ในประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ประชาชนทุกคนมีเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทาง และมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทำไม่ได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
แต่หากแสดงความคิดเห็น พูด เขียน พิมพ์ หรือโฆษณาจนทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียง ทำให้ผู้ที่ถูกพาดพิงถูกดูถูกเกลียดชังนั้น เป็นการใช้เสรีภาพจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา
ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 กำหนดว่า “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
คำกล่าวที่เป็น หมิ่นประมาท คือ การพูดหาเหตุร้ายหรือกล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย เสียชื่อเสียง เสียความน่าเชื่อถือ ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องจริงหรือเท็จก็ตาม เช่น
กล่าวหาในทางชู้สาวว่าหญิงเป็นเมียน้อย หรืออาจใช้ถ้อยคำที่มีความหมายพิเศษ เช่น ด่าว่า “ไอ้เสี่ยบ้ากาม” หมายถึงคนมักมากในกามคุณผิดวิสัยคนทั่วไป หรือด่ากับคนหนึ่งแล้วเลยกล่าวถึงน้องเขาว่าเคยมีท้องต้องไปทำแท้ง เป็นหมิ่นประมาท (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2520 ; 782/2524; 286,287/2498)
กล่าวหาว่ามีความประพฤติชั่วหรือทุจริตในหน้าที่การงาน เช่น กล่าวหาว่าใช้อิทธิพลในฐานะกรรมการตุลาการ ทำให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีที่ตนเป็นคดีกับจำเลยเกิดความกลัวและไม่ให้ความเป็นธรรมแก่จำเลย เป็นการกระทำที่ประสงค์จะทำลายชื่อเสียงมากกว่า มิใช่เพื่อปกป้องผลประโยชน์อันชอบธรรมของตน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2530)
หรือคำพูดที่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจว่าผู้ที่ถูกพูดถึงมีฐานะการเงินที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น กล่าวว่า ออกเช็คจ่ายเงิน 1 ล้านบาท ไม่มีเงินธนาคารงดจ่ายเงิน หรือกล่าวว่าเป็นคนหลบหนีหนี้ เป็นต้น (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2523; 2822/2515)
นอกจากนั้น การใส่ความผู้ตายต่อบุคคลที่สามเป็นเหตุให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ก็เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท เช่น เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ว่า “ พรรคไหนเอ่ย ที่คนในพรรคพัวพันกับการค้าเฮโรอีนระหว่างประเทศจนต้องแก้ปัญหาด้วยการปลิดชีพตัวเอง ลาโลก” เป็นการใส่ความผู้ตายด้วยโฆษณาอันน่าจะเป็นเหตุให้ภริยาและบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6031/2531)
เห็นได้ว่า หมิ่นประมาท เป็นการกล่าวข้อเท็จจริงยืนยันใส่ความ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ต่อบุคคลที่สาม เพื่อให้บุคคลที่สามนั้นลดคุณค่าของผู้ถูกหมิ่นประมาทลง
แต่การแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่ ติชม ด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
แต่หากผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท พิสูจน์ได้ว่าข้อที่หมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อหาที่ว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
เช่น กล่าวว่า “พระเข้าหานางชีที่ห้องวิปัสสนา” (เป็นเรื่องส่วนตัว) แต่ถ้าเป็นความจริงก็เป็นประโยชน์แก่ประชาชน พิสูจน์ความจริงได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1072/2507)
แต่การลงข่าวว่า นายกเทศมนตรีออกเช็คไม่มีเงิน เป็นเรื่องส่วนตัวไม่เกี่ยวกับหน้าที่การงาน ไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน จะนำสืบความจริงเพื่อไม่ต้องรับโทษไม่ได้( คำพิพากษาฎีกาที่ 407/2523)
ยังมีกรณีความผิดเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นที่น่าศึกษาอีกความผิดหนึ่ง คือ “การดูหมิ่นซึ่งหน้า” ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393 กำหนดว่า “ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ดูหมิ่น คือ การดูถูกเหยียดหยาม ทำให้อับอายขายหน้า เป็นการลดคุณค่า ดูถูก เหยียดหยาม เป็นการกระทำซึ่งหน้า ที่ผู้ถูกดูหมิ่นรู้ตัวผู้กระทำทันทีและไม่จำเป็นต้องมีบุคคลที่สามอยู่ด้วย อาจเป็นคำด่าหยาบคายไม่สุภาพ หรือทำด้วยกิริยาอื่น เช่น ยกเท้าให้ เปลือยกาย เช่น ด่าว่าเป็นผู้หญิงต่ำๆ แสดงว่าเป็นผู้หญิงไม่ดีมีศักดิ์ศรีต่ำกว่าผู้หญิงทั่วๆไป เป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้าแล้ว (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2537)
ถ้ากล่าวโดยสุภาพไม่ดูถูกเหยียดหยาม ไม่เป็นดูหมิ่น เช่น กล่าวว่า เมียมันคบชู้ ไม่ใช่ดูหมิ่นแต่อาจเป็นหมิ่นประมาท (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2324/2518)
ความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้านั้น กฎหมายต้องการลงโทษผู้ที่ดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าฝ่ายเดียวโดยที่ผู้ถูกดูหมิ่นมิได้ตอบโต้ด้วย หากเป็นความสมัครใจกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นซึ่งกันและกัน ต่างฝ่ายต่างด่ากัน ไม่เป็นดูหมิ่น (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2521)
ดังนั้น การใช้สิทธิและเสรีภาพของตนต้องอยู่ภายในกรอบของกฎหมาย ไม่ละเมิดหรือกระทบสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น มิฉะนั้นอาจต้องรับโทษทางอาญา
สราวุธเบญจกุล
รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
แต่หากแสดงความคิดเห็น พูด เขียน พิมพ์ หรือโฆษณาจนทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียง ทำให้ผู้ที่ถูกพาดพิงถูกดูถูกเกลียดชังนั้น เป็นการใช้เสรีภาพจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา
ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 กำหนดว่า “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
คำกล่าวที่เป็น หมิ่นประมาท คือ การพูดหาเหตุร้ายหรือกล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย เสียชื่อเสียง เสียความน่าเชื่อถือ ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องจริงหรือเท็จก็ตาม เช่น
กล่าวหาในทางชู้สาวว่าหญิงเป็นเมียน้อย หรืออาจใช้ถ้อยคำที่มีความหมายพิเศษ เช่น ด่าว่า “ไอ้เสี่ยบ้ากาม” หมายถึงคนมักมากในกามคุณผิดวิสัยคนทั่วไป หรือด่ากับคนหนึ่งแล้วเลยกล่าวถึงน้องเขาว่าเคยมีท้องต้องไปทำแท้ง เป็นหมิ่นประมาท (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2520 ; 782/2524; 286,287/2498)
กล่าวหาว่ามีความประพฤติชั่วหรือทุจริตในหน้าที่การงาน เช่น กล่าวหาว่าใช้อิทธิพลในฐานะกรรมการตุลาการ ทำให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีที่ตนเป็นคดีกับจำเลยเกิดความกลัวและไม่ให้ความเป็นธรรมแก่จำเลย เป็นการกระทำที่ประสงค์จะทำลายชื่อเสียงมากกว่า มิใช่เพื่อปกป้องผลประโยชน์อันชอบธรรมของตน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2530)
หรือคำพูดที่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจว่าผู้ที่ถูกพูดถึงมีฐานะการเงินที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น กล่าวว่า ออกเช็คจ่ายเงิน 1 ล้านบาท ไม่มีเงินธนาคารงดจ่ายเงิน หรือกล่าวว่าเป็นคนหลบหนีหนี้ เป็นต้น (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2523; 2822/2515)
นอกจากนั้น การใส่ความผู้ตายต่อบุคคลที่สามเป็นเหตุให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ก็เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท เช่น เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ว่า “ พรรคไหนเอ่ย ที่คนในพรรคพัวพันกับการค้าเฮโรอีนระหว่างประเทศจนต้องแก้ปัญหาด้วยการปลิดชีพตัวเอง ลาโลก” เป็นการใส่ความผู้ตายด้วยโฆษณาอันน่าจะเป็นเหตุให้ภริยาและบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6031/2531)
เห็นได้ว่า หมิ่นประมาท เป็นการกล่าวข้อเท็จจริงยืนยันใส่ความ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ต่อบุคคลที่สาม เพื่อให้บุคคลที่สามนั้นลดคุณค่าของผู้ถูกหมิ่นประมาทลง
แต่การแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่ ติชม ด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
แต่หากผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท พิสูจน์ได้ว่าข้อที่หมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อหาที่ว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
เช่น กล่าวว่า “พระเข้าหานางชีที่ห้องวิปัสสนา” (เป็นเรื่องส่วนตัว) แต่ถ้าเป็นความจริงก็เป็นประโยชน์แก่ประชาชน พิสูจน์ความจริงได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1072/2507)
แต่การลงข่าวว่า นายกเทศมนตรีออกเช็คไม่มีเงิน เป็นเรื่องส่วนตัวไม่เกี่ยวกับหน้าที่การงาน ไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน จะนำสืบความจริงเพื่อไม่ต้องรับโทษไม่ได้( คำพิพากษาฎีกาที่ 407/2523)
ยังมีกรณีความผิดเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นที่น่าศึกษาอีกความผิดหนึ่ง คือ “การดูหมิ่นซึ่งหน้า” ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393 กำหนดว่า “ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ดูหมิ่น คือ การดูถูกเหยียดหยาม ทำให้อับอายขายหน้า เป็นการลดคุณค่า ดูถูก เหยียดหยาม เป็นการกระทำซึ่งหน้า ที่ผู้ถูกดูหมิ่นรู้ตัวผู้กระทำทันทีและไม่จำเป็นต้องมีบุคคลที่สามอยู่ด้วย อาจเป็นคำด่าหยาบคายไม่สุภาพ หรือทำด้วยกิริยาอื่น เช่น ยกเท้าให้ เปลือยกาย เช่น ด่าว่าเป็นผู้หญิงต่ำๆ แสดงว่าเป็นผู้หญิงไม่ดีมีศักดิ์ศรีต่ำกว่าผู้หญิงทั่วๆไป เป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้าแล้ว (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2537)
ถ้ากล่าวโดยสุภาพไม่ดูถูกเหยียดหยาม ไม่เป็นดูหมิ่น เช่น กล่าวว่า เมียมันคบชู้ ไม่ใช่ดูหมิ่นแต่อาจเป็นหมิ่นประมาท (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2324/2518)
ความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้านั้น กฎหมายต้องการลงโทษผู้ที่ดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าฝ่ายเดียวโดยที่ผู้ถูกดูหมิ่นมิได้ตอบโต้ด้วย หากเป็นความสมัครใจกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นซึ่งกันและกัน ต่างฝ่ายต่างด่ากัน ไม่เป็นดูหมิ่น (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2521)
ดังนั้น การใช้สิทธิและเสรีภาพของตนต้องอยู่ภายในกรอบของกฎหมาย ไม่ละเมิดหรือกระทบสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น มิฉะนั้นอาจต้องรับโทษทางอาญา
สราวุธเบญจกุล
รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม