กรณีเหตุการณ์แผ่นดินไหว/สึนามิและวิกฤตการณ์โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่น
กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า การให้ความช่วยเหลือคนไทยและรัฐบาลญี่ปุ่น ยังไม่มีรายงานคนไทยได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต คนไทยที่เดินทางกลับไทยระหว่างวันที่ 12-24 มีนาคม 2554 มีจำนวน 10,284 คน
คนไทยซึ่งอยู่ในพื้นที่ประสบภัย 3 จังหวัด ได้แก่ อิวาเตะ มิยากิ และฟุกุชิม่า มีจำนวน 488 คน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว สามารถติดต่อได้แล้ว 247 คน เหลือ 241 คน อยู่ระหว่างการติดตามต่อไป สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับคำร้องขอให้ติดตามคนไทยในญี่ปุ่น 2,423 คน ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตฯ สามารถติดต่อได้แล้ว 2,062 คน เหลือ 361 คน อยู่ระหว่างการติดตามต่อไป
วันที่ 25 มีนาคม กระทรวงการต่างประเทศจัดส่งสิ่งของที่ได้รับบริจาคจากประชาชนจำนวน 3 ตัน พร้อมน้ำดื่มจำนวน 20,000 ขวด ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ทางสายการบินไทยไปญี่ปุ่น
ยอดเงินบริจาคให้แก่ผู้ประสบภัยในญี่ปุ่นในบัญชีกระทรวงการต่างประเทศ 109,094,096.42 บาท (ณ วันที่ 25 มีนาคม 2554)
ปัญหาโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ สถานการณ์ด้านกัมมันตภาพรังสีในภาพรวมยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ โดยระดับกัมมันตภาพรังสียังไม่เกินค่าเฉลี่ยมาตรฐานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ สถานการณ์ของเตาปฏิกรณ์อยู่ในความควบคุมในภาพรวม การตรวจฝุ่นกัมมันตรังสีที่ตกสู่พื้นดินในญี่ปุ่น (fall-out) พบปริมาณที่สูงขึ้น โดยในอาหารมีการตรวจพบระดับการปนเปื้อนสูง โดยเฉพาะใน จ.อิบารากิ ซึ่งทางการญี่ปุ่นได้ประกาศห้ามการบริโภคผักที่ปลูกในพื้นที่เสี่ยง รวมทั้งการกระจายสินค้าดังกล่าวออกสู่ตลาด ส่วนปริมาณที่พบในน้ำประปาตามเมืองต่าง ๆ อยู่ในระดับที่สูงขึ้น โดยในกรุงโตเกียวได้มีการประกาศห้ามไม่ให้ใช้น้ำประปาในการบริโภคสำหรับทารก
องค์การอาหารและยา (อย.) มีแผนที่จะตรวจวัดการปนเปื้อนของอาหารที่นำเข้าจากเกาะฮอนชูของญี่ปุ่นทุกรายการ รวมทั้งสุ่มตรวจอาหารทะเลที่นำเข้าจากญี่ปุ่น และขอความร่วมมือไปยังบริษัทนำเข้าอาหารจากญี่ปุ่นให้เพิ่มความระมัดระวังในการนำเข้าสินค้าจากพื้นที่ประสบภัย
การให้บริการด้านคำปรึกษาของกระทรวงสาธารณสุขที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ปรับรูปแบบจากที่ใช้เจ้าหน้าที่ประจำ เป็นการสอบถามทางเอกสารแทน และได้จัดทำเอกสารแจกจ่ายที่มีรายละเอียด call center และโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่พร้อมให้คำปรึกษาด้านสุขภาพสำหรับผู้โดยสารขาเข้า/ออก จากประเทศญี่ปุ่น ขณะนี้ ยังไม่พบคนไทยได้รับผลกระทบจากสารกัมมันตภาพรังสี
กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า การให้ความช่วยเหลือคนไทยและรัฐบาลญี่ปุ่น ยังไม่มีรายงานคนไทยได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต คนไทยที่เดินทางกลับไทยระหว่างวันที่ 12-24 มีนาคม 2554 มีจำนวน 10,284 คน
คนไทยซึ่งอยู่ในพื้นที่ประสบภัย 3 จังหวัด ได้แก่ อิวาเตะ มิยากิ และฟุกุชิม่า มีจำนวน 488 คน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว สามารถติดต่อได้แล้ว 247 คน เหลือ 241 คน อยู่ระหว่างการติดตามต่อไป สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับคำร้องขอให้ติดตามคนไทยในญี่ปุ่น 2,423 คน ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตฯ สามารถติดต่อได้แล้ว 2,062 คน เหลือ 361 คน อยู่ระหว่างการติดตามต่อไป
วันที่ 25 มีนาคม กระทรวงการต่างประเทศจัดส่งสิ่งของที่ได้รับบริจาคจากประชาชนจำนวน 3 ตัน พร้อมน้ำดื่มจำนวน 20,000 ขวด ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ทางสายการบินไทยไปญี่ปุ่น
ยอดเงินบริจาคให้แก่ผู้ประสบภัยในญี่ปุ่นในบัญชีกระทรวงการต่างประเทศ 109,094,096.42 บาท (ณ วันที่ 25 มีนาคม 2554)
ปัญหาโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ สถานการณ์ด้านกัมมันตภาพรังสีในภาพรวมยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ โดยระดับกัมมันตภาพรังสียังไม่เกินค่าเฉลี่ยมาตรฐานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ สถานการณ์ของเตาปฏิกรณ์อยู่ในความควบคุมในภาพรวม การตรวจฝุ่นกัมมันตรังสีที่ตกสู่พื้นดินในญี่ปุ่น (fall-out) พบปริมาณที่สูงขึ้น โดยในอาหารมีการตรวจพบระดับการปนเปื้อนสูง โดยเฉพาะใน จ.อิบารากิ ซึ่งทางการญี่ปุ่นได้ประกาศห้ามการบริโภคผักที่ปลูกในพื้นที่เสี่ยง รวมทั้งการกระจายสินค้าดังกล่าวออกสู่ตลาด ส่วนปริมาณที่พบในน้ำประปาตามเมืองต่าง ๆ อยู่ในระดับที่สูงขึ้น โดยในกรุงโตเกียวได้มีการประกาศห้ามไม่ให้ใช้น้ำประปาในการบริโภคสำหรับทารก
องค์การอาหารและยา (อย.) มีแผนที่จะตรวจวัดการปนเปื้อนของอาหารที่นำเข้าจากเกาะฮอนชูของญี่ปุ่นทุกรายการ รวมทั้งสุ่มตรวจอาหารทะเลที่นำเข้าจากญี่ปุ่น และขอความร่วมมือไปยังบริษัทนำเข้าอาหารจากญี่ปุ่นให้เพิ่มความระมัดระวังในการนำเข้าสินค้าจากพื้นที่ประสบภัย
การให้บริการด้านคำปรึกษาของกระทรวงสาธารณสุขที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ปรับรูปแบบจากที่ใช้เจ้าหน้าที่ประจำ เป็นการสอบถามทางเอกสารแทน และได้จัดทำเอกสารแจกจ่ายที่มีรายละเอียด call center และโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่พร้อมให้คำปรึกษาด้านสุขภาพสำหรับผู้โดยสารขาเข้า/ออก จากประเทศญี่ปุ่น ขณะนี้ ยังไม่พบคนไทยได้รับผลกระทบจากสารกัมมันตภาพรังสี