แพทย์ชนบทออกโรงหนุนแนวคิด สปส.โอนผู้ประกันตนอยู่ในความดูแลของ สปสช. เชื่อสร้างความเท่าเทียม-กระตุ้นใน รพ.รัฐพัฒนาตนคุณภาพ
จากกรณีที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) มีแนวคิดที่จะโอนผู้ประกันตนให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นผู้รับผิดชอบด้านการรักษาพยาบาลเพียงรายเดียว เพื่อให้การประกันสุขภาพมีความเป็นระบบเดียวกัน โดย สปส.จ่ายเงินให้ สปสช.แทนระบบปัจจุบันที่ สปส.จ่ายเงินตรงไปยังโรงพยาบาลในเครือข่าย ซึ่งขณะนี้มีการพูดคุยผ่านทางกรรมาธิการสาธารณสุขแล้วลักษณะเหมือนกับ สปส.จ้าง สปสช.ให้เป็นผู้จัดการบริการด้านการรักษาพยาบาล โดยคาดว่าจะใช้เงินประมาณ 1,400 ล้านบาท ส่วนโรคไหนที่ไม่อยู่ในความครอบคลุมของ สปสช.ทาง สปส.ก็จะจ่ายค่ารักษาให้เพิ่มเติมนั้น
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า แนวคิดที่ สปส.จะโอนผู้ประกันตนให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นผู้รับผิดชอบด้านการรักษาพยาบาลเพียงรายเดียวนั้นมีข้อดีหลายด้าน แรกๆ เลย คือ เรื่องของการผลักดันให้เกิดความเสมอภาคในระบบบริการด้านสาธารณสุข ให้สามารถรับบริการภายใต้มาตรฐานเดียวกัน อีกทั้งยังช่วยจัดระบบกองทุนประกันสุขภาพให้มีจำนวนน้อยลงและใช้กำลังบุคลากรในการบริหารน้อยลงด้วย ซึ่ง สปสช.เองก็มีศักยภาพพออยู่แล้ว เพราะเป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็ง นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้โรงพยาบาลในภาครัฐมีการพัฒนาตนเองให้เท่าเทียมกับโรงพยาบาลเอกชน ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน ซึ่งทั้งสองสังกัดจะมีการแข่งขันกัน และยิ่งพัฒนาเร็วผลประโยชน์ก็จะตกมาอยู่กับประชาชน ทั้งในสิทธิรักษาฟรี ตามหลักประกันสุขภาพและประกันสังคม
นพ.เกรียงศักดิ์กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการจ่ายเงินสมทบสำหรับบริการสุขภาพตามสิทธิของผู้ประกันตนทั้ง 3 ส่วน คือ รัฐบาลจ่าย นายจ้าง และส่วนของเงินเดือนของผู้ประกันตนเอง หากจะกล่าวไปแล้วเงินที่จ่ายสมทบไปไม่ได้มีส่วนในเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการรักษามากนัก เพราะเงินค่ารักษาจะเป็นภาระรับผิดชอบในส่วนที่รัฐบาลจ่ายให้ แต่อีก 2 ส่วนจะเน้นที่สวัสดิการ ความสะดวก สบาย และบริการอื่นๆ ที่ผู้ป่วยต้องการ ซึ่งหากกล่าวไปแล้วจะเปล่าประโยชน์มาก เพราะปัจจุบันโรงพยาบาลแต่ละแห่งมีมาตรฐานไม่ต่างกันมาก ดังนั้นจะให้ดีคิดว่าหากจะรวมผู้ประกันตนให้ สปสช.ดูแล เงิน 2 ส่วนที่เหลือควรที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการส่ง
“ปัจจุบันนี้ผู้ประกันตนไม่ค่อยป่วยมากนัก ดังนั้นหากยังใช้ระบบเดิม คือ มีทั้งประกันสังคม และประกันสุขภาพถ้วนหน้า คิดว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชนมากไป คือบริษัทประกันมีแต่ได้กับได้ หากเทียบกันแล้วประชาชนที่อยู่ในสิทธิรักษาฟรียังได้ประโยชน์มากกว่า ดังนั้นการโอนเข้ามาอยู่ในระบบการดูแลด้วยกันก็จะช่วยให้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น” นพ.เกรียงศักดิ์กล่าว
จากกรณีที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) มีแนวคิดที่จะโอนผู้ประกันตนให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นผู้รับผิดชอบด้านการรักษาพยาบาลเพียงรายเดียว เพื่อให้การประกันสุขภาพมีความเป็นระบบเดียวกัน โดย สปส.จ่ายเงินให้ สปสช.แทนระบบปัจจุบันที่ สปส.จ่ายเงินตรงไปยังโรงพยาบาลในเครือข่าย ซึ่งขณะนี้มีการพูดคุยผ่านทางกรรมาธิการสาธารณสุขแล้วลักษณะเหมือนกับ สปส.จ้าง สปสช.ให้เป็นผู้จัดการบริการด้านการรักษาพยาบาล โดยคาดว่าจะใช้เงินประมาณ 1,400 ล้านบาท ส่วนโรคไหนที่ไม่อยู่ในความครอบคลุมของ สปสช.ทาง สปส.ก็จะจ่ายค่ารักษาให้เพิ่มเติมนั้น
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า แนวคิดที่ สปส.จะโอนผู้ประกันตนให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นผู้รับผิดชอบด้านการรักษาพยาบาลเพียงรายเดียวนั้นมีข้อดีหลายด้าน แรกๆ เลย คือ เรื่องของการผลักดันให้เกิดความเสมอภาคในระบบบริการด้านสาธารณสุข ให้สามารถรับบริการภายใต้มาตรฐานเดียวกัน อีกทั้งยังช่วยจัดระบบกองทุนประกันสุขภาพให้มีจำนวนน้อยลงและใช้กำลังบุคลากรในการบริหารน้อยลงด้วย ซึ่ง สปสช.เองก็มีศักยภาพพออยู่แล้ว เพราะเป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็ง นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้โรงพยาบาลในภาครัฐมีการพัฒนาตนเองให้เท่าเทียมกับโรงพยาบาลเอกชน ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน ซึ่งทั้งสองสังกัดจะมีการแข่งขันกัน และยิ่งพัฒนาเร็วผลประโยชน์ก็จะตกมาอยู่กับประชาชน ทั้งในสิทธิรักษาฟรี ตามหลักประกันสุขภาพและประกันสังคม
นพ.เกรียงศักดิ์กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการจ่ายเงินสมทบสำหรับบริการสุขภาพตามสิทธิของผู้ประกันตนทั้ง 3 ส่วน คือ รัฐบาลจ่าย นายจ้าง และส่วนของเงินเดือนของผู้ประกันตนเอง หากจะกล่าวไปแล้วเงินที่จ่ายสมทบไปไม่ได้มีส่วนในเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการรักษามากนัก เพราะเงินค่ารักษาจะเป็นภาระรับผิดชอบในส่วนที่รัฐบาลจ่ายให้ แต่อีก 2 ส่วนจะเน้นที่สวัสดิการ ความสะดวก สบาย และบริการอื่นๆ ที่ผู้ป่วยต้องการ ซึ่งหากกล่าวไปแล้วจะเปล่าประโยชน์มาก เพราะปัจจุบันโรงพยาบาลแต่ละแห่งมีมาตรฐานไม่ต่างกันมาก ดังนั้นจะให้ดีคิดว่าหากจะรวมผู้ประกันตนให้ สปสช.ดูแล เงิน 2 ส่วนที่เหลือควรที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการส่ง
“ปัจจุบันนี้ผู้ประกันตนไม่ค่อยป่วยมากนัก ดังนั้นหากยังใช้ระบบเดิม คือ มีทั้งประกันสังคม และประกันสุขภาพถ้วนหน้า คิดว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชนมากไป คือบริษัทประกันมีแต่ได้กับได้ หากเทียบกันแล้วประชาชนที่อยู่ในสิทธิรักษาฟรียังได้ประโยชน์มากกว่า ดังนั้นการโอนเข้ามาอยู่ในระบบการดูแลด้วยกันก็จะช่วยให้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น” นพ.เกรียงศักดิ์กล่าว