ASTVผู้จัดการรายวัน- ”เกื้อกูล”ระบุมาตรการเยียวยา”ฮัทชิสัน”ผ่านการพิจารณาคณะกรรมการมาตรา 22 ตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 ยืนยันรัฐไม่เสียประโยชน์แน่นอน และเอกชนไม่ได้ประโยชน์เพิ่ม ด้านกทท.รอมติครม.ทางการ ก่อนเสนอบอร์ดพิจารณาอีกรอบชี้ไม่ช่วยก็ได้แต่ความเชื่อมั่นด้านลงทุนจะลดลง หวั่นถูก ฮัทชิสันฯ”ฟ้องจะเสียหายมากกว่า ขณะที่กรมเจ้าท่าเตรียมสรุปแนวประกันบุคคลที่3จากสินค้าอันตรายใน 15วัน
นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า กรณีที่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2554 มีมติให้ทบทวนมาตรการให้ความช่วยเหลือ บริษัท ฮัทชิสัน แหลมฉบัง เทอร์มินัล จํากัด ผู้รับสัมปทานลงทุนก่อสร้าง บริหารและประกอบกิจการท่าเรือ เอ3 ซี1 ซี2 ดี1 ดี2 และดี 3 ในเขตท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) นั้นกทท.ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนสัญญาสัมปทานของพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานและดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ. ร่วมทุนฯ 35) ซึ่งผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการตามมาตรา 22 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ35 และสรุปแนวทางการช่วยเหลือต่อคณะกรรมการ(บอร์ด)กทท. จากนั้นตนในฐานะรมต.ที่กำกับดูแลกทท.พิจารณาแล้วเห็นว่ารัฐไม่เสียประโยชน์ จึงเสนอเข้าครม.ซึ่งเป็นไปตามที่กฤษฎีกาให้ดำเนินการเนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ
“”เมื่อครม.ยังเห็นว่าเอกสารยังไม่ครบถ้วน จึงให้กทท.นำเสนอที่ประชุมบอร์ดอีกครั้งไม่เสียหายอะไร ส่วนในรายละเอียดได้มีการพิจารณาจากคณะกรรมการมาตรา 22 ก็ต้องถือว่าจบแล้ว อีกทั้งคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(กนร.) ซึ่งมีนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้เห็นชอบเรื่องนี้แล้วจากนี้ก็ขึ้นกับครม.ว่าจะมีมติอย่างไร”นายเกื้อกูลกล่าว
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่าเอกชนที่ร่วมประมูลจะยื่นฟ้องกทท.หากมีการปรับแก้สัญญาสัมปทานของฮัทชิสันนั้นนายเกื้อกูลกล่าวว่า ตนไม่ทราบเรื่องนี้แต่มาตรการช่วยเหลือดังกล่าวเป็นไปตามขั้นตอนของพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ35 โดยดูที่ประโยชน์ของรัฐเป็นหลัก ซึ่งเมื่อช่วยเหลือเอกชนแล้วผลประโยชน์ตอบแทนที่รัฐได้รับไม่ลดลง ส่วนเอกชนจะได้ประประโยชน์มากขึ้นจากกรณีชะลอการขยายเวลาก่อสร้างท่าเทียบเรือดี1 ดี2 และดี3 จากกำหนดเดิมแล้วเสร็จในปี 2554 เป็นปี 2560นั้น เห็นว่าเมื่อเอกชนลงทุนช้าก็ได้รายได้ช้าลง ประเด็นสำคัญอยู่ที่เอกชนต้องทำให้เสร็จและสามารถรองรับสินค้าได้ และทลฉ.จะต้องไม่มีปัญหาเรื่องความแออัด
ชี้ถ้าถูก”ฮัทชิสันฯ”ฟ้องจะเสียหายมากกว่า
ด้านแหล่งข่าวจากกทท.กล่าวว่า ถ้ารัฐถูกฮัทชิสันฯฟ้องจะเสียหายมากกว่าถูกเอกชนรายอื่นฟ้องแน่นอน ซึ่งการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ ฮัทชิสันฯ เป็นไปตามหลักการเยียวยาซึ่งไม่ต้องช่วยเหลือก็ได้แต่จะกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของต่างชาติแน่นอน ซึ่งหลังจากฮัทชิสันฯ ได้เสนอขอความช่วยเหลือกรณีได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2551โดยคณะกรรมการมาตรา 22 พิจารณาแนวทางช่วยเหลือโดยยึดมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เป็นหลัก ส่วนกรณีที่ระบุว่าเอกชนได้ประโยชน์จากการชะลอลงทุนท่าเทียบเรือดี1 ดี2 และดี3 นั้นเห็นว่าการที่ยืดเวลาลงทุนออกไปยิ่งทำให้ค่าลงทุนสูงขึ้น
“บอร์ดกทท.มีกำหนดจะประชุมในวันที่ 25 มี.ค.นี้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรอมติครม.อย่างเป็นทางการ เรื่องนี้หากครม.มีความเห็นอย่างไรกทท.พร้อมปฏิบัติตาม”แหล่งข่าวกล่าว
สำหรับมาตรการช่วยเหลือฮัทชิสันฯ จะปรับเกลี่ยการชำระผลประโยชน์ตอบแทนรายปีให้กทท. ในปีที่ 4-10 ลงรวมเป็นเงิน 3,720 ล้านบาท และเพิ่มการชำระในปีที่ 11-30 ขึ้นรวมเป็นเงิน 12,201 ล้านบาท ซึ่งรวมตลอดอายุสัญญา กทท.จะได้รับเงินเพิ่ม 8,481 ล้านบาท หรือจากเดิมที่ได้รับ 61,924 ล้านบาท เป็น 70,405 ล้านบาท โดยมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่าเดิม
สรุปแนวทางประกันบุคคลที่3จากสินค้าอันตรายใน 15วัน
นายเกื้อกูลกล่าวว่า วานนี้ (16 มี.ค.) ได้ประชุมร่วมกับผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางเรือ เจ้าของเรือ ผู้นำเข้าส่งออก เจ้าของสินค้าและสมาคมประกันภัย เพื่อกำหนดแนวทางการจัดให้มีการประกันภัยคุ้มครองบุคคลที่สามที่ได้รับอันตรายจากการขนถ่ายสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ โดยได้รับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งพบว่า ท่าเรือ เจ้าของเรือ มีการทำประกันภัยแต่สินค้าอันตรายไม่มีประกันภัย ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุจึงมีผลกระทบมากและไม่มีการเยียวยา โดยเบื้องต้น มี 2 แนวทางคือ การตั้งกองทุน หรือการทำประกันภัย โดยจะกำหนดวงเงินคุ้มครองสูงแต่คิดเบี้ยต่ำเนื่องจากการเกิดเหตุไม่บ่อย โดยให้กรมเจ้าท่ารวบรวมข้อมูลความเห็นทั้งหมดสรุปภายใน 15 วัน
ทั้งนี้สืบเนื่องจากกรณีเหตุการณ์สารเคมีลุกไหม้ภายในตู้สินค้าบริเวณลานวางตู้สินค้าท่าเทียบเรือบี 3 ของบริษัท อีสเทิร์นซี แหลมฉบัง เทอร์มินอล จำกัด (ESCO) มีผู้เสียชีวิต 1 ราย มีผู้มีอาการผิดปกติจากการสูดดมกลิ่นจำนวนกว่า 70 ราย
นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า กรณีที่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2554 มีมติให้ทบทวนมาตรการให้ความช่วยเหลือ บริษัท ฮัทชิสัน แหลมฉบัง เทอร์มินัล จํากัด ผู้รับสัมปทานลงทุนก่อสร้าง บริหารและประกอบกิจการท่าเรือ เอ3 ซี1 ซี2 ดี1 ดี2 และดี 3 ในเขตท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) นั้นกทท.ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนสัญญาสัมปทานของพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานและดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ. ร่วมทุนฯ 35) ซึ่งผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการตามมาตรา 22 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ35 และสรุปแนวทางการช่วยเหลือต่อคณะกรรมการ(บอร์ด)กทท. จากนั้นตนในฐานะรมต.ที่กำกับดูแลกทท.พิจารณาแล้วเห็นว่ารัฐไม่เสียประโยชน์ จึงเสนอเข้าครม.ซึ่งเป็นไปตามที่กฤษฎีกาให้ดำเนินการเนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ
“”เมื่อครม.ยังเห็นว่าเอกสารยังไม่ครบถ้วน จึงให้กทท.นำเสนอที่ประชุมบอร์ดอีกครั้งไม่เสียหายอะไร ส่วนในรายละเอียดได้มีการพิจารณาจากคณะกรรมการมาตรา 22 ก็ต้องถือว่าจบแล้ว อีกทั้งคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(กนร.) ซึ่งมีนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้เห็นชอบเรื่องนี้แล้วจากนี้ก็ขึ้นกับครม.ว่าจะมีมติอย่างไร”นายเกื้อกูลกล่าว
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่าเอกชนที่ร่วมประมูลจะยื่นฟ้องกทท.หากมีการปรับแก้สัญญาสัมปทานของฮัทชิสันนั้นนายเกื้อกูลกล่าวว่า ตนไม่ทราบเรื่องนี้แต่มาตรการช่วยเหลือดังกล่าวเป็นไปตามขั้นตอนของพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ35 โดยดูที่ประโยชน์ของรัฐเป็นหลัก ซึ่งเมื่อช่วยเหลือเอกชนแล้วผลประโยชน์ตอบแทนที่รัฐได้รับไม่ลดลง ส่วนเอกชนจะได้ประประโยชน์มากขึ้นจากกรณีชะลอการขยายเวลาก่อสร้างท่าเทียบเรือดี1 ดี2 และดี3 จากกำหนดเดิมแล้วเสร็จในปี 2554 เป็นปี 2560นั้น เห็นว่าเมื่อเอกชนลงทุนช้าก็ได้รายได้ช้าลง ประเด็นสำคัญอยู่ที่เอกชนต้องทำให้เสร็จและสามารถรองรับสินค้าได้ และทลฉ.จะต้องไม่มีปัญหาเรื่องความแออัด
ชี้ถ้าถูก”ฮัทชิสันฯ”ฟ้องจะเสียหายมากกว่า
ด้านแหล่งข่าวจากกทท.กล่าวว่า ถ้ารัฐถูกฮัทชิสันฯฟ้องจะเสียหายมากกว่าถูกเอกชนรายอื่นฟ้องแน่นอน ซึ่งการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ ฮัทชิสันฯ เป็นไปตามหลักการเยียวยาซึ่งไม่ต้องช่วยเหลือก็ได้แต่จะกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของต่างชาติแน่นอน ซึ่งหลังจากฮัทชิสันฯ ได้เสนอขอความช่วยเหลือกรณีได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2551โดยคณะกรรมการมาตรา 22 พิจารณาแนวทางช่วยเหลือโดยยึดมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เป็นหลัก ส่วนกรณีที่ระบุว่าเอกชนได้ประโยชน์จากการชะลอลงทุนท่าเทียบเรือดี1 ดี2 และดี3 นั้นเห็นว่าการที่ยืดเวลาลงทุนออกไปยิ่งทำให้ค่าลงทุนสูงขึ้น
“บอร์ดกทท.มีกำหนดจะประชุมในวันที่ 25 มี.ค.นี้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรอมติครม.อย่างเป็นทางการ เรื่องนี้หากครม.มีความเห็นอย่างไรกทท.พร้อมปฏิบัติตาม”แหล่งข่าวกล่าว
สำหรับมาตรการช่วยเหลือฮัทชิสันฯ จะปรับเกลี่ยการชำระผลประโยชน์ตอบแทนรายปีให้กทท. ในปีที่ 4-10 ลงรวมเป็นเงิน 3,720 ล้านบาท และเพิ่มการชำระในปีที่ 11-30 ขึ้นรวมเป็นเงิน 12,201 ล้านบาท ซึ่งรวมตลอดอายุสัญญา กทท.จะได้รับเงินเพิ่ม 8,481 ล้านบาท หรือจากเดิมที่ได้รับ 61,924 ล้านบาท เป็น 70,405 ล้านบาท โดยมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่าเดิม
สรุปแนวทางประกันบุคคลที่3จากสินค้าอันตรายใน 15วัน
นายเกื้อกูลกล่าวว่า วานนี้ (16 มี.ค.) ได้ประชุมร่วมกับผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางเรือ เจ้าของเรือ ผู้นำเข้าส่งออก เจ้าของสินค้าและสมาคมประกันภัย เพื่อกำหนดแนวทางการจัดให้มีการประกันภัยคุ้มครองบุคคลที่สามที่ได้รับอันตรายจากการขนถ่ายสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ โดยได้รับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งพบว่า ท่าเรือ เจ้าของเรือ มีการทำประกันภัยแต่สินค้าอันตรายไม่มีประกันภัย ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุจึงมีผลกระทบมากและไม่มีการเยียวยา โดยเบื้องต้น มี 2 แนวทางคือ การตั้งกองทุน หรือการทำประกันภัย โดยจะกำหนดวงเงินคุ้มครองสูงแต่คิดเบี้ยต่ำเนื่องจากการเกิดเหตุไม่บ่อย โดยให้กรมเจ้าท่ารวบรวมข้อมูลความเห็นทั้งหมดสรุปภายใน 15 วัน
ทั้งนี้สืบเนื่องจากกรณีเหตุการณ์สารเคมีลุกไหม้ภายในตู้สินค้าบริเวณลานวางตู้สินค้าท่าเทียบเรือบี 3 ของบริษัท อีสเทิร์นซี แหลมฉบัง เทอร์มินอล จำกัด (ESCO) มีผู้เสียชีวิต 1 ราย มีผู้มีอาการผิดปกติจากการสูดดมกลิ่นจำนวนกว่า 70 ราย