ASTVผู้จัดการรายวัน - ร.ฟ.ท.หารือสบน.สรุปแหล่งเงินจ้างที่ปรึกษาออกแบบ รถไฟทางคู่ 3 เส้นทาง วงเงิน 355 ล้านบาท หลังแห้วงบไทยเข้มแข็ง เผย คัดเลือกที่ปรึกษาได้แล้วแต่เซ็นสัญญาจ้างไม่ได้ เพราะไม่มีเงิน ลุ้นคลังเจียดงบประมาณปี 55 ให้แทนกู้ คาดต้องขยับแผนก่อสร้างไปเริ่มปี 55
นายกมล ตั้งกิจเจริญชัย รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ฃณะนี้ ร.ฟ.ท.ได้คัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดและประมาณค่าก่อสร้างและทบทวนผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 3 เส้นทาง คือ 1. ลพบุรี-ปากน้ำโพ 2. สายมาบกะเบา-นครราชสีมาและสาย 3. นครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน เรียบร้อยแล้ว โดยมีวงเงินค่าจ้างรวมประมาณ 355 ล้านบาทแต่ยังไม่สามารถทำสัญญาได้ เนื่องจากไม่มีงบประมาณว่าจ้าง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้เสนอขอใช้งบไทยเข้มแข็งปี 2555 ดำเนินการแต่ไม่ได้รับการจัดสรร โดยในวันนี้ (28 มิ.ย.) จะหารือกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เพื่อหาข้อสรุปแหล่งเงินว่าจ้างที่ปรึกษาซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณปี 2555 และ จะรายงานความคืบหน้าต่อที่ประชุมคณะกรรมการ ร.ฟ.ท. (บอร์ด) ที่มีนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน ในวันที่ 29 มิ.ย. 54 นี้ด้วย
แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า คาดว่าการศึกษาออกแบบจะเสร็จในปี 2555 หลังจากนั้นจึงจะประกวดราคาได้ โดยใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี ซึ่งขณะนี้ ได้จัดเตรียมเอกสารสำหรับประกวดราคาไว้แล้ว โดยสามารถเปิดประกวดราคา แบบรวม สัญญาเดียวต่อ 1 เส้นทางได้ หรือแบ่งย่อยสัญญาก่อสร้างออกเป็นสัญญาละ 30-40 กิโลเมตรก็ได้ ซึ่งในภาพรวมจะใช้เวลาก่อสร้างไม่แตกต่างกันมากนัก เนื่องจากงานที่จะใช้เวลานานส่วนใหญ่คือ ช่วงที่เป็นสะพานหรืออุโมงค์
สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ มีทั้งหมด 5 เส้นทาง ระยะทางรวม 767 กิโลเมตร มูลค่า 6.6 หมื่นล้านบาท เป็นไปตามแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ของวงเงิน 176,808 ล้านบาท โดย ร.ฟ.ท.รับผิดชอบศึกษาออกแบบเอง 3 เส้นทาง ประกอบด้วย เส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วงมาบกะเบา-ถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 11,640 ล้านบาท วงเงินค่าจ้างที่ปรึกษา 135 ล้านบาท สายเหนือช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 118 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 7,860 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษา 90 ล้านบาท สายใต้ ช่วงนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 16,600 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษา 130 ล้านบาท
ส่วนอีก 2 เส้นทาง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นผู้ศึกษาออกแบบ คือ ออกแบบรายละเอียดคือ สายนครราชสีมา-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 13,010 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาวงเงิน 150 ล้านบาท และสายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 17,000 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาวงเงิน 164 ล้านบาท
นายกมล ตั้งกิจเจริญชัย รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ฃณะนี้ ร.ฟ.ท.ได้คัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดและประมาณค่าก่อสร้างและทบทวนผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 3 เส้นทาง คือ 1. ลพบุรี-ปากน้ำโพ 2. สายมาบกะเบา-นครราชสีมาและสาย 3. นครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน เรียบร้อยแล้ว โดยมีวงเงินค่าจ้างรวมประมาณ 355 ล้านบาทแต่ยังไม่สามารถทำสัญญาได้ เนื่องจากไม่มีงบประมาณว่าจ้าง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้เสนอขอใช้งบไทยเข้มแข็งปี 2555 ดำเนินการแต่ไม่ได้รับการจัดสรร โดยในวันนี้ (28 มิ.ย.) จะหารือกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เพื่อหาข้อสรุปแหล่งเงินว่าจ้างที่ปรึกษาซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณปี 2555 และ จะรายงานความคืบหน้าต่อที่ประชุมคณะกรรมการ ร.ฟ.ท. (บอร์ด) ที่มีนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน ในวันที่ 29 มิ.ย. 54 นี้ด้วย
แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า คาดว่าการศึกษาออกแบบจะเสร็จในปี 2555 หลังจากนั้นจึงจะประกวดราคาได้ โดยใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี ซึ่งขณะนี้ ได้จัดเตรียมเอกสารสำหรับประกวดราคาไว้แล้ว โดยสามารถเปิดประกวดราคา แบบรวม สัญญาเดียวต่อ 1 เส้นทางได้ หรือแบ่งย่อยสัญญาก่อสร้างออกเป็นสัญญาละ 30-40 กิโลเมตรก็ได้ ซึ่งในภาพรวมจะใช้เวลาก่อสร้างไม่แตกต่างกันมากนัก เนื่องจากงานที่จะใช้เวลานานส่วนใหญ่คือ ช่วงที่เป็นสะพานหรืออุโมงค์
สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ มีทั้งหมด 5 เส้นทาง ระยะทางรวม 767 กิโลเมตร มูลค่า 6.6 หมื่นล้านบาท เป็นไปตามแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ของวงเงิน 176,808 ล้านบาท โดย ร.ฟ.ท.รับผิดชอบศึกษาออกแบบเอง 3 เส้นทาง ประกอบด้วย เส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วงมาบกะเบา-ถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 11,640 ล้านบาท วงเงินค่าจ้างที่ปรึกษา 135 ล้านบาท สายเหนือช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 118 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 7,860 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษา 90 ล้านบาท สายใต้ ช่วงนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 16,600 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษา 130 ล้านบาท
ส่วนอีก 2 เส้นทาง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นผู้ศึกษาออกแบบ คือ ออกแบบรายละเอียดคือ สายนครราชสีมา-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 13,010 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาวงเงิน 150 ล้านบาท และสายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 17,000 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาวงเงิน 164 ล้านบาท