ASTVผู้จัดการรายวัน - ภาคเหนือผวา-หลังแผ่นดินไหวแรง 6.7 ริกเตอร์ชายแดนพม่า ด้าน“สมิทธ” เชื่อกัมมันตรังสีจากญี่ปุ่นถึงไทยช่วงปลายปีแต่ไม่อันตรายมาก พร้อมชี้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จำเป็น แนะรัฐให้ความรู้ภาคประชาชนก่อนเดินหน้าโครงการ ขณะที่ภาค ปชช.รุมค้านไม่เอา หากทำจริงให้สร้างใน กทม. เหตุใช้ไฟเยอะสุด “มาร์ค” เตรียมตรวจสินค้าตลาดคลองเตยหาสารปนเปื้อน ยันทบทวนแผนสร้างนิวเคลียร์ในไทย ด้าน “กษิต” ยันเร่งช่วยคนไทยติดค้างในญี่ปุ่นกลับไทย ภาพรวมภัยพิบัติในญี่ปุ่นมีต่อไทย คาดเศรษฐกิจลดลง 0.2% ส่งออกลดลงเหลือ 2.25 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ด้านสาธารณสุขสั่งตรวจเข้มผักและผลไม้
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานการตรวจพบแผ่นดินไหวเมื่อเวลา 20.55 น. วานนี้ (24 เม.ย.) ที่บริเวณประเทศพม่า (20.87 N,99.91 E) ขนาด 6.7 ริกเตอร์ ห่างจากทางทิศเหนือของอ.แม่สาย จ.เชียงราย ประมาณ 56 กิโลเมตร
จากการเหตุการณ์นี้ส่งผลให้รู้สึกสั่นไหวในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ อาทิ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน ขณะที่ตึกสูงหลายแห่งในเขตกรุงเทพฯ เองก็สามารถรับรู้ถึงแรงสั่นไหวเช่นกัน
วานนี้ (24 มี.ค.) ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ทางสถานทูตประเทศต่างๆ ได้ย้ายที่ตั้งออกจากประเทศญี่ปุ่น ว่า ในส่วนของไทยยังไม่ได้คุยกันตรงนี้ ซึ่งขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ติดตามเรื่องสารกัมมันตภาพรังสีอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยมีวาระพิจารณาการมีส่วนร่วมของประชาชนกับกระบวนการทางนโยบายในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ โดยศึกษาจากบทเรียนการกรณีภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่นในการป้องกันและรับมือกับสาธารณภัย ซึ่งมี นางนิภา พริ้งศุลกะ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานกรรมาธิการ คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนเครือข่ายประชาชนไม่เอานิวเคลียร์ ร่วมแสดงความคิดเห็น
นายลภชัย ศิริภิรมย์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กล่าวว่า นับจากที่โรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่นเกิดระเบิด และสารกัมมันตภาพรังสีฟุ้งกระจายไปสู่ท้องฟ้า ทางสำนักงานฯได้ตรวจวัดค่ารังสีในไทย ล่าสุดมีค่าเท่ากับศูนย์ นอกจากนั้นได้เตรียมการป้องกันโดยจัดหน่วยงานตรวจรังสีบุคคลที่เดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่น หรือบุคคลที่สงสัยว่าจะสัมผัสกัมมันตภาพรังสี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมตัวแทนเครือข่ายประชาชนได้แสดงความเห็นทิศทางเดียวกัน คือ คัดค้านโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ เนื่องจากกังวลเรื่องอันตรายของกัมมันตภาพรังสี แต่หากหน่วยงานรัฐบาลต้องการสร้าง ขอให้ย้ายโรงงานผลิตมาในพื้นที่กรุงเทพฯ เพราะถือว่าเป็นจังหวัดที่มีสถิติการใช้ไฟฟ้าสูงที่สุด และจากสถิติการใช้ไฟฟ้าจาก 3 ห้างสรรพสินค้าใหญ่ในกระงเทพฯพบว่า ใน 1 วัน เท่ากับปริมาณการใช้ไฟฟ้าใน 16 จังหวัด
นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ถือว่ามีความจำเป็น เนื่องจาก 30-40 ปีข้างหน้า น้ำมันและก๊าซธรรมชาติจะหมดไปจากโลกนี้ ส่วนตัวมองว่าพลังงานนิวเคลียร์ เป็นพลังงานสะอาดที่สามารถใช้ทดแทนได้ ส่วนกรณีที่กลุ่มประชาชนต่อต้าน ตนมองว่าเป็นเพราะขาดความรู้ความเข้าใจในรายละเอียด หากหน่วยงานรัฐเข้าไปให้ความรู้ด้านประโยชน์และข้อเสียอย่างละเอียดประชาชนจะเข้าใจ เชื่อว่าไม่มีปัญหา
สำหรับกรณีที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ที่ญี่ปุ่นระเบิด จะส่งผลให้กัมมันตภาพรังสีที่เป็นอันตรายมาถึงไทยหรือไม่ นายสมิทธ กล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่มีแต่มีความเป็นไปได้ว่า ในช่วงปลายปีที่ลมเปลี่ยนทิศทางมาเป็นทางตะวันตกเฉียงใต้ สารกัมมันตภาพรังสีอาจมาถึงไทยได้ ส่วนความเข้มข้นหรือสามารถทำอันตรายกับประชาชนได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของรังสีที่ปล่อยออกมา เมื่อถึงเวลานั้นคงต้องตรวจวัดอีกครั้ง
**"มาร์ค"ตรวจตลาดคลอง
วันเดียวกันนายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งกระทู้ถามสดเรื่องแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ว่าอยากจะถามประเทศไทยได้ช่วยเหลือญี่ปุ่นอย่างไร และขณะนี้เรื่องสถานการณ์สารปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีที่ญี่ปุ่นได้มีการสั่งห้ามบริโภคนม และผัก จะมีผลกระทบต่อไทยหรือไม่และจะมีสารปนเปื้อนในอาหาร น้ำ และในอากาศอย่างไรบ้าง รวมถึงอยากถามว่าสารปนเปื้อนจะมาถึงไทยหรือไม่ ซึ่งอยากได้รับการยืนยันจากรัฐบาลถ้ามีจริงจะมีมาตรการป้องกันอย่างไร อีกทั้ง ประเทศไทยเคยเกิดสึนามิมาแล้วระบบเตือนภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งอยากให้รัฐบาลให้ความมั่นใจในเรื่องดังกล่าว เพราะทราบว่ายังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จึงอยากถามว่ามีการเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง
ด้าน นายกษิต ภิรมย์ รมว.การต่างประเทศ กล่าวว่า ประเทศไทยมีมาตรการช่วยเหลือ 3 ทางคือรัฐบาลไทยได้ให้งบประมาณช่วยเหลือไปแล้วกว่า 205 ล้านบาทไม่นับรวมสิ่งของ โดยบริจาคผ่านทางภาคเอกชนและมีการเปิดบัญชีธนาคารแล้วประมาณ 8-9 บัญชีและผ่านสภากาชาดไทย นอกจากนี้ เงินที่ได้รับจะทยอยส่งให้สภากาชาดของญี่ปุ่นรวมทั้งสิ่งของที่จะส่งไปก็ได้รับความร่วมมือจากกองทัพเพื่อสะดวกในการขนส่ง ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวงการต่างประเทศได้ทาบทามสายการบิน jall ด้วยกำลังรอคำตอบอยู่ ทัง้นี้ คนไทยที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นกว่า 40,900 คนมีการตรวจสอบคนไทยที่ปลอดภัยแล้วรวม 9,281 คน และเดินทางกลับไทยแล้วกว่า 9,931 คน แต่ยังคนไทยแจ้งความจำนงที่จะขอกลับประเทศไทยอีก 816 คน ซึ่งการบินไทยได้เตรียมที่นั่งไว้พร้อมแล้ว ขณะเดียวกันสถานทูตไทยในกรุงโตเกียวได้เปิดศูนย์ประสานงานไว้แล้ว นอกจากนี้ได้จัดที่พักสำรองไว้ที่เมืองโอซาก้าอีกกว่า 8,000 ที่นอนเพื่อรองรับ
ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบสารปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีใน 3 ทางคือ ทางอากาศ อาหาร และผ่านบุคคล ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการตรวจพบความผิดปกติแต่อย่างใด และรัฐบาลได้ตรวจสอบอาหารที่มาจากญี่ปุ่นก็ยังไม่พบระดับสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย และจะทำการตรวจสอบสิ้นค้าที่คลองเตยด้วย ในส่วนของคนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศยืนยันว่าเรามีกลไกติดตามอย่างละเอียดรอบคอบโดยเฉพาะผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง ส่วนเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นเราได้ทำแผนสำรองไว้แล้วโดยไม่ได้ยึดว่าจะต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในไทย ซึ่งมีเวลาอีก 2 ปีในการพิจารณา ทบทวนต่อไป
นอกจากนี้ การเตือนภัยสึนามิในไทยนับตั้งแต่เกิดสึนามีเมื่อปี 2547 ทางรัฐบาลได้มีการปรับปรุงกฎหมาย ปรับปรุงระบบเตือนภัย มีการซ้อมหนีภัยอยู่ตลอด รวมถึงมีการประสานงานกับระดับนานาชาติที่จะมาช่วยกันดูแล ดังนั้น ยืนยันว่าเราจะปรับปรุงให้เกิดความเข้มแข็งต่อไป รวมทั้งสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่เพื่อรู้แนวปฏิบัติในการลดการสูญเสียด้วย
***เศรษฐกิจลด0.2%-นักเที่ยวหด
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงผลกระทบญี่ปุ่นต่อเศรษฐกิจไทยว่า อาจทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวลดลงจากเป้าหมายเดิม 0.1-0.2% ส่วนการส่งออกไปญี่ปุ่นอาจมีมูลค่าลดลงเหลือ 2.2-2.25 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 8-10% ทำให้สูญเสียรายได้ประมาณ 8,000 -1.5 หมื่นล้านบาท
ขณะที่การท่องเที่ยวคาดว่าอาจทำให้นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นมาเที่ยวไทยลดลงมาอยู่ที่ระดับ 9 แสนคน จากเดิมที่คาดว่าจะมีคนญี่ปุ่นมาเที่ยวเมืองไทย 1.04 ล้านคน ทำให้สูญเสียรายได้ 3,000 -5,000 ล้านบาท
**เพิ่มมาตรการเข้มตรวจเข้ม
ด้าน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า สธ. ได้เริ่มมาตรการใหม่ โดยการตรวจผัก ผลไม้ทุกรายการที่นำเข้าจากเกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น โดยขอความร่วมมือจากผู้นำเข้าต้องตรวจผัก ผลไม้ทุกรายการและจะยังไม่อนุญาตให้จำหน่ายจนกว่าผลการตรวจจะเสร็จ ต้องได้ผลว่าปลอดภัย ไม่มีสารปนเปื้อนจึงจะให้จำหน่ายได้ ซึ่งจะใช้เวลาตรวจประมาณ 1 วัน
**อย.ยังไม่พบสารปนเปื้อน
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า จากการที่ อย.ได้ดำเนินการตรวจ อาหารที่นำเข้าจากญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 15 มี.ค.รวมทั้งสิ้น 65 ตัวอย่าง อย. ได้รับผลวิเคราะห์จากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จำนวน 39 ตัวอย่างแล้วซึ่งทั้งหมดไม่มีสารปนเปื้อนใดๆ
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานการตรวจพบแผ่นดินไหวเมื่อเวลา 20.55 น. วานนี้ (24 เม.ย.) ที่บริเวณประเทศพม่า (20.87 N,99.91 E) ขนาด 6.7 ริกเตอร์ ห่างจากทางทิศเหนือของอ.แม่สาย จ.เชียงราย ประมาณ 56 กิโลเมตร
จากการเหตุการณ์นี้ส่งผลให้รู้สึกสั่นไหวในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ อาทิ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน ขณะที่ตึกสูงหลายแห่งในเขตกรุงเทพฯ เองก็สามารถรับรู้ถึงแรงสั่นไหวเช่นกัน
วานนี้ (24 มี.ค.) ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ทางสถานทูตประเทศต่างๆ ได้ย้ายที่ตั้งออกจากประเทศญี่ปุ่น ว่า ในส่วนของไทยยังไม่ได้คุยกันตรงนี้ ซึ่งขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ติดตามเรื่องสารกัมมันตภาพรังสีอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยมีวาระพิจารณาการมีส่วนร่วมของประชาชนกับกระบวนการทางนโยบายในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ โดยศึกษาจากบทเรียนการกรณีภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่นในการป้องกันและรับมือกับสาธารณภัย ซึ่งมี นางนิภา พริ้งศุลกะ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานกรรมาธิการ คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนเครือข่ายประชาชนไม่เอานิวเคลียร์ ร่วมแสดงความคิดเห็น
นายลภชัย ศิริภิรมย์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กล่าวว่า นับจากที่โรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่นเกิดระเบิด และสารกัมมันตภาพรังสีฟุ้งกระจายไปสู่ท้องฟ้า ทางสำนักงานฯได้ตรวจวัดค่ารังสีในไทย ล่าสุดมีค่าเท่ากับศูนย์ นอกจากนั้นได้เตรียมการป้องกันโดยจัดหน่วยงานตรวจรังสีบุคคลที่เดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่น หรือบุคคลที่สงสัยว่าจะสัมผัสกัมมันตภาพรังสี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมตัวแทนเครือข่ายประชาชนได้แสดงความเห็นทิศทางเดียวกัน คือ คัดค้านโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ เนื่องจากกังวลเรื่องอันตรายของกัมมันตภาพรังสี แต่หากหน่วยงานรัฐบาลต้องการสร้าง ขอให้ย้ายโรงงานผลิตมาในพื้นที่กรุงเทพฯ เพราะถือว่าเป็นจังหวัดที่มีสถิติการใช้ไฟฟ้าสูงที่สุด และจากสถิติการใช้ไฟฟ้าจาก 3 ห้างสรรพสินค้าใหญ่ในกระงเทพฯพบว่า ใน 1 วัน เท่ากับปริมาณการใช้ไฟฟ้าใน 16 จังหวัด
นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ถือว่ามีความจำเป็น เนื่องจาก 30-40 ปีข้างหน้า น้ำมันและก๊าซธรรมชาติจะหมดไปจากโลกนี้ ส่วนตัวมองว่าพลังงานนิวเคลียร์ เป็นพลังงานสะอาดที่สามารถใช้ทดแทนได้ ส่วนกรณีที่กลุ่มประชาชนต่อต้าน ตนมองว่าเป็นเพราะขาดความรู้ความเข้าใจในรายละเอียด หากหน่วยงานรัฐเข้าไปให้ความรู้ด้านประโยชน์และข้อเสียอย่างละเอียดประชาชนจะเข้าใจ เชื่อว่าไม่มีปัญหา
สำหรับกรณีที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ที่ญี่ปุ่นระเบิด จะส่งผลให้กัมมันตภาพรังสีที่เป็นอันตรายมาถึงไทยหรือไม่ นายสมิทธ กล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่มีแต่มีความเป็นไปได้ว่า ในช่วงปลายปีที่ลมเปลี่ยนทิศทางมาเป็นทางตะวันตกเฉียงใต้ สารกัมมันตภาพรังสีอาจมาถึงไทยได้ ส่วนความเข้มข้นหรือสามารถทำอันตรายกับประชาชนได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของรังสีที่ปล่อยออกมา เมื่อถึงเวลานั้นคงต้องตรวจวัดอีกครั้ง
**"มาร์ค"ตรวจตลาดคลอง
วันเดียวกันนายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งกระทู้ถามสดเรื่องแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ว่าอยากจะถามประเทศไทยได้ช่วยเหลือญี่ปุ่นอย่างไร และขณะนี้เรื่องสถานการณ์สารปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีที่ญี่ปุ่นได้มีการสั่งห้ามบริโภคนม และผัก จะมีผลกระทบต่อไทยหรือไม่และจะมีสารปนเปื้อนในอาหาร น้ำ และในอากาศอย่างไรบ้าง รวมถึงอยากถามว่าสารปนเปื้อนจะมาถึงไทยหรือไม่ ซึ่งอยากได้รับการยืนยันจากรัฐบาลถ้ามีจริงจะมีมาตรการป้องกันอย่างไร อีกทั้ง ประเทศไทยเคยเกิดสึนามิมาแล้วระบบเตือนภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งอยากให้รัฐบาลให้ความมั่นใจในเรื่องดังกล่าว เพราะทราบว่ายังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จึงอยากถามว่ามีการเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง
ด้าน นายกษิต ภิรมย์ รมว.การต่างประเทศ กล่าวว่า ประเทศไทยมีมาตรการช่วยเหลือ 3 ทางคือรัฐบาลไทยได้ให้งบประมาณช่วยเหลือไปแล้วกว่า 205 ล้านบาทไม่นับรวมสิ่งของ โดยบริจาคผ่านทางภาคเอกชนและมีการเปิดบัญชีธนาคารแล้วประมาณ 8-9 บัญชีและผ่านสภากาชาดไทย นอกจากนี้ เงินที่ได้รับจะทยอยส่งให้สภากาชาดของญี่ปุ่นรวมทั้งสิ่งของที่จะส่งไปก็ได้รับความร่วมมือจากกองทัพเพื่อสะดวกในการขนส่ง ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวงการต่างประเทศได้ทาบทามสายการบิน jall ด้วยกำลังรอคำตอบอยู่ ทัง้นี้ คนไทยที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นกว่า 40,900 คนมีการตรวจสอบคนไทยที่ปลอดภัยแล้วรวม 9,281 คน และเดินทางกลับไทยแล้วกว่า 9,931 คน แต่ยังคนไทยแจ้งความจำนงที่จะขอกลับประเทศไทยอีก 816 คน ซึ่งการบินไทยได้เตรียมที่นั่งไว้พร้อมแล้ว ขณะเดียวกันสถานทูตไทยในกรุงโตเกียวได้เปิดศูนย์ประสานงานไว้แล้ว นอกจากนี้ได้จัดที่พักสำรองไว้ที่เมืองโอซาก้าอีกกว่า 8,000 ที่นอนเพื่อรองรับ
ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบสารปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีใน 3 ทางคือ ทางอากาศ อาหาร และผ่านบุคคล ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการตรวจพบความผิดปกติแต่อย่างใด และรัฐบาลได้ตรวจสอบอาหารที่มาจากญี่ปุ่นก็ยังไม่พบระดับสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย และจะทำการตรวจสอบสิ้นค้าที่คลองเตยด้วย ในส่วนของคนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศยืนยันว่าเรามีกลไกติดตามอย่างละเอียดรอบคอบโดยเฉพาะผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง ส่วนเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นเราได้ทำแผนสำรองไว้แล้วโดยไม่ได้ยึดว่าจะต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในไทย ซึ่งมีเวลาอีก 2 ปีในการพิจารณา ทบทวนต่อไป
นอกจากนี้ การเตือนภัยสึนามิในไทยนับตั้งแต่เกิดสึนามีเมื่อปี 2547 ทางรัฐบาลได้มีการปรับปรุงกฎหมาย ปรับปรุงระบบเตือนภัย มีการซ้อมหนีภัยอยู่ตลอด รวมถึงมีการประสานงานกับระดับนานาชาติที่จะมาช่วยกันดูแล ดังนั้น ยืนยันว่าเราจะปรับปรุงให้เกิดความเข้มแข็งต่อไป รวมทั้งสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่เพื่อรู้แนวปฏิบัติในการลดการสูญเสียด้วย
***เศรษฐกิจลด0.2%-นักเที่ยวหด
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงผลกระทบญี่ปุ่นต่อเศรษฐกิจไทยว่า อาจทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวลดลงจากเป้าหมายเดิม 0.1-0.2% ส่วนการส่งออกไปญี่ปุ่นอาจมีมูลค่าลดลงเหลือ 2.2-2.25 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 8-10% ทำให้สูญเสียรายได้ประมาณ 8,000 -1.5 หมื่นล้านบาท
ขณะที่การท่องเที่ยวคาดว่าอาจทำให้นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นมาเที่ยวไทยลดลงมาอยู่ที่ระดับ 9 แสนคน จากเดิมที่คาดว่าจะมีคนญี่ปุ่นมาเที่ยวเมืองไทย 1.04 ล้านคน ทำให้สูญเสียรายได้ 3,000 -5,000 ล้านบาท
**เพิ่มมาตรการเข้มตรวจเข้ม
ด้าน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า สธ. ได้เริ่มมาตรการใหม่ โดยการตรวจผัก ผลไม้ทุกรายการที่นำเข้าจากเกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น โดยขอความร่วมมือจากผู้นำเข้าต้องตรวจผัก ผลไม้ทุกรายการและจะยังไม่อนุญาตให้จำหน่ายจนกว่าผลการตรวจจะเสร็จ ต้องได้ผลว่าปลอดภัย ไม่มีสารปนเปื้อนจึงจะให้จำหน่ายได้ ซึ่งจะใช้เวลาตรวจประมาณ 1 วัน
**อย.ยังไม่พบสารปนเปื้อน
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า จากการที่ อย.ได้ดำเนินการตรวจ อาหารที่นำเข้าจากญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 15 มี.ค.รวมทั้งสิ้น 65 ตัวอย่าง อย. ได้รับผลวิเคราะห์จากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จำนวน 39 ตัวอย่างแล้วซึ่งทั้งหมดไม่มีสารปนเปื้อนใดๆ