฒนาพื้นที่ 4แปลง ต่อกระทรวงการคลังเมื่อปี 2552
โดยคลังให้กทท.ศึกษาเพิ่มเติมข้อดีข้อเสียและผลกระทบในการพัฒนาพื้นที่ 4 แปลง โดยคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ในภาพรวม รวมถึงผลกระทบต่อฐานะการเงินและสิ่งแวดล้อม โดยกทท.ได้ว่าจ้าง บริษัท สถาปนิก 49เป็นที่ปรึกษา และสรุปผลศึกษาเสนอกระทรวงคมนาคมเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2553
โดยแผนการพัฒนาพื้นที่ 4 แปลง รวม 223 ไร่ ประกอบด้วย 1. พื้นที่ว่างบริเวณอาคารที่ทำการกทท. จำนวน 17 ไร่ โดยจะมีการบริหารงานเป็นลักษณะอาคารศูนย์ธุรกิจพาณิชยนาวี ซึ่งแบ่งออกเป็นอาคารสำนักงานบริษัทสายเรือ Freight Forwarder Shipping การประกันภัยขนส่ง ศูนย์นิทรรศการแสดงงานและการประชุม และจัดตั้งเป็นสถาบันการศึกษาศูนย์ฝึกอบรมด้านพาณิชยนาวี โลจิสติกส์และให้บริการด้านเอกสารการค้า EDI , IT 2. บริเวณอาคารทวิช สำนักแพทย์และอนามัย จำนวน 54 ไร่ จะบริหารเป็นศูนย์โลจิสติกส์ การกระจายสินค้า และเขตปลอดอาการ 3. บริเวณตลาดคลองเตย ถึงอู่รถขสมก. จำนวน 137 ไร่ จะบริหารเป็นศูนย์การค้า ธุรกิจทันสมัยครบวงจร และ 4. บริเวณคลังสินค้าผ่านแดน จำนวน 15 ไร่ จะเป็นอาคารสำนักงาน