ASTVผู้จัดการรายวัน-คลังสั่งกทท.แจงรายละเอียดการพัฒนาท่าเรือกรุงเทพฯเพิ่มเติม 5 ข้อ หวั่นการใช้ประโยชน์ ขัดพ.ร.บ.เวนคืน ,ความชัดเจนแนวทางร่วมทุนเอกชน, ผลตอบแทนพื้นที่นำร่องแปลง2,4 ไม่คุ้มค่า "ผอ.กทท."ยันไม่ขัดชี้การใช้ประโยชน์พื้นที่เพื่อกิจการที่เกี่ยวข้องกับท่าเรือ เร่งสรุปเสนอคลังในก.ค.นี้ เพื่อเตรียมเสนอครม.ชุดใหม่พิจารณาพร้อมกับโครงการศูนย์ขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟและท่าเรือชายฝั่ง ซึ่งจะสรุปผลศึกษาในก.ค.นี้
นายเฉลิมชัย มีคุณเอี่ยม ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการการใช้ประโยชน์พื้นที่ของกทท.บริเวณท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) ว่า หลังจากที่กระทรวงคมนาคมได้จัดส่งรายงานการศึกษาและผังแม่บทโครงการฯไปยังกระทรวงการคลังแล้ว ล่าสุด เมื่อวันที่ 29มิ.ย.2554กระทรวงการคลังได้ทำหนังสือถึงกระทรวงคมนาคมเพื่อให้กทท.จัดทำข้อมูลประกอบการพิจารณาเพิ่มเติมเพื่อให้ภาครัฐได้ประโยชน์สูงสุดและสอดคล้องกับแผนโลจิสติกส์แห่งชาติ ซึ่งจะเร่งสรุปข้อสงสัยและชี้แจงกระทรวงการคลังได้ภายในเดือนก.ค.นี้ โดยกระทรวงการคลังจะเป็นผู้นำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติโครงการต่อไปหลังจากนั้นจึงจะสามารถเริ่มจัดทำเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) ในแต่ละพื้นที่ได้
โดยข้อมูลที่คลังต้องการเพิ่มเติมมี 5 ข้อ คือ 1.การดำเนินโครงการสามารถดำเนินโครงการภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2499 หรือไม่อย่างไร 2.กทท.มีแนวทางการดำเนินอย่างไรในการสรรหาเอกชนเข้าร่วมลงทุนหรือแนวทางการลงทุนในรูปแบบอื่นๆที่เป็นประโยชน์เนื่องจากพิจารณาแผนการลงทุนพัฒนาตามศักยภาพ (Base Case) ในพื้นที่นำร่อง 4 แปลงแล้วพบว่า พื้นที่2,4 มีผลตอบแทนไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน 3.รายละเอียดของผลตอบแทนที่กทท.จะได้รับ กรณีพัฒนาพื้นที่นำร่อง 4 แปลง 4.การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของโครงการโดยละเอียด และ5.แผนรองรับระบบคมนาคมขนส่งภายในและพื้นที่โดยรอบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
นายเฉลิมชัยกล่าวว่า วัตถุประสงค์ในการพัฒนาท่าเรือกรุงเทพ จะเป็นกิจกรรมที่สนับสนุนการดำเนินงานของท่าเรือทั้งสิ้น จึงไม่ขัดพ.ร.บ.เวนคืนฯแน่นอน ส่วนการพัฒนาพื้นที่ 4แปลงนั้นตามผลการศึกษาจะแยกการพัฒนาแต่ละแปลง ซึ่งมีรายละเอียดตัวเลขผลตอบแทนแล้วแต่เนื่องจากคลังต้องการให้เสนอพร้อมกับแผนพัฒนาพื้นที่รวมจึงต้องรวมเป็นแผนเดียวกันหมดซึ่งขณะนี้ถือว่าการดำเนินโครงการล่าช้ากว่าแผนค่อนข้างมาก
สำหรับผังแม่บทการใช้ประโยชน์พื้นที่ท่าเรือกรุงเทพกำหนดระยะเวลาดำเนินโครงการรวม 30-35 ปี พื้นที่ 2,353 ไร่ มูลค่า 112,954 ล้านบาท ใช้แนวทางการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรูปแบบ PPPs (Public Private Partnership ) และดำเนินการตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535
โดยแผนการพัฒนาพื้นที่ 4 แปลง รวม 223 ไร่ ประกอบด้วย 1.พื้นที่ว่างบริเวณอาคารที่ทำการกทท. จำนวน 17 ไร่ โดยจะมีการบริหารงานเป็นลักษณะอาคารศูนย์ธุรกิจพาณิชยนาวี ซึ่งแบ่งออกเป็นอาคารสำนักงานบริษัทสายเรือ Freight Forwarder Shipping การประกันภัยขนส่ง ศูนย์นิทรรศการแสดงงานและการประชุม และจัดตั้งเป็นสถาบันการศึกษาศูนย์ฝึกอบรมด้านพาณิชยนาวีโลจิสติกส์และให้บริการด้านเอกสารการค้า EDI , IT 2.บริเวณอาคารทวิช สำนักแพทย์และอนามัย จำนวน 54 ไร่ จะบริหารเป็นศูนย์โลจิสติกส์ การกระจายสินค้า และเขตปลอดอาการ 3.บริเวณตลาดคลองเตย ถึงอู่รถขสมก. จำนวน 137 ไร่ จะบริหารเป็นศูนย์การค้า ธุรกิจทันสมัยครบวงจร และ 4.บริเวณคลังสินค้าผ่านแดน จำนวน 15 ไร่ จะเป็นอาคารสำนักงาน
นายเฉลิมชัยกล่าวว่า นอกจากการพัฒนาพื้นที่ท่าเรือกรุงเทพที่เตรียมเสนอขออนุมัติครม.ชุดใหม่แล้งยังมีอีก 2 โครงการที่เตรียมเสนอครม.ชุดใหม่พิจารณา คือ โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง มูลค่า 2,500 ล้านบาท ซึ่งในเดือนก.ค.นี้ ที่ปรึกษาจะสรุปผลการศึกษาออกแบบรายละเอียด มูลค่าลงทุนและอัตราค่าภาระที่เหมาะสมโดยในโครงการจะมีการก่อสร้างเส้นทางรถไฟทางคู่ต่อจากรถไฟทางคู่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่สถานีแหลมฉบัง เข้าไปในท่าเรือระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ด้วย และโครงการ (ท่าเทียบเรือ A) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) เพื่อพัฒนาศักยภาพการขนส่งชายฝั่ง และการขนส่งทางน้ำภายในประเทศและระหว่างประเทศให้เชื่อมโยงกับ ระบบการขนส่งรูปแบบอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนนโยบายพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากถนนสู่ทางน้ำโดยเรือชายฝั่งและเรือลำเลียงเพื่อเป็นการเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางน้ำให้มากขึ้น
นายเฉลิมชัย มีคุณเอี่ยม ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการการใช้ประโยชน์พื้นที่ของกทท.บริเวณท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) ว่า หลังจากที่กระทรวงคมนาคมได้จัดส่งรายงานการศึกษาและผังแม่บทโครงการฯไปยังกระทรวงการคลังแล้ว ล่าสุด เมื่อวันที่ 29มิ.ย.2554กระทรวงการคลังได้ทำหนังสือถึงกระทรวงคมนาคมเพื่อให้กทท.จัดทำข้อมูลประกอบการพิจารณาเพิ่มเติมเพื่อให้ภาครัฐได้ประโยชน์สูงสุดและสอดคล้องกับแผนโลจิสติกส์แห่งชาติ ซึ่งจะเร่งสรุปข้อสงสัยและชี้แจงกระทรวงการคลังได้ภายในเดือนก.ค.นี้ โดยกระทรวงการคลังจะเป็นผู้นำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติโครงการต่อไปหลังจากนั้นจึงจะสามารถเริ่มจัดทำเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) ในแต่ละพื้นที่ได้
โดยข้อมูลที่คลังต้องการเพิ่มเติมมี 5 ข้อ คือ 1.การดำเนินโครงการสามารถดำเนินโครงการภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2499 หรือไม่อย่างไร 2.กทท.มีแนวทางการดำเนินอย่างไรในการสรรหาเอกชนเข้าร่วมลงทุนหรือแนวทางการลงทุนในรูปแบบอื่นๆที่เป็นประโยชน์เนื่องจากพิจารณาแผนการลงทุนพัฒนาตามศักยภาพ (Base Case) ในพื้นที่นำร่อง 4 แปลงแล้วพบว่า พื้นที่2,4 มีผลตอบแทนไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน 3.รายละเอียดของผลตอบแทนที่กทท.จะได้รับ กรณีพัฒนาพื้นที่นำร่อง 4 แปลง 4.การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของโครงการโดยละเอียด และ5.แผนรองรับระบบคมนาคมขนส่งภายในและพื้นที่โดยรอบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
นายเฉลิมชัยกล่าวว่า วัตถุประสงค์ในการพัฒนาท่าเรือกรุงเทพ จะเป็นกิจกรรมที่สนับสนุนการดำเนินงานของท่าเรือทั้งสิ้น จึงไม่ขัดพ.ร.บ.เวนคืนฯแน่นอน ส่วนการพัฒนาพื้นที่ 4แปลงนั้นตามผลการศึกษาจะแยกการพัฒนาแต่ละแปลง ซึ่งมีรายละเอียดตัวเลขผลตอบแทนแล้วแต่เนื่องจากคลังต้องการให้เสนอพร้อมกับแผนพัฒนาพื้นที่รวมจึงต้องรวมเป็นแผนเดียวกันหมดซึ่งขณะนี้ถือว่าการดำเนินโครงการล่าช้ากว่าแผนค่อนข้างมาก
สำหรับผังแม่บทการใช้ประโยชน์พื้นที่ท่าเรือกรุงเทพกำหนดระยะเวลาดำเนินโครงการรวม 30-35 ปี พื้นที่ 2,353 ไร่ มูลค่า 112,954 ล้านบาท ใช้แนวทางการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรูปแบบ PPPs (Public Private Partnership ) และดำเนินการตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535
โดยแผนการพัฒนาพื้นที่ 4 แปลง รวม 223 ไร่ ประกอบด้วย 1.พื้นที่ว่างบริเวณอาคารที่ทำการกทท. จำนวน 17 ไร่ โดยจะมีการบริหารงานเป็นลักษณะอาคารศูนย์ธุรกิจพาณิชยนาวี ซึ่งแบ่งออกเป็นอาคารสำนักงานบริษัทสายเรือ Freight Forwarder Shipping การประกันภัยขนส่ง ศูนย์นิทรรศการแสดงงานและการประชุม และจัดตั้งเป็นสถาบันการศึกษาศูนย์ฝึกอบรมด้านพาณิชยนาวีโลจิสติกส์และให้บริการด้านเอกสารการค้า EDI , IT 2.บริเวณอาคารทวิช สำนักแพทย์และอนามัย จำนวน 54 ไร่ จะบริหารเป็นศูนย์โลจิสติกส์ การกระจายสินค้า และเขตปลอดอาการ 3.บริเวณตลาดคลองเตย ถึงอู่รถขสมก. จำนวน 137 ไร่ จะบริหารเป็นศูนย์การค้า ธุรกิจทันสมัยครบวงจร และ 4.บริเวณคลังสินค้าผ่านแดน จำนวน 15 ไร่ จะเป็นอาคารสำนักงาน
นายเฉลิมชัยกล่าวว่า นอกจากการพัฒนาพื้นที่ท่าเรือกรุงเทพที่เตรียมเสนอขออนุมัติครม.ชุดใหม่แล้งยังมีอีก 2 โครงการที่เตรียมเสนอครม.ชุดใหม่พิจารณา คือ โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง มูลค่า 2,500 ล้านบาท ซึ่งในเดือนก.ค.นี้ ที่ปรึกษาจะสรุปผลการศึกษาออกแบบรายละเอียด มูลค่าลงทุนและอัตราค่าภาระที่เหมาะสมโดยในโครงการจะมีการก่อสร้างเส้นทางรถไฟทางคู่ต่อจากรถไฟทางคู่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่สถานีแหลมฉบัง เข้าไปในท่าเรือระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ด้วย และโครงการ (ท่าเทียบเรือ A) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) เพื่อพัฒนาศักยภาพการขนส่งชายฝั่ง และการขนส่งทางน้ำภายในประเทศและระหว่างประเทศให้เชื่อมโยงกับ ระบบการขนส่งรูปแบบอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนนโยบายพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากถนนสู่ทางน้ำโดยเรือชายฝั่งและเรือลำเลียงเพื่อเป็นการเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางน้ำให้มากขึ้น