อนุกรรมการสิทธิแรงงาน เผย ข้อจำกัดการรักษาของประกันสังคมมีเยอะ ปชช.มีความรู้ไม่เพียงพอ ซ้ำร้าย สปส.เองรู้ไม่เท่าทัน รพ.ด้านผู้เชี่ยวชาญ สปสช.แนะตัดทิ้งเงื่อนไขปลีกย่อย เน้นมาตรฐานเดียวกันในการรักษา
นายตุลา ปัจฉิมเวทย์ อนุกรรมการด้านสิทธิแรงงานและสิทธิที่อยู่อาศัยของคนในชุมชนเมือง สภาทนายความ กล่าวว่า ปัญหาสำคัญของระบบประกันสังคมทุกวันนี้มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการให้บริการด้านสุขภาพอยู่เยอะมาก โดยเฉพาะเรื่องของการที่โรงพยาบาลคิดเงินเพิ่มจากการรักษาพยาบาลทั่วไป ซึ่งผู้ประกันตนเองก็ไม่มีความรู้เพียงพอว่าต้องจ่ายเท่าใด ซ้ำร้ายไปกว่านั้นเจ้าของสิทธิ์อย่างสำนักงานประกันสังคมเอง ก็ไม่มีความรู้เท่าทัน รพ.เช่นเดียวกัน ทำให้หลายครั้งผู้ประกันตนตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบโรงพยาบาลที่ค้ากำไรเกินควร ผู้ใช้บริการไม่มีโอกาสรู้เลย ทั้งที่ต้องใช้สิทธิ์อยู่ตลอด
“ผมได้รับเรื่องร้องเรียนมากมายจากผู้ประกันตน โดยส่วนมากจะเป็นเรื่องของมาตรฐานการรักษาพยาบาลที่มีน้อยกว่าการใช้สิทธิ์อื่นๆ เช่น ก่อนหน้านี้ มีกรณีการขูดมดลูก แล้วลืมผ้าก๊อซไว้ข้างใน ซึ่งทั้งโรงพยาบาลและประกันสังคมก็ต่างปัดความรับผิดชอบ นอกจากนี้ เสียงสะท้อนหลายๆ ครั้ง ยังระบุว่า รพ.ที่ให้บริการสิทธิประกันสังคมก็บริการตรวจแบบขอไปที ซึ่งในปีที่ผ่านมามีกรณีอย่างนี้เกิดขึ้นเยอะมาก ซึ่งทางประกันสังคมก็ไม่ได้รับผิดชอบแต่อย่างใด” นายตุลา กล่าว
ขณะที่นายพงศธร พอกเพิ่มดี ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า การให้บริการสาธารณสุขเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนและซับซ้อนมาก ซึ่งการแก้รักษาโรคต่างๆ จำเป็นที่จะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่รู้เท่าทันอย่างเช่น แพทย์ในสาขาต่างๆ มากำหนดแนวทางปฏิบัติและตรวจสอบการดำเนินงาน ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงานประกันสังคมมีคนที่เชี่ยวชาญน้อยมาก ทำให้การจัดการในเรื่องนี้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร นอกจากนี้ การจัดการเรื่องข้อมูล ทั้งการให้ข้อมูลแก่ผู้ประกันตน หรือการศึกษาข้อมูลที่มีอยู่ก็มีน้อยมาก อ้างอิงจากข้อมูลปีที่ผ่านมานั้น มีผู้ประกันตนโทรเข้ามาสอบถามสิทธิของตัวเองผ่านหมายเลขฮอตไลน์ของสปสช.นับพันราย นอกจากนี้ยังมีผู้ประกันตนของประกันสังคมมากกว่า 700 รายโทร.มาสอบถามว่าจะสามารถเปลี่ยนสิทธิไปใช้บัตรทองได้ไหม
นายพงศธร กล่าวต่อว่า เงื่อนไขในการรับสิทธิ์ประกันสังคมนั้นก็เยอะมาก เช่น การต้องจ่ายเงินสมทบ 7 เดือน จึงจะได้รับเงินสงเคราะห์ค่าคลอดบุตร หรือต้องจ่ายเงินสมทบเกิน 3 เดือน ถึงจะได้รับเงินค่าชดเชยหากได้รับอุบัติเหตุ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นรายละเอียดปลีกย่อยมาก หากจะปฏิรูประบบประกันสังคมจริงเงื่อนไขพวกนี้ต้องตัดทิ้งทั้งหมด พร้อมกับยึดหลักสิทธิประโยชน์และมาตรฐานการรักษาต้องเป็นระบบเดียวกันทั้ง 3 ระบบ คือ ประกันสังคม ข้าราชการ และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
“ต้องยอมรับว่า เรื่องวิธีการจ่ายเงิน ระบบการตรวจสอบ วิธีการบริหารจัดการนั้นระบบของสปสช.ลงตัวกว่าประกันสังคมมาก เพราะมีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้รวมตัวกันอยู่เยอะมาก และระบบก็มีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา ข้อเสนอแนะของผม คือ ควรจะจัดระบบใหม่โดยนำเอาเรื่องการรักษาพยาบาลทั้งหมดให้สปสช.บริหารจัดการเงินที่ต้องจ่าย ก็คือ การชดเชย ส่วนเรื่องของเงินชดเชย หรือเรื่องของกองทุนชราภาพนั้นให้ประกันสังคมดูแล ส่วนข้อเสนอในระยะยาวนั้น ควรจะทำให้สิทธิพื้นฐานด้านสุขภาพ และสวัสดิการทั้งหมดควรจะเท่ากันให้อยู่ภายใต้ระบบเดียว เพราะเรื่องของสุขภาพไม่ควรจะมีสิทธิใดที่อยู่เหนือกว่าหรือด้อยกว่า” นายพงศธร กล่าว
นายตุลา ปัจฉิมเวทย์ อนุกรรมการด้านสิทธิแรงงานและสิทธิที่อยู่อาศัยของคนในชุมชนเมือง สภาทนายความ กล่าวว่า ปัญหาสำคัญของระบบประกันสังคมทุกวันนี้มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการให้บริการด้านสุขภาพอยู่เยอะมาก โดยเฉพาะเรื่องของการที่โรงพยาบาลคิดเงินเพิ่มจากการรักษาพยาบาลทั่วไป ซึ่งผู้ประกันตนเองก็ไม่มีความรู้เพียงพอว่าต้องจ่ายเท่าใด ซ้ำร้ายไปกว่านั้นเจ้าของสิทธิ์อย่างสำนักงานประกันสังคมเอง ก็ไม่มีความรู้เท่าทัน รพ.เช่นเดียวกัน ทำให้หลายครั้งผู้ประกันตนตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบโรงพยาบาลที่ค้ากำไรเกินควร ผู้ใช้บริการไม่มีโอกาสรู้เลย ทั้งที่ต้องใช้สิทธิ์อยู่ตลอด
“ผมได้รับเรื่องร้องเรียนมากมายจากผู้ประกันตน โดยส่วนมากจะเป็นเรื่องของมาตรฐานการรักษาพยาบาลที่มีน้อยกว่าการใช้สิทธิ์อื่นๆ เช่น ก่อนหน้านี้ มีกรณีการขูดมดลูก แล้วลืมผ้าก๊อซไว้ข้างใน ซึ่งทั้งโรงพยาบาลและประกันสังคมก็ต่างปัดความรับผิดชอบ นอกจากนี้ เสียงสะท้อนหลายๆ ครั้ง ยังระบุว่า รพ.ที่ให้บริการสิทธิประกันสังคมก็บริการตรวจแบบขอไปที ซึ่งในปีที่ผ่านมามีกรณีอย่างนี้เกิดขึ้นเยอะมาก ซึ่งทางประกันสังคมก็ไม่ได้รับผิดชอบแต่อย่างใด” นายตุลา กล่าว
ขณะที่นายพงศธร พอกเพิ่มดี ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า การให้บริการสาธารณสุขเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนและซับซ้อนมาก ซึ่งการแก้รักษาโรคต่างๆ จำเป็นที่จะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่รู้เท่าทันอย่างเช่น แพทย์ในสาขาต่างๆ มากำหนดแนวทางปฏิบัติและตรวจสอบการดำเนินงาน ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงานประกันสังคมมีคนที่เชี่ยวชาญน้อยมาก ทำให้การจัดการในเรื่องนี้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร นอกจากนี้ การจัดการเรื่องข้อมูล ทั้งการให้ข้อมูลแก่ผู้ประกันตน หรือการศึกษาข้อมูลที่มีอยู่ก็มีน้อยมาก อ้างอิงจากข้อมูลปีที่ผ่านมานั้น มีผู้ประกันตนโทรเข้ามาสอบถามสิทธิของตัวเองผ่านหมายเลขฮอตไลน์ของสปสช.นับพันราย นอกจากนี้ยังมีผู้ประกันตนของประกันสังคมมากกว่า 700 รายโทร.มาสอบถามว่าจะสามารถเปลี่ยนสิทธิไปใช้บัตรทองได้ไหม
นายพงศธร กล่าวต่อว่า เงื่อนไขในการรับสิทธิ์ประกันสังคมนั้นก็เยอะมาก เช่น การต้องจ่ายเงินสมทบ 7 เดือน จึงจะได้รับเงินสงเคราะห์ค่าคลอดบุตร หรือต้องจ่ายเงินสมทบเกิน 3 เดือน ถึงจะได้รับเงินค่าชดเชยหากได้รับอุบัติเหตุ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นรายละเอียดปลีกย่อยมาก หากจะปฏิรูประบบประกันสังคมจริงเงื่อนไขพวกนี้ต้องตัดทิ้งทั้งหมด พร้อมกับยึดหลักสิทธิประโยชน์และมาตรฐานการรักษาต้องเป็นระบบเดียวกันทั้ง 3 ระบบ คือ ประกันสังคม ข้าราชการ และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
“ต้องยอมรับว่า เรื่องวิธีการจ่ายเงิน ระบบการตรวจสอบ วิธีการบริหารจัดการนั้นระบบของสปสช.ลงตัวกว่าประกันสังคมมาก เพราะมีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้รวมตัวกันอยู่เยอะมาก และระบบก็มีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา ข้อเสนอแนะของผม คือ ควรจะจัดระบบใหม่โดยนำเอาเรื่องการรักษาพยาบาลทั้งหมดให้สปสช.บริหารจัดการเงินที่ต้องจ่าย ก็คือ การชดเชย ส่วนเรื่องของเงินชดเชย หรือเรื่องของกองทุนชราภาพนั้นให้ประกันสังคมดูแล ส่วนข้อเสนอในระยะยาวนั้น ควรจะทำให้สิทธิพื้นฐานด้านสุขภาพ และสวัสดิการทั้งหมดควรจะเท่ากันให้อยู่ภายใต้ระบบเดียว เพราะเรื่องของสุขภาพไม่ควรจะมีสิทธิใดที่อยู่เหนือกว่าหรือด้อยกว่า” นายพงศธร กล่าว