ปลัด ก.แรงงาน แจงการโอนสิทธิ์ประกันสังคมไปยัง สปสช.ทำได้ยาก เหตุจากระบบแตกต่างกันมาก โดยมีแนวทางแก้ปัญหารักษาโรคร้ายแรง ด้วยการแยกบัญชีออกจากเงินค่าเหมาจ่ายรายหัว ส่วนบำเหน็จของแรงงานนอกระบบ รัฐบริหารเงินแทน โดยการทยอยจ่ายระยะเวลา 15 ปี
วันที่ 17 มกราคม ที่กระทรวงแรงงาน นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีที่มีหลายฝ่ายเสนอให้โอนย้ายสิทธิ์การรักษาพยาบาลของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ไปยังสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ว่า ขณะนี้ยังคงไม่มีความคืบหน้าชัดเจนในเรื่องดังกล่าวว่าจะไปในทิศทางใด เพราะความแตกต่างของระบบการรักษาพยาบาลยังแตกต่างกันอยู่มาก ส่วนเรื่องมาตรฐานในการรักษาพยาบาล โดยเฉพาะโรคร้ายแรงนั้น มีข้อร้องเรียนเข้ามาเป็นระยะเกี่ยวกับการไม่ยอมส่งตัวผู้ป่วยโรคร้ายแรงเข้ารักษาในโรงพบยาบาลที่มีความพร้อมกว่า และบางโรงพยาบาลก็ไม่รับการรักษา ขณะนี้จึงมีแนวทางในการที่จะแยกบัญชีโรคร้ายแรงออกจากเงินค่าเหมาจ่ายรายหัว โดยจะจ่ายเงินรายหัวเฉพาะผู้ป่วยนอก ขณะที่ผู้ป่วยในจะแยกจ่ายต่างหาก โดยมีการกำหนดมาตรฐานค่ารักษาตามแต่ละโรค
“ต้องถามว่า หากจะนำผู้ประกันตนทั้งหมดไปอยู่ภายใต้สิทธิ์ของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น รัฐสามารถที่จะอุดหนุนเงินมากกว่า 2 หมื่นล้านบาทต่อปีได้หรือไม่ นอกจากนี้ ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมนั้นจะต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน ซึ่งหมายความว่า เขาต้องการสิทธิ์ที่ดีกว่า หากจะโอนย้ายสิทธิ์ทั้งหมดไปยัง สปสช.อาจทำให้เขารู้สึกว่าทำไมจึงได้สิทธิ์เท่าเทียมกับคนที่ไม่ต้องจ่ายอะไรเลย โดยส่วนตัวคิดว่าควรจะทำให้ทุกคนอยู่ในระบบประกันสังคมมากกว่า เพราะมีทั้งการจ่ายเงินชดเชยกรณีได้รับบาดเจ็บ และการจ่ายบำนาญชราภาพ ซึ่งก็ใช้เงินไม่ต่างกันมากนัก” ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าว
สำหรับกรณีที่เครือข่ายแรงงานนอกระบบเรียกร้องให้เปลี่ยนจากการจ่ายบำเหน็จแก่ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เป็นการจ่ายบำนาญชราภาพแทนนั้น นายสมเกียรติ กล่าวว่า ปัจจุบันอายุเฉลี่ยของคนไทยมีมากขึ้น ทำให้คาดการณ์การจ่ายบำนาญเป็นไปได้ยากว่าจะต้องใช้เงินเท่าใด ยิ่งอายุเยอะ ก็ยิ่งเป็นภาระของกองทุน ซึ่งได้มีการหารือกันถึงแนวทางปฏิบัติแทนที่ผู้ประกันตนจะรับเงินบำเหน็จเป็นก้อนก็ให้รัฐเป็นผู้บริหารเงินดังกล่าวแทนโดยรัฐจะเป็นผู้ให้ออกดอกออกผลแล้วทยอยจ่ายรายเดือน การันตีระยะเวลาการจ่ายไว้ที่ 15 ปี วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 มีเงินเพียงพอใช้จนกว่าจะเสียชีวิต
ส่วนผู้ประกันตนที่มีมีอายุยืนยาวเกิน 15 ปี หลังเกษียณไปแล้วนั้นมีวิธีการจัดการ 2 รูปแบบคือ 1.ให้รัฐรับภาระในการดูแลแทน หรือ 2.ใช้วิธีถัวเฉลี่ยเงินจากผู้ประกันตนที่เสียชีวิตก่อนครบกำหนด 15 ปีมาดูแลผู้ที่มีอายุเกิน 15 ปี หลังเกษียณแทน อย่างไรก็ตาม วิธีการดังกล่าวต้องขอมติจากสังคมในการยินยอมให้นำมาเฉลี่ยโดยไม่ต้องจ่ายคืนแก่ทายาทผู้ประกันตน
ส่วนกรณีที่รัฐบาลประกาศนโยบายประชาวิวัฒน์ที่จะให้แรงงานนอกระบบจ่ายเงินเข้าสมทบเดือนละ 100 และ 250 บาทนั้น สำนักงานประกันสังคม จำเป็นต้องขอสนับสนุนด้านบุคลากรเพิ่ม เนื่องจากปัจจุบันเจ้าหน้าที่มีปริมาณงานจำนวนมากซึ่งต้องรับมือกับผู้ประกันตนที่มีกว่า 9 ล้านคน ซึ่งหากมีแรงงานนอกระบบเพิ่มเข้ามาอีกจะทำให้ปริมาณงานเพิ่มขึ้นอีกว่า 20-30 เปอร์เซ็นต์
วันที่ 17 มกราคม ที่กระทรวงแรงงาน นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีที่มีหลายฝ่ายเสนอให้โอนย้ายสิทธิ์การรักษาพยาบาลของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ไปยังสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ว่า ขณะนี้ยังคงไม่มีความคืบหน้าชัดเจนในเรื่องดังกล่าวว่าจะไปในทิศทางใด เพราะความแตกต่างของระบบการรักษาพยาบาลยังแตกต่างกันอยู่มาก ส่วนเรื่องมาตรฐานในการรักษาพยาบาล โดยเฉพาะโรคร้ายแรงนั้น มีข้อร้องเรียนเข้ามาเป็นระยะเกี่ยวกับการไม่ยอมส่งตัวผู้ป่วยโรคร้ายแรงเข้ารักษาในโรงพบยาบาลที่มีความพร้อมกว่า และบางโรงพยาบาลก็ไม่รับการรักษา ขณะนี้จึงมีแนวทางในการที่จะแยกบัญชีโรคร้ายแรงออกจากเงินค่าเหมาจ่ายรายหัว โดยจะจ่ายเงินรายหัวเฉพาะผู้ป่วยนอก ขณะที่ผู้ป่วยในจะแยกจ่ายต่างหาก โดยมีการกำหนดมาตรฐานค่ารักษาตามแต่ละโรค
“ต้องถามว่า หากจะนำผู้ประกันตนทั้งหมดไปอยู่ภายใต้สิทธิ์ของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น รัฐสามารถที่จะอุดหนุนเงินมากกว่า 2 หมื่นล้านบาทต่อปีได้หรือไม่ นอกจากนี้ ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมนั้นจะต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน ซึ่งหมายความว่า เขาต้องการสิทธิ์ที่ดีกว่า หากจะโอนย้ายสิทธิ์ทั้งหมดไปยัง สปสช.อาจทำให้เขารู้สึกว่าทำไมจึงได้สิทธิ์เท่าเทียมกับคนที่ไม่ต้องจ่ายอะไรเลย โดยส่วนตัวคิดว่าควรจะทำให้ทุกคนอยู่ในระบบประกันสังคมมากกว่า เพราะมีทั้งการจ่ายเงินชดเชยกรณีได้รับบาดเจ็บ และการจ่ายบำนาญชราภาพ ซึ่งก็ใช้เงินไม่ต่างกันมากนัก” ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าว
สำหรับกรณีที่เครือข่ายแรงงานนอกระบบเรียกร้องให้เปลี่ยนจากการจ่ายบำเหน็จแก่ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เป็นการจ่ายบำนาญชราภาพแทนนั้น นายสมเกียรติ กล่าวว่า ปัจจุบันอายุเฉลี่ยของคนไทยมีมากขึ้น ทำให้คาดการณ์การจ่ายบำนาญเป็นไปได้ยากว่าจะต้องใช้เงินเท่าใด ยิ่งอายุเยอะ ก็ยิ่งเป็นภาระของกองทุน ซึ่งได้มีการหารือกันถึงแนวทางปฏิบัติแทนที่ผู้ประกันตนจะรับเงินบำเหน็จเป็นก้อนก็ให้รัฐเป็นผู้บริหารเงินดังกล่าวแทนโดยรัฐจะเป็นผู้ให้ออกดอกออกผลแล้วทยอยจ่ายรายเดือน การันตีระยะเวลาการจ่ายไว้ที่ 15 ปี วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 มีเงินเพียงพอใช้จนกว่าจะเสียชีวิต
ส่วนผู้ประกันตนที่มีมีอายุยืนยาวเกิน 15 ปี หลังเกษียณไปแล้วนั้นมีวิธีการจัดการ 2 รูปแบบคือ 1.ให้รัฐรับภาระในการดูแลแทน หรือ 2.ใช้วิธีถัวเฉลี่ยเงินจากผู้ประกันตนที่เสียชีวิตก่อนครบกำหนด 15 ปีมาดูแลผู้ที่มีอายุเกิน 15 ปี หลังเกษียณแทน อย่างไรก็ตาม วิธีการดังกล่าวต้องขอมติจากสังคมในการยินยอมให้นำมาเฉลี่ยโดยไม่ต้องจ่ายคืนแก่ทายาทผู้ประกันตน
ส่วนกรณีที่รัฐบาลประกาศนโยบายประชาวิวัฒน์ที่จะให้แรงงานนอกระบบจ่ายเงินเข้าสมทบเดือนละ 100 และ 250 บาทนั้น สำนักงานประกันสังคม จำเป็นต้องขอสนับสนุนด้านบุคลากรเพิ่ม เนื่องจากปัจจุบันเจ้าหน้าที่มีปริมาณงานจำนวนมากซึ่งต้องรับมือกับผู้ประกันตนที่มีกว่า 9 ล้านคน ซึ่งหากมีแรงงานนอกระบบเพิ่มเข้ามาอีกจะทำให้ปริมาณงานเพิ่มขึ้นอีกว่า 20-30 เปอร์เซ็นต์