ASTVผู้จัดการรายวัน-“กทท.”เผยสายเรือระบุบริษัทแม่สั่งประเมินถึงสิ้นมิ.ย.ก่อนพิจารณาเรื่องเลิกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่ม หลังเจรจาสมาคมเรือฯ (BSAA) ยันท่าเรือกรุงเทพให้บริการปกติไม่ล่าช้า-ไม่แออัด ขณะที่สายเรือระบุ ไทยเป็นฮับยาก เหตุการบริหารจัดการไม่ดีทำต้นทุนค่าขนส่งสูงทุกโหมด สับทลฉ.รับเรือใหญ่ไม่ได้ “ผอ.กทท.”เผยอีก 2เดือนชงครม.อนุมัติลงทุนศูนย์ขนส่งทางรางทลฉ.และท่าเรือชายฝั่ง
นายเฉลิมชัย มีคุณเอี่ยม ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า การที่บริษัทเรือมีการเรียกเก็บค่าค่าธรรมเนียม (เซอร์ชาร์จ) เพิ่มจากผู้นำเข้า-ส่งออกโดยอ้างความแออัดในท่าเรือกรุงเทพทำให้เรือต้องจอดรอนานนั้น กทท.ได้แจ้งไปยังสมาคมตัวแทนเรือกรุงเทพ (BSAA) แล้วว่าขณะนี้การให้บริการของท่าเรือกรุงเทพกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว สามารถขนถ่ายสินค้าจากเรือได้ภายใน 1 วัน ซึ่ง BSAA ระบุว่าทางบริษัทแม่ที่ต่างประเทศให้รอดูสถานการณ์ไปถึงปลายเดือนมิ.ย.นี้ก่อนพิจารณาเรื่องเซอร์ชาร์จ
ทั้งนี้ ความแออัดในท่าเรือกรุงเทพเกิดขึ้นในช่วงมีวันหยุดยาว ช่วงเทศกาลสงกรานต์และวันพืชมงคลต่อเนื่องวันวิสาขบูชาในเดือนเม.ย.-พ.ค. ซึ่งท่าเรือเปิดให้บริการตามปกติ 24 ชม. แต่ผู้ประกอบการไม่มาเอาสินค้าออกทำให้เกิดการสะสม ส่วนการปิดท่าเรือในเทอร์มินอล 1 เพื่อเปลี่ยนเคลนใหม่นั้นจะเสร็จในต้นเดือนก.ค.นี้จากนั้นจะปิดท่าในเทอร์มินอล 2 เพื่อเปลี่ยนราง ใช้เวลา 4-5 เดือน โดยจัดเครื่องมือและพนักงานให้บริการเสริมเพื่อเร่งรัดการขนถ่ายสินค้า
วานนี้ (6 มิ.ย.) กทท.ได้จัดเสวนา”ทิศทางธุรกิจการค้าระหว่างประเทศกับบทบาทการท่าเรือฯ เนื่องในโอกาสครบรอบ60 ปี โดยนายสุวัฒน์ อัศวทองกุล ประธานสมาคมเจ้าของเรือและตัวแทนเรือกรุงเทพกล่าวว่า ปัญหาการขนส่งทางเรือของไทยคือ เรือใหญ่ไม่สามารถเข้าเทียบที่ท่าเรือแหลมฉบังได้เนื่องจากรมเจ้าท่าจำกัดความยาวของเรือ ซึ่งในอนาคตบริษัทเรือจะใช้เรือที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นเพื่อลดต้นทุนการขนส่ง ดังนั้นการพัฒนาแหลมฉบังเฟส 2 ควรให้ความสำคัญในเรื่องนี้ นอกจากนี้เส้นทางเดินเรือเข้า-ออกไทยต้องใช้เวลาเพิ่มอีก 2 วัน ขณะที่เวียดนามมีท่าเรือน้ำลึก รับเรือขนาด 1.3 หมื่นทีอียูได้ บริษัทเรือสามารถนำเรือแม่เข้าเทียบเพื่อไปยังสหรัฐอเมริกาและยุโรปได้ มีค่าแรงต่ำ ส่วนสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการถ่ายลำอยู่แล้ว ดังนั้นการที่ไทยจะเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคนั้นค่อนข้างยาก แต่ควรปรับปรุงการให้บริการผู้ส่งออก-นำเข้าของประเทศให้มีต้นทุนต่ำที่สุดเพื่อให้สินค้าไทยมีต้นทุนถูกลงดีกว่า
ด้านนายมานะผล ภู่สมบุญ รองประธานสภาพผู้ส่งสินค้าท่าเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาของผู้ส่งออกคือการมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม เช่น อัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลง,บริษัทเรือเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ส่งออกสูง และการขนส่งทางรถบรรทุกเที่ยวเดียว( รถเที่ยวเปล่า) ที่เกิดจากการบริหารด้านขนส่งไม่ดี เป็นต้น
***อีก 2 ด.ชงครม.อนุมัติลงทุนศูนย์ขนส่งทางรางทลฉ.
นายเฉลิมชัย กล่าวถึงโครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง มูลค่า 2,500 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างท่าเรือชายฝั่งว่า อยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบรายละเอียด และอัตราค่าภาระในการให้บริการที่เหมาะสม และรูปแบบการให้เอกชนเข้ามาร่วมทุนในโครงการตามขั้นตอนของพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 โดยจะสรุปภายในเดือนก.ค.นี้ จากนั้นจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติการลงทุน โดยทั้งสองโครงการจะช่วยเพิ่มศักยภาพให้ท่าเรือแหลมฉบัง
“ในช่วงแรกจะเร่งทำรถไฟทางคู่เชื่อมจากโครงการรถไฟทางคู่ (ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จากสถานีแหลมฉบังเข้าไปในท่าเรือ ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตรก่อน ส่วนการก่อสร้างศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟจะเปิดคัดเลือกให้เอกชนเข้ามาลงทุนต่อไป”นายเฉลิมชัยกล่าว
สำหรับโครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ ทลฉ. จะดำเนินการบริเวณพื้นที่โซน 4 (อยู่ระหว่างท่าเทียบเรือชุด B และชุด C ) ซึ่งสำรองไว้สำหรับพัฒนาเป็นศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ (Rail Transfer Terminal) ของ ทลฉ.จำนวน 600 ไร่ แบ่งการลงทุนเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 วงเงิน 1,090.675 ล้านบาท เป็นการพัฒนาเพื่อรองรับตู้สินค้าจนถึงระดับจำนวน 1 ล้านทีอียู./ปี และระยะที่ 2 วงเงิน 934.625 ล้านบาท จะสามารถรองรับตู้สินค้าเพิ่มเป็น 2 ล้านทีอียู./ปี
นายเฉลิมชัย มีคุณเอี่ยม ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า การที่บริษัทเรือมีการเรียกเก็บค่าค่าธรรมเนียม (เซอร์ชาร์จ) เพิ่มจากผู้นำเข้า-ส่งออกโดยอ้างความแออัดในท่าเรือกรุงเทพทำให้เรือต้องจอดรอนานนั้น กทท.ได้แจ้งไปยังสมาคมตัวแทนเรือกรุงเทพ (BSAA) แล้วว่าขณะนี้การให้บริการของท่าเรือกรุงเทพกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว สามารถขนถ่ายสินค้าจากเรือได้ภายใน 1 วัน ซึ่ง BSAA ระบุว่าทางบริษัทแม่ที่ต่างประเทศให้รอดูสถานการณ์ไปถึงปลายเดือนมิ.ย.นี้ก่อนพิจารณาเรื่องเซอร์ชาร์จ
ทั้งนี้ ความแออัดในท่าเรือกรุงเทพเกิดขึ้นในช่วงมีวันหยุดยาว ช่วงเทศกาลสงกรานต์และวันพืชมงคลต่อเนื่องวันวิสาขบูชาในเดือนเม.ย.-พ.ค. ซึ่งท่าเรือเปิดให้บริการตามปกติ 24 ชม. แต่ผู้ประกอบการไม่มาเอาสินค้าออกทำให้เกิดการสะสม ส่วนการปิดท่าเรือในเทอร์มินอล 1 เพื่อเปลี่ยนเคลนใหม่นั้นจะเสร็จในต้นเดือนก.ค.นี้จากนั้นจะปิดท่าในเทอร์มินอล 2 เพื่อเปลี่ยนราง ใช้เวลา 4-5 เดือน โดยจัดเครื่องมือและพนักงานให้บริการเสริมเพื่อเร่งรัดการขนถ่ายสินค้า
วานนี้ (6 มิ.ย.) กทท.ได้จัดเสวนา”ทิศทางธุรกิจการค้าระหว่างประเทศกับบทบาทการท่าเรือฯ เนื่องในโอกาสครบรอบ60 ปี โดยนายสุวัฒน์ อัศวทองกุล ประธานสมาคมเจ้าของเรือและตัวแทนเรือกรุงเทพกล่าวว่า ปัญหาการขนส่งทางเรือของไทยคือ เรือใหญ่ไม่สามารถเข้าเทียบที่ท่าเรือแหลมฉบังได้เนื่องจากรมเจ้าท่าจำกัดความยาวของเรือ ซึ่งในอนาคตบริษัทเรือจะใช้เรือที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นเพื่อลดต้นทุนการขนส่ง ดังนั้นการพัฒนาแหลมฉบังเฟส 2 ควรให้ความสำคัญในเรื่องนี้ นอกจากนี้เส้นทางเดินเรือเข้า-ออกไทยต้องใช้เวลาเพิ่มอีก 2 วัน ขณะที่เวียดนามมีท่าเรือน้ำลึก รับเรือขนาด 1.3 หมื่นทีอียูได้ บริษัทเรือสามารถนำเรือแม่เข้าเทียบเพื่อไปยังสหรัฐอเมริกาและยุโรปได้ มีค่าแรงต่ำ ส่วนสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการถ่ายลำอยู่แล้ว ดังนั้นการที่ไทยจะเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคนั้นค่อนข้างยาก แต่ควรปรับปรุงการให้บริการผู้ส่งออก-นำเข้าของประเทศให้มีต้นทุนต่ำที่สุดเพื่อให้สินค้าไทยมีต้นทุนถูกลงดีกว่า
ด้านนายมานะผล ภู่สมบุญ รองประธานสภาพผู้ส่งสินค้าท่าเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาของผู้ส่งออกคือการมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม เช่น อัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลง,บริษัทเรือเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ส่งออกสูง และการขนส่งทางรถบรรทุกเที่ยวเดียว( รถเที่ยวเปล่า) ที่เกิดจากการบริหารด้านขนส่งไม่ดี เป็นต้น
***อีก 2 ด.ชงครม.อนุมัติลงทุนศูนย์ขนส่งทางรางทลฉ.
นายเฉลิมชัย กล่าวถึงโครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง มูลค่า 2,500 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างท่าเรือชายฝั่งว่า อยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบรายละเอียด และอัตราค่าภาระในการให้บริการที่เหมาะสม และรูปแบบการให้เอกชนเข้ามาร่วมทุนในโครงการตามขั้นตอนของพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 โดยจะสรุปภายในเดือนก.ค.นี้ จากนั้นจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติการลงทุน โดยทั้งสองโครงการจะช่วยเพิ่มศักยภาพให้ท่าเรือแหลมฉบัง
“ในช่วงแรกจะเร่งทำรถไฟทางคู่เชื่อมจากโครงการรถไฟทางคู่ (ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จากสถานีแหลมฉบังเข้าไปในท่าเรือ ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตรก่อน ส่วนการก่อสร้างศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟจะเปิดคัดเลือกให้เอกชนเข้ามาลงทุนต่อไป”นายเฉลิมชัยกล่าว
สำหรับโครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ ทลฉ. จะดำเนินการบริเวณพื้นที่โซน 4 (อยู่ระหว่างท่าเทียบเรือชุด B และชุด C ) ซึ่งสำรองไว้สำหรับพัฒนาเป็นศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ (Rail Transfer Terminal) ของ ทลฉ.จำนวน 600 ไร่ แบ่งการลงทุนเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 วงเงิน 1,090.675 ล้านบาท เป็นการพัฒนาเพื่อรองรับตู้สินค้าจนถึงระดับจำนวน 1 ล้านทีอียู./ปี และระยะที่ 2 วงเงิน 934.625 ล้านบาท จะสามารถรองรับตู้สินค้าเพิ่มเป็น 2 ล้านทีอียู./ปี