ASTVผู้จัดการรายวัน - “ปิยสวัสดิ์”ส่งสัญญาณเตือนไทยรับมือน้ำมัน- ก๊าซฯราคาแพงถาวรในระยะยาวหลังนิวเคลียร์ญี่ปุ่นทำให้ทั่วโลกอาจต้องทบทวนผลิตไฟจากนิวเคลียร์ชะงักไปเป็นสิบๆ ปี จวกไทยอีก 200 ปีก็ทำนิวเคลียร์ไม่ได้อยู่แล้วหากก.พลังงานยังทำงานเช่นปัจจุบัน แนะรัฐทำเฮดจิ้งน้ำมันแทนใช้กองทุนฯตรึง
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.การบินไทย และอดีตรมว.พลังงาน กล่าวบรรยายพิเศษเรื่อง “ข้อเท็จจริงสถานการณ์พลังงานของประเทศไทย” ในงานสัมมนา Energy Forum วานนี้ (30 มี.ค.) ว่า กรณีปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่นก่อให้เกิดกระแสหลายประเทศทั่วโลกต้องทบทวนแผนก่อสร้างเช่นเดียวกับไทย ซึ่งคาดว่าการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่คงจะหยุดชะงักไปนับ 10 ปีและสิ่งที่จะตามมาคือราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจะสูงขึ้นอย่างถาวร
“ความวิตกว่าปัญหาตะวันออกกลางจะบานปลายทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นมาก ดีเซลขณะนี้ขึ้นไปถึง 130เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลราคาใกล้เคียงกับปี 2551 เมื่อนิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่นทำให้ทุกฝ่ายวิตกเพิ่มอีกจะทำให้ประเทศที่ไม่มีแหล่งพลังงานเป็นของตนเองรวมถึงไทยจะต้องมองไปที่นำมันและก๊าซธรรมชาตินำเข้าในรูปของก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) สิ่งที่เกิดขึ้นคือน้ำมันและก๊าซฯ แพงไปด้วย” นายปิยสวัสดิ์กล่าว
ทั้งนี้ข้อเท็จจริงของพลังงานไทย คือ คนไทยไม่รับฟังความเห็นที่ต่างกันได้การที่จะเดินต่อไปว่าจะเอาอะไรมาผลิตไฟจึงทำได้ยากมาก เมื่อมีปัญหากรณีนิวเคลียร์ญี่ปุ่นเกิดขึ้นยิ่งที่จะทำให้การทำความเข้าใจยิ่งยากไปอีก แต่ไทยควรเปิดไว้เป็นทางเลือกในอนาคตระยะยาวไม่ควรจะปิดประตู แต่ระยะสั้นคงต้องทบทวนเพราะถึงอย่างไรขั้นตอนต่างๆ ทั้งการเตรียมกฏหมายกำกับดูแล กำลังคน การทำความเข้าใจกับประชาชน เหล่านี้กระทรวงพลังงานไม่ได้ทำอะไรเลยถ้าเป็นเช่นนี้อีก 200 ปีไทยก็ยังไม่มีนิวเคลียร์
นอกจากนี้ หลายคนระบุว่าไทยไม่จำเป็นจะต้องมีนิวเคลียร์และถ่านหินหากมีแผนที่จะเน้นไปที่พลังงานทดแทนให้มากกว่านี้ ข้อเท็จจริงก็คือ ที่ผ่านมารัฐได้กำหนดนโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทนไว้ค่อนข้างสูงแล้วและอธิบายเท่าไรก็ไม่ยอมเข้าใจไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ พลังงานจากชีวมวล ลม แสงอาทิตย์ การผลิตไฟฟ้าจากเอกชนรายกลางและเล็กหรือ SPP โดยมีมาตรการจูงใจโดยเฉพาะส่วนเพิ่มค่ารับซื้อไฟ(ADDER)เพียงแต่ไทยไม่ได้เรียกว่า Feed in Tariff เท่านั้น
“เราสามารถส่งเสริมได้อีกแต่ข้อจำกัดคือราคาพลังงานทดแทนแพงอย่างไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เรายอมรับได้หรือไม่เพราะค่าไฟเฉลี่ย 15 บาทต่อหน่วยถ้าติดตั้งกันหมด ขณะเดียวกันเราเองก็ต้องมีแผนประหยัดพลังงานที่ระยะหลังหายไปเลย และสำคัญสุดนโยบายพลังงานทดแทนนี่จะต้องชัดเจนไม่ใช่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอย่างนี้ ”นายปิยสวัสดิ์กล่าว
**แนะทำเฮดจิ้งน้ำมัน
สำหรับสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ทรงตัวระดับสูงนั้นเห็นว่ากระทรวงพลังงานควรจะปล่อยให้ลอยตัวตามตลาดโลกแต่หากจำเป็นจะต้องดูแลจริงก็ไม่ผิดอะไรแต่ควรจะใช้เครื่องมือใหม่ๆเข้ามาบริหารแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเช่นการทำประกันความเสี่ยงหรือเฮดจิ้งซึ่งสายการบินก็ทำกันแต่ยอมรับว่าหากราคาน้ำมันตกก็จะต้องยอมจ่ายในราคาต่ำสุดที่ทำประกันไว้ซึ่งที่ผ่านมาหากบริหารดีๆ การบินไทยเองก็ไม่เคยราคาต่ำกว่าเพดานที่ทำไว้เลย
น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงานกล่าวว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะเกิดขึ้นได้หรือไม่นั้นท้ายสุดอยู่ที่การตัดสินใจของประชาชนเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามก็ต้องยอมรับว่าหากไม่มีนิวเคลียร์ก็จะต้องหาทางเลือกอื่นเข้ามาผลิตไฟซึ่งก๊าซฯเราพึ่งพิงสูงถึง 71% ขณะที่ถ่านหินสะอาดน่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ไทยเองจะต้องมาดู
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมันกล่าวว่า ไทยใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟติดอันดับโลกโดยสูงถึง 71% โดยในจำนวนนี้ 25% เป็นการพึ่งพิงก๊าซฯจากพม่าที่ถือเป็นความเสี่ยง การที่นิวเคลียร์ญี่ปุ่นมีปัญหาทำให้ต่อไปจะมีการเข้าไปซื้อแอลเอ็นจีกันมากขึ้นแนวโน้มจะมีราคาแพงซึ่งไทยเองควรจะมองในเรื่องของถ่านหิน การซื้อไฟเพื่อนบ้าน การลดการใช้ไฟแต่ท้ายสุดอนาคตหากเทคโนโลยียังไม่พัฒนาไปไกลกว่านี้นิวเคลียร์ก็จะยังเป็นคำตอบที่มีอยู่
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.การบินไทย และอดีตรมว.พลังงาน กล่าวบรรยายพิเศษเรื่อง “ข้อเท็จจริงสถานการณ์พลังงานของประเทศไทย” ในงานสัมมนา Energy Forum วานนี้ (30 มี.ค.) ว่า กรณีปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่นก่อให้เกิดกระแสหลายประเทศทั่วโลกต้องทบทวนแผนก่อสร้างเช่นเดียวกับไทย ซึ่งคาดว่าการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่คงจะหยุดชะงักไปนับ 10 ปีและสิ่งที่จะตามมาคือราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจะสูงขึ้นอย่างถาวร
“ความวิตกว่าปัญหาตะวันออกกลางจะบานปลายทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นมาก ดีเซลขณะนี้ขึ้นไปถึง 130เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลราคาใกล้เคียงกับปี 2551 เมื่อนิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่นทำให้ทุกฝ่ายวิตกเพิ่มอีกจะทำให้ประเทศที่ไม่มีแหล่งพลังงานเป็นของตนเองรวมถึงไทยจะต้องมองไปที่นำมันและก๊าซธรรมชาตินำเข้าในรูปของก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) สิ่งที่เกิดขึ้นคือน้ำมันและก๊าซฯ แพงไปด้วย” นายปิยสวัสดิ์กล่าว
ทั้งนี้ข้อเท็จจริงของพลังงานไทย คือ คนไทยไม่รับฟังความเห็นที่ต่างกันได้การที่จะเดินต่อไปว่าจะเอาอะไรมาผลิตไฟจึงทำได้ยากมาก เมื่อมีปัญหากรณีนิวเคลียร์ญี่ปุ่นเกิดขึ้นยิ่งที่จะทำให้การทำความเข้าใจยิ่งยากไปอีก แต่ไทยควรเปิดไว้เป็นทางเลือกในอนาคตระยะยาวไม่ควรจะปิดประตู แต่ระยะสั้นคงต้องทบทวนเพราะถึงอย่างไรขั้นตอนต่างๆ ทั้งการเตรียมกฏหมายกำกับดูแล กำลังคน การทำความเข้าใจกับประชาชน เหล่านี้กระทรวงพลังงานไม่ได้ทำอะไรเลยถ้าเป็นเช่นนี้อีก 200 ปีไทยก็ยังไม่มีนิวเคลียร์
นอกจากนี้ หลายคนระบุว่าไทยไม่จำเป็นจะต้องมีนิวเคลียร์และถ่านหินหากมีแผนที่จะเน้นไปที่พลังงานทดแทนให้มากกว่านี้ ข้อเท็จจริงก็คือ ที่ผ่านมารัฐได้กำหนดนโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทนไว้ค่อนข้างสูงแล้วและอธิบายเท่าไรก็ไม่ยอมเข้าใจไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ พลังงานจากชีวมวล ลม แสงอาทิตย์ การผลิตไฟฟ้าจากเอกชนรายกลางและเล็กหรือ SPP โดยมีมาตรการจูงใจโดยเฉพาะส่วนเพิ่มค่ารับซื้อไฟ(ADDER)เพียงแต่ไทยไม่ได้เรียกว่า Feed in Tariff เท่านั้น
“เราสามารถส่งเสริมได้อีกแต่ข้อจำกัดคือราคาพลังงานทดแทนแพงอย่างไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เรายอมรับได้หรือไม่เพราะค่าไฟเฉลี่ย 15 บาทต่อหน่วยถ้าติดตั้งกันหมด ขณะเดียวกันเราเองก็ต้องมีแผนประหยัดพลังงานที่ระยะหลังหายไปเลย และสำคัญสุดนโยบายพลังงานทดแทนนี่จะต้องชัดเจนไม่ใช่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอย่างนี้ ”นายปิยสวัสดิ์กล่าว
**แนะทำเฮดจิ้งน้ำมัน
สำหรับสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ทรงตัวระดับสูงนั้นเห็นว่ากระทรวงพลังงานควรจะปล่อยให้ลอยตัวตามตลาดโลกแต่หากจำเป็นจะต้องดูแลจริงก็ไม่ผิดอะไรแต่ควรจะใช้เครื่องมือใหม่ๆเข้ามาบริหารแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเช่นการทำประกันความเสี่ยงหรือเฮดจิ้งซึ่งสายการบินก็ทำกันแต่ยอมรับว่าหากราคาน้ำมันตกก็จะต้องยอมจ่ายในราคาต่ำสุดที่ทำประกันไว้ซึ่งที่ผ่านมาหากบริหารดีๆ การบินไทยเองก็ไม่เคยราคาต่ำกว่าเพดานที่ทำไว้เลย
น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงานกล่าวว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะเกิดขึ้นได้หรือไม่นั้นท้ายสุดอยู่ที่การตัดสินใจของประชาชนเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามก็ต้องยอมรับว่าหากไม่มีนิวเคลียร์ก็จะต้องหาทางเลือกอื่นเข้ามาผลิตไฟซึ่งก๊าซฯเราพึ่งพิงสูงถึง 71% ขณะที่ถ่านหินสะอาดน่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ไทยเองจะต้องมาดู
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมันกล่าวว่า ไทยใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟติดอันดับโลกโดยสูงถึง 71% โดยในจำนวนนี้ 25% เป็นการพึ่งพิงก๊าซฯจากพม่าที่ถือเป็นความเสี่ยง การที่นิวเคลียร์ญี่ปุ่นมีปัญหาทำให้ต่อไปจะมีการเข้าไปซื้อแอลเอ็นจีกันมากขึ้นแนวโน้มจะมีราคาแพงซึ่งไทยเองควรจะมองในเรื่องของถ่านหิน การซื้อไฟเพื่อนบ้าน การลดการใช้ไฟแต่ท้ายสุดอนาคตหากเทคโนโลยียังไม่พัฒนาไปไกลกว่านี้นิวเคลียร์ก็จะยังเป็นคำตอบที่มีอยู่