ASTV ผู้จัดการรายวัน - "มาร์ค" หงุดหงิด ถามพันธมิตรฯ จะรับผิดชอบไหม หากไทยออกจากมรดกโลกแล้วเขมรเดินหน้าสำเร็จ ลั่นไม่ยอมโยนผ้ายอมแพ้ แต่ถ้าเสียเปรียบแล้วค่อยมาคิดกันทีหลัง ด้านรองผู้ว่าฯสระแก้ว จัดฉากพาชาวบ้านมายืนยัน บ่อน้ำยูเอ็น อยู่ในพื้นที่เขมร "ส.ว.คำนูณ" จี้ปลด"เทือก-กษิต" ที่ไม่ปกป้องแผ่นดินไทย ด้าน"บัวแก้ว" ออกแถลงการณ์ให้เขมรปลดธงที่วัดแก้วฯ ขณะที่“แซมดิน” เดินหน้าฟ้อง “อภิสิทธิ์-สุเทพ-กษิต-ประวิตร”
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง การออกแถลงการณ์ตอบโต้กระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ฌฑ์ฮแสดงจุดยืนว่ากัมพูชารุก ล้ำดินแดนไทย ว่า ได้บอกไปเมื่อวันเสาร์ที่ 29 ม.ค. ซึ่งรมว.ต่างประเทศ จะกลับมาไทย ในวันพุธที่ 2 ก.พ.นี้ คิดว่าคงไม่มีปัญหาอะไร เรายืนยันจุดยืนเดิมของเราอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดว่าการใช้กระบวนการต่างประเทศตอบโต้ทางการกัมพูชาคิดว่าจะได้ผลหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า คำว่า ได้ผล ถ้าบอกว่าจะทำให้กัมพูชาเปลี่ยนแนวทางอะไรคงยาก เหมือนที่เขาออกแถลงการณ์มา ก็ไม่สามารถเปลี่ยนอะไรเราได้เหมือนกัน มันก็มีความแตกต่างกันอยู่ เพียงแต่เป็นการยืนยันว่า ความเห็นของ 2 ประเทศ ยังไม่ตรงกันในบางเรื่องเท่านั้นเอง
เมื่อถามว่า ธงยังไม่ถูกลดลง กลายเป็นการขยายผลทางการเมืองภายในประเทศเวลานี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตรงนี้ก็ต้องเดินหน้า ตนยังไม่ทราบว่า ดำเนินการถึงไหน อย่างไร เมื่อถามว่า จำเป็นต้องใช้มาตรการทางทหารเข้ามาเสริมหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เราดำเนินการเหมือนตอนที่เราทราบเรื่องใต้ เราก็ดำเนินการให้สำเร็จ เราบอกมาตลอดว่า การที่จะมีลักษณะเป็นสัญญาลักษณะที่แสดงออกถึงการมีอธิปไตยในดินแดน ซึ่งยังมีปัญหากันอยู่ คงไมได้
** อ้างพันธมิตรฯไม่ยอมเจรจาด้วย
ส่วนความคืบหน้าในการเปิดการเจรจากับกลุ่มพันธมิตรฯนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าเห็นจากข่าว ว่าเขาไม่เจรจา แต่ตนไม่มีปัญหาอยู่แล้ว มีหลายคนในพรรคประชาธิปัตย์ ในรัฐบาล พยายามดูความเป็นไปได้ ในช่องทางที่จะพูดคุยกัน
" คงต้องถามพันธมิตรฯ เพราะฝ่ายรัฐบาลไม่ได้มีปัญหาอะไร ผมก็คิดว่า เห็นไปฟ้องศาลแล้ว อะไรแล้ว ก็อยากให้ช่วยคิดถึงว่า ที่ชุมนุมกันอยู่ ถ้าจุดยืนไม่ตรงกัน ถ้าไม่พูดคุยกัน แล้วจะทำกันอย่างไร" นายกรัฐมนตรี กล่าว
เมื่อถามว่า ถ้าไม่มีการพูดคุยกัน หากปล่อยให้คาราคาซัง สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนต่อไปหรือไม่ นายกฯกล่าวว่า ทางตำรวจได้ทำอย่างต่อเนื่องในความพยายามที่จะทำให้ความเดือดร้อน หรือผลกระทบลดลง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่นายกฯ สงสัยว่าการที่พันธมิตรฯ ไม่มาเจรจาแสดงว่ามีนัยแอบแฝงมากกว่านี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ทราบ ตนเพียงแต่ใช้เหตุผลว่า ถ้าข้อมูลไม่ตรงกัน เราควรมาแก้ปัญหาร่วมกัน โดยเฉพาะเรื่องที่เป็นเรื่องระหว่างประเทศ เรื่องที่เห็นว่าเราจะต้องไปดำเนินการกับประเทศอื่น แทนที่จะมาผนึกกำลังกัน ทำอย่างนี้ ก็ทำให้การทำงานมันยากขึ้น
"ผมยังสงสัยอยู่ว่า ในเมื่อเป้าหมายไม่น่าจะต่างกันในเรื่องรักษาผลประโยชน์ของประเทศ ก็น่าจะมาแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน เพราะจุดยืนที่ต่างกัน ก็มาจากข้อมูลที่ต่างกัน แล้วทำไมไม่เอาข้อมูลมาดู มากล่าวหากันไปมาก็ไม่ถูกต้อง ผมก็เห็นไปพูดว่า ผมโกหกเรื่องนั้นเรื่องนี้ บอกมาสักเรื่องซิครับ เอาคำพูดผมมาเลย บอกมาซักเรื่องว่าเรื่องไหนที่โกหก" นายกรัฐมนตรี กล่าว
** อ้างทำตามพธม.ชาติจะเสียหาย
ผู้สื่อข่าวถามว่า คราวที่แล้วก็มีการเปิดเวทีพูดคุยกับพันธมิตรฯ แล้วครั้งหนึ่ง แต่ก็ดูเหมือนว่า ข้อมูลไม่ตรงกัน ถ้าจะมีการเปิดคุยกันอีก จะเกิดความเข้าใจกันหรือยัง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก็ต้องถามเขา ตนเห็นให้สัมภาษณ์บอกว่า ถ้าไม่ยอมตามเขา ก็ไม่ต้องคุยกัน ถ้ายอมตามก็ไม่ต้องคุยกันอยู่แล้ว ฉะนั้นต้องมาดูเหตุดูผล ในเมื่อ 3 ข้อ ที่เขาเรียกร้องมา ตนเห็นว่าทำแล้วประเทศชาติเสียหาย มากกว่าได้ และ ตนต้องรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ
**อัดพธม.ไม่ฟังข้อมูลที่ไม่ตรงกับของตัวเอง
นายกฯยังกล่าวถึงกรณีที่ชาวบ้านหนองจาน ต.โนนหมากมุ่น อ.โคกสูง จ.สระแก้ว มาพบ และระบุว่า บ่อน้ำยูเอ็น เป็นของกัมพูชา ว่าเรื่องนี้ตนถึงได้บอกว่า อยากให้เปิดใจกว้าง ว่า ข้อมูลจริงๆมันเป็นอย่างไร ถูกผิดค่อยมาว่ากัน แต่ว่าถ้ามาถึงก็กล่าวหากันอย่างเดียว มันก็ไม่มีทางได้ข้อยุติ ส่วนจะเป็นข้อมูลจริงหรือไม่จริง ค่อยมาว่ากัน ก็ไปตรวจสอบกันได้ อย่างที่บอกว่า จะไปฟังหรือจะไปดู แค่จุดหนึ่งจุดใด หรือกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดไม่ได้ เราก็มาดูชาวบ้านมีความคิดเห็นที่หลากหลายก็มี และมีสารที่มาแสดง ก็มาดูกัน มันก็ได้ข้อยุติที่ตรงกัน แต่นี่ไม่ยอมดูกันเลย
"พอมีข้อมูลด้านที่ไม่สนับสนุนความคิดของตัวเอง แล้วไปกล่าวหาเป็นเท็จ โดยที่ยังไม่ฟัง ความจริงผมก็ไม่เคยกล่าวหาข้อมูลว่า ฝ่ายนั้นฝ่ายนี้ จะต้องเป็นเท็จ ผมถือว่าบางทีก็เป็นมุมมองที่แตกต่างกันได้ แต่ข้อเท็จจริงบางอย่าง มันพิสูจน์ได้ เรื่องที่ผ่านมา 20-30 ปี ก็อาจต้องมาดูรายละเอียดว่าอะไรจริง อะไรเท็จ" นายกฯกล่าว
**ไม่ยอมรับตกเป็นเบี้ยล่างเขมร
เมื่อถามว่า เป็นห่วงสถานการณ์ชายแดนหรือไม่ เพราะว่ามีการขนอาวุธยุทโธปกรณ์มาประชิดชายแดน นายกฯกล่าวว่า ก่อนหน้านี้เรามีการฝึกตามวงรอบของเรา เมื่อถามต่อว่า นายกฯจะชี้แจงคนไทยอย่างไร เพราะรู้สึกว่าเวลาเรามีปัญหากับกัมพูชา เรามักจะตกเป็นเบี้ยล่างหรือเดินตามเกมเขาตลอด นายกฯ กล่าวว่า ตนไม่ได้คิดอย่างนั้น 2 ปีที่ผ่านมา หยุดยั้งเรื่องมรดกโลกมาได้ และพยายามไม่ให้เรื่องนี้เป็นปัญหา
เมื่อถามต่อว่า คิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างไทยกับกัมพูชาหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ตนเชื่อว่ารัฐบาลของ 2 ประเทศ ต้องการหาแนวทางเจรจาหาข้อยุติกันมากกว่า ไม่เคยมีการปะทะเสร็จแล้วจะไปแก้ปัญหาได้เบ็ดเสร็จ
**"ส.ว.คำนูณ"จี้ปลด"เทือก- กษิต"
ในการประชุมวุฒิสภา ช่วงเช้าวานนี้ (31 ม.ค.) ก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้ขอหารือถึงกรณีประเทศกัมพูชา ติดธงชาติเหนือซุ้มประตูวัดแก้วศิขาคีรีสวาระ บริเวณปราสาทพระวิหาร ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในประเทศไทย โดยมีการตั้งวัดตั้งแต่ปี 2541 เพื่อเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการอ้างอำนาจอธิปไตย ธงชาติกัมพูชาเพิ่งนำมาประดับเมื่อปี 2553 ในสมัยรัฐบาลชุดนี้ และเรื่องนี้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง บอกว่า เป็นธงงานวัด ขณะที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม บอกว่าเป็นธงอันเล็กนิดเดียว แตกต่างจากแถลงการณ์ของกัมพูชา ที่ยืนยันว่า มีสิทธิประดับธงชาติ เพราะวัดแก้วศิขาคีรีสวาระ เป็นดินแดนกัมพูชา ตามแผนที่ของฝรั่งเศส
**จัดฉากพาชาวบ้านโต้ข้อมูลพันธมิตรฯ
เมื่อเวลา 09.30 น. วานนี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล นายธารา ศิลาเวียง ชาวบ้านที่อ้างว่า มาจาก บ้านหนองจาน ต.โนนหมากมุ่น อ.โคกสูง จ.สระแก้ว ให้สัมภาษณ์หลังเข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง กรณีหลักเขตแดนบริเวณพื้นที่ทับซ้อนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา ว่า สระน้ำบริเวณค่ายอพยพ ของยูเอ็นที่มีปัญหานั้น เมื่อขีดเส้นตรงแล้ว จะเป็นพื้นที่ของกัมพูชา และที่บอกว่าเป็นพื้นที่เอกสารสิทธิ์นั้น ก็จริง เมื่อก่อนชาวบ้านเข้าไปทำกินในพื้นที่คาบเกี่ยวกัน ระหว่างไทยกับเขมร ก่อนที่จะมีการสู้รบ พอเขมรแตกตอนปี 2518 ก็ถอยกลับมา และเอกสารสิทธิ์ ก็ออกไปถึงจรดชายแดน แต่ก็ไม่รู้ชายแดนอยู่ตรงไหน พอมีปัญหาก็เลยเป็นพื้นที่คาบเกี่ยวกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเข้าพบนายกฯวันนี้ เพื่อต้องการจะบอกว่าพื้นที่ปัญหานั้นเป็นของกัมพูชา ใช่หรือไม่ นายธารา กล่าวว่า ใช่ เพราะเขามีการทำเอกสารสิทธิ์พื้นที่คาบเกี่ยวกัน ซึ่งเลยเข้าไปถึงเขตกัมพูชา และสระน้ำจริงๆ แล้วเป็นของกัมพูชา ถ้าดูตามแผนที่ที่ขีดเส้นตรงจาก 46 -47 สระน้ำจะอยู่ทางกัมพูชา
เมื่อถามว่า ชาวบ้านอีกกลุ่มอ้างว่าบ่อน้ำตรงนั้น เป็นขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) นายธารา กล่าวว่า ไม่ใช่ เป็นของยูเอ็นก็จริง แต่อยู่ในฝั่งกัมพูชาตั้งแต่ช่วงสงคราม
ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงว่ากลุ่มชาวบ้านที่ออกมาระบุ มีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องใช่หรือไม่ นายธารา กล่าวว่า ถูกต้อง แต่เขาอยากได้พื้นที่คืน เขาก็ต้องพูดอย่างนั้น ในเมื่อเขาอยากได้ที่นาของเขาคืน เมื่อถามว่าแสดงว่าเป็นพื้นที่ของกัมพูชา ที่เขาสามารถทำกินได้ แต่เขาไม่มีสิทธิ์ นายธารา กล่าวว่า ใช่ เมื่อก่อนนี้เป็นที่ที่เขาทำกินอยู่ แต่พอเขมรแตก ยูเอ็นได้นำอาหารมาส่ง และตั้งศูนย์อพยพขึ้นมา ก็เลยต่อเนื่องมาตั้งแต่ครั้งนั้น
เมื่อถามว่า หมายถึงว่า พื้นที่ที่เป็นเอกสารสิทธิ์ เป็นพื้นที่ที่คร่อมอยู่ระหว่างไทยกับกัมพูชา นายธารา กล่าวว่า ใช่ครับ เมื่อถามต่อว่าแล้วเอกสารสิทธิ์ ออกได้อย่างไร นายธารา กล่าวว่า ชาวบ้านได้แจ้งเข้ามา แต่ไม่ได้มีการไปลงพื้นที่ตรวจสอบจริง
ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงว่า เอกสารครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) มีการแจ้งกับ กำนันและผู้ใหญ่บ้าน นายธารา กล่าวว่า ใช่ ในส่วนของชาวบ้านกลุ่มนี้ระบุว่า เขาสามารถเข้าไปทำกินในพื้นที่กว่า 30 ปีแล้ว เมื่อถามว่าเจ้าหน้าที่ได้มีการเข้าไปดูพื้นที่บ้างหรือไม่ นายธารา กล่าวว่า เมื่อก่อนเข้าได้ แต่พอมีปัญหาก็ไม่สามารถเข้าได้ แต่ถ้าเขามีความรู้ ก็สามารถอธิบายได้ว่าพื้นที่ที่ 7 คน ถูกจับเป็นอย่างไร พื้นที่ที่มีปัญหาเป็นอย่างไร ก็คงจะไม่เกิดปัญหาแบบนี้ขึ้นมา จะมีการจุดประเด็นอะไรก็แล้วแต่ แต่อย่าเอาคนบริเวณชายแดนมาเป็นตัวประกัน ว่าจะต้องบุกเขมร เพราะเมื่อครั้งที่ตนต้องหลบลูกปืนตอนสู้รบกัน ก็ไม่มีใครไปดูแลตน แต่พอตนอยู่อย่างสงบสุข สองประเทศไม่มีปัญหาต่อกัน ก็จะมาเอาที่คืน ซึ่งปัญหาชายแดนนั้นไม่จบง่ายๆ ต้องใช้วิธีสันติไม่ใช่เอากำลังเข้าไปสู้กัน
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านที่มาพบนายกฯในครั้งนี้ นายชัช กิตตินราดล รองผู้ว่าฯ สระแก้ว และนายยุทธนา นุชนารถ นายอำเภอโคกสูง จ.สระแก้ว เป็นผู้พามา โดยบอกว่าจะมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่ดินทำกินในพื้นที่เขตชายแดนไทย-กัมพูชา
**จับผิด"ธารา"จัดฉากชัวร์
นายปานเทพ แถลงช่วงเย็นว่า นายธารา ศิลาเวียง ชาวบ้าน จ.สระแก้ว ที่เดินทางเข้าพบนายกรัฐมนตรี ที่ยืนยันว่า สระน้ำยูเอ็นอยู่ในกัมพูชา ไม่ใช่คนที่อยู่ในพื้นที่เกิดเหตุ และไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ที่ถูกทางการกัมพูชายึดครอง เนื่องจากตรวจสอบแล้วพบว่า เป็นคนอ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี อีกทั้งยังตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดนายกรัฐมนตรี ไม่เคยให้ข้อมูลที่เป็นคุณกับนักโทษไทยอีก 2 คนที่เหลือ ทั้งนี้อยาหให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นให้ตรงจุดด้วย
นายประพันธ์ คูณมี กล่าวว่า ยังไม่มีการติดต่อให้มีการเจรจากับทางรัฐบาล แต่อยากให้รัฐบาลเอาเวลาที่เหลือไปคิดแก้ปัญหาน่าจะดีกว่า
ทั้งนี้มีการการตั้งข้อสังเกตว่า นายธารา ถูดจัดฉากโดยนายศิริโชค โสภา
นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชการประวัติศาสตร์ ตั้งข้อสังเกตใน เฟซบุ๊คว่า " ตลกที่สุดเลยชาวบ้าน 10 คนมาพบนายกฯ ไม่แสดงหลักฐานอะไรเลย นายกฯ กลับเชื่อว่าบ่อน้ำของยูเอ็น อยู่ฝังกัมพูชา ทีกลุ่มนักวิชาการหาหลักฐานเพื่อยืนยันเป็นจำนวนมาก เราแสดงให้เห็นโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ นายกฯกลับมาตอบโต้ด้วยเอกสารแยกส่วนบ้าง จัดตั้งชาวบ้านมาบ้างแถมชาวบ้านของนายกฯ กลับเข้าใจ เอ็มโอยู 43 และ เจบีซี โอ้พระเจ้า ส.ส.และส.ว.ในกรรมาธิการเจบีซี บางคน ยังสู้ชาวบ้านกลุ่มนี้ไม่ไดเลย เหนื่อยใจว่ะ "
**ปชป.ร่อน MOU43 แจงปมคาใจพันธมิตรฯ
เมื่อเวลา 10.30 น.วานนี้ เจ้าหน้าที่พรรคประชาธิปัตย์ ได้นำหนังสือ “ MOU43 ทำให้ประเทศไทย เสียดินแดนจริงหรือ” โดยเจ้าหน้าที่ได้แจ้งว่า จัดพิมพ์เป็นครั้งแรก จำนวน 50,000 เล่ม เพื่อแจกจ่ายให้กับส.ส.ของพรรคโดยมีนางผุสดี ตามไท และน.ส.รัชดา ธนาดิเรก ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้จัดทำ
ทั้งนี้น.ส.รัชดา กล่าวว่า จากบันทึกลงนามความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 14 มิ.ย.43 ซึ่งทางผู้ใหญ่ในพรรคคือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. ได้ดูเนื้อหาที่พิมพ์เผยแพร่
"เนื้อหาในหนังสือดังกล่าวได้อธิบายในเรื่องความ สัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย และกัมพูชา และการทำเอ็มโอยูนี้ ทำเพื่อวัตุประสงค์อะไร ซึ่งเบื้องต้นนั้นได้อธิบายว่า การทำเอ็มโอยูเกิดบนพื้นฐานข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมถึงข้อกังวลที่เกิดในสังคมขณะนี้ เช่น แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ยอมรับได้หรือไม่ และเหตุการณ์ของคนไทยทั้ง 7 คน ที่ถูกจับเกี่ยวข้องกับพื้นที่หรือไม่ ทั้งนี้สิ่งที่เขียนในหนังสือเป็นข้อเท็จจริงที่นายกฯ และคุณชายสุขุมพันธุ์ อธิบายฝ่ายสื่อไปหลายครั้ง พอเป็นทีละครั้งคนฟังก็ไม่เห็นภาพรวม บวกกับบางฝ่าย ยกไปอธิบายเพียงบางประเด็น อาจจะทำให้เกิดความไม่เข้าใจได้ ดังนั้นหนังสือเล่มนี้ต้องการขอโอกาสทำความเข้าใจกับประชาชน" น.ส.รัชดากล่าว
** กต.ออกแถลงการณ์จี้เขมรปลดธง
นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ตามที่กัมพูชาได้ออกแถลงการณ์ลงวันที่ 28 ม.ค.54 เกี่ยวกับข้อเรียกร้องของนายกรัฐมนตรีไทย ให้กัมพูชา ปลดธงกัมพูชาลงจากยอดเสา ล่าสุดกระทรวงการต่างประเทศ ได้ออกแถลงการณ์ลงวันที่ 31 ม.ค. 54 แสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยสาระสำคัญคือ ประเทศไทยไม่สามารถยอมรับข้ออ้างของฝ่ายกัมพูชาที่ว่า แผนที่ 1 : 200,000 เป็นแผนที่ซึ่งกำหนดเขตแดน
นายธานี กล่าวว่าในส่วนของธง และวัดแก้วสิขาคีรีสวาระ นั้น ทางการไทยเรียกร้องให้กัมพูชารื้อถอนวัด และปลดธงที่ปรากฏอยู่เหนือวัดออกไป โดยยืนยันแนวทางขอไทย ในการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี ภายใต้กรอบคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (เจบีซี) ไทย-กัมพูชา ต่อไป ทั้งนี้แถลงการณ์ดังกล่าวถือเป็นการย้ำท่าทีเดิมของไทย ที่ได้เคยพูดมาก่อนหน้านี้แล้วอีกครั้งหนึ่ง
***“แซมดิน” ฟ้อง “อภิสิทธิ์-สุเทพ-กษิต-ประวิตร”
วานนี้ (31 ม.ค.) เมื่อเวลา 11.30 น. ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ร.ต.แซมดิน เลิศบุศย์ และนายตายแน่ มุ่งมาจน กลุ่มสันติอโศก ซึ่งเป็นกลุ่มคนไทย 7 คนที่ถูกประเทศกัมพูชาจับกุม เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี, นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง, นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม เป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ, ร่วมกันกระทำการใดๆ เพื่อให้ราชอาณาจักรตกไปอยู่ใต้อธิปไตยของรัฐต่างประเทศ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ตามคำฟ้องระบุว่า เมื่อวันที่ 29 ธ.ค.53 โจทก์และบุคคลอื่นซึ่งเป็นสัญชาติไทยรวม 7 คน เดินทางเข้าไปตรวจสอบเขตแดนของราชอาณาจักรไทย เขตบ้านหนองจาน ต.โนนหมากมุ่น อ.โคกสูง จ.สระแก้ว ตามที่ราษฎรไทยร้องเรียนว่าชาวกัมพูชาจำนวนมากเข้ามารุกล้ำและยึดครองที่ทำกินของราษฎรไทยจนไม่สามารถเข้าไปทำกินได้ แต่ขณะที่โจทก์กับพวกกำลังตรวจสอบหลักเขตในดินแดนราชอาณาจักรไทย กลับถูกทหารกัมพูชาติดอาวุธเข้าล้อมจับกุมในเขตบ้านหนองจาน และถูกนำไปคุมขังภายใต้อำนาจศาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา กรุงพนมเปญ จนถึงวันที่ 22 ม.ค.54 จึงได้รับการปล่อยตัว โดยถูกดำเนินคดีข้อหาเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรผิดกฎหมาย ซึ่งศาลประเทศกัมพูชาพิพากษาจำคุก 9 เดือน โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ และปรับ 7,500 บาท
ขณะที่จำเลยทั้งสี่ เป็นผู้แทนของราชอาณาจักรไทย มีหน้าที่ดูแลปกป้องดินแดน อธิปไตย แต่เมื่อทราบว่าโจทก์กับพวกถูกจับในเขตแดนไทย จำเลยทั้งสี่ก็ไม่ดำเนินการระหว่างประเทศกับรัฐบาลกัมพูชา ไม่เรียกร้องให้มีการระงับข้อพิพาทด้วยสันติวิธี ตามข้อตกลงว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างไทยและกัมพูชา หรือ MOU 2543
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง การออกแถลงการณ์ตอบโต้กระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ฌฑ์ฮแสดงจุดยืนว่ากัมพูชารุก ล้ำดินแดนไทย ว่า ได้บอกไปเมื่อวันเสาร์ที่ 29 ม.ค. ซึ่งรมว.ต่างประเทศ จะกลับมาไทย ในวันพุธที่ 2 ก.พ.นี้ คิดว่าคงไม่มีปัญหาอะไร เรายืนยันจุดยืนเดิมของเราอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดว่าการใช้กระบวนการต่างประเทศตอบโต้ทางการกัมพูชาคิดว่าจะได้ผลหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า คำว่า ได้ผล ถ้าบอกว่าจะทำให้กัมพูชาเปลี่ยนแนวทางอะไรคงยาก เหมือนที่เขาออกแถลงการณ์มา ก็ไม่สามารถเปลี่ยนอะไรเราได้เหมือนกัน มันก็มีความแตกต่างกันอยู่ เพียงแต่เป็นการยืนยันว่า ความเห็นของ 2 ประเทศ ยังไม่ตรงกันในบางเรื่องเท่านั้นเอง
เมื่อถามว่า ธงยังไม่ถูกลดลง กลายเป็นการขยายผลทางการเมืองภายในประเทศเวลานี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตรงนี้ก็ต้องเดินหน้า ตนยังไม่ทราบว่า ดำเนินการถึงไหน อย่างไร เมื่อถามว่า จำเป็นต้องใช้มาตรการทางทหารเข้ามาเสริมหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เราดำเนินการเหมือนตอนที่เราทราบเรื่องใต้ เราก็ดำเนินการให้สำเร็จ เราบอกมาตลอดว่า การที่จะมีลักษณะเป็นสัญญาลักษณะที่แสดงออกถึงการมีอธิปไตยในดินแดน ซึ่งยังมีปัญหากันอยู่ คงไมได้
** อ้างพันธมิตรฯไม่ยอมเจรจาด้วย
ส่วนความคืบหน้าในการเปิดการเจรจากับกลุ่มพันธมิตรฯนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าเห็นจากข่าว ว่าเขาไม่เจรจา แต่ตนไม่มีปัญหาอยู่แล้ว มีหลายคนในพรรคประชาธิปัตย์ ในรัฐบาล พยายามดูความเป็นไปได้ ในช่องทางที่จะพูดคุยกัน
" คงต้องถามพันธมิตรฯ เพราะฝ่ายรัฐบาลไม่ได้มีปัญหาอะไร ผมก็คิดว่า เห็นไปฟ้องศาลแล้ว อะไรแล้ว ก็อยากให้ช่วยคิดถึงว่า ที่ชุมนุมกันอยู่ ถ้าจุดยืนไม่ตรงกัน ถ้าไม่พูดคุยกัน แล้วจะทำกันอย่างไร" นายกรัฐมนตรี กล่าว
เมื่อถามว่า ถ้าไม่มีการพูดคุยกัน หากปล่อยให้คาราคาซัง สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนต่อไปหรือไม่ นายกฯกล่าวว่า ทางตำรวจได้ทำอย่างต่อเนื่องในความพยายามที่จะทำให้ความเดือดร้อน หรือผลกระทบลดลง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่นายกฯ สงสัยว่าการที่พันธมิตรฯ ไม่มาเจรจาแสดงว่ามีนัยแอบแฝงมากกว่านี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ทราบ ตนเพียงแต่ใช้เหตุผลว่า ถ้าข้อมูลไม่ตรงกัน เราควรมาแก้ปัญหาร่วมกัน โดยเฉพาะเรื่องที่เป็นเรื่องระหว่างประเทศ เรื่องที่เห็นว่าเราจะต้องไปดำเนินการกับประเทศอื่น แทนที่จะมาผนึกกำลังกัน ทำอย่างนี้ ก็ทำให้การทำงานมันยากขึ้น
"ผมยังสงสัยอยู่ว่า ในเมื่อเป้าหมายไม่น่าจะต่างกันในเรื่องรักษาผลประโยชน์ของประเทศ ก็น่าจะมาแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน เพราะจุดยืนที่ต่างกัน ก็มาจากข้อมูลที่ต่างกัน แล้วทำไมไม่เอาข้อมูลมาดู มากล่าวหากันไปมาก็ไม่ถูกต้อง ผมก็เห็นไปพูดว่า ผมโกหกเรื่องนั้นเรื่องนี้ บอกมาสักเรื่องซิครับ เอาคำพูดผมมาเลย บอกมาซักเรื่องว่าเรื่องไหนที่โกหก" นายกรัฐมนตรี กล่าว
** อ้างทำตามพธม.ชาติจะเสียหาย
ผู้สื่อข่าวถามว่า คราวที่แล้วก็มีการเปิดเวทีพูดคุยกับพันธมิตรฯ แล้วครั้งหนึ่ง แต่ก็ดูเหมือนว่า ข้อมูลไม่ตรงกัน ถ้าจะมีการเปิดคุยกันอีก จะเกิดความเข้าใจกันหรือยัง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก็ต้องถามเขา ตนเห็นให้สัมภาษณ์บอกว่า ถ้าไม่ยอมตามเขา ก็ไม่ต้องคุยกัน ถ้ายอมตามก็ไม่ต้องคุยกันอยู่แล้ว ฉะนั้นต้องมาดูเหตุดูผล ในเมื่อ 3 ข้อ ที่เขาเรียกร้องมา ตนเห็นว่าทำแล้วประเทศชาติเสียหาย มากกว่าได้ และ ตนต้องรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ
**อัดพธม.ไม่ฟังข้อมูลที่ไม่ตรงกับของตัวเอง
นายกฯยังกล่าวถึงกรณีที่ชาวบ้านหนองจาน ต.โนนหมากมุ่น อ.โคกสูง จ.สระแก้ว มาพบ และระบุว่า บ่อน้ำยูเอ็น เป็นของกัมพูชา ว่าเรื่องนี้ตนถึงได้บอกว่า อยากให้เปิดใจกว้าง ว่า ข้อมูลจริงๆมันเป็นอย่างไร ถูกผิดค่อยมาว่ากัน แต่ว่าถ้ามาถึงก็กล่าวหากันอย่างเดียว มันก็ไม่มีทางได้ข้อยุติ ส่วนจะเป็นข้อมูลจริงหรือไม่จริง ค่อยมาว่ากัน ก็ไปตรวจสอบกันได้ อย่างที่บอกว่า จะไปฟังหรือจะไปดู แค่จุดหนึ่งจุดใด หรือกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดไม่ได้ เราก็มาดูชาวบ้านมีความคิดเห็นที่หลากหลายก็มี และมีสารที่มาแสดง ก็มาดูกัน มันก็ได้ข้อยุติที่ตรงกัน แต่นี่ไม่ยอมดูกันเลย
"พอมีข้อมูลด้านที่ไม่สนับสนุนความคิดของตัวเอง แล้วไปกล่าวหาเป็นเท็จ โดยที่ยังไม่ฟัง ความจริงผมก็ไม่เคยกล่าวหาข้อมูลว่า ฝ่ายนั้นฝ่ายนี้ จะต้องเป็นเท็จ ผมถือว่าบางทีก็เป็นมุมมองที่แตกต่างกันได้ แต่ข้อเท็จจริงบางอย่าง มันพิสูจน์ได้ เรื่องที่ผ่านมา 20-30 ปี ก็อาจต้องมาดูรายละเอียดว่าอะไรจริง อะไรเท็จ" นายกฯกล่าว
**ไม่ยอมรับตกเป็นเบี้ยล่างเขมร
เมื่อถามว่า เป็นห่วงสถานการณ์ชายแดนหรือไม่ เพราะว่ามีการขนอาวุธยุทโธปกรณ์มาประชิดชายแดน นายกฯกล่าวว่า ก่อนหน้านี้เรามีการฝึกตามวงรอบของเรา เมื่อถามต่อว่า นายกฯจะชี้แจงคนไทยอย่างไร เพราะรู้สึกว่าเวลาเรามีปัญหากับกัมพูชา เรามักจะตกเป็นเบี้ยล่างหรือเดินตามเกมเขาตลอด นายกฯ กล่าวว่า ตนไม่ได้คิดอย่างนั้น 2 ปีที่ผ่านมา หยุดยั้งเรื่องมรดกโลกมาได้ และพยายามไม่ให้เรื่องนี้เป็นปัญหา
เมื่อถามต่อว่า คิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างไทยกับกัมพูชาหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ตนเชื่อว่ารัฐบาลของ 2 ประเทศ ต้องการหาแนวทางเจรจาหาข้อยุติกันมากกว่า ไม่เคยมีการปะทะเสร็จแล้วจะไปแก้ปัญหาได้เบ็ดเสร็จ
**"ส.ว.คำนูณ"จี้ปลด"เทือก- กษิต"
ในการประชุมวุฒิสภา ช่วงเช้าวานนี้ (31 ม.ค.) ก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้ขอหารือถึงกรณีประเทศกัมพูชา ติดธงชาติเหนือซุ้มประตูวัดแก้วศิขาคีรีสวาระ บริเวณปราสาทพระวิหาร ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในประเทศไทย โดยมีการตั้งวัดตั้งแต่ปี 2541 เพื่อเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการอ้างอำนาจอธิปไตย ธงชาติกัมพูชาเพิ่งนำมาประดับเมื่อปี 2553 ในสมัยรัฐบาลชุดนี้ และเรื่องนี้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง บอกว่า เป็นธงงานวัด ขณะที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม บอกว่าเป็นธงอันเล็กนิดเดียว แตกต่างจากแถลงการณ์ของกัมพูชา ที่ยืนยันว่า มีสิทธิประดับธงชาติ เพราะวัดแก้วศิขาคีรีสวาระ เป็นดินแดนกัมพูชา ตามแผนที่ของฝรั่งเศส
**จัดฉากพาชาวบ้านโต้ข้อมูลพันธมิตรฯ
เมื่อเวลา 09.30 น. วานนี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล นายธารา ศิลาเวียง ชาวบ้านที่อ้างว่า มาจาก บ้านหนองจาน ต.โนนหมากมุ่น อ.โคกสูง จ.สระแก้ว ให้สัมภาษณ์หลังเข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง กรณีหลักเขตแดนบริเวณพื้นที่ทับซ้อนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา ว่า สระน้ำบริเวณค่ายอพยพ ของยูเอ็นที่มีปัญหานั้น เมื่อขีดเส้นตรงแล้ว จะเป็นพื้นที่ของกัมพูชา และที่บอกว่าเป็นพื้นที่เอกสารสิทธิ์นั้น ก็จริง เมื่อก่อนชาวบ้านเข้าไปทำกินในพื้นที่คาบเกี่ยวกัน ระหว่างไทยกับเขมร ก่อนที่จะมีการสู้รบ พอเขมรแตกตอนปี 2518 ก็ถอยกลับมา และเอกสารสิทธิ์ ก็ออกไปถึงจรดชายแดน แต่ก็ไม่รู้ชายแดนอยู่ตรงไหน พอมีปัญหาก็เลยเป็นพื้นที่คาบเกี่ยวกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเข้าพบนายกฯวันนี้ เพื่อต้องการจะบอกว่าพื้นที่ปัญหานั้นเป็นของกัมพูชา ใช่หรือไม่ นายธารา กล่าวว่า ใช่ เพราะเขามีการทำเอกสารสิทธิ์พื้นที่คาบเกี่ยวกัน ซึ่งเลยเข้าไปถึงเขตกัมพูชา และสระน้ำจริงๆ แล้วเป็นของกัมพูชา ถ้าดูตามแผนที่ที่ขีดเส้นตรงจาก 46 -47 สระน้ำจะอยู่ทางกัมพูชา
เมื่อถามว่า ชาวบ้านอีกกลุ่มอ้างว่าบ่อน้ำตรงนั้น เป็นขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) นายธารา กล่าวว่า ไม่ใช่ เป็นของยูเอ็นก็จริง แต่อยู่ในฝั่งกัมพูชาตั้งแต่ช่วงสงคราม
ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงว่ากลุ่มชาวบ้านที่ออกมาระบุ มีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องใช่หรือไม่ นายธารา กล่าวว่า ถูกต้อง แต่เขาอยากได้พื้นที่คืน เขาก็ต้องพูดอย่างนั้น ในเมื่อเขาอยากได้ที่นาของเขาคืน เมื่อถามว่าแสดงว่าเป็นพื้นที่ของกัมพูชา ที่เขาสามารถทำกินได้ แต่เขาไม่มีสิทธิ์ นายธารา กล่าวว่า ใช่ เมื่อก่อนนี้เป็นที่ที่เขาทำกินอยู่ แต่พอเขมรแตก ยูเอ็นได้นำอาหารมาส่ง และตั้งศูนย์อพยพขึ้นมา ก็เลยต่อเนื่องมาตั้งแต่ครั้งนั้น
เมื่อถามว่า หมายถึงว่า พื้นที่ที่เป็นเอกสารสิทธิ์ เป็นพื้นที่ที่คร่อมอยู่ระหว่างไทยกับกัมพูชา นายธารา กล่าวว่า ใช่ครับ เมื่อถามต่อว่าแล้วเอกสารสิทธิ์ ออกได้อย่างไร นายธารา กล่าวว่า ชาวบ้านได้แจ้งเข้ามา แต่ไม่ได้มีการไปลงพื้นที่ตรวจสอบจริง
ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงว่า เอกสารครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) มีการแจ้งกับ กำนันและผู้ใหญ่บ้าน นายธารา กล่าวว่า ใช่ ในส่วนของชาวบ้านกลุ่มนี้ระบุว่า เขาสามารถเข้าไปทำกินในพื้นที่กว่า 30 ปีแล้ว เมื่อถามว่าเจ้าหน้าที่ได้มีการเข้าไปดูพื้นที่บ้างหรือไม่ นายธารา กล่าวว่า เมื่อก่อนเข้าได้ แต่พอมีปัญหาก็ไม่สามารถเข้าได้ แต่ถ้าเขามีความรู้ ก็สามารถอธิบายได้ว่าพื้นที่ที่ 7 คน ถูกจับเป็นอย่างไร พื้นที่ที่มีปัญหาเป็นอย่างไร ก็คงจะไม่เกิดปัญหาแบบนี้ขึ้นมา จะมีการจุดประเด็นอะไรก็แล้วแต่ แต่อย่าเอาคนบริเวณชายแดนมาเป็นตัวประกัน ว่าจะต้องบุกเขมร เพราะเมื่อครั้งที่ตนต้องหลบลูกปืนตอนสู้รบกัน ก็ไม่มีใครไปดูแลตน แต่พอตนอยู่อย่างสงบสุข สองประเทศไม่มีปัญหาต่อกัน ก็จะมาเอาที่คืน ซึ่งปัญหาชายแดนนั้นไม่จบง่ายๆ ต้องใช้วิธีสันติไม่ใช่เอากำลังเข้าไปสู้กัน
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านที่มาพบนายกฯในครั้งนี้ นายชัช กิตตินราดล รองผู้ว่าฯ สระแก้ว และนายยุทธนา นุชนารถ นายอำเภอโคกสูง จ.สระแก้ว เป็นผู้พามา โดยบอกว่าจะมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่ดินทำกินในพื้นที่เขตชายแดนไทย-กัมพูชา
**จับผิด"ธารา"จัดฉากชัวร์
นายปานเทพ แถลงช่วงเย็นว่า นายธารา ศิลาเวียง ชาวบ้าน จ.สระแก้ว ที่เดินทางเข้าพบนายกรัฐมนตรี ที่ยืนยันว่า สระน้ำยูเอ็นอยู่ในกัมพูชา ไม่ใช่คนที่อยู่ในพื้นที่เกิดเหตุ และไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ที่ถูกทางการกัมพูชายึดครอง เนื่องจากตรวจสอบแล้วพบว่า เป็นคนอ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี อีกทั้งยังตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดนายกรัฐมนตรี ไม่เคยให้ข้อมูลที่เป็นคุณกับนักโทษไทยอีก 2 คนที่เหลือ ทั้งนี้อยาหให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นให้ตรงจุดด้วย
นายประพันธ์ คูณมี กล่าวว่า ยังไม่มีการติดต่อให้มีการเจรจากับทางรัฐบาล แต่อยากให้รัฐบาลเอาเวลาที่เหลือไปคิดแก้ปัญหาน่าจะดีกว่า
ทั้งนี้มีการการตั้งข้อสังเกตว่า นายธารา ถูดจัดฉากโดยนายศิริโชค โสภา
นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชการประวัติศาสตร์ ตั้งข้อสังเกตใน เฟซบุ๊คว่า " ตลกที่สุดเลยชาวบ้าน 10 คนมาพบนายกฯ ไม่แสดงหลักฐานอะไรเลย นายกฯ กลับเชื่อว่าบ่อน้ำของยูเอ็น อยู่ฝังกัมพูชา ทีกลุ่มนักวิชาการหาหลักฐานเพื่อยืนยันเป็นจำนวนมาก เราแสดงให้เห็นโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ นายกฯกลับมาตอบโต้ด้วยเอกสารแยกส่วนบ้าง จัดตั้งชาวบ้านมาบ้างแถมชาวบ้านของนายกฯ กลับเข้าใจ เอ็มโอยู 43 และ เจบีซี โอ้พระเจ้า ส.ส.และส.ว.ในกรรมาธิการเจบีซี บางคน ยังสู้ชาวบ้านกลุ่มนี้ไม่ไดเลย เหนื่อยใจว่ะ "
**ปชป.ร่อน MOU43 แจงปมคาใจพันธมิตรฯ
เมื่อเวลา 10.30 น.วานนี้ เจ้าหน้าที่พรรคประชาธิปัตย์ ได้นำหนังสือ “ MOU43 ทำให้ประเทศไทย เสียดินแดนจริงหรือ” โดยเจ้าหน้าที่ได้แจ้งว่า จัดพิมพ์เป็นครั้งแรก จำนวน 50,000 เล่ม เพื่อแจกจ่ายให้กับส.ส.ของพรรคโดยมีนางผุสดี ตามไท และน.ส.รัชดา ธนาดิเรก ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้จัดทำ
ทั้งนี้น.ส.รัชดา กล่าวว่า จากบันทึกลงนามความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 14 มิ.ย.43 ซึ่งทางผู้ใหญ่ในพรรคคือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. ได้ดูเนื้อหาที่พิมพ์เผยแพร่
"เนื้อหาในหนังสือดังกล่าวได้อธิบายในเรื่องความ สัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย และกัมพูชา และการทำเอ็มโอยูนี้ ทำเพื่อวัตุประสงค์อะไร ซึ่งเบื้องต้นนั้นได้อธิบายว่า การทำเอ็มโอยูเกิดบนพื้นฐานข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมถึงข้อกังวลที่เกิดในสังคมขณะนี้ เช่น แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ยอมรับได้หรือไม่ และเหตุการณ์ของคนไทยทั้ง 7 คน ที่ถูกจับเกี่ยวข้องกับพื้นที่หรือไม่ ทั้งนี้สิ่งที่เขียนในหนังสือเป็นข้อเท็จจริงที่นายกฯ และคุณชายสุขุมพันธุ์ อธิบายฝ่ายสื่อไปหลายครั้ง พอเป็นทีละครั้งคนฟังก็ไม่เห็นภาพรวม บวกกับบางฝ่าย ยกไปอธิบายเพียงบางประเด็น อาจจะทำให้เกิดความไม่เข้าใจได้ ดังนั้นหนังสือเล่มนี้ต้องการขอโอกาสทำความเข้าใจกับประชาชน" น.ส.รัชดากล่าว
** กต.ออกแถลงการณ์จี้เขมรปลดธง
นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ตามที่กัมพูชาได้ออกแถลงการณ์ลงวันที่ 28 ม.ค.54 เกี่ยวกับข้อเรียกร้องของนายกรัฐมนตรีไทย ให้กัมพูชา ปลดธงกัมพูชาลงจากยอดเสา ล่าสุดกระทรวงการต่างประเทศ ได้ออกแถลงการณ์ลงวันที่ 31 ม.ค. 54 แสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยสาระสำคัญคือ ประเทศไทยไม่สามารถยอมรับข้ออ้างของฝ่ายกัมพูชาที่ว่า แผนที่ 1 : 200,000 เป็นแผนที่ซึ่งกำหนดเขตแดน
นายธานี กล่าวว่าในส่วนของธง และวัดแก้วสิขาคีรีสวาระ นั้น ทางการไทยเรียกร้องให้กัมพูชารื้อถอนวัด และปลดธงที่ปรากฏอยู่เหนือวัดออกไป โดยยืนยันแนวทางขอไทย ในการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี ภายใต้กรอบคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (เจบีซี) ไทย-กัมพูชา ต่อไป ทั้งนี้แถลงการณ์ดังกล่าวถือเป็นการย้ำท่าทีเดิมของไทย ที่ได้เคยพูดมาก่อนหน้านี้แล้วอีกครั้งหนึ่ง
***“แซมดิน” ฟ้อง “อภิสิทธิ์-สุเทพ-กษิต-ประวิตร”
วานนี้ (31 ม.ค.) เมื่อเวลา 11.30 น. ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ร.ต.แซมดิน เลิศบุศย์ และนายตายแน่ มุ่งมาจน กลุ่มสันติอโศก ซึ่งเป็นกลุ่มคนไทย 7 คนที่ถูกประเทศกัมพูชาจับกุม เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี, นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง, นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม เป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ, ร่วมกันกระทำการใดๆ เพื่อให้ราชอาณาจักรตกไปอยู่ใต้อธิปไตยของรัฐต่างประเทศ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ตามคำฟ้องระบุว่า เมื่อวันที่ 29 ธ.ค.53 โจทก์และบุคคลอื่นซึ่งเป็นสัญชาติไทยรวม 7 คน เดินทางเข้าไปตรวจสอบเขตแดนของราชอาณาจักรไทย เขตบ้านหนองจาน ต.โนนหมากมุ่น อ.โคกสูง จ.สระแก้ว ตามที่ราษฎรไทยร้องเรียนว่าชาวกัมพูชาจำนวนมากเข้ามารุกล้ำและยึดครองที่ทำกินของราษฎรไทยจนไม่สามารถเข้าไปทำกินได้ แต่ขณะที่โจทก์กับพวกกำลังตรวจสอบหลักเขตในดินแดนราชอาณาจักรไทย กลับถูกทหารกัมพูชาติดอาวุธเข้าล้อมจับกุมในเขตบ้านหนองจาน และถูกนำไปคุมขังภายใต้อำนาจศาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา กรุงพนมเปญ จนถึงวันที่ 22 ม.ค.54 จึงได้รับการปล่อยตัว โดยถูกดำเนินคดีข้อหาเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรผิดกฎหมาย ซึ่งศาลประเทศกัมพูชาพิพากษาจำคุก 9 เดือน โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ และปรับ 7,500 บาท
ขณะที่จำเลยทั้งสี่ เป็นผู้แทนของราชอาณาจักรไทย มีหน้าที่ดูแลปกป้องดินแดน อธิปไตย แต่เมื่อทราบว่าโจทก์กับพวกถูกจับในเขตแดนไทย จำเลยทั้งสี่ก็ไม่ดำเนินการระหว่างประเทศกับรัฐบาลกัมพูชา ไม่เรียกร้องให้มีการระงับข้อพิพาทด้วยสันติวิธี ตามข้อตกลงว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างไทยและกัมพูชา หรือ MOU 2543