นักวิชาการ เผย กลุ่มผู้ประกันตน 9.4 ล้านคนเป็นกลุ่มเดียวในไทยที่ต้องจ่ายสิทธิค่ารักษาพยาบาลในชื่อระบบประกันสังคม คนไทยที่เหลือกว่า 55 ล้านคน ไม่มีใครต้องจ่าย แม้แต่บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิที่รอพิสูจน์สัญชาติ จี้ถามรัฐบาล สำนักงานประกันสังคม ให้คำตอบ เป็นธรรมกับผู้ประกันตนหรือไม่ ระบุกฎหมายประกันสังคมล้าหลัง ส่งผลสิทธิสุขภาพไทยแตกต่าง แถมมีสิทธิสุขภาพแฝง ส.ส.ส.ว.องค์กรอิสระ รัฐจ่ายค่าหัวรักษาพยาบาลปีละ 2-3 หมื่นบาทต่อคน และกำลังขยายเพิ่มเป็น 5 หมื่นบาทต่อคนต่อปี ระบุ 0.88% สำหรับค่ารักษาพยาบาล และ 0.12% สำหรับคลอดบุตร รวมเป็น 1% ซึ่งเป็นเม็ดเงินกว่า 15,000 ล้านบาท ที่ผู้ประกันตนและนายจ้างต้องควักจ่าย ควรเอาไปเพิ่มสิทธิประโยชน์บำนาญชราภาพคุ้มค่ากว่า
นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีระบบหลักประกันสุขภาพใหญ่ๆ อยู่ 3 ระบบ คือ สวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่วนใครจะสังกัดอยู่ระบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นใคร เป็นข้าราชการก็ได้สิทธิสวัสดิการข้าราชการ เป็นแรงงานได้สิทธิประกันสังคม ส่วนกลุ่มที่เหลือซึ่งไม่เข้าสังกัดสองพวกแรกจะได้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประเด็นสำคัญ คือ ความไม่เป็นธรรม ที่สิทธิประกันสังคมเพียงกลุ่มเดียวที่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพื่อให้ตัวเองได้มีสิทธิสุขภาพ โดยในจำนวน 5% ที่ผู้ประกันตนต้องจ่ายสมทบให้กับประกันสังคมในทุกๆ เดือนนั้น 1% ถูกหักเป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยและคลอดบุตร โดยมีสำนักงานประกันสังคมเป็นผู้ดูแลส่วนนี้ให้ ซึ่งใช้วิธีการเหมาจ่ายรายหัวให้กับโรงพยาบาลที่เข้าร่วม โดยเป็นวิธีจ่ายเป็นแบบเหมาจ่ายรายหัวจ่ายแล้วจ่ายเลย ไปใช้บริการ หรือไม่ใช้เงินของผู้ประกันตนก็จะอยู่ที่โรงพยาบาล ยังไม่รวมถึงคุณภาพของบริการที่ได้รับ ซึ่งผู้ประกันตนก็ตระหนักดีว่าคุณภาพเป็นอย่างไร
นพ.พงศธร กล่าวต่อว่า ผู้ประกันตน ผู้นำแรงงาน ควรถามคำถามนี้กับรัฐบาลและสำนักงานประกันสังคมให้มากๆ ถามจนให้ได้คำตอบว่า ทำไมคุณเป็นคนกลุ่มเดียวในประเทศไทยจากคนไทย 65 ล้านคนที่ต้องจ่ายเพื่อให้ตัวเองได้มีสิทธิรักษาพยาบาล สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมกับผู้ประกันตนหรือไม่ ในจำนวน 5% ที่ผู้ประกันตนต้องจ่ายสมทบให้กับประกันสังคมในทุกๆ เดือนนั้น 1% ถูกหักเป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยและคลอดบุตร ซึ่งเป็นเม็ดเงินกว่า 15,000 ล้านบาท หรือประมาณเกือบครึ่งหนึ่งของเงินทั้งหมด 40,000 ล้านบาท ที่ประกันสังคมใช้ไปในแต่ละปีสำหรับสิทธิประโยชน์ทั้ง 7 ด้าน การจัดหลักประกันสุขภาพให้คนไทย มีเงื่อนไขว่า คุณเป็นใคร เมื่อรากของฐานคิดเป็นเช่นนี้ จึงทำให้เกิดสิทธิหลักประกันสุขภาพซ้อนขึ้นมาอีกหลายระบบ เช่น ถ้าเป็น ส.ส. ส.ว. และองค์กรอิสระ สิทธิสุขภาพจะพิเศษกว่ากลุ่มอื่น ปัจจุบันเหมาจ่ายรายหัวอยู่ที่ปีละ 20,000-30,000 บาทต่อคน ยังไม่รวมสิทธิพิเศษอื่นๆ อีกมากมาย และล่าสุด มีความพยายามที่จะขยายเพิ่มเป็นปีละ 50,000 บาทต่อคน
“จนถึงขณะนี้ไทยมีระบบประกันสังคมกว่า 20 ปี กฎหมายประกันสังคมฉบับนี้ล้าหลังไปแล้ว ผมคิดว่า ประเด็นนี้ควรต้องมีการพิจารณาอย่างจริงจังว่า ทำไมผู้ประกันตนยังต้องจ่ายเงินเพื่อสิทธิสุขภาพของตนเองอยู่ ระบบแบบนี้ยุติธรรมกับผู้ประกันตนหรือไม่ ทั้งๆ ที่เขาเหล่านั้นก็ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว แต่คนที่เหลือรัฐจ่ายให้หมด ยิ่งกว่านั้น ยังจ่ายให้แต่ละคนอย่างไม่เท่าเทียมกันด้วย ส่งผลให้สิทธิสุขภาพของคนไทยแตกต่างกันมาก ซึ่งปรัชญาของหลักประกันสุขภาพ คือ การสร้างหลักประกันให้กับคนทุกคนให้สามารถเข้าถึงบริการเมื่อมีความจำเป็นอย่างเท่าเทียมกัน และไม่ต้องล้มละลายหากต้องเผชิญกับค่ารักษาพยาบาลราคาแพง ดังนั้น ทุกคนควรมีสิทธิอย่างเท่าเทียมกัน สังคมไทยกำลังเผชิญปัญหาสองมาตรฐาน และความไม่เป็นธรรมอย่างรุนแรง เรื่องนี้ทุกฝ่ายความร่วมมือกันเร่งแก้ไข” นพ.พงศธร กล่าว
นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีระบบหลักประกันสุขภาพใหญ่ๆ อยู่ 3 ระบบ คือ สวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่วนใครจะสังกัดอยู่ระบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นใคร เป็นข้าราชการก็ได้สิทธิสวัสดิการข้าราชการ เป็นแรงงานได้สิทธิประกันสังคม ส่วนกลุ่มที่เหลือซึ่งไม่เข้าสังกัดสองพวกแรกจะได้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประเด็นสำคัญ คือ ความไม่เป็นธรรม ที่สิทธิประกันสังคมเพียงกลุ่มเดียวที่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพื่อให้ตัวเองได้มีสิทธิสุขภาพ โดยในจำนวน 5% ที่ผู้ประกันตนต้องจ่ายสมทบให้กับประกันสังคมในทุกๆ เดือนนั้น 1% ถูกหักเป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยและคลอดบุตร โดยมีสำนักงานประกันสังคมเป็นผู้ดูแลส่วนนี้ให้ ซึ่งใช้วิธีการเหมาจ่ายรายหัวให้กับโรงพยาบาลที่เข้าร่วม โดยเป็นวิธีจ่ายเป็นแบบเหมาจ่ายรายหัวจ่ายแล้วจ่ายเลย ไปใช้บริการ หรือไม่ใช้เงินของผู้ประกันตนก็จะอยู่ที่โรงพยาบาล ยังไม่รวมถึงคุณภาพของบริการที่ได้รับ ซึ่งผู้ประกันตนก็ตระหนักดีว่าคุณภาพเป็นอย่างไร
นพ.พงศธร กล่าวต่อว่า ผู้ประกันตน ผู้นำแรงงาน ควรถามคำถามนี้กับรัฐบาลและสำนักงานประกันสังคมให้มากๆ ถามจนให้ได้คำตอบว่า ทำไมคุณเป็นคนกลุ่มเดียวในประเทศไทยจากคนไทย 65 ล้านคนที่ต้องจ่ายเพื่อให้ตัวเองได้มีสิทธิรักษาพยาบาล สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมกับผู้ประกันตนหรือไม่ ในจำนวน 5% ที่ผู้ประกันตนต้องจ่ายสมทบให้กับประกันสังคมในทุกๆ เดือนนั้น 1% ถูกหักเป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยและคลอดบุตร ซึ่งเป็นเม็ดเงินกว่า 15,000 ล้านบาท หรือประมาณเกือบครึ่งหนึ่งของเงินทั้งหมด 40,000 ล้านบาท ที่ประกันสังคมใช้ไปในแต่ละปีสำหรับสิทธิประโยชน์ทั้ง 7 ด้าน การจัดหลักประกันสุขภาพให้คนไทย มีเงื่อนไขว่า คุณเป็นใคร เมื่อรากของฐานคิดเป็นเช่นนี้ จึงทำให้เกิดสิทธิหลักประกันสุขภาพซ้อนขึ้นมาอีกหลายระบบ เช่น ถ้าเป็น ส.ส. ส.ว. และองค์กรอิสระ สิทธิสุขภาพจะพิเศษกว่ากลุ่มอื่น ปัจจุบันเหมาจ่ายรายหัวอยู่ที่ปีละ 20,000-30,000 บาทต่อคน ยังไม่รวมสิทธิพิเศษอื่นๆ อีกมากมาย และล่าสุด มีความพยายามที่จะขยายเพิ่มเป็นปีละ 50,000 บาทต่อคน
“จนถึงขณะนี้ไทยมีระบบประกันสังคมกว่า 20 ปี กฎหมายประกันสังคมฉบับนี้ล้าหลังไปแล้ว ผมคิดว่า ประเด็นนี้ควรต้องมีการพิจารณาอย่างจริงจังว่า ทำไมผู้ประกันตนยังต้องจ่ายเงินเพื่อสิทธิสุขภาพของตนเองอยู่ ระบบแบบนี้ยุติธรรมกับผู้ประกันตนหรือไม่ ทั้งๆ ที่เขาเหล่านั้นก็ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว แต่คนที่เหลือรัฐจ่ายให้หมด ยิ่งกว่านั้น ยังจ่ายให้แต่ละคนอย่างไม่เท่าเทียมกันด้วย ส่งผลให้สิทธิสุขภาพของคนไทยแตกต่างกันมาก ซึ่งปรัชญาของหลักประกันสุขภาพ คือ การสร้างหลักประกันให้กับคนทุกคนให้สามารถเข้าถึงบริการเมื่อมีความจำเป็นอย่างเท่าเทียมกัน และไม่ต้องล้มละลายหากต้องเผชิญกับค่ารักษาพยาบาลราคาแพง ดังนั้น ทุกคนควรมีสิทธิอย่างเท่าเทียมกัน สังคมไทยกำลังเผชิญปัญหาสองมาตรฐาน และความไม่เป็นธรรมอย่างรุนแรง เรื่องนี้ทุกฝ่ายความร่วมมือกันเร่งแก้ไข” นพ.พงศธร กล่าว