ASTVผู้จัดการรายวัน-“คมนาคม”ไล่บี้ ร.ฟ.ท.เร่งแผนจัดหารถจักรและล้อเลื่อน หลังพบล่าช้าจนไม่ทันรองรับรถไฟทางคู่แหลมฉบังที่จะเสร็จส.ค.นี้ ระบุจำนวนหัวจักรขาดแคลนมาก พร้อมประสานกทท.เร่งรัดโครงการขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ เพื่อให้การขนส่งสินค้าทางรางเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
นายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ รองปลัดกระทรวงคมนาคมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ในฐานะประธานคณะทำงานติดตามการดำเนินงานโครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกตอนฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง เปิดเผยว่า ในเดือนเม.ย.นี้ จะลงพื้นที่เพื่อติดตามงานก่อสร้างอีกครั้ง หลังจากก่อนหน้านี้ได้แก้ปัญหาอุปสรรคที่ทำให้การก่อสร้างล่าช้าไปแล้ว
โดยงานโยธาสิ้นสุดวันที่ 31 ม.ค.2554 คืบหน้าไปแล้วกว่า 87.54 % กำหนดแล้วเสร็จในเดือนส.ค.2554 ซึ่งเรื่องที่ต้องเร่งแก้ปัญหาจากนี้ คือ ความพร้อมในการให้บริการขนส่งสินค้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เนื่องจากปัจจุบัน ร.ฟ.ท.ประสบปัญหาขาดแคลนหัวรถจักรและล้อเลื่อนสำหรับขนส่งสินค้าอย่างมาก ในขณะที่การจัดหาซึ่งอยู่ในแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 1.76 แสนล้านบาทล่าช้าค่อนข้างมาก
นอกจากนี้ จะต้องสอบถามการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ถึงคืบหน้าโครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบังว่าจะแล้วเสร็จเมื่อใด เพื่อให้การขนส่งสินค้าทางรางเข้าสู่ท่าเรือแหลมฉบังได้อย่างสะดวกและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
“การก่อสร้างรถไฟทางคู่ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบังล่าช้า เพราะมีปัญหาหลายเรื่อง แต่หลังจากแก้ไขสามารถเร่งรัดให้เสร็จในเดือนส.ค.นี้แน่นอน จะเหลือเพียงงานระบบอาณัติสัญญาณเท่านั้น ดังนั้น เมื่อมีรางรถไฟแล้ว ก็ต้องมีรถมาวิ่ง แต่ดูตอนนี้ หัวรถจักรที่รถไฟมีไม่พอแน่นอน ส่วนโครงการของกทท.ก็ยังไม่คืบหน้า จึงต้องเร่งรัดและหากมีปัญหากระทรวงคมนาคมพร้อมที่จะสนับสนุนและแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการขนส่งสินค้าทางราง ”นายจำรูญกล่าว
ทั้งนี้ ตามแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 1.76 แสนล้านบาท ของร.ฟ.ท.จะมีการจัดหารถจักดีเซลไฟฟ้า 13 คัน วงเงิน 2,145 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำร่างเอกสารเชิญชวนประกวดราคา ระยะเวลาดำเนินการ 2553-2556,โครงการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า GE 50 คัน วงเงิน 6,563 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 2554-2557 อยู่ระหว่างรอผลการพิจารณาจาก คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (บอร์ด สศช.) ,โครงการ Refurbish รถจักร 56 คัน วงเงิน 3,359 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 2553-2556 , โครงการจัดหารถโดยสารรุ่นใหม่สำหรับบริการเชิงพาณิชย์ 115 คน วงเงิน 4,981.05 ล้านบาท
เรือเอกสุทธินันท์ หัตถวงษ์ รองผู้อำนวยการ ท่าเรือแหลมฉบัง กทท. กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ ที่ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) มูลค่าประมาณ 2,025.3 ล้านบาทว่า ขณะนี้บริษัทที่ปรึกษาอยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในการดำเนินโครงการ ทั้งเรื่องการบริหารจัดการซึ่งต้องดำเนินการตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ตามความเห็นของ สศช. เพื่อให้เห็นในทุกมิติ โดยจะสรุปผลศึกษาประมาณเดือนก.ค.2554 จากนั้นจะสรุปผลการศึกษาทั้งหมดเสนอ สศช. อีกครั้ง ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติก่อสร้างโครงการต่อไป โดยในส่วนของการประมูลก่อสร้างโครงการนั้นคาดว่าจะเริ่มได้ประมาณปลายปี 2554
สำหรับโครงการก่อสร้างทางคู่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ตอนฉะเชิงเทรา-ศรีราช-แหลมฉบังฉบังมี ระยะทาง 78 กม. ค่าก่อสร้าง 3,926 ล้านบาท งานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม 830,889,501 บาท สัญญาก่อสร้างแล้วเสร็จวันที่ 8 มี.ค.2554 มีกิจการร่วมค่า ที เอส ซี จำกัด เป็นผู้รับเหมา
นายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ รองปลัดกระทรวงคมนาคมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ในฐานะประธานคณะทำงานติดตามการดำเนินงานโครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกตอนฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง เปิดเผยว่า ในเดือนเม.ย.นี้ จะลงพื้นที่เพื่อติดตามงานก่อสร้างอีกครั้ง หลังจากก่อนหน้านี้ได้แก้ปัญหาอุปสรรคที่ทำให้การก่อสร้างล่าช้าไปแล้ว
โดยงานโยธาสิ้นสุดวันที่ 31 ม.ค.2554 คืบหน้าไปแล้วกว่า 87.54 % กำหนดแล้วเสร็จในเดือนส.ค.2554 ซึ่งเรื่องที่ต้องเร่งแก้ปัญหาจากนี้ คือ ความพร้อมในการให้บริการขนส่งสินค้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เนื่องจากปัจจุบัน ร.ฟ.ท.ประสบปัญหาขาดแคลนหัวรถจักรและล้อเลื่อนสำหรับขนส่งสินค้าอย่างมาก ในขณะที่การจัดหาซึ่งอยู่ในแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 1.76 แสนล้านบาทล่าช้าค่อนข้างมาก
นอกจากนี้ จะต้องสอบถามการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ถึงคืบหน้าโครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบังว่าจะแล้วเสร็จเมื่อใด เพื่อให้การขนส่งสินค้าทางรางเข้าสู่ท่าเรือแหลมฉบังได้อย่างสะดวกและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
“การก่อสร้างรถไฟทางคู่ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบังล่าช้า เพราะมีปัญหาหลายเรื่อง แต่หลังจากแก้ไขสามารถเร่งรัดให้เสร็จในเดือนส.ค.นี้แน่นอน จะเหลือเพียงงานระบบอาณัติสัญญาณเท่านั้น ดังนั้น เมื่อมีรางรถไฟแล้ว ก็ต้องมีรถมาวิ่ง แต่ดูตอนนี้ หัวรถจักรที่รถไฟมีไม่พอแน่นอน ส่วนโครงการของกทท.ก็ยังไม่คืบหน้า จึงต้องเร่งรัดและหากมีปัญหากระทรวงคมนาคมพร้อมที่จะสนับสนุนและแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการขนส่งสินค้าทางราง ”นายจำรูญกล่าว
ทั้งนี้ ตามแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 1.76 แสนล้านบาท ของร.ฟ.ท.จะมีการจัดหารถจักดีเซลไฟฟ้า 13 คัน วงเงิน 2,145 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำร่างเอกสารเชิญชวนประกวดราคา ระยะเวลาดำเนินการ 2553-2556,โครงการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า GE 50 คัน วงเงิน 6,563 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 2554-2557 อยู่ระหว่างรอผลการพิจารณาจาก คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (บอร์ด สศช.) ,โครงการ Refurbish รถจักร 56 คัน วงเงิน 3,359 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 2553-2556 , โครงการจัดหารถโดยสารรุ่นใหม่สำหรับบริการเชิงพาณิชย์ 115 คน วงเงิน 4,981.05 ล้านบาท
เรือเอกสุทธินันท์ หัตถวงษ์ รองผู้อำนวยการ ท่าเรือแหลมฉบัง กทท. กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ ที่ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) มูลค่าประมาณ 2,025.3 ล้านบาทว่า ขณะนี้บริษัทที่ปรึกษาอยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในการดำเนินโครงการ ทั้งเรื่องการบริหารจัดการซึ่งต้องดำเนินการตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ตามความเห็นของ สศช. เพื่อให้เห็นในทุกมิติ โดยจะสรุปผลศึกษาประมาณเดือนก.ค.2554 จากนั้นจะสรุปผลการศึกษาทั้งหมดเสนอ สศช. อีกครั้ง ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติก่อสร้างโครงการต่อไป โดยในส่วนของการประมูลก่อสร้างโครงการนั้นคาดว่าจะเริ่มได้ประมาณปลายปี 2554
สำหรับโครงการก่อสร้างทางคู่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ตอนฉะเชิงเทรา-ศรีราช-แหลมฉบังฉบังมี ระยะทาง 78 กม. ค่าก่อสร้าง 3,926 ล้านบาท งานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม 830,889,501 บาท สัญญาก่อสร้างแล้วเสร็จวันที่ 8 มี.ค.2554 มีกิจการร่วมค่า ที เอส ซี จำกัด เป็นผู้รับเหมา