ASTVผู้จัดการรายวัน - พลังงานเสนอทางเลือกตรึงราคาดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตรจนถึง เม.ย. ตามนโยบายมาร์ค ทั้งขยายเพดานดีเซลและลดภาษีสรรพสามิตและทางเลือกสุดท้ายคือกู้เงินซ้ำรอยรัฐบาลทักษิณ หลังฐานะกองทุนน้ำมันฯพยุงได้แค่สิ้นมี.ค.นี้เท่านั้น คาดต้องใช้เงินอุ้มถึง เม.ย.อีกไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท "มาร์ค" เรียกประชุมวันนี้
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีมีนโยบายชัดเจนว่าจะยังคงตรึงเพดานราคาดีเซลไม่ให้เกินระดับ 30 บาทต่อลิตรไปจนถึงเดือนเม.ย.แต่ขณะนี้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหลือเพียง 7,000 ล้านบาทจะสามารถตรึงราคาได้เพียงเดือนมี.ค.นี้ ด้งนั้น กระทรวงพลังงาน จะเสนอ มาตรการรองรับนโยบายดังกล่าว ต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พิจารณาในวันนี้ (7 มี.ค.)
สำหรับแนงทางเบื้องต้นคือ 1.ปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงจากขณะนี้ที่เก็บสูงถึง 5.30 บาท/ลิตร 2. ปรับเพิ่มเพดานการชดเชยดีเซลจาก 30 บาท/ลิตร หากนายกฯไม่เอาทั้ง 2 แนวทาง แนวทางที่ 3 จะเป็นแนวสุดท้ายที่จะนำมาใช้คือ ให้กองทุนน้ำมันฯ กู้เงินมาชดเชยราคาดีเซลซึ่งอดีตเคยดำเนินการมาแล้วในสมัยอดีตรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร
อย่างไรก็ตามจะต้องประเมินสถานการณ์น้ำมันให้ดีเพราะหากเหตุการณ์ตะวันออกกลางไม่จบง่ายและลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ จนถึงขั้นปิดอ่าวเปอร์เซียจะส่งผลให้ราคาน้ำมันตลาดโลกสูงขึ้นมากซึ่งบางสำนักวิเคราะห์ว่าจะแตะถึง 200 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลก็จะมีผลให้การกู้เงินเป็นจำนวนมากและท้ายสุดก็จะเป็นภาระต่อประชาชนอยู่ดี
“ขณะนี้กองทุนน้ำมันฯ เข้ามาตรึงดีเซลไว้ที่ 5 บาท/ลิตร คิดเป็นเงินวันละ 265 ล้านบาท หรือคิดเป็นเงินเดือนละ 7,950 ล้านบาท ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีนโยบายตรึงดีเซลถึงเม.ย.ซึ่งประเมินจะต้องใช้เงินอีกไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท
ซึ่งเดิมทีคิดว่าสถานการณ์ในลิเบียจะจบลงและราคาน้ำมันจะลดลงมากแต่ยอมรับว่าสถานการณ์เปลี่ยนไปและอยู่ในภาวะไม่ปกตินักจึงต้องหารือกับกพช.ว่าจะใช้แนวทางใด ซึ่งขณะนี้น้ำมันดิบสูงถึง 110 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล แต่ถ้าลุกลามถึงขั้นปิดอ่าวเปอร์เซียน้ำมันก็จะอยู่ในอัตราที่สูง ซึ่งจะทำให้ภาระการชดเชยจะสูงมากขึ้นตามไปด้วย”แหล่งข่าวกล่าว
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กล่าวว่า หากการใช้เงินกองทุนน้ำมันฯเพื่อดูแลราคาดีเซลจนหมดแล้วรัฐบาลก็ควรจะยกเลิกมาตรการตรึงราคาโดยปล่อยให้เป็นกลไกตลาดโดยรัฐบาลควรจะอธิบายเหตุผลให้เข้าใจเพราะถือว่าก็ได้ตรึงราคามาแล้ว หากรัฐบาลตัดสินใจใช้แนวทางการกู้เงินมาชดเชยราคาดีเซลจะเป็นเดินซ้ำรอยรัฐบาลทักษิณที่ทุ่มเงินตรึงราคาดีเซลจนเป็นหนี้กว่า 9 หมื่นล้านบาท และการทุ่มเงินมาอุดหนุนดีเซลไม่ถือว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้อง และไม่ใช่การแก้ปัญหาในระยะยาว ทั้งนี้มองว่าสถานการณ์ด้านราคาน้ำมันคงไม่เลวร้ายเท่ากับที่เกิดขึ้นในปี51 ที่ราคาอยู่ในระดับ 140 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
***นายกฯเรียกประชุมวันนี้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้ (7 มี.ค.) จะหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริหารเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีความเหมาะสม ในการดูแลราคาน้ำมันดีเซล ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์(NGV) ไม่ให้มีผลกระทบต่อประชาชน โดยจะพุดคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า การคำนวนเงินกองทุนจะเอาหลักเกณฑ์อะไร เรื่องหนี้สินจะคำนวนล่วงหน้าหรือจะเอาแบบเดือนต่อเดือนอย่างไร เพื่อให้ชัดเจนในมาตรการของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันดีเซล
สำหรับกรณีมีข่าวระบุว่า ขณะนี้กองทุนน้ำมันฯปรับลดเหลือราว 7 พันล้านบาท นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่า มีการนำเงินที่ต้องนำไปอุดหนุนราคาพลังงานทดแทน, อุดหนุนส่วนต่างราคานำเข้าก๊าซ LPG และอุดหนุนราคาก๊าซ NGV ถึงเดือน มิ.ย. มาคำนวณล่วงหน้า ดังนั้นต้องหารือถึงแนวทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ และได้มอบหมายให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องและกระทรวงการคลัง หามาตรการช่วยเหลือ เพิ่มเติมมาเสนอในที่ประชุมฯ ด้วย อย่างไรก็ตาม ต้องประเมินราคาตลาดโลกด้วยว่าเป็นอย่างไร เนื่องจากขณะนี้ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีราคาสูง จากเหตุความไม่สงบในภูมิภาคตะวันออกกลาง.
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีมีนโยบายชัดเจนว่าจะยังคงตรึงเพดานราคาดีเซลไม่ให้เกินระดับ 30 บาทต่อลิตรไปจนถึงเดือนเม.ย.แต่ขณะนี้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหลือเพียง 7,000 ล้านบาทจะสามารถตรึงราคาได้เพียงเดือนมี.ค.นี้ ด้งนั้น กระทรวงพลังงาน จะเสนอ มาตรการรองรับนโยบายดังกล่าว ต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พิจารณาในวันนี้ (7 มี.ค.)
สำหรับแนงทางเบื้องต้นคือ 1.ปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงจากขณะนี้ที่เก็บสูงถึง 5.30 บาท/ลิตร 2. ปรับเพิ่มเพดานการชดเชยดีเซลจาก 30 บาท/ลิตร หากนายกฯไม่เอาทั้ง 2 แนวทาง แนวทางที่ 3 จะเป็นแนวสุดท้ายที่จะนำมาใช้คือ ให้กองทุนน้ำมันฯ กู้เงินมาชดเชยราคาดีเซลซึ่งอดีตเคยดำเนินการมาแล้วในสมัยอดีตรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร
อย่างไรก็ตามจะต้องประเมินสถานการณ์น้ำมันให้ดีเพราะหากเหตุการณ์ตะวันออกกลางไม่จบง่ายและลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ จนถึงขั้นปิดอ่าวเปอร์เซียจะส่งผลให้ราคาน้ำมันตลาดโลกสูงขึ้นมากซึ่งบางสำนักวิเคราะห์ว่าจะแตะถึง 200 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลก็จะมีผลให้การกู้เงินเป็นจำนวนมากและท้ายสุดก็จะเป็นภาระต่อประชาชนอยู่ดี
“ขณะนี้กองทุนน้ำมันฯ เข้ามาตรึงดีเซลไว้ที่ 5 บาท/ลิตร คิดเป็นเงินวันละ 265 ล้านบาท หรือคิดเป็นเงินเดือนละ 7,950 ล้านบาท ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีนโยบายตรึงดีเซลถึงเม.ย.ซึ่งประเมินจะต้องใช้เงินอีกไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท
ซึ่งเดิมทีคิดว่าสถานการณ์ในลิเบียจะจบลงและราคาน้ำมันจะลดลงมากแต่ยอมรับว่าสถานการณ์เปลี่ยนไปและอยู่ในภาวะไม่ปกตินักจึงต้องหารือกับกพช.ว่าจะใช้แนวทางใด ซึ่งขณะนี้น้ำมันดิบสูงถึง 110 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล แต่ถ้าลุกลามถึงขั้นปิดอ่าวเปอร์เซียน้ำมันก็จะอยู่ในอัตราที่สูง ซึ่งจะทำให้ภาระการชดเชยจะสูงมากขึ้นตามไปด้วย”แหล่งข่าวกล่าว
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กล่าวว่า หากการใช้เงินกองทุนน้ำมันฯเพื่อดูแลราคาดีเซลจนหมดแล้วรัฐบาลก็ควรจะยกเลิกมาตรการตรึงราคาโดยปล่อยให้เป็นกลไกตลาดโดยรัฐบาลควรจะอธิบายเหตุผลให้เข้าใจเพราะถือว่าก็ได้ตรึงราคามาแล้ว หากรัฐบาลตัดสินใจใช้แนวทางการกู้เงินมาชดเชยราคาดีเซลจะเป็นเดินซ้ำรอยรัฐบาลทักษิณที่ทุ่มเงินตรึงราคาดีเซลจนเป็นหนี้กว่า 9 หมื่นล้านบาท และการทุ่มเงินมาอุดหนุนดีเซลไม่ถือว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้อง และไม่ใช่การแก้ปัญหาในระยะยาว ทั้งนี้มองว่าสถานการณ์ด้านราคาน้ำมันคงไม่เลวร้ายเท่ากับที่เกิดขึ้นในปี51 ที่ราคาอยู่ในระดับ 140 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
***นายกฯเรียกประชุมวันนี้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้ (7 มี.ค.) จะหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริหารเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีความเหมาะสม ในการดูแลราคาน้ำมันดีเซล ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์(NGV) ไม่ให้มีผลกระทบต่อประชาชน โดยจะพุดคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า การคำนวนเงินกองทุนจะเอาหลักเกณฑ์อะไร เรื่องหนี้สินจะคำนวนล่วงหน้าหรือจะเอาแบบเดือนต่อเดือนอย่างไร เพื่อให้ชัดเจนในมาตรการของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันดีเซล
สำหรับกรณีมีข่าวระบุว่า ขณะนี้กองทุนน้ำมันฯปรับลดเหลือราว 7 พันล้านบาท นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่า มีการนำเงินที่ต้องนำไปอุดหนุนราคาพลังงานทดแทน, อุดหนุนส่วนต่างราคานำเข้าก๊าซ LPG และอุดหนุนราคาก๊าซ NGV ถึงเดือน มิ.ย. มาคำนวณล่วงหน้า ดังนั้นต้องหารือถึงแนวทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ และได้มอบหมายให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องและกระทรวงการคลัง หามาตรการช่วยเหลือ เพิ่มเติมมาเสนอในที่ประชุมฯ ด้วย อย่างไรก็ตาม ต้องประเมินราคาตลาดโลกด้วยว่าเป็นอย่างไร เนื่องจากขณะนี้ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีราคาสูง จากเหตุความไม่สงบในภูมิภาคตะวันออกกลาง.