“จุรินทร์” สั่งกรมสนับสนุนบริการสุขภาพดูแลมาตรฐานสปาปลา คลอดกฎ 7 มาตรฐาน คุมเข้ม เตรียมเชิญผู้ประกอบการ 1,341 แห่ง ประชุมเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยผู้ใช้บริการ แพทย์ย้ำป่วยเบาหวาน-โรคผิวหนังอย่านั่งแช่เท้าให้ปลาตอด
วานนี้ (9 มีนาคม 2554) ที่โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สปาปลาถือเป็นธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มสปา ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขดูแล โดยให้การรับรองตามพ.ร.บ.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ หากผิดมาตรฐานจะถูกถอนการรับรอง และต้องขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยตาม พ.ร.บ.สถานบริการ
“ได้ให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเชิญประชุมผู้ประกอบธุรกิจสปาปลามาทำชี้แจงทำความเข้าใจถึงข้อปฏิบัติเบื้องต้น ทั้งนี้ประเทศไทยมีสปาโดยรวม 1,341 แห่ง โดยให้เข้าไปดูว่ามีเกณฑ์อะไรบ้างที่ต้องปรับปรุง เพื่อการดูแลสปาปลาโดยเฉพาะเพิ่มเติมจากประกาศเดิมที่มีอยู่ หากจำเป็นจะได้เพิ่มเติมในประกาศต่อไป เพื่อให้ผู้เข้ารับบริการมีความปลอดภัยและได้รับบริการตามเป้าหมาย ซึ่งขณะนี้มีประเด็นเรื่องน้ำ หากไม่สะอาด ไม่มีการเปลี่ยนน้ำ มีผู้ใช้บริการซ้ำๆ จำนวนมาก จะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโดยเฉพาะที่ผิวหนัง ซึ่งเบื้องต้นจะต้องปรับปรุงโดยมีการกรองผู้ที่เข้าใช้บริการสปาปลา หากมีแผลไม่อนุญาตให้ใช้บริการ รวมถึงจะต้องเปลี่ยนน้ำปลาบ่อยๆ เป็นต้น” นายจุรินทร์กล่าว
ด้านนพ.สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า ขณะนี้กรมฯ ได้จัดทำร่างมาตรฐานการบริการสปาปลา โดยหารือกับกรมประมงและกรมอนามัย เบื้องต้นมี 7 มาตรฐาน ได้แก่ 1.สถานที่ 2.ชื่อ 3.ปลาที่ให้บริการ 4.การบริการ 5.อุปกรณ์เครื่องมือและผลิตภัณฑ์ 6.ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และ7.การเฝ้าระวังการติดเชื้อ โดยปลาที่ใช้ในสปาปลาจะต้องมีขนาดประมาณ 2-4 นิ้ว ต้องไม่มีฟันบนขากรรไกร เพราะจะทำให้เกิดบาดแผลเล็กๆ อาจทำให้ติดเชื้อภายหลังได้ และต้องมาจากฟาร์มมาตรฐานของกรมประมง ซึ่งปลาไทยที่จะใช้ได้ในสปาปลา เช่น ปลาน้ำผึ้ง ปลานกกระจอก ปลาจิ้งจอก ปลาเล็บมือนาง ปลามัน
นพ.สมชัย กล่าวอีกว่า สำหรับอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ จะต้องมีระบบการฆ่าเชื้อด้วยแสงอัลตราไวโอเลต หรือยูวี มีระบบตัวกรองน้ำชนิดละเอียดมีประสิทธิภาพในการกรองตะกอนต่างๆ ที่เกิดจากการขับถ่ายหรือคราบไคลของผู้ใช้บริการ น้ำจะต้องมีความใส ผ้าที่เช็ดทำความสะอาดเท้าของผู้รับบริการ ต้องผ่านการซักทำความสะอาดฆ่าเชื้ออย่างถูกต้องตามมาตรฐาน ส่วนความสะอาดสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมพื้นที่ ต้องไม่แออัด อากาศถ่ายเทสะดวก น้ำที่ใช้ในอ่างปลาต้องใสสะอาดมีค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ในช่วง 6.5-8.5 ต้องปราศจากเชื้อ โดยต้องไม่มีโคลีฟอร์มแบคทีเรียและเชื้ออีโคไล (E.coli) มีระบบน้ำหมุนเวียนเข้าอ่างตลอด 24 ชม. ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ในปริมาณไม่ต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของน้ำทั้งหมด และเปลี่ยนวัสดุกรองชนิดละเอียดทุกวัน
นพ.สมชัย กล่าวด้วยว่า ส่วนเรื่องการเฝ้าระวังการติดเชื้อได้จัดทำคู่มือปฏิบัติการให้สถานประกอบการใช้เป็นแนวทางการดูแล ทั้งนี้ก่อนให้บริการจะต้องมีระบบการคัดกรอง ผู้ที่ไม่ควรใช้บริการสปาปลามี 2 กลุ่มพิเศษ ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคผิวหนัง มีบาดแผลหรือตุ่มหนอง และผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ที่มีอาการชาตามมือและเท้า และจะต้องมีการจัดทำทะเบียนประวัติผู้รับบริการทุกรายและขณะใช้บริการผู้รับบริการจะต้องไม่มีอาการผิวหนังแดงแสบหรือเจ็บจากการตอดของปลาด้วย
นพ.มานิต ธีรตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่พบบุคคลแจ้งความเดือดร้อนว่าได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากสปาปลา อย่างไรก็ตาม กรมควบคุมโรคจะประสานงานร่วมกับ สบส.ในการรณรงค์ให้ความรู้ เชิงเตือนภัย สำหรับกรณีที่เป็นกังวลว่า การใช้บริการสปาปลาอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดเชื้อ เช่น วัณโรคเทียมนั้น ยังถือว่าไม่ใช่โรคร้ายแรงที่ต้องควบคุมพิเศษ แต่เป็นโรคที่รักษายาก หมายความว่า อาจเป็นโรคที่ดื้อยาและจำเป็นต้องใช้ยาที่แรงและราคาแพงในการรักษา ซึ่งในอนาคตหากพบว่า มีคนติดโรคดังกล่าวจริง กรมฯก็จะออกประกาศเตือนภัยต่อไป
วานนี้ (9 มีนาคม 2554) ที่โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สปาปลาถือเป็นธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มสปา ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขดูแล โดยให้การรับรองตามพ.ร.บ.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ หากผิดมาตรฐานจะถูกถอนการรับรอง และต้องขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยตาม พ.ร.บ.สถานบริการ
“ได้ให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเชิญประชุมผู้ประกอบธุรกิจสปาปลามาทำชี้แจงทำความเข้าใจถึงข้อปฏิบัติเบื้องต้น ทั้งนี้ประเทศไทยมีสปาโดยรวม 1,341 แห่ง โดยให้เข้าไปดูว่ามีเกณฑ์อะไรบ้างที่ต้องปรับปรุง เพื่อการดูแลสปาปลาโดยเฉพาะเพิ่มเติมจากประกาศเดิมที่มีอยู่ หากจำเป็นจะได้เพิ่มเติมในประกาศต่อไป เพื่อให้ผู้เข้ารับบริการมีความปลอดภัยและได้รับบริการตามเป้าหมาย ซึ่งขณะนี้มีประเด็นเรื่องน้ำ หากไม่สะอาด ไม่มีการเปลี่ยนน้ำ มีผู้ใช้บริการซ้ำๆ จำนวนมาก จะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโดยเฉพาะที่ผิวหนัง ซึ่งเบื้องต้นจะต้องปรับปรุงโดยมีการกรองผู้ที่เข้าใช้บริการสปาปลา หากมีแผลไม่อนุญาตให้ใช้บริการ รวมถึงจะต้องเปลี่ยนน้ำปลาบ่อยๆ เป็นต้น” นายจุรินทร์กล่าว
ด้านนพ.สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า ขณะนี้กรมฯ ได้จัดทำร่างมาตรฐานการบริการสปาปลา โดยหารือกับกรมประมงและกรมอนามัย เบื้องต้นมี 7 มาตรฐาน ได้แก่ 1.สถานที่ 2.ชื่อ 3.ปลาที่ให้บริการ 4.การบริการ 5.อุปกรณ์เครื่องมือและผลิตภัณฑ์ 6.ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และ7.การเฝ้าระวังการติดเชื้อ โดยปลาที่ใช้ในสปาปลาจะต้องมีขนาดประมาณ 2-4 นิ้ว ต้องไม่มีฟันบนขากรรไกร เพราะจะทำให้เกิดบาดแผลเล็กๆ อาจทำให้ติดเชื้อภายหลังได้ และต้องมาจากฟาร์มมาตรฐานของกรมประมง ซึ่งปลาไทยที่จะใช้ได้ในสปาปลา เช่น ปลาน้ำผึ้ง ปลานกกระจอก ปลาจิ้งจอก ปลาเล็บมือนาง ปลามัน
นพ.สมชัย กล่าวอีกว่า สำหรับอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ จะต้องมีระบบการฆ่าเชื้อด้วยแสงอัลตราไวโอเลต หรือยูวี มีระบบตัวกรองน้ำชนิดละเอียดมีประสิทธิภาพในการกรองตะกอนต่างๆ ที่เกิดจากการขับถ่ายหรือคราบไคลของผู้ใช้บริการ น้ำจะต้องมีความใส ผ้าที่เช็ดทำความสะอาดเท้าของผู้รับบริการ ต้องผ่านการซักทำความสะอาดฆ่าเชื้ออย่างถูกต้องตามมาตรฐาน ส่วนความสะอาดสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมพื้นที่ ต้องไม่แออัด อากาศถ่ายเทสะดวก น้ำที่ใช้ในอ่างปลาต้องใสสะอาดมีค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ในช่วง 6.5-8.5 ต้องปราศจากเชื้อ โดยต้องไม่มีโคลีฟอร์มแบคทีเรียและเชื้ออีโคไล (E.coli) มีระบบน้ำหมุนเวียนเข้าอ่างตลอด 24 ชม. ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ในปริมาณไม่ต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของน้ำทั้งหมด และเปลี่ยนวัสดุกรองชนิดละเอียดทุกวัน
นพ.สมชัย กล่าวด้วยว่า ส่วนเรื่องการเฝ้าระวังการติดเชื้อได้จัดทำคู่มือปฏิบัติการให้สถานประกอบการใช้เป็นแนวทางการดูแล ทั้งนี้ก่อนให้บริการจะต้องมีระบบการคัดกรอง ผู้ที่ไม่ควรใช้บริการสปาปลามี 2 กลุ่มพิเศษ ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคผิวหนัง มีบาดแผลหรือตุ่มหนอง และผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ที่มีอาการชาตามมือและเท้า และจะต้องมีการจัดทำทะเบียนประวัติผู้รับบริการทุกรายและขณะใช้บริการผู้รับบริการจะต้องไม่มีอาการผิวหนังแดงแสบหรือเจ็บจากการตอดของปลาด้วย
นพ.มานิต ธีรตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่พบบุคคลแจ้งความเดือดร้อนว่าได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากสปาปลา อย่างไรก็ตาม กรมควบคุมโรคจะประสานงานร่วมกับ สบส.ในการรณรงค์ให้ความรู้ เชิงเตือนภัย สำหรับกรณีที่เป็นกังวลว่า การใช้บริการสปาปลาอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดเชื้อ เช่น วัณโรคเทียมนั้น ยังถือว่าไม่ใช่โรคร้ายแรงที่ต้องควบคุมพิเศษ แต่เป็นโรคที่รักษายาก หมายความว่า อาจเป็นโรคที่ดื้อยาและจำเป็นต้องใช้ยาที่แรงและราคาแพงในการรักษา ซึ่งในอนาคตหากพบว่า มีคนติดโรคดังกล่าวจริง กรมฯก็จะออกประกาศเตือนภัยต่อไป