จากกระแสความสับสนต่อการสู้รบบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ดูเหมือนเราจะมุ่งให้ความสนใจกับข่าวร้ายมากกว่าการแสวงหาโอกาส รวมถึงการขุดคุ้ยความไม่ดีของกันและกันมาประณามหยามหมิ่นให้บาดแผลยิ่งลึกมากขึ้น โดยลืมนึกถึงความเหมาะสมและความจำเป็นของประเทศ
ขณะนี้ นักธุรกิจไทยหลายรายกำลังจะหมดสภาพสิ้นเรี่ยวแรงต่อการแข่งขันในตลาดโลก ทั้งวิกฤตเรื่องราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท ราคาสินค้าวัตถุดิบต่างๆ ที่สูงขึ้น การขาดแคลนทั้งวัตถุดิบและแรงงาน การแก้ปัญหาด้วยการนำเข้าแรงงานต่างชาติก็เกิดปัญหาสังคมและอื่นๆ ตามมา เป็นเรื่องรุมเร้าให้รัฐบาลต้องแก้ไข จนไม่มีเวลาที่จะคิดเดินหน้าประเทศไทย
จากปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น คงต้องเร่งทบทวนว่าจะแก้ไขอย่างไร จะยังคงผลิตสินค้าต่อไปในประเทศที่กำลังขาดแคลนปัจจัยการผลิตต่างๆ และต้องปรับตัวไปสู่การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมากกว่าใช้แรงงานจำนวนมากหรือไม่ หรือเราจะต้องไปแสวงหาโอกาสการลงทุนในต่างประเทศแล้ว
ปัจจุบัน หลายหน่วยงานของไทยกำลังเร่งระดมกำลังและความคิดเพื่อช่วยเหลือนักธุรกิจไทยให้ออกไปลงทุนในต่างประเทศ สิทธิประโยชน์ มาตรการต่างๆ กำลังถูกเร่งรัดจากนายกรัฐมนตรีให้นำเสนอเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ
สำหรับประเทศที่น่าลงทุนในปัจจุบัน โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านการผลิตต่างๆ ประเทศหนึ่ง น่าจะเป็นกัมพูชา แม้ปัญหาความขัดแย้งจะเกิดขึ้นเป็นระยะๆ ก็ตาม เนื่องจากค่าแรงงานขั้นต่ำปัจจุบันในกัมพูชาอาจจะใกล้เคียงหรือต่ำกว่าลาว สาธารณูปโภคพื้นฐานมีความพร้อมในระดับหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับพม่าและอยู่ในสภาพที่ดี แม้ค่าไฟฟ้าจะยังแพงอยู่ แต่น่าจะดีขึ้นในอนาคตอันใกล้ ประสิทธิภาพของข้าราชการกัมพูชาจากที่ผู้เขียนได้เคยประสานงานด้วย กล่าวได้ว่า อยู่ในขั้นที่ดีทีเดียว
การเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา คือ ร้อยละ 10.3 โดยตัวเลขประมาณการปี 2553 อยู่ที่ร้อยละ 5 และเงินเฟ้อร้อยละ 5 การลงทุนในกัมพูชาต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ทั้งสิ้น แต่ไม่สามารถถือครองที่ดินได้ กัมพูชาอนุญาตให้ส่งเงินเข้าออกได้โดยเสรี ไม่มีการควบคุมราคาสินค้าหรือบริการ ไม่เลือกปฏิบัติกับนักลงทุนต่างชาติ ไม่มีการควบคุมในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน อีกทั้งหน่วยงานด้านการลงทุนมีบริการ One Stop Services เพื่ออำนวยความสะดวกเรื่องการขอลงทุนในกัมพูชา
อย่างไรก็ตาม หากเป็นโครงการผลิตหรือโครงการขนาดใหญ่ จะต้องไปยื่นเรื่องเพื่อขอลงทุน ซึ่งหากได้อนุมัติแล้วก็ถือว่าได้รับการจดทะเบียนโดยอัตโนมัติ แต่หากเป็นร้านอาหารหรือสปา เพียงแต่ไปจดทะเบียนบริษัทกับกระทรวงพาณิชย์เท่านั้น
โอกาสลงทุนในกัมพูชามีอยู่มากทั้งกิจการที่ใช้แรงงานเป็นหลัก การเกษตรและแปรรูปการเกษตร การขนส่งและคมนาคมสื่อสาร กิจการพลังงาน การผลิตเพื่อการส่งออก (รัฐมนตรีช่วยกระทรวงพาณิชย์กล่าวกับผู้เขียนว่า กัมพูชาได้สิทธิ GSP กับหลายประเทศในโลก และกับสหภาพยุโรปก็ได้สิทธิของประเทศด้อยพัฒนา คือ ทุกอย่างส่งไปขายในสหภาพยุโรปได้ ยกเว้นอาวุธ) การท่องเที่ยว (ได้ทราบว่า นอกจากที่เมืองเสียมราฐแล้ว ยังมีเมืองเล็กๆ บางเมืองที่นักท่องเที่ยวชอบไป เช่น เมืองแกบ ที่มีหาดทรายสวยงาม มีนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะฝรั่งเศสเข้าไปเที่ยวมาก แต่โรงแรมยังไม่เพียงพอ) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การสำรวจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และเหมืองแร่ เป็นต้น
สำหรับสิทธิประโยชน์หากได้รับอนุมัติให้ลงทุนในกัมพูชาคือ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลาสูงสุด 9 ปี การได้รับยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้เพื่อการส่งออกและเครื่องจักร เป็นต้น นักลงทุนรายใหญ่ 5 อันดับแรกในกัมพูชา (ระหว่างปี 2537 - ตุลาคม 2553) ได้แก่ จีน (มูลค่าเงินลงทุนรวมสูงสุดถึง 7,700 ล้านเหรียญสหรัฐ) เกาหลีใต้ มาเลเซีย ยุโรป และไทย (ด้วยมูลค่าเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 748 ล้านเหรียญสหรัฐ) ตามลำดับ
นักลงทุนรายใหญ่ในกัมพูชา เช่น จีน และเกาหลีใต้ ต่างให้ความสนใจกับประเทศนี้เป็นอย่างมาก โครงการขนาดใหญ่ รวมถึงการก่อสร้างสาธารณูปโภคมีให้เห็นอยู่ทั่วไปในกัมพูชา โครงการลงทุนของไทย เช่น โรงแรม Sofitel ระดับห้าดาว ทั้งที่เมืองเสียมราฐ และที่กรุงพนมเปญ ก็ได้รับคำชื่นชมจากรัฐมนตรีของกัมพูชาว่าเป็นโครงการลงทุนจากไทยที่ควรสนับสนุน
ด้านการเกษตร กัมพูชาเป็นประเทศที่ผลิตข้าวมากที่สุดเป็นอันดับ 15 ของโลก และตั้งเป้าส่งออกข้าวถึง 1 ล้านตันภายใน 5 ปีข้างหน้า ด้วยเหตุนี้ กัมพูชาจึงต้องการเพิ่มกำลังการผลิตข้าวให้ได้ถึง 9 ล้านตันภายในปี 2558 จากที่ผลิตได้ที่ 7 ล้านตันในปัจจุบัน เพื่อให้ถึงเป้าหมาย กัมพูชาต้องการการลงทุนเรื่องโรงสีข้าว เพราะในปัจจุบันกัมพูชาต้องส่งออกข้าวเข้าไปทำการขัดสีในเวียดนาม และนำกลับเข้ามาเพื่อการส่งออก
หากเสียงปืนนัดแรก ทำให้ขวัญเรากระเจิดกระเจิง ขอให้เรียกขวัญกลับมาโดยเร็ว ก่อนที่ท่านจะพลาดโอกาสในแหล่งลงทุนแห่งนี้ ไว้รอดูผลการประชุมภาคเอกชนไทย-กัมพูชาในกลางเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ที่กรุงพนมเปญ ท่านอาจจะเห็นภาพโอกาสในกัมพูชาชัดเจนยิ่งขึ้นก็ได้
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2553-8111 หรือที่ head@boi.go.th
ขณะนี้ นักธุรกิจไทยหลายรายกำลังจะหมดสภาพสิ้นเรี่ยวแรงต่อการแข่งขันในตลาดโลก ทั้งวิกฤตเรื่องราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท ราคาสินค้าวัตถุดิบต่างๆ ที่สูงขึ้น การขาดแคลนทั้งวัตถุดิบและแรงงาน การแก้ปัญหาด้วยการนำเข้าแรงงานต่างชาติก็เกิดปัญหาสังคมและอื่นๆ ตามมา เป็นเรื่องรุมเร้าให้รัฐบาลต้องแก้ไข จนไม่มีเวลาที่จะคิดเดินหน้าประเทศไทย
จากปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น คงต้องเร่งทบทวนว่าจะแก้ไขอย่างไร จะยังคงผลิตสินค้าต่อไปในประเทศที่กำลังขาดแคลนปัจจัยการผลิตต่างๆ และต้องปรับตัวไปสู่การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมากกว่าใช้แรงงานจำนวนมากหรือไม่ หรือเราจะต้องไปแสวงหาโอกาสการลงทุนในต่างประเทศแล้ว
ปัจจุบัน หลายหน่วยงานของไทยกำลังเร่งระดมกำลังและความคิดเพื่อช่วยเหลือนักธุรกิจไทยให้ออกไปลงทุนในต่างประเทศ สิทธิประโยชน์ มาตรการต่างๆ กำลังถูกเร่งรัดจากนายกรัฐมนตรีให้นำเสนอเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ
สำหรับประเทศที่น่าลงทุนในปัจจุบัน โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านการผลิตต่างๆ ประเทศหนึ่ง น่าจะเป็นกัมพูชา แม้ปัญหาความขัดแย้งจะเกิดขึ้นเป็นระยะๆ ก็ตาม เนื่องจากค่าแรงงานขั้นต่ำปัจจุบันในกัมพูชาอาจจะใกล้เคียงหรือต่ำกว่าลาว สาธารณูปโภคพื้นฐานมีความพร้อมในระดับหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับพม่าและอยู่ในสภาพที่ดี แม้ค่าไฟฟ้าจะยังแพงอยู่ แต่น่าจะดีขึ้นในอนาคตอันใกล้ ประสิทธิภาพของข้าราชการกัมพูชาจากที่ผู้เขียนได้เคยประสานงานด้วย กล่าวได้ว่า อยู่ในขั้นที่ดีทีเดียว
การเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา คือ ร้อยละ 10.3 โดยตัวเลขประมาณการปี 2553 อยู่ที่ร้อยละ 5 และเงินเฟ้อร้อยละ 5 การลงทุนในกัมพูชาต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ทั้งสิ้น แต่ไม่สามารถถือครองที่ดินได้ กัมพูชาอนุญาตให้ส่งเงินเข้าออกได้โดยเสรี ไม่มีการควบคุมราคาสินค้าหรือบริการ ไม่เลือกปฏิบัติกับนักลงทุนต่างชาติ ไม่มีการควบคุมในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน อีกทั้งหน่วยงานด้านการลงทุนมีบริการ One Stop Services เพื่ออำนวยความสะดวกเรื่องการขอลงทุนในกัมพูชา
อย่างไรก็ตาม หากเป็นโครงการผลิตหรือโครงการขนาดใหญ่ จะต้องไปยื่นเรื่องเพื่อขอลงทุน ซึ่งหากได้อนุมัติแล้วก็ถือว่าได้รับการจดทะเบียนโดยอัตโนมัติ แต่หากเป็นร้านอาหารหรือสปา เพียงแต่ไปจดทะเบียนบริษัทกับกระทรวงพาณิชย์เท่านั้น
โอกาสลงทุนในกัมพูชามีอยู่มากทั้งกิจการที่ใช้แรงงานเป็นหลัก การเกษตรและแปรรูปการเกษตร การขนส่งและคมนาคมสื่อสาร กิจการพลังงาน การผลิตเพื่อการส่งออก (รัฐมนตรีช่วยกระทรวงพาณิชย์กล่าวกับผู้เขียนว่า กัมพูชาได้สิทธิ GSP กับหลายประเทศในโลก และกับสหภาพยุโรปก็ได้สิทธิของประเทศด้อยพัฒนา คือ ทุกอย่างส่งไปขายในสหภาพยุโรปได้ ยกเว้นอาวุธ) การท่องเที่ยว (ได้ทราบว่า นอกจากที่เมืองเสียมราฐแล้ว ยังมีเมืองเล็กๆ บางเมืองที่นักท่องเที่ยวชอบไป เช่น เมืองแกบ ที่มีหาดทรายสวยงาม มีนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะฝรั่งเศสเข้าไปเที่ยวมาก แต่โรงแรมยังไม่เพียงพอ) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การสำรวจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และเหมืองแร่ เป็นต้น
สำหรับสิทธิประโยชน์หากได้รับอนุมัติให้ลงทุนในกัมพูชาคือ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลาสูงสุด 9 ปี การได้รับยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้เพื่อการส่งออกและเครื่องจักร เป็นต้น นักลงทุนรายใหญ่ 5 อันดับแรกในกัมพูชา (ระหว่างปี 2537 - ตุลาคม 2553) ได้แก่ จีน (มูลค่าเงินลงทุนรวมสูงสุดถึง 7,700 ล้านเหรียญสหรัฐ) เกาหลีใต้ มาเลเซีย ยุโรป และไทย (ด้วยมูลค่าเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 748 ล้านเหรียญสหรัฐ) ตามลำดับ
นักลงทุนรายใหญ่ในกัมพูชา เช่น จีน และเกาหลีใต้ ต่างให้ความสนใจกับประเทศนี้เป็นอย่างมาก โครงการขนาดใหญ่ รวมถึงการก่อสร้างสาธารณูปโภคมีให้เห็นอยู่ทั่วไปในกัมพูชา โครงการลงทุนของไทย เช่น โรงแรม Sofitel ระดับห้าดาว ทั้งที่เมืองเสียมราฐ และที่กรุงพนมเปญ ก็ได้รับคำชื่นชมจากรัฐมนตรีของกัมพูชาว่าเป็นโครงการลงทุนจากไทยที่ควรสนับสนุน
ด้านการเกษตร กัมพูชาเป็นประเทศที่ผลิตข้าวมากที่สุดเป็นอันดับ 15 ของโลก และตั้งเป้าส่งออกข้าวถึง 1 ล้านตันภายใน 5 ปีข้างหน้า ด้วยเหตุนี้ กัมพูชาจึงต้องการเพิ่มกำลังการผลิตข้าวให้ได้ถึง 9 ล้านตันภายในปี 2558 จากที่ผลิตได้ที่ 7 ล้านตันในปัจจุบัน เพื่อให้ถึงเป้าหมาย กัมพูชาต้องการการลงทุนเรื่องโรงสีข้าว เพราะในปัจจุบันกัมพูชาต้องส่งออกข้าวเข้าไปทำการขัดสีในเวียดนาม และนำกลับเข้ามาเพื่อการส่งออก
หากเสียงปืนนัดแรก ทำให้ขวัญเรากระเจิดกระเจิง ขอให้เรียกขวัญกลับมาโดยเร็ว ก่อนที่ท่านจะพลาดโอกาสในแหล่งลงทุนแห่งนี้ ไว้รอดูผลการประชุมภาคเอกชนไทย-กัมพูชาในกลางเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ที่กรุงพนมเปญ ท่านอาจจะเห็นภาพโอกาสในกัมพูชาชัดเจนยิ่งขึ้นก็ได้
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2553-8111 หรือที่ head@boi.go.th