ปธ.บอร์ดประกันสังคมรับสิทธิ สปส.ด้อยกว่าบัตรทองอยู่บ้าง ชี้ผู้ได้รับผลกระทบมีน้อย สั่ง คกก.แพทย์เร่งแก้ไขรายกรณี ท้านักวิชาการโชว์หลักฐาน เหตุ รพ.เอกชนฟันกำไรมหาศาล เผยกำไรบ้าง แต่ไม่มากตามข่าว
นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม กล่าวถึง กรณีที่นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขออกมาระบุว่า สิทธิประกันสังคมด้อยกว่าสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หรือบัตรทอง ว่า จากการตรวจสอบยอมรับว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นความจริงบางส่วน แต่ถือเป็นความแตกต่างที่คนจำนวนน้อยมากที่ได้รับผลกระทบ เพราะระบบโดยรวมยังดีกว่า แต่อย่างการคุ้มครองการรักษาผู้ป่วยในโรคเดียวกันไม่เกิน 180 วัน หรือการไม่ได้รับยาบางตัวของผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์ เป็นต้น ซึ่งเป็นข้อด้อยเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ โดยจะให้คณะกรรมการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เร่งเข้าไปดำเนินการแก้ปัญหาเป็นรายกรณี
ส่วนกรณีที่ระบุว่าโรงพยาบาลเอกชนที่เป็นคู่สัญญากับ สปส.ได้กำไรจำนวนมากจากเงินส่วนต่างที่เหลือจากค่าใช้จ่ายในการรักษาจริงนั้น เรื่องนี้ตนขอท้าให้เอาหลักฐานมาแสดงอย่าพูดลอยๆ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจริง โรงพยาบาลก็คงไม่ถอนตัวออกจากระบบประกันสังคม
“เราติดตามตัวเลขค่าใช้จ่ายตลอดเวลามีการให้โรงพยาบาลส่งรายงานเข้ามาที่ สปส.ทุกเดือนว่ามีการรักษาพยาบาลกี่ราย ผู้ป่วยนอกเท่าไหร่ ผู้ป่วยในเท่าไหร่ ค่ารักษารายละเท่าไหร่ ผมเข้าใจว่าโรงพยาบาลเอกชนก็ต้องมีกำไรบ้าง แต่คิดว่าไม่ได้สูงมากนักตามที่เป็นข่าว” ปลัดกระทรวงแรงงานกล่าว
ส่วนระบบการเหมาจ่ายรายหัวต่อปีที่ทำให้เกิดผลกระทบกับผู้ประกันตน เช่น โรงพยาบาลไม่ยอมจ่ายยาที่มีราคาสูงหรือไม่ส่งต่อผู้ป่วย โดยเฉพาะกับโรงพยาบาลที่มุ่งหวังประโยชน์ทางธุรกิจมากเกินไปนั้น นายสมเกียรติ กล่าวว่า ได้เตรียมวิธีแก้ปัญหา ด้วยการแยกการเหมาจ่ายรายหัว เป็น 2 แบบ คือ ผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน โดยในส่วนผู้ป่วยในจะแบ่งเป็นการรักษาตามกลุ่มโรคที่ผู้ประกันตนสามารถเลือกการรักษาในโรงพยาบาลใดก็ได้
นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม กล่าวถึง กรณีที่นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขออกมาระบุว่า สิทธิประกันสังคมด้อยกว่าสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หรือบัตรทอง ว่า จากการตรวจสอบยอมรับว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นความจริงบางส่วน แต่ถือเป็นความแตกต่างที่คนจำนวนน้อยมากที่ได้รับผลกระทบ เพราะระบบโดยรวมยังดีกว่า แต่อย่างการคุ้มครองการรักษาผู้ป่วยในโรคเดียวกันไม่เกิน 180 วัน หรือการไม่ได้รับยาบางตัวของผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์ เป็นต้น ซึ่งเป็นข้อด้อยเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ โดยจะให้คณะกรรมการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เร่งเข้าไปดำเนินการแก้ปัญหาเป็นรายกรณี
ส่วนกรณีที่ระบุว่าโรงพยาบาลเอกชนที่เป็นคู่สัญญากับ สปส.ได้กำไรจำนวนมากจากเงินส่วนต่างที่เหลือจากค่าใช้จ่ายในการรักษาจริงนั้น เรื่องนี้ตนขอท้าให้เอาหลักฐานมาแสดงอย่าพูดลอยๆ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจริง โรงพยาบาลก็คงไม่ถอนตัวออกจากระบบประกันสังคม
“เราติดตามตัวเลขค่าใช้จ่ายตลอดเวลามีการให้โรงพยาบาลส่งรายงานเข้ามาที่ สปส.ทุกเดือนว่ามีการรักษาพยาบาลกี่ราย ผู้ป่วยนอกเท่าไหร่ ผู้ป่วยในเท่าไหร่ ค่ารักษารายละเท่าไหร่ ผมเข้าใจว่าโรงพยาบาลเอกชนก็ต้องมีกำไรบ้าง แต่คิดว่าไม่ได้สูงมากนักตามที่เป็นข่าว” ปลัดกระทรวงแรงงานกล่าว
ส่วนระบบการเหมาจ่ายรายหัวต่อปีที่ทำให้เกิดผลกระทบกับผู้ประกันตน เช่น โรงพยาบาลไม่ยอมจ่ายยาที่มีราคาสูงหรือไม่ส่งต่อผู้ป่วย โดยเฉพาะกับโรงพยาบาลที่มุ่งหวังประโยชน์ทางธุรกิจมากเกินไปนั้น นายสมเกียรติ กล่าวว่า ได้เตรียมวิธีแก้ปัญหา ด้วยการแยกการเหมาจ่ายรายหัว เป็น 2 แบบ คือ ผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน โดยในส่วนผู้ป่วยในจะแบ่งเป็นการรักษาตามกลุ่มโรคที่ผู้ประกันตนสามารถเลือกการรักษาในโรงพยาบาลใดก็ได้