ผู้ประกันตน ย้ำยังไม่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี อะทาซานาเวียร์ แจงหลังร้องเรียนผ่านสื่อไป 3 เดือน ยังไม่ได้รับยา แม้เลขาธิการ สปส.จะยืนยันว่าต้องได้รับ เผย ติดตามความคืบหน้าทั้งจาก รพ.ต้นสังกัด และ สปส.ได้คำตอบไม่ตรง สปส.บอกว่า รวมอยู่ในงบเหมาจ่ายรายหัวแล้ว รพ.ต้องรับผิดชอบ แต่ รพ.บอกว่า ทำเรื่องส่งมาที่ สปส.แล้วข้องใจทำไมผู้ประกันตนต้องจัดการเรื่องนี้เอง ทั้งที่จ่ายเงิยสมทบทุกเดือน ขณะที่ผู้ป่วยบัตรทองระบบดูแลให้
นายบริพัตร ดอนมอญ ประธานมูลนิธิผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย เปิดเผยว่า หลังจากที่ตนซึ่งเป็นผู้ประกันตนคนหนึ่ง ได้ร้องเรียนผ่านสื่อมวลชนว่า จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัส อะทาซานาเวียร์ แต่แพทย์ไม่สามารถสั่งจ่ายยาตัวนี้ให้ผู้ป่วยในสิทธิประกันสังคมได้ เนื่องจากยาชนิดนี้ไม่ใช่ยาที่ประกันสังคมกำหนดให้แพทย์จ่ายให้ผู้ป่วยในสิทธิ แพทย์ได้ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นด้วยการสับยาของตนกับผู้ป่วยคนอื่นที่อาจจะยังไม่จำเป็นต้องใช้ยาตัวนี้มากนัก หลังจากได้รับยาชนิดนี้มารับประทาน และไปพบแพทย์อีกครั้งใน 1 เดือนต่อจากนั้น ผลการตรวจเลือดพบว่าไขมันและน้ำตาลในเลือดลดลง แต่ผู้ป่วยที่แพทย์สับยามาให้ไม่ยอมแลกยาอีกต้องกลับมาใช้ยาต้านไวรัสตัวเดิม ซึ่งในระยะยาวอาจส่งผลต่อสุขภาพโดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจและไต เป็นต้น และหากจะต้องซื้อยากินเองจะมีราคาถึงกระปุกละ 1.3 หมื่นบาท ใช้รับประทานได้ 1 เดือน แต่ทางเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมได้ชี้แจงว่า เป็นความเข้าใจผิดของตน เพราะการจะเปลี่ยนยาได้ ต้องแจ้งความประสงค์มาที่สปส.ก่อน หลังจากนั้นสปส.จะจ่ายยาดังกล่าวให้กับแพทย์ แต่จนถึงขณะนี้ผ่านมาเกือบ 3 เดือนแล้วตนก็ยังไม่ได้รับยาดังกล่าว ทั้งที่จ่ายสมทบทุกเดือน
นายบริพัตร กล่าวต่อว่า ตนเข้าไปติดตามเรื่องที่ สปส.และ รพ.ต้นสังกัดตลอด เพื่อถามความคืบหน้า ทาง สปส.บอกว่า เป็นความรับผิดชอบของ รพ.ต้นสังกัด เพราะได้จ่ายเงินค่าเหมาจ่ายรายหัวไปให้แล้ว รพ.ต้นสังกัดต้องจัดการเอง พอไปถาม รพ.ต้นสังกัด ก็บอกว่าทำเรื่องมาที่ สปส.แล้ว แต่ สปส.ยังไม่ตอบกลับมา จนตอนนี้เริ่มรู้สึกสับสน และไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมต้องให้ผู้ประกันตนเป็นผู้จัดการเอง ทำไมระบบไม่จัดการเหมือนผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง นี่ขนาดว่าเป็นตนซึ่งทำงานเกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิผู้ป่วย ยังต้องติดตามอย่างยากลำบาก ถ้าเป็นผู้ประกันตนอื่นๆ จะมีเวลามาทำเช่นนี้หรือไม่ เพราะต้องลางานมาบ่อยมาก อาจจำเป็นต้องลาออกจากงานทุกอย่าง เพื่อให้ได้กลับไปใช้สิทธิรักษาฟรีและได้ใช้ยาอะทาซานาเวียร์ ซึ่งการไม่ได้รับยาต้านไวรัสอย่างถูกต้อง มีผลต่อสุขภาพของตนมาก
“ขณะนี้ทั่วประเทศมีผู้ป่วยที่เข้าถึงยาต้านไวรัสประมาณ 2 แสนคน กระจายอยู่ในสิทธิการรักษาพยาบาลทั้งรักษาฟรี ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ ซึ่งในสิทธิรักษาฟรีได้ใช้ยาอะทาซานาเวียร์ฟรี โดยเพื่อนที่รู้จักใช้มาเป็นปีแล้ว มีเพียงผู้ป่วยในสิทธิประกันสังคมเท่านั้นที่ไม่ได้ใช้ยาตัวนี้ ” นายบริพัตร กล่าว
นายบริพัตร ดอนมอญ ประธานมูลนิธิผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย เปิดเผยว่า หลังจากที่ตนซึ่งเป็นผู้ประกันตนคนหนึ่ง ได้ร้องเรียนผ่านสื่อมวลชนว่า จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัส อะทาซานาเวียร์ แต่แพทย์ไม่สามารถสั่งจ่ายยาตัวนี้ให้ผู้ป่วยในสิทธิประกันสังคมได้ เนื่องจากยาชนิดนี้ไม่ใช่ยาที่ประกันสังคมกำหนดให้แพทย์จ่ายให้ผู้ป่วยในสิทธิ แพทย์ได้ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นด้วยการสับยาของตนกับผู้ป่วยคนอื่นที่อาจจะยังไม่จำเป็นต้องใช้ยาตัวนี้มากนัก หลังจากได้รับยาชนิดนี้มารับประทาน และไปพบแพทย์อีกครั้งใน 1 เดือนต่อจากนั้น ผลการตรวจเลือดพบว่าไขมันและน้ำตาลในเลือดลดลง แต่ผู้ป่วยที่แพทย์สับยามาให้ไม่ยอมแลกยาอีกต้องกลับมาใช้ยาต้านไวรัสตัวเดิม ซึ่งในระยะยาวอาจส่งผลต่อสุขภาพโดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจและไต เป็นต้น และหากจะต้องซื้อยากินเองจะมีราคาถึงกระปุกละ 1.3 หมื่นบาท ใช้รับประทานได้ 1 เดือน แต่ทางเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมได้ชี้แจงว่า เป็นความเข้าใจผิดของตน เพราะการจะเปลี่ยนยาได้ ต้องแจ้งความประสงค์มาที่สปส.ก่อน หลังจากนั้นสปส.จะจ่ายยาดังกล่าวให้กับแพทย์ แต่จนถึงขณะนี้ผ่านมาเกือบ 3 เดือนแล้วตนก็ยังไม่ได้รับยาดังกล่าว ทั้งที่จ่ายสมทบทุกเดือน
นายบริพัตร กล่าวต่อว่า ตนเข้าไปติดตามเรื่องที่ สปส.และ รพ.ต้นสังกัดตลอด เพื่อถามความคืบหน้า ทาง สปส.บอกว่า เป็นความรับผิดชอบของ รพ.ต้นสังกัด เพราะได้จ่ายเงินค่าเหมาจ่ายรายหัวไปให้แล้ว รพ.ต้นสังกัดต้องจัดการเอง พอไปถาม รพ.ต้นสังกัด ก็บอกว่าทำเรื่องมาที่ สปส.แล้ว แต่ สปส.ยังไม่ตอบกลับมา จนตอนนี้เริ่มรู้สึกสับสน และไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมต้องให้ผู้ประกันตนเป็นผู้จัดการเอง ทำไมระบบไม่จัดการเหมือนผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง นี่ขนาดว่าเป็นตนซึ่งทำงานเกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิผู้ป่วย ยังต้องติดตามอย่างยากลำบาก ถ้าเป็นผู้ประกันตนอื่นๆ จะมีเวลามาทำเช่นนี้หรือไม่ เพราะต้องลางานมาบ่อยมาก อาจจำเป็นต้องลาออกจากงานทุกอย่าง เพื่อให้ได้กลับไปใช้สิทธิรักษาฟรีและได้ใช้ยาอะทาซานาเวียร์ ซึ่งการไม่ได้รับยาต้านไวรัสอย่างถูกต้อง มีผลต่อสุขภาพของตนมาก
“ขณะนี้ทั่วประเทศมีผู้ป่วยที่เข้าถึงยาต้านไวรัสประมาณ 2 แสนคน กระจายอยู่ในสิทธิการรักษาพยาบาลทั้งรักษาฟรี ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ ซึ่งในสิทธิรักษาฟรีได้ใช้ยาอะทาซานาเวียร์ฟรี โดยเพื่อนที่รู้จักใช้มาเป็นปีแล้ว มีเพียงผู้ป่วยในสิทธิประกันสังคมเท่านั้นที่ไม่ได้ใช้ยาตัวนี้ ” นายบริพัตร กล่าว