xs
xsm
sm
md
lg

ชี้อนาคตประกันสังคมส่อป่วน แนะขยับอายุรับบำเหน็จไป60ปี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เตรียมรายงานความมั่นคงของกองทุนประกันสังคมหลังปี '57 ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 1 ก.พ.54 หลังจากการเปิดรับฟังความคิดเห็นโดยการจัดสัมมนาและเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนประกันสังคมโดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนา จากแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบประกันสังคมผู้ประกอบการ นักวิชาการอิสระ สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป เนื่องจากปัญหาความไม่เป็นเอกภาพของระบบบำเหน็จ บำนาญที่มีอยู่เนื่องจากกองทุนสะสมมีหลายกองทุน สิทธิประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม ไม่จูงใจให้แรงงานนอกระบบเข้าเป็นสมาชิกกองทุน
รวมทั้งแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุ และภาระการพึ่งพิงทำให้จำนวนผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพในรูปของบำนาญชราภาพ ตั้งแต่ปี'57 เป็นต้นไป จะมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ จาก 142,878 ราย ในปี 57 เป็น1,455,258 รายในปี'70 และเพิ่มเป็น 8,556,295 รายปี 2600 ส่งผลให้กองทุนจะต้องจ่ายเงินออกจำนวนมาก รายได้หรือเงินสมทบมีจำนวนเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ จนกระทั่งในปี 2581 เงินส่วนเหลือสุทธิ จะเริ่มติดลบ คือรายรับน้อยกว่ารายจ่าย และหลังจากนั้นอีกเพียง 9 ปี 2600 ผู้ประกันตนที่มีอายุครบ 55 ปี มีความประสงค์ที่จะรับบำเหน็จถึง 62 % ในขณะที่มีความประสงค์ในการรับบำนาญเพียง 34 % จึงทำให้กองทุนไร้เสถียรภาพได้
ดังนั้นสภาที่ปรึกษาฯ จึงเสนอ ครม.ให้รัฐบาลดำเนินการดังนี้คือ
1. ทำความเข้าใจและจัดตั้งกองทุนประกันสังคม เพื่อกรณีชราภาพใน 3-5 ปี เพื่อจัดตั้งและบริหารกองทุนให้เกิดประโยชน์และมีความมั่นคงสูงสุดรวมทั้งต้องมีการประชาสัมพันธ์ เพื่อทำความเข้าใจกับสถานะภาพที่เป็นจริง
2. ควรมีการปรับฐานค่าจ้างขั้นต่ำให้เป็นไปตามอัตราค่าจ้างที่แท้จริงของผู้ประกันตนควรมีการปรับอัตราสูงสุดจาก15,000 บาท ให้เป็นไปตามความมั่นคงของกองทุนประกันสังคม
และควรมีการทบทวนการจัดเก็บเงินสมทบขั้นต่ำและขั้นสูงทุก 3 ปี
3. ควรมีการเพิ่มอัตราเงินสมทบจากรัฐบาลเป็น 5 % เท่ากับลูกจ้าง และนายจ้าง
และแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคมให้ผู้ประกันตน มีสิทธิรับบำเหน็จ หรือบำนาญเมื่ออายุครบ 60 ปี
4. มีมาตรการจูงใจ เพื่อป้องกันการออกจากกองทุนของผู้ประกันตน เมื่ออายุครบ 55 ปี
ควรเพิ่มอัตราการจ่ายบำนาญให้สูงขั้นดังนี้ 20 % ไม่เกิน 30 % ของค่าจ้างผู้ประกันตนตอนอายุ 60 ปี 30 %ไม่เกิน 40 % ของค่าจ้างของผู้ประกันตนตอนอายุ 65 ปี
กำลังโหลดความคิดเห็น